อิทธิบาท 4
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
เป็นส่วนหนึ่งของ |
ธรรมะหนทางสู่การรู้แจ้ง |
---|
![]() |
อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4 เป็นธรรมะในพระพุทธศาสนา หมายถึง หนทางสู่ความสำเร็จ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ วิธีให้สำเร็จสมประสงค์ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ มี 4 ประการ คือ
1. ฉันทะ Passion(ความพอใจ) คือ ความรักในสิ่งที่ทำ มีความสุขกับสิ่งที่ทำ การเห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ
2. วิริยะ Grit(ความเพียร) คือ ขยันหมั่นเพียร ความพยายาม เข้มแข็ง อดทน ความสม่ำเสมอ ไม่ท้อถอย ทำให้เกิดความชำนาญ
3. จิตตะ Fogus(ความตั้งใจ) คือ ตั้งใจทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด มุ่งมั่น ทำให้มีคุณภาพ ละเมียดละไม ประณีต ละเอียด สมบูรณ์ มีสมาธิ มีสติ ไม่ประมาท ต่องานที่ทำ ไม่สะเพร่า ไม่หละหลวม รอบคอบ ทำให้ผลงานออกมาดี
4. วิมังสา Revision(พิจารณาใคร่ครวญ) คือ ความไตร่ตรอง พินิจ วิเคราะห์ ทดลอง ตรวจสอบ พัฒนา แก้ไข ปรับปรุง คิดค้น วางแผน วัดผล สิ่งนั้นทำให้ดีที่สุด ทำให้พัฒนาตลอดเวลา ดียิ่งๆขึ้นไปเสมอ
เป็นธรรมที่เชื่อว่าสามารถทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติมีอายุยืนยาวอยู่ได้ตลอดอายุขัย ดังพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ ในตอนที่มารมาอารธนาให้ปลงอายุสังขาร ใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า “อิทธิบาท 4 อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว ทำให้เป็นดุจยานทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป”
กัปในพุทธพจน์นี้ หมายถึง อายุกัป คืออายุขัยของมนุษย์ในช่วงเวลานั้น ซึ่งในครั้งพุทธกาล อายุขัยมนุษย์คือ 100 ปี ยิ่งกว่ากัป คือ 120 ปี นั่นคือถ้าพระอานนท์อาราธนาไว้ในตอนนั้น พระพุทธเจ้าจะมีอายุ 100 ปี หรือ 120 ปี
อ้างอิง
[แก้]- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
- หนังสือ ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ
- คำบรรยายธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา ปีพุทธศักราช 2500