ลูกเสือชาวบ้าน
ธงลูกเสือชาวบ้าน | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2497 |
---|---|
ประเภท | ทหารอาสาสมัคร |
วัตถุประสงค์ | ดูแลความปลอดภัยหมู่บ้าน |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | ประเทศไทย |
สังกัด | ตำรวจตระเวนชายแดน |
พนักงาน | เคยมีสมาชิก 20% ของชาวไทยวัยทำงาน |
ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกลุ่มทหารอาสาสมัคร ที่มีการจัดกิจกรรมผ่านการลูกเสือ ก่อตั้งขึ้นในปี 2497 โดยตำรวจตระเวนชายแดนฝึกสอนให้ชาวบ้านรู้จักดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน การป้องกันตนเอง ตลอดจนการสอดแนมรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนเป็นอันดับต้น เพื่อป้องกันการคุกคามของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายหลังได้รับการขยายไปทั่วประเทศ สมาชิกลูกเลือชาวบ้านเข้าไปร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเข้าควบคุมลูกเสือชาวบ้านในปี 2517[1]: 223 แล้วเริ่มขยายเข้าไปในเขตเมืองเพื่อตอบโต้การเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้าย พระบรมวงศานุวงศ์สนับสนุนกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน เช่น ถวายผ้าพันคอ[1]: 224 ช่วงหนึ่ง คนวัยทำงานถึง 1 ใน 5 เคยเป็นสมาชิกลูกเสือชาวบ้าน[2]: 34–5
ในเหตุการณ์เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 เป็นกลุ่มฝ่ายขวากลุ่มหนึ่งที่มีส่วนในการลงประชาทัณฑ์นักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้เรียกระดม[3]: 250 ขบวนการนี้ได้กลายเป็นม็อบชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งรัฐปล่อยให้กลุ่มสลายไปหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519[2]: 35
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Handley, Paul M. The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej. Yale University Press. ISBN 0-300-10682-3.
- ↑ 2.0 2.1 อึ๊งภากรณ์, ใจ; ยิ้มประเสริฐ, สุธาชัย; และคณะ (2544). อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง (PDF). คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519. ISBN 9748858626. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-08-23.
- ↑ Thongchai Winichakul (2002). "Remembering/ Silencing the Traumatic Past". In Shigeharu Tanabe and Charles F. Keyes eds., Cultural Crisis and Social Memory: Modernity and Identity in Thailand and Laos. Honolulu: University of Hawaii Press.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]หนังสือและบทความ
[แก้]- พัชรลดา จุลเพชร. “ลูกเสือชาวบ้าน: จากอดีตถึงปัจจุบัน.” ฟ้าเดียวกัน 3, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2548): 98-121.
- Prajak Kongkirati. “Counter-Movement in Democratic Transition: Thai Right-Wing Movements after the 1973 Popular Uprising.” Asian Review 19 (2006): 101-135.