แขวงทับช้าง
แขวงทับช้าง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khwaeng Thap Chang |
![]() แผนที่เขตสะพานสูง เน้นแขวงทับช้าง | |
ประเทศ | ![]() |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
เขต | สะพานสูง |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 10.968 ตร.กม. (4.235 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[2] | |
• ทั้งหมด | 25,645 คน |
• ความหนาแน่น | 2,338.17 คน/ตร.กม. (6,055.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 104403 |
![]() |
ทับช้าง เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 13 แขวงที่ตั้งขึ้นใหม่ล่าสุดตามประกาศการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[3] สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยผสมผสานพื้นที่เกษตรกรรม
ประวัติ[แก้]
แขวงทับช้างในอดีตเป็นท้องที่ตอนเหนือของแขวงประเวศ เขตพระโขนง ต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งเขตประเวศแยกจากเขตพระโขนง โดยโอนแขวงประเวศมาขึ้นกับเขตนี้ด้วย[4] จากนั้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในบริเวณนี้อีกครั้ง โดยตัดท้องที่แขวงประเวศส่วนที่อยู่ทางทิศเหนือของถนนมอเตอร์เวย์มาขึ้นกับเขตสะพานสูงที่จัดตั้งขึ้นใหม่[5] และกรุงเทพมหานครได้ผนวกแขวงประเวศส่วนนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแขวงสะพานสูงไปพร้อมกันเพื่อความชัดเจนด้านการปกครอง[6] จนกระทั่งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้แยกท้องที่ตอนใต้ของแขวงสะพานสูง (ซึ่งเดิมเป็นแขวงประเวศ) ออกมาจัดตั้งเป็น แขวงทับช้าง[7]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
แขวงทับช้างตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเขตสะพานสูง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[7]
- ทิศเหนือ ติตต่อกับแขวงสะพานสูง แขวงราษฎร์พัฒนา (เขตสะพานสูง) และแขวงคลองสองต้นนุ่น (เขตลาดกระบัง) มีคลองวังใหญ่บน คลองทับช้างล่าง คลองลาดบัวขาว และคลองลำอ้อตัน (ลำบึงขวาง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคลองสองต้นนุ่น (เขตลาดกระบัง) มีคลองแม่จันทร์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงประเวศ (เขตประเวศ) และแขวงพัฒนาการ (เขตสวนหลวง) มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงหัวหมาก (เขตบางกะปิ) มีคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงทับช้าง ได้แก่
ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวงทับช้าง ได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)
- ถนนกรุงเทพกรีฑา
- ถนนนักกีฬาแหลมทอง
- ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า (ช่วงถนนกาญจนาภิเษก-คลองแม่จันทร์)
- ซอย 01 กาญจนาภิเษก 25 (พยุงทอง)
- ซอยกรุงเทพกรีฑา 20 (กรุงเทพกรีฑา ซี 4)
- ซอยกรุงเทพกรีฑา 37 (กรุงเทพกรีฑา บี 5)
- ซอยนักกีฬาแหลมทอง 38 (ซอย 18) และซอยนักกีฬาแหลมทอง 40 (ซอย 19 ก)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ข้อมูล ปี 2564 พื้นที่ เขตสะพานสูง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=64&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1044&rcodeDesc=เขตสะพานสูง 2565. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2565.
- ↑ "เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงใน 7 เขต กทม". สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. 2017-08-31. สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงและตั้งเขตคลองเตยและเขตประเวศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (พิเศษ 208 ง): 13. 24 พฤศจิกายน 2532.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ และตั้งเขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 6–19. 18 พฤศจิกายน 2540.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 20–22. 24 ธันวาคม 2540.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 7.0 7.1 "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสะพานสูง และตั้งแขวงราษฎร์พัฒนา แขวงทับช้าง เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 47–49. 31 สิงหาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |