การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความขัดแย้งของคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น

ถํ้าตะโคะบิ๊ หนึ่งในฐานที่มั่นของฝ่ายคอมมิวนิสต์
วันที่พ.ศ. 2508 – 2526
(18 ปี)
สถานที่
ผล

รัฐบาลไทยใช้การฑูตแทนการทหาร

คู่สงคราม

 ไทย

สาธารณรัฐจีน (จนถึงกรกฎาคม 2510)

 มาเลเซีย[2][3]
 สหรัฐ[4]

สนับสนุนโดย:
 อินโดนีเซีย (ตั้งแต่ 2511)[5]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
กองทัพไทย: 127,700 นาย
ตำรวจไทย: 45,800 นาย[4]
ผู้ก่อการกำเริบ 1,000–12,000 คน
ผู้ฝักใฝ่ 5,000–8,000 คน[7][11]
ความสูญเสีย
2509:[12]
ทหารและตำรวจเสียชีวิต ~90 นาย
2510:[13]
ทหารและตำรวจเสียชีวิต 33 นาย
2512–2514:[11][12]
ทหาร ตำรวจและข้าราชการเสียชีวิต 1,450+ นาย
บาดเจ็บ 100+ นาย
2515:[13]
ทหารและตำรวจเสียชีวิต 418 นาย
2509:[11]
ผู้ก่อการกำเริบเสียชีวิต 133 คนและถูกจับกุม 49 คน[14]
2510:[13]
ผู้ก่อการกำเริบเสียชีวิต 93 คน
ไม่ทราบจำนวนผู้ถูกจับ
2512–2514:[11][12]
ผู้ก่อการกำเริบเสียชีวิต 365+ คน
บาดเจ็บ 30+ คน
ถูกจับกุม 49+ คน
2515:[13]
ผู้ก่อการกำเริบเสียชีวิต 1,172 คน[13]
1982:[13]
ไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิต
ผู้ก่อการกำเริบยอมจำนน 3,000+ คน
ไม่ทราบจำนวนพลเมืองที่เสียชีวิต (ฝ่ายรัฐบาลสังหารไป 3,008 คนใน พ.ศ. 2514–2517)[15]

การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยเป็นสงครามกองโจรที่กินเวลาตั้งแต่ปี 2508 ถึง 2526 สู้รบกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) และรัฐบาลไทยเป็นหลัก สงครามเสื่อมลงในปี 2523 หลังรัฐบาลประกาศนิรโทษกรรม และในปี 2526 พคท. เลิกก่อการกำเริบ

ภูมิหลัง[แก้]

ใน พ.ศ. 2470 Han Minghuang นักคอมมิวนิสต์ชาวจีนพยายามจัดตั้งองค์การคอมมิวนิสต์ในกรุงเทพ ก่อนจะถูกจับกุมในเวลาต่อมา[12] ปีถัดมา โฮจิมินห์เดินทางไปยังภาคเหนือของไทย เพื่อพยายามจัดระเบียบโซเวียตในชุมชนเวียดนามท้องถิ่น[12] หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา กล่าวหาปรีดี พนมยงค์ ศัตรูทางการเมืองว่าเป็นคอมมิวนิสต์ โดยรัฐบาลของเขาผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ซึ่งกำหนดความผิดทางอาญาต่อลัทธิคอมมิวนิสต์[12]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายคอมมิวนิสต์จัดตั้งพันธมิตรกับขบวนการเสรีไทย จากนั้นใน พ.ศ. 2489 ปรีดี พนมยงค์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยกเลิกพระราชบัญญัติต่อต้านคอมมิวนิสต์ และจัดตั้งความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียต[12]

ใน พ.ศ. 2492 ความพยายามในการกลับมามีอำนาจของปรีดี พนมยงค์หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ถูกทำลายลง การปราบ "กบฎวังหลวง" ทำให้ผู้นำ พคท. เชื่อว่าต้องเตรียมการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้การกบฏในอนาคตประสบผลสำเร็จ[16]

ความล้มเหลวของการก่อกบฏใน พ.ศ. 2495 นำไปสู่การใช้พระราชบัญญัติต่อต้านคอมมิวนิสต์ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 โดยมีที่มาจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จำนวนเล็กน้อยในการก่อกบฏ[16]

ในช่วงสงครามเกาหลี ทาง พคท. ยังคงสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ในพื้นที่ชนบทและเตรียมการสำหรับการต่อสู้ด้วยอาวุธ ขณะเดียวกัน พคท. ได้จัดตั้งคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทยขึ้น ซึ่งเป็นขบวนการสันตินิยมที่ดำเนินการในพื้นที่เมือง คณะกรรมการสันติภาพนี้มีส่วนต่อการขยายตัวของ พคท. และเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านอเมริกาในประเทศ[16]

ใน พ.ศ. 2503 ทางเวียดนามเหนือจัดตั้งค่ายฝึกอบรมสำหรับอาสาสมัครชาวไทยและลาวที่จังหวัดฮหว่าบิ่ญ ประเทศเวียดนาม โดยในช่วงปีแรกมีผู้เข้าร่วมค่ายรวม 400 คน[12]

พคท. มีอุดมการณ์เข้ากับลัทธิเหมา และในช่วงความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต พรรคนี้เข้าเป็นฝ่ายเดียวกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2507 องค์กรประกาศจุดยืนในข้อความแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 15 ปีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน[7]

ความขัดแย้ง[แก้]

ต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 นักคอมมิวนิสต์ไทย 50 คนเดินทางไปกรุงปักกิ่ง ที่ซึ่งได้รับการฝึกด้านอุดมการณ์และการโฆษณาชวนเชื่อ ในปี 2504 กลุ่มผู้ก่อการกำเริบขบวนการปะเทดลาวขนาดเล็กแทรกซึมเข้าภาคเหนือของประเทศไทย มีการจัดระเบียบกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ท้องถิ่นและมีการส่งอาสาสมัครไปยังค่ายฝึกในประเทศจีน ลาวและเวียดนามเหนือ โดยการฝึกมุ่งไปยังการต่อสู้ด้วยอาวุธและยุทธวิธีก่อการร้าย ระหว่างปี 2505 ถึง 2508 ชาวไทย 350 คนรับการฝึกนาน 8 เดือนในเวียดนามเหนือ เดิมทีกองโจรมีปืนคาบศิลาจำนวนจำกัด ตลอดจนอาวุธฝรั่งเศส จีนและญี่ปุ่น ในครึ่งแรกของปี 2508 ผู้ก่อการกำเริบลักลอบนำอาวุธที่ผลิตในสหรัฐ 3,000 ชิ้นและเครื่องกระสุน 90,000 นัดเข้าจากประเทศลาว สินค้าเหล่านี้เดิมจัดส่งให้กองทัพลาวที่สหรัฐหนุนหลัง แต่ถูกขายให้ผู้ลักลอบส่งออก แล้วแลกเปลี่ยนอาวุธให้แก่ พคท. แทน[4][11]

ระหว่างปี 2504 ถึง 2508 ผู้ก่อการกำเริบลอบฆ่าทางการเมือง 17 ครั้ง พคท. ยังไม่เปิดฉากสงครามกองโจรเต็มขั้นจนฤดูร้อนปี 2508 เมื่อ พคท. เริ่มปะทะกับฝ่ายความมั่นคง มีบันทึกรวม 13 ครั้งในช่วงนั้น ครึ่งหลังของปี 2508 มีเหตุการณ์ความรุนแรงอีก 25 ครั้ง และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2508 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเริ่มปฏิบัติการที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งการซุ่มโจมตีกองลาดตระเวนของตำรวจที่จังหวัดนครพนม[12]

ในปี 2509 การก่อการกำเริบลามไปส่วนอื่นของประเทศไทย แต่เหตุการณ์การก่อการกำเริบร้อยละ 90 เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[4] ในวันที่ 14 มกราคม 2509 โฆษกกลุ่มแนวร่วมรักชาติไทยเรียกร้อง "สงครามประชาชน" ในประเทศไทย แถลงการณ์นั้นเป็นเครื่องหมายการยกระดับความรุนแรงในความขัดแย้งนี้ และต้นเดือนเมษายน 2509 ผู้ก่อการกำเริบฆ่าทหาร 16 นายและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 13 คนระหว่างการปะทะในจังหวัดเชียงราย[12] มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงรวม 45 นายและพลเรือน 65 คนเสียชีวิตจากการโจมตีของผู้ก่อการกำเริบในครึ่งแรกของปี 2509[12]

ขณะที่ลี้ภัยอยู่ในประเทศจีน เล่าว่าปรีดี พนมยงค์ได้รับข้อเสนอว่าทางการจีนพร้อมเปิดสงครามกลางเมืองคอมมิวนิสต์ในไทยเพื่อให้ปรีดีกลับไปมีอำนาจในประเทศไทย โดยขอแลกกับการเพิ่มสิทธิให้แก่ชาวจีนในประเทศไทย แต่เขาปฏิเสธ[17]: 797–801 

แม้จะมีผุ้ก่อการกำเริบโจมตีฐานทัพที่กองทัพอากาศสหรัฐตั้งทัพในไทยถึง 5 ครั้ง การมีส่วนในความขัดแย้งของสหรัฐมีอยู่ในวงจำกัด[4][18]

หลังกองทัพปฏิวัติชาติพ่ายในสงครามกลางเมืองจีน กองพลที่ 49 ข้ามพรมแดนเข้าสู่ประเทศไทยจากมณฑลยูนนาน ทหารจีนบูรณาการเข้ากับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว และเข้าร่วมการค้าฝิ่นที่ได้กำไรงามภายใต้การคุ้มครองของข้าราชการฉ้อฉล การค้ายาเสพติดเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประชากรท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ทหารคณะชาติยังให้ความร่วมมือกับรัฐบาลระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบ ในเดือนกรกฎาคม 2510 เกิดสงครามฝิ่นเมื่อผู้ปลุกฝิ่นไม่ยอมจ่ายภาษีให้พรรคก๊กมินตั๋ง กำลังรัฐบาลเข้าร่วมความขัดแย้งนี้ด้วย โดยทำลายหมู่บ้านจำนวนหนึ่งแล้วย้ายถิ่นฐานผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ประชากรที่ถูกย้ายใหม่นี้เป็นทหารเกณฑ์ใหม่สำหรับ พคท.[1]

ในเดือนกุมภาพันธ์และสิงหาคม 2510 รัฐบาลดำเนินการตีโฉบฉวยต่อต้านการก่อการกำเริบจำนวนหนึ่งในกรุงเทพมหานครและธนบุรี จับกุมสมาชิก พคท. ได้ 30 คนรวมทั้งเลขาธิการพรรค ธง แจ่มศรี มีการจับกุมตามมาในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2511[12]

รัฐบาลวางกำลังกว่า 12,000 นายในจังหวัดภาคเหนือของประเทศในเดือนมกราคม 2515 ดำเนินปฏิบัติการนานหกสัปดาห์ซึ่งทำให้ผู้ก่อการกำเริบเสียชีวิตกว่า 200 คน ฝ่ายรัฐบาลมีทหารเสียชีวิต 30 นายและได้รับบาดเจ็บ 100 นาย[12]

ปลายปี 2515 กองทัพ ตำรวจและอาสารักษาดินแดนทำการ "เผาลงถังแดง" พลเรือนกว่า 200 คน[15] (บันทึกไม่เป็นทางการกล่าวว่าสูงถึง 3,000 คน)[19][20] ซึ่งถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในตำบลแหลมทราย จังหวัดพัทลุง คาดว่ากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเป็นผู้สั่งการ[15][21]

ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ "รูปแบบการละเมิดอำนาจของกองทัพและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย"[22] ระหว่างปฏิบัติการต่อต้านการก่อการกำเริบที่ป่าเถื่อนในปี 2514–2516 ซึ่งทำให้มียอดพลเรือนเสียชีวิต 3,008 คนทั่วประเทศ[15] (ส่วนประมาณการอย่างไม่เป็นทางการว่ามีระหว่าง 1,000 ถึง 3,000 ในจังหวัดพัทลุงที่เดียว)[20] ผู้ที่ถูกฆ่าทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าทำงานร่วมกับ พคท. จนถึงเวลานั้นผู้ต้องสงสัยคอมมิวนิสต์ที่ถูกทหารจับกุมปกติถูกยิงข้างถนน มีการริเริ่มเทคนิค "ถังแดง" ภายหลังเพื่อกำจัดหลักฐานใด ๆ ผู้ต้องสงสัยจะถูกทุบตีจนเกือบหมดสติก่อนถูกทิ้งลงในถังน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็น[23][24] ถังแดง 200 ลิตรมีตะแกรงกั้นเหล็ก โดยมีไฟด้านล่าง และผู้ต้องสงสัยอยู่ด้านบน[25]

วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ท่ามกลางความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ยึดประเทศเช่นเดียวกับที่เกิดในเวียดนาม ตำรวจและกำลังกึ่งทหารโจมตีการเดินขบวนของนักศึกษาฝ่ายซ้ายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประมาณการอย่างเป็นทางการระบุว่ามีนักศึกษาถูกฆ่า 46 คน และได้รับบาดเจ็บ 167 คน[26]

ตั้งแต่ปี 2522 ท่ามกลางความเจริญของลัทธิชาตินิยมไทยและความเสื่อมของความสัมพันธ์จีน–เวียดนาม ภายใน พคท. เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรง สุดท้ายฝ่ายนิยมเวียดนามแยกตัวออกไปตั้งกลุ่มแยกต่างหาก ชื่อ "พรรคใหม่"[7]

ความพยายามยุติการก่อการกำเริบนำสู่นิรโทษกรรมซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2523 นายกรัฐมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 คำสั่งนี้มีผลสำคัญต่อความเสื่อมของการก่อการกำเริบ ในปี 2526 การก่อการกำเริบก็ถึงคราวยุติ[27]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Thailand" (PDF). Stanford University. 19 June 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 14, 2015. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  2. Chin Peng, pp.479–80
  3. NIE report
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 "Communist Insurgency In Thailand". CIA Report. July 1966. สืบค้นเมื่อ 23 November 2022.
  5. Wassana Nanuam (August 2015). "Engagement of Malaysia and Indonesia on Counter Insurgency in the South of Thailand" (PDF). Asia Pacific Center for Security Studies. Archived (PDF) from the original on 29 September 2015. Retrieved 29 September 2015.
  6. Sison, Jose Maria. "Notes on People's War in Southeast Asia" เก็บถาวร 2007-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "Anatomy of a Counterinsurgency Victory" (PDF). January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  8. "70 ปี 'องค์จอมทัพไทย' พระราชกรณียกิจ รัชกาลที่ 9 ด้านการทหาร". October 21, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 1, 2023.
  9. "ในหลวงรัชกาลที่ 9 หยุดคอมมิวนิสต์ ด้วยพระเมตตา". ThaiQuote. December 5, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 1, 2023. สืบค้นเมื่อ July 1, 2023.
  10. "กุศโลบาย ร.9 เสด็จฯ เยือนชาติตะวันตก ไทยเป็น "กันชน" ยุคสงครามเย็น". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-07-01.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Wilfred Koplowitz (April 1967). "A Profile of Communist Insurgency-The Case of Thailand". The Senior Seminar in Foreign Policy 1966–67. สืบค้นเมื่อ 29 October 2015.
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 12.12 "The Communist Insurgency In Thailand". Marine Corps Gazette. March 1973. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2015. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 Prizzia, Ross (1985) "Thailand in Transition: The Role of Oppositional Forces" (Honolulu: University of Hawaii Press), 19–20, 24.
  14. Note: these are figures for Dec. 25 1965 to Jan. 16 1967. The total number of suspects "arrested or surrendered" in this time was 3,450, but only 49 were convicted, with the rest being listed as "released" or "under investigation." See page 9.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 Jularat Damrongviteetham (2013). Narratives of the "Red Barrel" Incident. p. 101. doi:10.1057/9781137311672_6. ISBN 9781137311672. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-11. สืบค้นเมื่อ 2023-06-11.
  16. 16.0 16.1 16.2 Takahashi Katsuyuki. "How did the Communist Party of Thailand extend a United Front?" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 1, 2015. สืบค้นเมื่อ 7 December 2014.
  17. ไสว สุทธิพิทักษ์, ดร.ปรีดี พนมยงค์ เก็บถาวร 2021-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, บพิธการพิมพ์, 2493
  18. Vick, Alan (1995). Snakes in the Eagle's Nest A History of Ground Attacks on Air bases (PDF). Rand Corporation. pp. 80–84. ISBN 9780833016294. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 5, 2023.
  19. Tyrell Haberkorn (2013). "Getting Away with Murder in Thailand". State Violence in East Asia (Edited by Sung Chull Kim and Narayan Ganesan): 186. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-01. สืบค้นเมื่อ 2023-06-11.
  20. 20.0 20.1 Matthew Zipple (2014). "Thailand's Red Drum Murders Through an Analysis of Declassified Documents". Southeast Review of Asian Studies: 91. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-13. สืบค้นเมื่อ 2023-06-11.
  21. Summary of World Broadcasts: Far East, Part 3. Monitoring Service of the BBC. 1976.
  22. Kim, Sung Chull; Ganesan, Narayanan (2013). State Violence in East Asia. University Press of Kentucky. p. 259. ISBN 9780813136790. JSTOR j.ctt2jcp1p.
  23. "[untitled]". The Bangkok Post. 30 March 1975.
  24. Peagam, Norman (14 March 1975). "Probing the 'Red Drum' Atrocities". Far Eastern Economic Review.
  25. "POLITICS: Thailand Remembers a Dictator". Inter Press Service. 18 June 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 28, 2023. สืบค้นเมื่อ 29 June 2014.
  26. Handley, Paul M. The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Yale University Press. ISBN 0-300-10682-3, p. 236.
  27. Bunbongkarn, Suchit (2004). "The Military and Democracy in Thailand". ใน R.J. May & Viberto Selochan (บ.ก.). The Military and Democracy in Asia and the Pacific (PDF). ANU E Press. pp. 52–54. ISBN 1920942017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.