ข้ามไปเนื้อหา

ปนัดดา วงศ์ผู้ดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปนัดดา วงศ์ผู้ดี
บุ๋ม ปนัดดา ในปี พ.ศ. 2552
บุ๋ม ปนัดดา ในปี พ.ศ. 2552
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด10 มกราคม พ.ศ. 2519 (48 ปี)
ปนัดดา วงศ์ผู้ดี
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บิดาประหยัด วงศ์ผู้ดี
มารดาประนอม วงศ์ผู้ดี
คู่สมรสวีรพงศ์ พิพิธสุขสันต์
(2548–2550; เลิกรา)
เอกริน นิลเศรษฐี
(2558–2561; เลิกรา)
อธิป อนันทวรรณ
(2563–ปัจจุบัน)
บุตรอันดามัน วงศ์ผู้ดี
อนันท์ อนันทวรรณ
อติวิชญ์ อนันทวรรณ
อาชีพ
  • นางงาม
  • นักแสดง
  • พิธีกร
  • อาจารย์
  • คอลัมนิสต์
  • นักแข่งรถ
  • นักร้อง
  • พรีเซนเตอร์
  • นางแบบ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2543–ปัจจุบัน

ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น บุ๋ม เป็นนางงาม นักแสดง นักร้อง และพิธีกรชาวไทย ดำรงตำแหน่งนางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2543 นอกจากนี้ยังเป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และยังดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ

ประวัติ

[แก้]

ปนัดดา วงศ์ผู้ดี เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2519[1] ที่กรุงเทพมหานคร พื้นเพของครอบครัว (ประหยัด วงศ์ผู้ดี บิดา) เป็นคน จังหวัดกรุงเทพมหานคร (ประนอม วงศ์ผู้ดีมารดา) เป็นคน จังหวัดฉะเชิงเทรา ในวัยเด็กอาศัยอยู่ในย่าน แฮปปี้แลนด์ จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ลาออกตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 4 ไปเข้ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นเวลาหนึ่งปีก่อนไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นกลับมาศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และได้ทำงานพนักงานแผนกบริการลูกค้าของบริษัทธนาคารซิตี้แบงค์ หลังจบการศึกษาปริญญาตรี ได้เข้ารับการศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจระหว่างประเทศที่ University of Wollongong เครือรัฐออสเตรเลีย และจบปริญญาโทใบที่ 2 ด้านปรัชญาการดำเนินธุรกิจจาก University of South Australia จากนั้นกลับมาทำงานเป็นอาจารย์ระดับ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา คณะวิทยาการจัดการ จบการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาด้าน บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต[2]

งานการเมือง เคยเป็น ผู้ชำนาญการ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา[3], เคยดำรงตำแหน่ง เคยดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[4]

ได้รับเลือกให้เป็น นายกสมาคมศิษย์เก่าและนักเรียนมหาวิทยาลัยรังสิต (2560-ปัจจุบัน)[5]

ได้สำเร็จการฝึกอบรมจบหลักสูตรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในหลักสูตร "วิทยาการการจัดการสำหรับ นักบริหารระดับสูง (วบส.)" รุ่น ๕

ได้รับ Certification of digital transformation in public sector ที่ประเทศไต้หวัน

งานช่วยเหลือสังคม เป็นประธานมูลนิธิองค์กรทำดี เเละ เปิดร้านข้าวแกงนางงาม 10 บาท พิกัด รังสิตคลอง 4

งานช่วยเหลือสังคม ประธานมูลนิธิองค์กรทำดี ที่ปรึกษา คณะทำงานสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคม กรมพัฒนาสังคมเเละสวัสดิการ

นางสาวไทย

[แก้]

ปนัดดาได้ตำแหน่งนางสาวไทยในปี พ.ศ. 2543 และควบตำแหน่งทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย นอกจากนี้ยังได้ตำแหน่ง ขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชน ก่อนหน้านี้เธอได้เป็นนางนพมาศและถือป้ายงานกีฬา 5 พระเกี้ยว ปี 2534 และเป็นนางนพมาศกรุงเทพมหานคร ปี 2534[6]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ วีรพงศ์ พิพิธสุขสันต์ เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2548 พบกันตอนไปอบรมหลักสูตร พสบ. ที่กองทัพเรือ มีลูกสาวชื่อว่า "อันดามัน" เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ได้ประกาศต่อสาธารณชนว่าเลิกรากันแล้ว และในปี พ.ศ. 2557 เธอเปิดใจคบกับ เอกริน นิลเศรษฐี (เอก) เทรนเนอร์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558 ต่อมาก็เลิกรากันตอนปลายปี พ.ศ. 2561[7] ปัจจุบัน สมรสกับ นาย อธิป อนันทวรรณ (ก็อต) นักกีฬาเพาะกายอิสระและนักกีฬายิงปืนรณยุทธทีมชาติไทย มีลูกชายด้วยกัน 2 คนชื่อ อนันท์ อนันทวรรณ ชื่อเล่น อเล็กซ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[8] และ คนที่ 3 ชื่อ อติวิชญ์ อนันทวรรณ ชื่อเล่น อาเธอร์ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2567[9]

วงการบันเทิง

[แก้]

ปนัดดา เริ่มต้นเป็นงานพิธีกร จากรายการ "อินไซด์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์" ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี โดยตอนนั้นมี ไก่ - มีสุข แจ้งมีสุข เป็นพิธีกรคู่ และจากนั้นได้เล่นละคร "ต้นรักดอกงิ้ว" ทางช่อง 5 และได้ออกหนังสือชื่อ "ดอก...ปนัดดา" เป็นพิธีกร รายการร้านชำยามเช้า ทางไอทีวี, ทีไอทีวี ร่วมกับสุจิรา อรุณพิพัฒน์ และอรินทร์มาศ บุญครองทรัพย์ โดยได้ทีมงานฝ่ายผลิตชั้นหนึ่งของไอทีวี อาทิ วิไลภรณ์ จงกลวัฒนา โปรดิวเซอร์ ครีเอทีฟ และได้เป็นผู้ประกาศข่าวรายการ ข่าวเช้า NBTทาง NBT

พิธีกร

[แก้]
  • รายการ "อินไซด์เอ็นเตอร์เทนเม้นท์" ทางไอทีวี
  • รายการ บางกอกดราม่า ทางไอทีวี
  • รายการ "เจาะเซฟ" ทางไอทีวี
  • รายการ "ร้านชำยามเช้า" ทางไอทีวี , ทีไอทีวี
  • รายการ รู้จริงป่ะ ช่อง 3 รับเชิญ
  • รายการ บิ๊กหม่ำ ช่อง 3 รับเชิญ
  • รายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ ทางช่อง 3 (รับเชิญ)
  • รายการ อกแตกวาไรตี้ ช่อง 2 สตาร์แม็กซ์ เคเบิลทีวีของอาร์เอส
  • รายการ สวัสดีความสุข Loca ช่อง 15 หรือทรูวิชั่นช่อง 25
  • รายการ แรงชัดจัดเต็ม Bright TV ช่อง 20
  • รายการ เล่นใหญ่ จัดใหญ่ Bright TV ช่อง 20
  • รายการ ตกมันส์บันเทิง ช่อง 9 Nine Entertain
  • รายการ ปนัดดา กำลังสอง ช่อง 5
  • รายการ ดาราตาสับปะรด ช่อง 1 เวิร์คพอยท์
  • รายการ ตะลุยตลาดเช้า ช่อง 1 เวิร์คพอยท์
  • รายการ ดาราวาไรตี้โพล ช่อง 2 สตาร์แม็กซ์ เคเบิลทีวีของอาร์เอส
  • รายการ องค์กรทำดี Bright TV ช่อง 20
  • รายการ Good Life ช่อง 9
  • รายการ Lady Nine ช่อง 9
  • รายการ ปนัดดา วาไรตี้ ช่อง S Channal
  • รายการ สุดจัดปนัดดา ช่อง Amarin TV
  • รายการ เรื่องลับมาก ช่อง Nation TV
  • รายการ วันดีคืนร้าย ช่อง one 31
  • รายการ one รับแขก ช่อง one 31
  • รายการ คุยเสียบประจานโชว์ ช่อง one 31
  • รายการ แม่มาคาเฟ่ ช่อง Amarin TV 34
  • รายการ แซะ ช่อง Amarin TV 34
  • รายการ "เคลียร์ ชัด ชัด" ช่อง workpoint 23

ผลงานการแสดง

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
ไม่ทราบ ผี! วิญญาณและความผูกพัน (เหม เวชกร) ตอน น้ำมันผีพราย นวล ช่องไอทีวี
2544 ปากกา หัวใจ กับ ไมโครโฟน บุ๋ม
2545 ต้นรักดอกงิ้ว ชิดสมัย ช่อง 5
2546 กษัตริยา เจ้านางศุภยา
2547 มหาราชกู้แผ่นดิน เจ้านางศุภยา
คุณชายจอมยุ่ง กองแก้ว ช่อง 3
2549 สะใภ้พาร์ทไทม์ กุลยา
ซอย 3 สยามสแควร์ วิภา
2550 กลิ่นแก้วกลางใจ เมษา
ดั่งดวงตะวัน ฝ้าย
2551 พริกไทยกับใบข้าว อินทิรา
รักเธอยอดรัก โสภา
2552 วีรชนคนกล้า ตอน จอมนางจามเทวี พระสนม อินทรมณี ช่อง 5
2553 กุหลาบซ่อนหนาม พิมพา ช่อง 3
คุณนายสามสลึง เดือนเต็มดวง
365 วันแห่งรัก ลดาวัลย์
2554 สุดหัวใจเจ้าชายเทวดา ประไหมสุหรี ช่อง 9
2555 หมูแดง สตี ช่อง 3
บ้านนอกเข้ากรุง ดาวรัตน์
กี่เพ้า หลินเหม่ยอิง
2556 กากับหงส์ ส้ม ช่อง 8
แผนรัก แผนร้าย สกุณา ช่อง 5
อีสา-รวีช่วงโชติ หม่อมลำดวน
ใต้ร่มใบภักดิ์ อำไพพรรณ ช่อง 3
สาปพระเพ็ง บริวารนรสิงห์
2557 ในสวนขวัญ หทัย
ลูกทาส น้อม
เสือ สิงห์ กระทิง บ๊อง อภิรดี
มายานางฟ้า คุณหญิงอรอุมา ทรูโฟร์ยู
มนต์เจตภูต ลดา
5 ห้องชีวิตเนรมิตนิสัย ตอนในห้องนอน มุก ดีเอ็มซีทีวี
2558 แม้เลือกเกิดได้ พิศ ช่อง 8
สิงห์สี่แคว (ชาติเจ้าพระยา 2) ไพลิน เพิ่มพูน ช่อง 3
แหวนทองเหลือง สมร ช่อง 8
มงกุฎริษยา เปรมจิต
ดอกไม้ใต้เมฆ ดาราเลิศ ช่อง 3
2559 สาวน้อยร้อยล้าน เจ๊ติ๋ม
บุษบาหน้าตลาด อังกาบ
รักสลับหน้า รำไพ พินธุสุวรรณ ช่อง 7
2560 Club Friday Celeb's Stories ตอน แย่งชิง เจ๊ยุ่น จีเอ็มเอ็ม 25
2562 นางสาวก้นครัว คุณนายสายหยุด
2563 วุ่นรักนักข่าว จันทร์ทรงกลด บงกชตระกาล (คุณจันทร์) พีพีทีวี
Who Are You เธอคนนั้นคือฉันอีกคน หมิว จันจิรา จีเอ็มเอ็ม 25
2565 สายรุ้ง พันดาว ช่องวัน 31
ปิ่นอนงค์ คุณนายครองสุข ช่อง 3

ภาพยนตร์

[แก้]

ซิตคอม

[แก้]

ซีรีส์

[แก้]

พากย์ภาพยนตร์

[แก้]

รางวัล

[แก้]
  • รางวัล พิฆเนศวร ครั้งที่ 2 ประจำปี 2556 สาขานักแสดงผลงานดีเด่นหญิง[10]
  • รางวัล กินรีทอง "คุณค่าแห่งบุคคล" สาขา ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ประจำปี 2559 [11]
  • ได้รับมอบเกียรติบัตร การเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล ๕" / 20 พฤศจิกายน 2560
  • รางวัล MAYA AWARD (มายามหาชน) พิธีกรหญิงดีเด่นแห่งปี 2563
  • รางวัล สตรีทำงานดีเด่น วันสตรีสากล / 8 มีนาคม 2564
  • รางวัล แม่ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 ชมรมสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย / 12 สิงหาคม 2564
  • ได้รับมอบเกียรติบัตร การเป็นวิทยากร การพัฒนาและฝึกอบรม "ยุวชนวิถีใหม่ : บวชทิพย์" โดย มูลนิธิโพธิปัญญา ร่วมกับ มูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) มูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ หลักสูตรสันตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร และเครือข่ายวิทยากรต้นแบบสันติภาพ 14-16 ตุลาคม 2564
  • รางวัล เทพมเหศักดิ์ ผู้สนับสนุนส่งเสริมคนพิการมีงานทำทั้งภาครัฐและเอกชน ประจำปี 2564 / 26 ตุลาคม 2564
  • รางวัล "ประชาบดี" ประเภทสื่อสร้างสรรค์ ประจำปี 2564 (รายการห้องรับแขก) ให้ไว้ ณ วันที่ 17 มกราคม 2565 / กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • รางวัล "คนดีประเทศไทย ปีที่ 12 ประจำปี 2563-2564 " สาขา ช่วยเหลือสังคมดีเด่น (องค์กรทำดี หรือ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น มูลนิธิองค์กรทำดี) ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มกราคม 2565
  • รางวัล "นักเคลื่อนไหวเพื่อสังคมแห่งปี" ประจำปี 2565
  • รางวัล ผู้สร้างเเรงบันดาลใจให้กับเยาวชน โครงการ "เยาวชนพัฒนาชาติ ไฝ่ศึกษา รักษาเอกราชเเละวัฒนธรรมไทย" เพื่อเป็นเกียรประวัติของแผ่นดินเกิด ให้ไว้ ณ วันที่ 20 กันยายน 2565
  • รางวัล เยาวชนคนสร้างชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2565 วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ดร. ปนัดดา วงศ์ผู้ดี (บุ๋ม)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-24. สืบค้นเมื่อ 2017-06-10.
  2. "บุ๋ม ปนัดดา รับปริญญา ม.รังสิต เป็นดอกเตอร์แล้วจ้า". kapook.com. 2015-02-22.
  3. ประวัติปนัดดา วงศ์ผู้ดี จากไทยรัฐออนไลน์
  4. "Exclusive Talk 'บุ๋ม-ปนัดดา วงศ์ผู้ดี' วิวาทะร้อน...นางงามสายสตรอง". bangkokbiznews. 2020-06-07.
  5. matichon (2017-05-12). "'ดร.บุ๋ม ปนัดดา' นั่งปธ.สมาคมศิษย์เก่าฯม.รังสิต 'ณเดชน์' ร่วมประชุมบอร์ดสมาคม". มติชนออนไลน์.
  6. 133 (2021-11-19). "บุ๋ม เปิดภาพ สมัยเป็นนางนพมาศเมื่อ 30 ปีที่แล้ว สวยอมตะไม่มีเปลี่ยน". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  7. "บุ๋ม ปนัดดา น้ำตาซึม เผยหมดเปลือกสาเหตุเลิกสามี เอก เอกริน (คลิป)". www.thairath.co.th. 2018-12-17.
  8. ""บุ๋ม ปนัดดา" เผยโฉมหน้าลูกชายภาพแรก "น้องอเล็กซ์" น่ารักน่าชังมาก". www.sanook.com/news. 2022-11-22.
  9. ""บุ๋ม ปนัดดา" คลอดแล้ว น้ำตาไหลได้เห็น "น้องอาเธอร์" ครั้งแรก". www.sanook.com/news. 2024-11-20.
  10. เคน-เจนี่ ซิวนักแสดงนำดีเด่น รางวัลพิฆเนศวร 2556
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-13. สืบค้นเมื่อ 2017-06-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]