พรรณประภา ยงค์ตระกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรณประภา ยงค์ตระกูล

เกิด12 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 (35 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ชื่ออื่นบุ๋ม
ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพแพทย์ นักธุรกิจ และผู้ประกาศข่าว ข้าราชการการเมือง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน​
รางวัลนางสาวไทย 2551
(ชนะเลิศ)
มิสทีนไทยแลนด์ 2549
(รองชนะเลิศอันดับ 2)

แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล ชื่อเล่น บุ๋ม แพทย์ชาวไทย ในอดีตได้ตำแหน่งรองอันดับ 2 มิสทีนไทยแลนด์ ประจำปี 2006 เมื่ออายุ 18 ปี และเป็นนางสาวไทย ประจำปี 2551 ซึ่งจากเวทีนี้ได้รับรางวัลนางงามผิวสวยด้วย[1] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ประวัติ[แก้]

พรรณประภา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ และมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยเป็นนักเรียนในโครงการอัจฉริยภาพวิทยาศาสตร์รุ่นที่ 1 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เข้าประกวดนางสาวไทยเมื่อตอนที่ศึกษาอยู่ปี 3 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]

การทำงาน[แก้]

หลังจากศึกษาจบเข้าทำงานโรงพยาบาลลำปางเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[3] จากนั้นทำการขอโอนย้ายโรงพยาบาล นอกเหนือจากทำงานเป็นแพทย์ ยังเคยเป็นผู้ประกาศข่าวราชสำนักของสำนักข่าวไทย ทางช่อง 9 รวมถึงยังเป็นเจ้าของคลินิกเวชกรรมที่ชื่อ Panprapa Clinic[4] พรรณประภาเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และในปี 2563 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)​ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 โดยทำหน้าที่ในการแถลงสถานการณ์ประจำวัน ทุกวันหยุดเสาร์-อาทิตย์[5] เริ่มรายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 แทนทวีศิลป์ วิษณุโยธิน เริ่มวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "จาก 'นางสาวไทยคนที่ 44' สู่โฆษก ศบค.เปิดประวัติ 'พญ.พรรณประภา'". วอยซ์ทีวี. 15 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เปิดประวัติ "หมอบุ๋ม" ว่าที่ผู้ช่วยโฆษก ศบค". เนชั่น. 17 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "จับวิศวกรแม่เมาะ-แฟนหมอ รพ.ลำปางแอบถ่าย "หมอบุ๋ม" อดีต นส.ไทยเปลี่ยนผ้า". 15 สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เปิดประวัติ "หมอบุ๋ม" พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ว่าที่ผู้ช่วยโฆษก ศบค". สนุก.คอม. 16 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "รู้จัก "หมอบุ๋ม" พญ.พรรณประภา ดีกรีนางสาวไทย ผู้ช่วยโฆษก ศบค. คนใหม่". ไทยรัฐออนไลน์. 17 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เปิดตัว "หมอบุ๋ม" อดีตนางสาวไทย ทำหน้าที่แถลงข่าว ศบค.สุดสัปดาห์แทน "หมอทวีศิลป์"". อมรินทร์ทีวี. 22 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๖ ข หน้า ๒, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕