มิสเวิลด์
![]() มิสเวิลด์ | |
ก่อตั้ง | 1951 |
---|---|
ประเภท | การประกวดความงาม |
สํานักงานใหญ่ | ลอนดอน |
ที่ตั้ง | |
สมาชิก | 100+ |
ภาษาทางการ | อังกฤษ |
ประธานบริหาร | จูเลีย มอร์ลีย์ |
บุคลากรหลัก | จูเลีย มอร์ลีย์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์หลักอย่างเป็นทางการ |
มิสเวิลด์ (อังกฤษ: Miss World) เป็นการประกวดนางงามระดับนานาชาติ ก่อตั้งขึ้นในสหราชอาณาจักรโดย เอริก มอร์ลีย์ ในปี ค.ศ. 1951[1][2] หลังจากที่เอริก มอร์ลีย์เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 2000 จูเลีย มอร์ลีย์ ภรรยาของเอริก ได้ขึ้นมาเป็นประธานของการประกวดมิสเวิลด์จนถึงปัจจุบัน
มิสเวิลด์เป็นการประกวดนางงามที่มีผู้เข้าร่วมประกวดและถ่ายทอดออกอากาศมากที่สุด[3] โดยในแต่ละปีมีตัวแทนผู้เข้าประกวดมากกว่า 100 คน[4][5] และเป็นเวทีการประกวดที่มีผู้เข้าร่วมประกวดมากที่สุด (นางงามจักรวาลมีประมาณ 90 ประเทศในแต่ละปี) โดยปัจจุบันมีผู้ที่ได้ตำแหน่งมิสเวิลด์แล้วทั้งหมด 70 คน
ผู้ดำรงตำแหน่งมิสเวิลด์คนปัจจุบันคือการอลีนา บีแยลัฟสกา จากประเทศโปแลนด์ โดยได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2022 ที่เมืองซานฮวน เครือรัฐปวยร์โตรีโก
รูปแบบการประกวด[แก้]
การประกวดมิสเวิลด์นั้นจะคัดผู้เข้าประกวดที่จะเข้ารอบไม่เท่ากันในแต่ละปี ก่อนหน้านี้จะมีผู้เข้าประกวดเข้ารอบ 20-25 คน ในปี ค.ศ. 2017 ได้ปรับเปลี่ยนให้มีผู้เข้าประกวดเข้ารอบเพิ่มเป็น 40 คน โดยจะมีการประกวดรอบฟาสต์แทร็ก (Fast Track) ซึ่งปัจจุบันประกอบไปด้วย Miss Talent (ความสามารถพิเศษ), Miss World Beach Beauty (โชว์หุ่นในชุดว่ายน้ำ), Top Model (ทักษะนางแบบ), Miss World Sports (แข่งขันกีฬา) และ Beauty With a Purpose (นางงามที่อุทิศตัวเพื่อสังคม) และนำผู้ชนะในฟาสต์แทร็กรอบนั้น ๆ เข้ารอบสุดท้ายโดยทันที[6] และที่เหลือจะคัดเลือกจากผู้ที่มีคะแนนสูงติดอันดับจากการทำกิจกรรมกับกองประกวด (ยกเว้นปี 2004 ที่ใช้การโหวตเข้ารอบ) โดยกองประกวดจะเริ่มจากการประกาศ Semi-finalist แล้วจะประกาศ Finalist จนสัมภาษณ์นางงาม (รูปแบบการแข่งขันจะไม่เหมือน Miss Universe คือไม่มีการเดินรอบชุดว่ายน้ำและชุดราตรี) ซึ่งนางงามจะเข้ารอบหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความชอบของคณะกรรมการและจูเลีย มอร์ลีย์ ซึ่งจะไม่มีคะแนนปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร และประกาศตำแหน่งรองอันดับ 2 รองอันดับ 1 และตำแหน่งมิสเวิลด์ในปีนั้น โดยจูเลีย มอร์ลีย์ จะเป็นผู้ประกาศผลด้วยตัวเอง
ฟาสต์แทร็ก[แก้]
การประกวดรอบฟาสต์แทร็กนั้น ได้มีการเริ่มต้นการประกวดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 โดยผู้ที่ได้ตำแหน่งฟาสต์แทร็กในรอบต่าง ๆ นั้นจะได้สิทธิ์เข้ารอบการประกวดมิสเวิลด์ในปีนั้นทันที โดยฟาสต์แทร็กที่ใช้ในการประกวดมิสเวิลด์นั้นมีดังต่อไปนี้[7]
- มิสทาเลนต์ (ค.ศ. 1978, 2001 – ปัจจุบัน)[8]
- มิสท็อปโมเดล (ค.ศ. 2004, 2007 – ปัจจุบัน)[9]
- บิวตี วิธ อะ เพอร์โพส (ค.ศ. 2001 – ปัจจุบัน) [1]
- มิสสปอร์ต (ค.ศ. 2003 – ปัจจุบัน)
- มิสพีเพิลชอยส์ (ค.ศ. 2003, 2008, 2013 – ปัจจุบัน)
- มิสบีชบิวตี (ค.ศ. 2003 – 2014)[10][11]
ผู้ชนะการประกวดในช่วงไม่กี่ปี[แก้]
ปี | ประเทศ | ผู้ดำรงตำแหน่ง | เวทีประกวดระดับชาติ | สถานที่จัดประกวด | ผู้เข้าประกวด |
---|---|---|---|---|---|
2023 | TBA | ![]() |
TBA | ||
2022 | งดจัดการประกวด | ||||
2021 | ![]() |
การอลีนา บีแยลัฟสกา (Karolina Bielawska) | มิสโปโลเนีย | ![]() |
97 |
2020 | งดจัดการประกวด เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 | ||||
2019 | ![]() |
โทนี-แอนน์ ซิงห์ (Toni-Ann Singh) | มิสจาเมกาเวิลด์ | ![]() |
111 |
2018 | ![]() |
บาเนซา ปอนเซ (Vanessa Ponce) | มิสเม็กซิโก | ![]() |
118 |
2017 | ![]() |
มานูชี ชิลลา (Manushi Chhillar) | เฟมินา มิสอินเดีย | 118 |
ทำเนียบมิสเวิลด์[แก้]
มิสเวิลด์ 2021 การอลีนา บีแยลัฟสกา
โปแลนด์
มิสเวิลด์ 2019 โทนี-แอนน์ ซิงห์
จาเมกา
มิสเวิลด์ 2018 บาเนซา ปอนเซ
เม็กซิโก
มิสเวิลด์ 2017 มานูชี ชิลลา
อินเดีย
มิสเวิลด์ 2016 เอสเตฟานี เดล บาเย
ปวยร์โตรีโก
มิสเวิลด์ 2015 มีเรยา ลาลากูนา
สเปน
มิสเวิลด์ 2014 โรลีน สเตราส์
แอฟริกาใต้
มิสเวิลด์ 2013 เมแกน ยัง
ฟิลิปปินส์
มิสเวิลด์ 2012 อฺวี๋ เหวินเสีย
จีน
มิสเวิลด์ 2011 อิเวียน ซาร์กอส
เวเนซุเอลา
มิสเวิลด์ 2010 อเล็กซานเดรีย มิลส์
สหรัฐ
มิสเวิลด์ 2009 ไคแอนน์ อันโดริโน
ยิบรอลตาร์
มิสเวิลด์ 2008 คเซเนีย ซุคิโนว่า
รัสเซีย
มิสเวิลด์ 2007 จาง จือลิน
จีน
มิสเวิลด์ 2006 ทาทานา คูชาโรวา
เช็กเกีย
มิสเวิลด์ 2004 มาเรีย จูเลีย แมนทิลลา
เปรู
มิสเวิลด์ 2003 โรแซนนา เดวิสัน
ไอร์แลนด์
มิสเวิลด์ 2002 แอซรา อาคิน
ตุรกี
มิสเวิลด์ 2000 ปริยังกา โจปรา
อินเดีย
มิสเวิลด์ 1999 ยุกตา มุกเฮย์
อินเดีย
มิสเวิลด์ 1998 ไลนอร์ อาบาร์กิล
อิสราเอล
มิสเวิลด์ 1997 ไดอานา เฮย์เดน
อินเดีย
มิสเวิลด์ 1994 ไอศวรรยา ราย
อินเดีย
มิสเวิลด์ 1993 ลิซา ฮันนา
จาเมกา
มิสเวิลด์ 1977 แมรี สเตวิน
สวีเดน
มิสเวิลด์ 1969 อีวา รูเบอร์ สไตเออร์
ออสเตรีย
มิสเวิลด์ 1968 เพเนโลเป พลัมเมอร์
ออสเตรเลีย
มิสเวิลด์ 1967 เมเดลีน ฮาร์ทอจ-เบลล์
เปรู
มิสเวิลด์ 1964 แอนน์ ซิดนีย์
สหราชอาณาจักร
มิสเวิลด์ 1962 แคธารีนา ลอดเดอร์ส
เนเธอร์แลนด์
มิสเวิลด์ 1959 คอรีน รอทท์สชาเฟอร์
เนเธอร์แลนด์
มิสเวิลด์ 1957 มาริตา ลินดาห์ล
ฟินแลนด์
มิสเวิลด์ 1953 เดนิส เพอร์เรียร์
ฝรั่งเศส
ผู้ดำรงตำแหน่งราชินีทวีป[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Michael Smith. "Miss World Competition Says No to Bikini Yes to Sarong". Guardian Liberty Voice. สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.
- ↑ "Miss Universe on August 23". Timesofmalta.com. สืบค้นเมื่อ 24 May 2011.
- ↑ "Beauty Pageants: Are The Crowns On the Right Heads? - Nigerian News from Leadership News". Nigerian News from Leadership News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
- ↑ "Newly crowned Miss Namibia 2009, Happie Ntelamo". The Economist .na. 19 June 2009. สืบค้นเมื่อ 24 May 2011.
- ↑ "Warsaw-life.com. Miss World comes to Warsaw". Warsaw-life.com. สืบค้นเมื่อ 24 May 2011.
- ↑ Billings, S. (2013). Language, Globalization and the Making of a Tanzanian Beauty Queen. Encounters (Bristol, England). Channel View Publications. p. 186. ISBN 978-1-78309-075-4.
- ↑ "World ฟาสแทร็กบนเวทีการประกวดมิสเวิลด์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-23. สืบค้นเมื่อ 2010-04-08.
- ↑ "Steffi makes top 30 in Miss World talent round". Namibian Sun. 4 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-01. สืบค้นเมื่อ 23 June 2016.
- ↑ "Miss World Top Model announced". India Today. 2 December 2009. สืบค้นเมื่อ 23 June 2016.
- ↑ Manago, Lito (15 December 2008). "Miss Russia wins Miss World 2008; Philippines fails to make it in semi-finals". Yes!. สืบค้นเมื่อ 23 June 2016.
- ↑ Lange, Maggie (18 December 2014). "Miss World Pageant Axes Swimsuit Portion". New York Magazine. สืบค้นเมื่อ 22 December 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: มิสเวิลด์ |