ลัทธิเหมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฆษณาชวนเชื่อภาพเหมา เจ๋อตง
ลัทธิเหมา
อักษรจีนตัวเต็ม毛澤東思想
อักษรจีนตัวย่อ毛泽东思想
ความหมายตามตัวอักษร"แนวคิดของเหมา เจ๋อตง"

ลัทธิเหมา (จีน: 毛泽东思想; พินอิน: Máozédōng sīxiǎng) คือทฤษฎีทางการเมืองและการทหารที่พัฒนามาจากแนวคิดและนโยบายของเหมา เจ๋อตง (1893–1976) ซึ่งเป็นผู้นำทางการเมืองและการปฏิวัติของประเทศจีนในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยในระยะแรกเริ่มนั้นถูกเรียกว่า "ทฤษฎีความคิดของเหมา เจ๋อตง" เดิมมองว่าแนวคิดนี้ถูกพัฒนามาจากแนวคิดของลัทธิมากซ์–เลนิน พรรคคอมมิวนิสต์จีนมองว่าลัทธิเหมาทำให้เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยใหม่ ทำให้ประเทศรบชนะสงครามต่อต้านญี่ปุ่นและสงครามการเมืองภายในประเทศ และเกิดทฤษฎีที่สำคัญที่นำมาใช้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

ลัทธิเหมาถูกพัฒนาขึ้นมาระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950–1970 เนื้อหาหลักของลัทธิเหมา ได้แก่ "ดวงไฟจากหมู่ดารา (กลุ่มประเทศล่าอาณานิคม) จะแผดเผาแผ่นดิน (จีน)", "ผู้ที่ถืออาวุธจะมีอำนาจทางการเมือง", "ชาวนาจะล้อมรอบเมือง", "นโยบายกองโจรล้อมเมือง", "ประชาชนจะเดินขบวนไปตามเส้นทาง", "รัฐบาลคอมมิวนิสต์รวบรวมประชาชนให้สามัคคีกัน", "ศิลปะจะต้องรับใช้การต่อสู้ทางชนชั้นเท่านั้น", "รัฐบาลจะแบ่งสันปันส่วนให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน" และ "ใช้ทฤษฏีของลัทธิเหมาดำเนินการปฏิวัติ" เป็นต้น ประธานเหมากล่าวว่าชาวนาควรเป็นป้อมปราการป้องกันพลังการปฏิวัติซึ่งนำโดยชนชั้นกรรมาชีพในประเทศจีน จนกระทั่งได้รับการปฏิรูปเปิดประเทศจากเติ้ง เสี่ยวผิง พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่าลัทธิเหมาเป็นการตกผลึกความรู้ที่ทำให้ประชาชนรวมตัวกันโดยผู้นำรุ่นแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่มิได้เป็นแนวคิดส่วนบุคคลของเหมา เจ๋อตง[1]

นอกจากนี้ "ลัทธิเหมา" (Maoism) ถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างลัทธิมากซ์กับแนวคิดจีนดั้งเดิมที่ลงตัวจนตกผลึกเป็นลัทธิเหมาซึ่งแตกต่างจากลัทธิมากซ์ ผู้ที่ยึดถือลัทธิเหมาเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่ศรัทธาในลัทธิมากซ์–เลนินและลัทธิเหมา หรือเรียกรวม ๆ ว่า "ลัทธิมาร์กซ์–เลนิน–เหมา" อันเป็นแนวคิดที่ต่อต้านลัทธิปฏิรูป (Anti-Revisionism)

ที่มาและการเปลี่ยนแปลง[แก้]

ดร.เบนจามิน ไอ. ชวาตซ์ (Benjamin Isadore Schwartz) นักจีนวิทยาชาวอเมริกันจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เสนอคำว่า "ลัทธิเหมา" (Maoism) ขึ้นมาซึ่งวงการวิชาการระหว่างประเทศได้ยอมรับให้ใช้นามสกุลของเหมา เจ๋อตง ซึ่งเป็นผู้นำประเทศในขณะนั้นมาใช้เรียกแนวคิดของพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งได้อิทธิพลมาจากลัทธิมากซ์–เลนิน

"เย่ชิง" (叶青) นักทฤษฎีต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์จากพรรคก๊กมินตั๋ง ได้นำนามสกุลของเหมาเจ๋อตงมาใช้เรียกทฤษฎีของลัทธิคอมมิวนิสต์ว่าลัทธิเหมาในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1941 แล้ว "จาง หรูซิน" (张如心) นักทฤษฎีชาวเหยียนอาน (延安) ก็ใช้คำศัพท์นี้ในระหว่างช่วงสงครามด้วย ต่อมาก็มีเติ้ง ทัว (邓拓) กับ อู๋ อวี้จาง (吴玉章) ที่ใช้เรียกคำนี้อีกด้วย[2]

แนวคิดของเหมาเจ๋อตงปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในบทความ "เส้นทางการปลดแอกประชาชนชาวจีนและพรรคคอมมิวนิสต์จีน"[3] ของหนังสือพิมพ์รายวัน "การปลดแอก" ในปี ค.ศ. 1943 ซึ่งเขียนโดย "หวาง เจี้ยเสียง" (王稼祥) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และในปี ค.ศ. 1945 ได้ปรากฏเอกสารทางการ "วิพากษ์พรรคการเมือง" (论党) ของหลิว เช่าฉี (刘少奇) ซึ่งเป็น 1 ใน 7 ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ผู้นำทั้ง 7 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กำหนดให้ลัทธิเหมาเป็นความคิดหลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[4]

ในปี ค.ศ. 1956 มีการประชุมของ 8 ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ให้ผ่านมติรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีการวิพากษ์วิจารณ์การนับถือลัทธิสตาลินและเสนอให้ยกเลิกลัทธิเหมา ทางพรรคคอมมิวนิสต์จึงมีมติให้บังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้[5]

ในปี ค.ศ. 1969 ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ฟื้นฟูระเบียบข้อบังคับ 7 ข้อซึ่งมีใจความสำคัญว่า "ลัทธิเหมาเกิดขึ้นเพราะลัทธิจักรวรรดินิยมล่มสลาย ถึงเวลาแล้วที่ลัทธิสังคมนิยมสายมากซ์–เลนินจะประกาศชัยชนะทั่วโลก" ซึ่งถือว่าเป็น "การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่"[6] ของลัทธิมากซ์–เลนิน หลังจากนั้นลัทธิเหมาก็กลายเป็นความคิดหลักที่บังคับใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

นิยามลัทธิเหมาของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[แก้]

ในปี ค.ศ. 1981 คณะกรรมการกลางประจำพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดการประชุมครั้งที่ 6 ในสมัยประชุมครั้งที่ 11 ในหัวข้อการประชุม "การเจรจาหารือเกี่ยวกับปัญหาทางประวัติศาสตร์หลังสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน" ซึ่งนำโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ในการประชุมครั้งนี้มีมติให้บังคับใช้โดยนำจุดยืน แนวคิดและวิธีการที่ผ่านการจัดระบบความคิดของเหมาเจ๋อตงให้กลายเป็นจิตวิญญาณของลัทธิเหมาที่ประชาชนชาวจีนเคารพและนับถือ ซึ่งมีแนวคิด 6 ด้าน และหลักการพื้นฐาน 3 ประการ

แนวคิด 6 ด้าน ได้แก่[แก้]

  1. แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติประชาธิปไตยใหม่
  2. แนวคิดการปฏิวัติและสร้างชาติแบบสังคมนิยม
  3. แนวคิดการสร้างกองทัพปฏิวัติและยุทธศาสตร์ทางการทหาร
  4. แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายและกลยุทธ์ในการปกครอง
  5. แนวคิดการทำงานทางการเมืองและวัฒนธรรม
  6. แนวคิดการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน

หลักการพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่[แก้]

  1. การแสวงหาความจริงจากข้อเท็จจริง (实事求是) เป็นการนำทฤษฎีลัทธิเหมามาใช้ในการปลดแอกประชาชนโดยนำการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมาใช้ในการตรวจสอบความจริง
  2. เส้นทางของมวลชน (群众路线) เป็นระบบการเมืองที่ทำเพื่อประชาชน พึ่งพาประชาชน โดยประชาชนและต้องเข้าถึงประชาชนทั้งหมด
  3. ความเป็นอิสระและการพึ่งพาตนเอง (独立自主、自力更生) จะต้องใช้นโยบายซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของการสร้างชาติและอำนาจของประชาชนในชาติ โดยหาวิธีการพัฒนาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศชาติ

หลังจากนั้นได้กำหนดให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรม (文化大革命) และการปฏิวัติระบบเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ (无产阶级专政下继续革命) กลายเป็นแนวคิดที่ผิดพลาดในยุคเหมาตอนปลาย โดยรัฐบาลจีนได้มีมติให้แนวคิดที่ผิดพลาดนี้ไม่เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิเหมาอีกต่อไป

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดการประชุมผู้แทนระดับชาติ ครั้งที่ 16 ในระหว่างการประชุมมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญบางส่วนโดยกำหนดนิยามของลัทธิเหมาใหม่ว่า "สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นตัวแทนสำคัญ และเคยเป็นสหายของเหมาเจ๋อตงได้นำแนวคิดหลักพื้นฐานของลัทธิมากซ์–เลนินมาผสมผสานกับขบวนการปฏิวัติสาธารณรัฐประชาชนจีน จนตกผลึกเป็นลัทธิเหมา ลัทธิเหมาได้รับการพัฒนามาจากลัทธิมากซ์–เลนิน และใช้ในการบริหารประเทศ และเกิดข้อสรุปจากทฤษฎีและประสบการณ์ที่ถูกต้องในการสร้างชาติและปฏิวัติสาธารณรัฐประชาชนจีน จนตกผลึกเป็นภูมิปัญญาในการรวมตัวของพรรคคอมมิวนิสต์จีน"[7]

พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้นำลัทธิเหมามาใช้เป็นหลักการสำคัญในการบริหารประเทศ แต่สื่อสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "ลัทธิเหมา" (毛主义) ในเชิงดูถูกเหยียดหยาม ในขณะเดียวกันองค์กรระหว่างประเทศมักใช้คำว่า "ลัทธิมากซ์–เลนิน" แทนที่จะใช้ "ลัทธิเหมา" เพื่อแสดงให้เห็นว่าแนวคิดของลัทธิเหมาเป็นเพียงการพัฒนาขึ้นมาจากลัทธิมากซ์ แต่ยังมิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไข อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์ต่างประเทศ (เช่นพรรคคอมมิวนิสต์ปฏิวัติอเมริกา) เห็นว่าทฤษฎีของเหมาเจ๋อตงมีการเสริมแนวคิดจากทฤษฎีพื้นฐานของลัทธิมากซ์ให้เป็นรูปธรรมขึ้น ฉะนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา จึงมีการใช้คำว่า "ลัทธิมากซ์–เลนิน–เหมา" เพื่อใช้ในวาระทางการเมือง

ลัทธิเหมากลายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวคิดของรัฐบาลจีนนับตั้งแต่เติ้ง เสี่ยวผิงได้ดำเนินการปฏิรูปเปิดประเทศเมื่อปี ค.ศ. 1978 ลัทธิสังคมนิยมอัตลักษณ์จีนกลายเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในทางการเมืองจีน รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนได้ดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจและแก้ไขนิยามของลัทธิเหมาให้ประชาชนเกิดความตระหนักรู้ ในขณะเดียวกันก็ได้ลดสถานะของลัทธิเหมาให้มีขอบเขตที่น้อยลง ถึงแม้ลัทธิเหมาจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความคิดที่ใช้ในการบริหารประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ว่า "ระบบทฤษฎีสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน" ของเติ้งกลับมิได้รวมลัทธิเหมาอยู่ด้วย[8]

พรรคคอมมิวนิสต์ปฏิวัติอเมริกาได้แสดงข้อเรียกร้องว่า "อำนาจของลัทธิแก้ในจีนหลังปี ค.ศ. 1976 ไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่ฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่ยังเป็นของผู้สืบทอดอันเป็นมรดกตกทอดมาจากเส้นทางการปฏิวัติของเหมา เจ๋อตง" บ็อบ อวาเกียน (Bob Avakian) ผู้ซึ่งเป็นประธานพรรคคอมมิวนิสต์ปฏิวัติอเมริกาได้สันนิษฐานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนทั้งหมดโดยใช้การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีเหตุผล โดยอธิบายสาเหตุของการฟื้นฟูลัทธิปฏิรูป (修正主义 ) และระบบทุนนิยมของประเทศจีน เพื่อที่จะต้องการฟังเสียงสะท้อนต่อการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่และปฏิเสธเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศจีน

เนื้อหาที่สำคัญ[แก้]

ลัทธิเหมาเป็นแนวคิดที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากลัทธิมากซ์–เลนิน ซึ่งมีรากฐานมาจากแนวคิดวัตถุนิยมและการต่อสู้ทางชนชั้นที่กำหนดแนวคิดเทววิทยาและมนุษยนิยม เน้นการจัดลำดับชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิวัติระบบสังคมที่ดำรงอยู่ให้กลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในระดับสากล

ความแตกต่างด้านการปฏิบัติการระหว่างลัทธิเหมากับลัทธิมากซ์–เลนิน คือการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นถอดบทเรียนมาจากความพ่ายแพ้ของการจลาจลในสหภาพโซเวียต มีการโฆษณาชวนเชื่อปลุกเร้าให้กลุ่มชาวนาที่ยากจนออกมาทำการต่อสู้ทางชนชั้น โดยสร้างฐานที่มั่นไว้ที่เขตชนบท เพื่อที่จะใช้กองกำลังติดอาวุธยึดเมืองเรียกว่า "กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง"

วิธีการที่เป็นรูปธรรมคือ "เน้นย้ำการใช้อำนาจการปกครองด้วยปลายกระบอกปืน" โดยก่อตั้งสังกัดย่อยของพรรค ปฏิบัติการภายใต้การบังคับบัญชาตามคำสั่งของพรรค รวมความคิดเป็นหนึ่งเดียวกัน กวาดล้างผู้เห็นต่าง สร้างวาทกรรมให้กองทัพมีความจงรักภักดีต่อรัฐบาลกลาง อีกประการหนึ่งคือ ดำเนินการปฏิวัติที่ดิน โดยนำที่ดินมาแบ่งสรรปันส่วนให้ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้เกิดการต่อสู้ทางชนชั้นกันระหว่างชาวนาที่เป็นประชากรส่วนใหญ่กับชนชั้นนายทุนที่มีฐานะร่ำรวยโดย "ยึดทรัพย์สินของชนชั้นนายทุนด้วยวิธีการที่รุนแรง แล้วแบ่งที่ดินทำกินให้ผู้ที่เข้าร่วมปฏิบัติการต่อสู้ทางชนชั้น" โดยนำที่ดินและทรัพย์สินของชนชั้นนายทุนแบ่งส่วนให้กับชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง และถ่ายโอนให้กับคนยากจนให้มีรายได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีการยึดทรัพย์สินเงินทองของคนรวยเพื่อให้กองทัพคอมมิวนิสต์ได้นำไปใช้เป็นเสบียงและเงินทุนในการทำสงคราม

แนวคิดด้านปรัชญา[แก้]

เหมา เจ๋อตงได้อนุมัติการอภิปรายกฎหมายทั้งหมด 3 หมวดหมู่ ได้แก่ "คุณภาพมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ, การปฏิเสธสิ่งที่ถูกปฏิเสธ, สรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน" โดยสนับสนุนกฎสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน[9][10]: 389  "กฎสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นหลักการพื้นฐานของจักรวาล ซึ่งพบได้ทั่วไปในโลกธรรมชาติ สังคมมนุษย์ และความคิดของมนุษย์"[11]

เหมา เจ๋อตงสนับสนุนทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษวิธี โดยมองว่า "สิ่งภายนอกเป็นเพียงเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งภายในเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลง สิ่งภายนอกกำเนิดมาจากสิ่งภายใน"[9]

แนวคิดด้านการเมือง[แก้]

แนวคิดทางการเมืองที่สำคัญของเหมา เจ๋อตง ได้แก่ ทฤษฎีประชาธิปไตยใหม่ ทฤษฎีเผด็จการประชาธิปไตยโดยประชาชน และทฤษฎีการปฏิวัติเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ เหมาเห็นว่า "การต่อสู้โดยการปฏิวัติทั้งหมดบนโลกเป็นไปเพื่อยึดอำนาจทางการเมือง และความมั่นคงทางการเมือง"

เหมา เจ๋อตงได้เสนอว่า "ในสังคมแบบสังคมนิยม ความขัดแย้งพื้นฐานเป็นความขัดแย้งระหว่างความสัมพันธ์ในการผลิต และเป็นความขัดแย้งระหว่างพื้นฐานทางเศรษฐกิจกับโครงสร้างชั้นบน"[9] การต่อสู้ทางชนชั้นดำรงอยู่ในประวัติศาสตร์ของสังคมแบบสังคมนิยมทุกยุคสมัย เมื่อชนชั้นกรรมาชีพได้สถาปนาอำนาจทางการเมืองแล้ว ชนชั้นนายทุนยังมีความพยายามฟื้นตัวขึ้นมา ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จึงมีแนวโน้มเป็น "ผู้มีอำนาจตามแนวทางระบบทุนนิยม"

แนวคิดด้านกฎหมาย[แก้]

การรวมตัวกันปราบปราม: เหมา เจ๋อตงมีความเห็นต่อกลุ่มที่ต่อต้านการปฏิวัติว่า "จะต้องมีนโยบายการดำเนินการรวมตัวกันปราบปรามอันผ่อนผันต่อผู้ที่ชั่วร้าย และขู่ให้ปฏิบัติตามโดยที่ไม่ต้องตั้งคำถาม มีการให้รางวัลแก่ผู้ที่สร้างผลงาน ไม่ใช่แค่กำจัดอย่างเดียว"

การปรับปรุงตัวของอาชญากร: "ภายใต้เงื่อนไขของระบอบเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพนั้น สามารถนำตัวนักโทษมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ มีเพียงคนนอกเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้"

ระบอบเผด็จการโดยมวลชน: ระบอบเผด็จการจะต้องอาศัยมวลมหาประชาชน

เหมา เจ๋อตงผลักดันการบัญญัติกฎหมายอาญา "การผ่อนผันโทษประหารชีวิต" ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

แนวคิดด้านการทหาร[แก้]

เหมา เจ๋อตงได้ปฏิบัติการสำรวจท่ามกลางสงครามต่อต้านญี่ปุ่นและสงครามภายในอย่างต่อเนื่อง จนสามารถสร้างทฤษฎีทางการทหารที่สมบูรณ์ได้ทีละขั้นตอน ซึ่งรวมไปถึงยุทธศาสตร์และหลักการพื้นฐานทางการทหาร รูปแบบของการต่อสู้ทางชนชั้นของกองกำลังติดอาวุธ ยุทธวิธีป่าล้อมเมือง สงครามประชาชน สงครามกองโจร สงครามการเคลื่อนไหว ทฤษฎีสงครามประชาชนเป็นส่วนประกอบสำคัญของลัทธิเหมา ส่วนทฤษฎียุทธศาสตร์ทางการทหาร อย่างเช่น สงครามกองโจร และสงครามการเคลื่อนไหวถูกมองว่าเป็นแนวคิดและโลกทัศน์ของกลยุทธ์ทางการทหารจีนโบราณและลัทธิเต๋า[12]

แนวคิดด้านการทูต[แก้]

เหมา เจ๋อตงเป็นผู้บุกเบิกการทูตของสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาได้เสนอแนวคิดการทูตโดย "นำลัทธิชาตินิยมและสากลนิยมมาผสมผสานกัน" มีการสนับสนุนนโยบายทางการทูตที่มมีความเป็นอิสระ

ในด้านความสัมพันธ์ภายในประเทศ เหมา เจ๋อตงมองว่าไม่ว่าจะเป็นประเทศขนาดเล็กหรือใหญ่ ควรมีความเท่าเทียมกันหมด โจว เอินไหลก็ยังเสนอนโยบายหลักการ 5 ข้อ ที่เน้นย้ำการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ[13][14] ยุคเหมา เจ๋อตงตอนปลายมีการเสนอให้แบ่งโลกออกเป็น 3 ส่วน จึงถูกมองว่าเป็นพัฒนาการและการสืบทอดแนวคิดการทูตทางการเมืองของจีนโบราณ[15]

เหมา เจ๋อตงมองว่า "ประเทศชาติเป็นเรื่องของคนในชาติ พรรคการเมืองเป็นเรื่องของคนในพรรค" พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในแต่ละประเทศ แต่รัฐบาลจีนจะไม่เข้าไปแทรกแซงพรรคการเมืองบางประเทศที่พยายามปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์[16]: 594 

แนวคิดทางศิลปวัฒนธรรม[แก้]

อิทธิพลที่มีต่อศิลปะและวรรณกรรม[แก้]

"คำปราศรัยในการประชุมศิลปะวรรณกรรม ณ เมืองเหยียนอาน" ได้รับการยกย่องให้เป็นรูปแบบหลักในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะและวรรณกรรม

ในคำปราศรัยได้กล่าวเอาไว้ว่า "ศิลปะวรรณกรรมของเราจะต้องรับใช้ประชาชนเป็นจำนวนมาก" โดยเน้นย้ำในเรื่องของ "การใช้ศิลปะวรรณกรรมที่มีคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่นำไปใช้ในการปฏิวัติ... ศิลปะวรรณกรรมเป็น 'เกียร์และสกรู' ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิวัติ... ศิลปะวรรณกรรมจะต้องรับใช้การเมือง..."

ความคิดหลักในคำปราศรัยของเหมาเจ๋อตง คือ การนำศิลปะวรรณกรรมมายึดโยงกับกองกำลังของพรรคการเมือง เพื่อรับใช้พรรคการเมือง อันเป็นแผ่นป้ายโฆษณาเพื่อรับใช้ประชาชนส่วนใหญ่ แต่ทว่า "การปฏิวัติ" และ "การทำเพื่อประชาชนส่วนใหญ่" อาจไม่จำเป็นต้องไปด้วยกันก็ได้ สิ่งที่พรรคการเมืองต้องกระทำไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแทนของมวลชนส่วนใหญ่ ศิลปะวรรณกรรมกับการเมืองเป็นหมวดหมู่ที่แตกต่างกัน หากศิลปะวรรณกรรมรับใช้การเมืองแล้วก็เท่ากับว่าจะต้องรับใช้พรรคการเมืองด้วย นักเขียนจะต้องถูกบังคับให้ยอมจำนนต่อพรรคการเมืองซึ่งมีท่าทีที่ยอมศิโรราบต่อการตัดสินและทบทวน อีกทั้งยังต้องติดตามโดยไม่จำเป็นต้องแยกแยะถูกผิด

เหมา เจ๋อตงได้นำความตระหนักรู้ต่อ "ชนชั้น" และ "การต่อสู้ทางชนชั้น" มาวิพากษ์วิจารณ์ "ธรรมชาติของมนุษย์" และ "มนุษยธรรมนิยม" ในคำปราศรัยซึ่งกล่าวว่า "กลุ่มปัญญาชนไม่ใสสะอาด... สมองของพวกเขาเต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบชนชั้นล่าง พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแนวคิดของชนชั้นกรรมาชีพคืออะไร ลัทธิคอมมิวนิสต์คืออะไร พรรคการเมืองคืออะไร... ชนชั้นกรรมาชีพมิอาจอำนวยความสะดวกให้แก่พวกคุณได้ หากพวกเราตามใจพวกคุณก็เท่ากับว่าเอาใจพวกชนชั้นนายทุนใหญ่ที่ถือครองที่ดินส่วนมาก ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อชาติบ้านเมืองอย่างยิ่ง..." ดังนั้น การทำงานทางด้านศิลปะวรรณกรรมจักต้องเชื่อฟังพรรคการเมือง ปฏิบัติตามคำชี้นำ ถึงจะเผยให้เห็นถึงความใสสะอาด ผลงานทางศิลปะวรรณกรรมของจีนยังขาดการพรรณนาและการแสดงออกอย่างลึกซึ้งในมิติของธรรมชาติของมนุษย์ สรรค์สร้างภาพลักษณ์ของตัวละครบนเส้นทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่

เหมา เจ๋อตงได้กล่าวในคำปราศรัยอีกว่า "ยุคสมัยความเรียงของหลู่ซฺวิ่นได้ผ่านพ้นไปแล้ว" นั่นหมายความว่าไม่อนุญาตให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาและความผิดพลาดของกลุ่มปฏิวัติ ดังนั้น เมื่อหวาง ฉือเว่ยเขียนผลงาน "野百合花" ซึ่งมีเนื้อหาพาดพิงถึงปัญหาที่มีอยู่ในสังคมเมืองเหยียนอานในเวลานั้น อย่างเช่น การจัดลำดับชั้น เมื่อเขาได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงสิทธิพิเศษของนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เขาได้เสียชีวิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1957 ผู้ใดกล้ามีปัญหากับรัฐบาลก็จะถูกจัดให้เป็นกลุ่มปัญญาชนขวาจัด[17]

การสนับสนุนทฤษฎีการปฏิวัติ[แก้]

ความแตกต่างสำคัญระหว่างลัทธิเหมากับแนวคิดฝ่ายซ้าย คือ ลัทธิเหมาเน้นทฤษฎีการปฏิวัติ โดยการต่อสู้ทางชนชั้นอันยาวนานในการสร้างชาติแบบสังคมนิยม พอชนชั้นกรรมาชีพมีอำนาจทางการเมืองแล้ว ก็ได้พยายามฟื้นฟูชนชั้นนายทุนขึ้นมา ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็น "ผู้เดินตามแนวทางของระบบทุนนิยม"

มีผู้สนับสนุนลัทธิเหมาจำนวนมากเห็นว่า ระบบทุนนิยมเป็นอันตรายต่อการฟื้นฟูประเทศ พลังสำคัญในการฟื้นฟูมาจากพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีอำนาจ ด้วยเหตุนี้จึงได้รวมเนื้อหา "การปฏิวัติระบอบเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ" ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 เป็นต้นมา ทฤษฎีหลักที่ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศจีนได้ครอบคลุมขอบเขตของลัทธิเหมา ซึ่งเป็นความคิดก่อนปี ค.ศ. 1957 ความคิดหลังจากนั้นถือเป็น "บทเรียนที่ผิดพลาด" อันมหาศาลของลัทธิเหมา

ก่อนที่จะมี "การลงมติปัญหาทางประวัติศาสตร์การสร้างชาติจีนใหม่" ในการประชุมสมาชิกคณะรัฐบาลกลางพรรคคอมมิวนิสต์ ลัทธิเหมาได้รวมเอาแนวคิดการปฏิวัติระบอบเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพเข้าไปด้วย ดังนั้น จึงมีคนใช้สโลแกน "ลัทธิเหมาจงเจริญ" จำนวนมากเพื่อใช้ในความหมายนี้

ลัทธิเหมาในจีนยุคปัจจุบัน[แก้]

ลัทธิเหมาในจีนถูกมองว่าเป็นแนวคิดและกิจกรรมทางการเมืองที่สนับสนุนเหมา เจ๋อตงตลอดชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีท่าทีสนับสนุนขบวนการการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยเหมายุคหลัง

โดยทั่วไปมองว่า เครือข่ายสาขาของกองทัพจีนแดงซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายลัทธิเหมาที่นำโดยเหมา เจ๋อตงนั้น มีเติ้ง ลี่ฉฺวิน (อธิบดีกรมการส่งเสริมการปกครอง) ได้รับทุนสนับสนุนให้สร้างสังคมแบบยูโทเปีย (สังคมในอุดมคติ) และหลี่ เฉิงตฺวาน (อธิบดีกรมสถิติแห่งชาติ) ได้เข้าร่วมการสร้างชาติ เรียกอีกอย่างว่า "ลัทธิเหมาแบบจักรพรรดิ" ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามกับพรรคสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน ตัวแทนกลุ่มกองทัพจีนแดง ได้แก่ อาจารย์จาง หงเหลียง หลี่ เชิ่นหมิง (รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์) แนวคิดพื้นฐานหลัก คือ ต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา ต่อต้านการปฏิรูปของเติ้ง เสี่ยวผิง ปฏิรูปและปกปักษ์รักษาพรรคคอมมิวนิสต์จีน และกำจัดกลุ่มต่อต้านลัทธิเหมาภายในประเทศ[18]

เมื่อปี ค.ศ. 2014 ซากาโมโตะ (戚本) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการปฏิวัติทางวัฒนธรรมได้ให้สัมภาษณ์สื่อที่ฮ่องกงว่า "สี จิ้นผิงเป็นเหมา เจ๋อตงคนที่สอง การสนับสนุนสี จิ้นผิงเป็นลักษณะเด่นของลัทธิเหมาแบบจักรพรรดิจีน ผู้แทนจากรัฐบาลกลางยังมีเว่ย เวย หลิน ม่อหาน อู๋ เหลิ่งซี อวี้ เฉวียนอวี้ สวี่ ลี่ฉวิน (รองอธิบดีกรมการปกครองรุ่นก่อน) และเหมย์ สิง (เลขาของโจวเอินไหล) รวมไปถึงนิตยสาร "การแสวงหาสัจธรรม" (真理的追求) และ "จงหลิว" (中流) ที่ได้รับการอนุมัติ

มีพรรคต่อต้านการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ความแตกต่างระหว่างพวกเขากับรัฐบาลกลางอยู่ตรงที่พวกเขาพยายามล้มล้างพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปัจจุบัน และพยายามฟื้นฟูระบบเจ้าขุนมูลนายที่มีการติดสินบนนายทุน อีกทั้งมีการพยายามฟื้นฟูนโยบายการสร้างกลุ่มต่อสู้ทางชนชั้นแบบในสมัยเหมาเจ๋อตง บุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ ได้แก่ หยวนอวี่หวฺา[19][20] จุดยืนของกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติวัฒนธรรมในปัจจุบัน คือ ฟื้นฟูระบอบจักรพรรดิขึ้นมาและจงรักภักดีต่อพรรคการเมือง (保皇爱党) ผู้ที่ต่อต้านการปฏิวัติมีเป็นส่วนน้อย

พรรคการเมืองลัทธิเหมาในจีน[แก้]

อิทธิพลของลัทธิเหมาที่มีต่อนานาประเทศ[แก้]

การประเมินค่า[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 本书编委会 (กรกฎาคม 2016). 中国共产党章程 中国共产党廉洁自律规则 中国共产党纪律处分条例 中国共产党党员权利保障条例 大字条旨版 [Constitution of the Communist Party of China Rules of Integrity and Self-discipline of the Communist Party of China]. 北京: 中国法制出版社. pp. 2–3.
  2. 国际显学与批判思潮:国际毛主义研究六十年. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2014.
  3. 中共中央文献研究室 (April 2014). 中国延安干部学院编 (บ.ก.). 延安时期党的重要领导人著作选编 下 [Selected Works of Important Party Leaders in the Yan'an Period Part 2]. 北京: 中央文献出版社. p. 481. ISBN 978-7-5073-4041-9.
  4. 大陆新闻解读:十八大前老江搞笑搅场. 22 ตุลาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2013.
  5. 中共八大不提“毛泽东思想”的苏联背景. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015.
  6. 中国共产党章程 (1969年)  (ภาษาจีน). 人民日报. 25 เมษายน 1969 – โดยทาง Wikisource.
  7. 杨立杰, บ.ก. (ตุลาคม 2007). 中国共产党章程(2002年11月14日十六大部分修改通过). 新华网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 เมษายน 2013.
  8. 中国特色社会主义理论体系的内容简述. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2019.
  9. 9.0 9.1 9.2 《矛盾论》.
  10. 中共中央文献研究室, บ.ก. (2013). 毛泽东年谱(1949—1976)·第五卷. 北京: 中央文献出版社. ISBN 978-7-5073-3992-5.
  11. 《关于正确处理人民内部矛盾的问题》
  12. 外国人眼中的毛泽东军事思想. 中国社会科学网. 19 กุมภาพันธ์ 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2019.
  13. 钱其琛. 毛泽东在开创新中国外交和国际战略思想上的伟大贡献.
  14. 钱其琛 (1993). "毛泽东外交思想". 毛泽东思想大辞典. 上海辞书出版. ISBN 7-5326-0284-2.
  15. 姜安 (2012). 毛泽东“三个世界划分”理论的政治考量与时代价值. 中国社会科学 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กรกฎาคม 2014.
  16. 中共中央文献研究室, บ.ก. (2013). 毛泽东年谱(1949—1976)·第六卷. 北京: 中央文献出版社. ISBN 978-7-5073-3992-5.
  17. 《在延安文艺座谈会上的讲话》
  18. 陈子明:试析今日中国的毛派光谱. 共识网. 3 กันยายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016.
  19. 袁庾华:邓小平思潮和老左派思潮. 共识网. 31 สิงหาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016.
  20. NHK纪录片《走近拥毛派》