คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
Faculty of Nursing Mahidol University
สถาปนา12 มกราคม พ.ศ. 2439 (128 ปี)
คณบดีรศ.ดร.ยาใจ สิทธิมงคล
ที่อยู่
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
อาคารมหิดลอดุลยเดช – พระศรีนครินทร
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
วารสารวารสารพยาบาลศาสตร์ (JOURNAL OF NURSING SCIENCE)
สี  สีขาว
เว็บไซต์ns.mahidol.ac.th

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะพยาบาลแห่งแรกของไทย กำเนิดมาจาก โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล ในยุคโรงเรียนราชแพทยาลัย นับได้ว่าเป็นคณะพยาบาลที่วางรากฐานด้านการพยาบาลที่ยอดเยี่ยมของไทย

ประวัติ[แก้]

พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิวัฒนาการมาจาก โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์ แลการพยาบาลไข้ ได้รับพระราชทานกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2439 โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็น "โรงเรียนผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย"

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงเห็นว่าวิชาแพทย์ผดุงครรภ์มีความจำเป็นแก่ชีวิตของสตรี เนื่องจากในสมัยนั้นสตรีต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการคลอดบุตร จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนเพื่ออบรมผดุงครรภ์ขึ้นในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชเริ่มเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2439 โดยใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ ” สังกัดกรมศึกษาธิการ ซึ่งต่อมาเรียกว่ากระทรวงธรรมการ ขึ้นภายในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งนับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรก และเป็นจุดเริ่มของการศึกษาด้านการพยาบาลของประเทศด้วย

ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯให้ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก การศึกษาวิชาการพยาบาลจึงได้เริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้น ในระยะต่อมาโรงเรียนได้พัฒนามาเป็นลำดับจนเป็น “ โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ” ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามเป็น “ มหาวิทยาลัยมหิดล ” ในปี พ.ศ. 2512

  • พ.ศ. 2515 "โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับอนุมัติให้ยกวิทยฐานะเป็น “ คณะพยาบาลศาสตร์ ” เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน นับเป็นคณะที่ 13 ของ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 18 เล่ม 89 ตอนที่ 103 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 [1] โดยมีนางสงวนสุข ฉันทวงศ์ เป็นคณบดีคนแรก และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความก้าวหน้าทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตามลำดับจนถึงปัจจุบัน และขยายหลักสูตร จนสามารถจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท (พ.ศ. 2520) และปริญญาเอก (พ.ศ. 2532)ได้[2]

ภาควิชาและสำนักงาน[แก้]

อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ (ซ้าย) ตั้งอยู่ใกล้กับท่าพรานนก

ภาควิชา[แก้]

ปัจจุบันคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีภาควิชาดังต่อไปนี้[3]

  • ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์
  • ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน
  • ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
  • ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์
  • ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
  • ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
  • ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์

สำนักงาน[แก้]

ปัจจุบันคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีสำนักงานดังต่อไปนี้[4]

  • สำนักงานการศึกษา
    • งานบริการการศึกษา
    • งานพัฒนานักศึกษา
    • งานห้องสมุด
  • สำนักงานวิจัยและบริการวิชาการ
    • งานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
    • งานบริการวิชาการ
  • สำนักงานยุทธศาสตร์และการพัฒนา
    • งานนโยบาย แผน และงบประมาณ
    • งานพัฒนาคุณภาพ และบริหารความเสี่ยง
    • งานประชาสัมพันธ์ และพัฒนาภาพลักษณ์องค์กร
  • สำนักงานคณบดี
    • งานทรัพยากรบุคคล
    • งานคลัง และพัสดุ
    • งานบริหารจัดการ
    • งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตร[แก้]

ระดับประกาศนียบัตร
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง (สำหรับนักศึกษานานาชาติ)
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง แบ่งออกเป็น สาขาการพยาบาลหัวใจและทรวงอก, การบริหารการพยาบาล, การพยาบาลผู้สูงอายุ, การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง, การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์, การพยาบาลออโธปิดิกส์, การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรัง และการพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ
ระดับปริญญาตรี
  • หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต[5]
ระดับปริญญาโท
  • หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต[6]
    • สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่
    • สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง
    • การพยาบาลเด็ก
    • การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
    • สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ
    • สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
ระดับปริญญาเอก
  • หลักสูตรพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรภาษาไทย)
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล (หลักสูตรนานาชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ) เป็นโครงการร่วมระหว่าง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในอเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย โดยนักศึกษาต้องไปทำวิจัยมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เลือกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี[7]


อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษาม,การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดล,7 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
  2. ประวัติความเป็นมาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. ภาควิชาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. "สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-11. สืบค้นเมื่อ 2013-11-04.
  5. การศึกษาระดับปริญญาตรีและเฉพาะทางคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (M.N.S.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. Doctor of Philosophy in Nursing Program (Ph.D) เก็บถาวร 2013-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Joint Program between Faculty of Nursing and Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]