โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
![]() | บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ Bodindecha (Sing Singhaseni) 2 School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.ด.๒ B.D.2 |
ประเภท | มัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ |
คำขวัญ | ลูกบดินทรเป็นผู้ประพฤติดีและมีความรู้ |
สถาปนา | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 |
ผู้อำนวยการ | ดร.อารีย์ วีระเจริญ |
จำนวนนักเรียน | 3,675 คน (พ.ศ. 2566) |
สี | สีน้ำเงิน |
เพลง | มาร์ชบดินทรเดชาสอง |
ต้นไม้ | ลำดวน |
เว็บไซต์ | www.bodin2.ac.th |
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒[1] เป็นโรงเรียนในเครือบดินทรเดชาแห่งที่ 2 สืบเนื่องจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้รับความนิยม และมีนักเรียนเข้าสมัครเรียนเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี นางประจวบ ชำนิประศาสน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ในขณะนั้นจึงมีแนวคิดสร้างโรงเรียนในนามบดินทรเดชา แห่งที่ 2
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ จัดตั้งขึ้นในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา โดยได้ใช้ที่ดินกรรมสิทธิ์ของวัดบางเตย ที่อุบาสิกาแม้น อ่ำทรงงามบริจาค และได้รับการสถาปนาชื่อโรงเรียนตามราชทินนามของ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และมี นางประจวบ ชำนิประศาสน์ เป็นผู้ดูแลระยะเริ่มแรก โดยมี 5 คณะสี ได้แก่ 1.สีเหลือง คณะเสมอใจราช 2.สีชมพู คณะพรหมสุรินทร์ 3.สีเขียว คณะราชโยธา 4.สีแสด คณะเกษตรรักษา 5.สีฟ้า คณะราชสุภาวดี[2]
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ ตั้งอยู่เลขที่ 333 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บนที่ดินจำนวน 22 ไร่ 3 งาน 12 ตารางวา ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดบางเตย ที่ดินแปลงนี้อุบาสิกาแม้น อ่ำทรงงาม ได้บริจาคให้วัดบางเตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2504
ได้รับการสถาปนาชื่อโรงเรียนตามราชทินนามของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ปีพุทธศักราช 2532 ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นางประจวบ ชำนิประศาสน์ พร้อมคณะกรรมการได้ดำเนินการติดต่อขอเช่าที่ดินจำนวน 22 ไร่ 3 งาน 12 ตารางวา ของวัดบางเตย เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียนวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ และแต่งตั้ง นางประจวบ ชำนิประศาสน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ อีกโรงเรียนหนึ่งและเมื่อครบเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2533 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]
- พระเกี้ยว ตราเครื่องหมายพระเกี้ยว ซึ่งถือเป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศา หรือเศียรของพระราชโอรส และพระราชธิดา ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ให้หรือใช้ตราพระเกี้ยวเป็นตราประจำโรงเรียน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
- ดอกลำดวน เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีสีเหลืองนวล และมีกลิ่นหอมเปรียบเสมือนคุณงามความดี ของลูกบดินทรสอง และความยิ่งใหญ่ของโรงเรียน ที่ส่งกลิ่นหอมขจรขจายไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
- พระพุทธบดินทร (หอพระพัชรังกูร) หอพระพัชรังกูร เป็นหอพระประจำโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ ตั้งตระหง่านเป็นสง่าอยู่ที่ประตูหน้า ของโรงเรียน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำโรงเรียน นาม "พระพุทธบดินทร" พระพุทธรูปปางประทานพร ที่ได้รับ มอบจากพระอธิการดวง อัคคปญโญ สิงหเสนี อดีตเจ้าอาวาสวัดพระยาสุเรนทร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวบดินทรสอง เคารพสักการะ และยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพวกเราทุกคนให้ตั้งอยู่ในความประพฤติดี มีคุณธรรมอีกด้วย
แผนการเรียน[แก้]
มัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]
- ห้องเรียนพิเศษคณิต-วิทย์(Gifted) จำนวน 2 ห้อง
- ห้องเรียน English Program จำนวน 2 ห้อง
- ห้องเรียน โครงการห้องเรียนเฉพาะ (STEM) จำนวน 3 ห้อง
- ห้องเรียนปกติ จำนวน 9 ห้อง
- รวม 16 ห้อง
มัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]
- ภาษาอังกฤษ - ภาษาจีนธุรกิจ 1 ห้อง
- ภาษาอังกฤษ - ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ 1 ห้อง
- ภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์ 2 ห้อง
- ภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์-นวัตกรรมเกษตร 1 ห้อง
- ภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์-ธุรกิจการค้าสมัยใหม่ 1ห้อง
- ภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์ (IEP) 1 ห้อง **
- คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ 4 ห้อง
- คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-เตรียมวิศวะ(EN) 1 ห้อง
- คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ปัญญาประดิษฐ์(AI) 2 ห้อง **โครงการปัญญาประดิษฐ์(AI)
- คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์(IMSP) 1 ห้อง **ห้องเรียนพิเศษIMSP
- คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์(IEP) 1ห้อง **ห้องเรียนพิเศษIEP
รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]
ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|
นางประจวบ ชำนิประศาสน์ | พ.ศ. 2533 | เกษียณอายุราชการ |
นายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง | พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2539 | ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า |
นายสุรเทพ ตั๊นประเสริฐ | พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541 | ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ กรมสามัญศึกษา |
นายอมรรัตน์ ปิ่นเงิน | พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545 | ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) |
นายปลองยุทธ อินทพันธุ์ | พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2550 | ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง |
ดร.สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ | พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2553 | ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) |
นายกมล บุญประเสริฐ | พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2554 | - |
นายโชว์นันต์ มารุตวงศ์ | พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557 | เกษียณอายุราชการ |
ดร.สหชัย สาสวน | พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561 | - |
นายเกษม สมภักดี | พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563 | - |
ดร.อารีย์ วีระเจริญ | พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2566 | เกษียณอายุราชการ |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
- พิชญ์นาฏ สาขากร นักแสดง
- กันต์ กันตถาวร นักแสดง, ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์
- มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ นักแสดง
- พรรณประภา ยงค์ตระกูล นางสาวไทยประจำปี 2551, ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข
- ชมพูนุช ปิยธรรมชัย นักแสดง
- เหมือนแพร พานะบุตร นักร้อง
- ชรัฐฐา อิมราพร สมาชิกวงเนโกะ จัมพ์
- วรัฐฐา อิมราพร สมาชิกวงเนโกะ จัมพ์
- ภคมน บุณยะภูติ นักร้อง
- ลักขณา อมิตรสูญ นักแสดง
- หรรษา จึงวิวัฒนวงศ์ นักร้อง
- กฤชกนก สวยสด นักร้อง
- มารี เออเจนี เลอเลย์ นักร้อง
- ษริกา สารทศิลป์ศุภา นักแสดง
- ปฐมพงศ์ เรือนใจดี นักแสดง
- จักรพันธ์ วงศ์คณิต นักแสดง
- ถิรวัฒน์ นันตมาศ เจ้าของบริษัทเครือดอทมินิ
- กฤตภาศ ทวีชัย นักธุรกิจ
- วง เดอะเยอร์ส วงดนตรีร็อกชื่อดังชาวไทย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ www.bodin2.ac.th, เว็บไซต์โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒.
- ↑ "ข้อมูลพื้นฐาน – โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).