โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต

พิกัด: 13°41′29″N 100°37′59″E / 13.691378°N 100.633190°E / 13.691378; 100.633190
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต
Wachirathamsatit School
ที่ตั้ง
1253 ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 ถนนสุขุมวิท 101/1 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260
ข้อมูล
ชื่ออื่นว.ธ. / W.T.
ประเภท
คำขวัญบาลี: สิกขกาโม ภวํ โหติ
(ผู้ใคร่ในการศึกษาเป็นผู้เจริญ)
สถาปนา23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (57 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระโสภณวชิรธรรม (สาธิต ฐานวโร)
รหัส1010720066
ระดับชั้นม.1 – ม.6
สี  เขียว  ชมพู
เพลงมาร์ชวชิรธรรมสาธิต ที่ยูทูบ
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์wt.ac.th
ต้นไม้ประจำโรงเรียน – ราชพฤกษ์ (ต้นคูน)

โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต (อักษรย่อ: ว.ธ.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษาขนาดใหญ่ ส่วนราชการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ อยู่ในเครือข่ายสหวิทยาเขตนวสิรินครินทร์ ตั้งอยู่ในเลขที่ 1253 ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 ถนนสุขุมวิท 101/1 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต ได้ก่อตั้งสถาปนาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 โดยท่านเจ้าคุณพระโสภณวชิรธรรม อดีตเจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร ด้วยความที่อยากจะช่วยอบรมเยาวชน ท่านจึงได้บอกบุญให้สาธุชนช่วยกันซื้อที่ดินเพื่อที่จะมอบให้กับทางวัด ซึ่งทางวัดก็ได้มอบที่ดินของวัดที่มีเนื้อที่ 8 ไร่ 30 ตารางวา ให้กับทางกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้สร้างโรงเรียน และทางกรมสามัญศึกษาฯ ก็ได้จัดสรรงบประมาณ 800,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก จำนวน 8 ห้องเรียน โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มาเป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ อาคารเรียนหลังแรก เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2510

ต่อมา วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ทางวัดวชิรธรรมสาธิต ได้เอื้อเฟื้อให้วัสดุมาก่อสร้างประกอบรั้วชั่วคราวโดยแถวรอบบริเวณที่ดินของโรงเรียน และทางกรมสามัญฯก็ได้แต่งตั้งท่านเจ้าคุณโสภณวชิรธรรมเป็นผู้อุปการะโรงเรียนและท่านก็ได้เชิญประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาฯ เพื่อเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมเข้าช่วยเหลือในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2515 ได้มีการต่อเติมสร้างอาคารเรียนหลังที่ 2 เพื่อปรับปรุงเป็นห้องสมุดเป็นจำนวนเงิน 24,272.50 บาท

ปี พ.ศ. 2516 ได้ก่อสร้างบ่อน้ำบาดาลพร้อมถังเก็บน้ำและเครื่องสูบน้ำให้โรงเรียนเป็นเงิน 70,525 บาท และซื้อรถยนต์โดยสารขนาดเล็กมอบให้ทางโรงเรียน 1 คัน เป็นเงิน 40,000 บาท

ปี พ.ศ. 2519 จนถึงปัจจุบัน ได้จัดหารายได้ตั้งมูลนิธิการศึกษาโสภณวชิรธรรม โดยมีเงินกองทุนประมาณ 1,000,000 บาท

ปี พ.ศ. 2547 ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากผู้ปกครองนักเรียน ประชาชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในการจัดสร้างโดมประชาชน งบประมาณ 5,960,000 บาท

ปี พ.ศ. 2551 ทางโรงเรียนได้รับงบมาจากสำนักงานกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. เพื่อจัดซื้อที่ดินพื้นที่ติดกับรั้วโรงเรียนด้านฝั่งทิศเหนือเพิ่มอีก 3 ไร่ 32 ตารางวา เป็นจำนวนเงิน 36,960,000 บาท

ปี พ.ศ. 2554 ทางโรงเรียนได้รับงบจาก สพฐ. มาประมาณ 89,000,000 บาท เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนหลังที่ 7 ซึ่งสร้างเป็นอาคารแบบ 7 ชั้นพิเศษ จัดจ้างในราคา 29,000,000 บาท โดยเป็นงบเหลือจ่าย และยังจัดสร้างห้องสมุดมีชีวิต โดยงบประมาณที่จัดสร้างนั้นอยู่ที่ 9,998,000 บาท

ปี พ.ศ. 2564 ทางโรงเรียน ได้รับงบประมาณจากรายได้สถานศึกษา จํานวน 391,292 บาท เพื่อดำเนิน การติดตั้งระบบงานไฟฟ้าและได้รับเงินจากรายได้สถานศึกษา จำนวน 498,620 บาท เพื่อดำเนินการติดตั้งจอ LED ณ เวทีใต้ฐานลานโดมของโรงเรียน

ณ ปัจจุบัน โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต พื้นที่รวมทั้งหมดเป็น 11 ไร่ 62 ตารางวา และ ประกอบไปด้วย อาคารเรียน 6 หลัง อาคารประกอบ 1 หลัง เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

  • สัญลักษณ์ : รูปพระเจดีย์จุฬามณีศรีล้านนา เปล่งรัศมีจากยอดวชิระ ภายในแถบริ้วรองรับฐานเจดีย์มีพุทธสุภาษิต สิกขกาโม ภวํ โหติ ล่างสุดมีอักษรย่อคำว่า ว.ธ.
  • สุภาษิต : สิกขกาโม ภวํ โหติ (ผู้ใคร่ในการศึกษาเป็นผู้เจริญ)
  • อักษรย่อโรงเรียน : ว.ธ. / W.T.
  • สีประจำโรงเรียน :
  • เพลงประจำโรงเรียน : เพลงมาร์ชโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต

คณะสีในโรงเรียน[แก้]

  • ██ คณะสีปาริชาติ (สีแดง)
  • ██ คณะสีเอื้องช่อแสด (สีส้ม)
  • ██ คณะสีนนทรี (สีเหลือง)
  • ██ คณะสีอินทนิล (สีม่วง)
  • ██ คณะสีอัญชัน (สีน้ำเงิน)

หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอน[แก้]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ห้องเรียนพิเศษ ICT หรือ Information And Communication Technology (ห้อง 1)
  • ห้องเรียนพิเศษ IEP หรือ Intensive English Program (ห้อง 2)
  • ห้องเรียนปกติ หลักสูตรทั่วไป (ห้อง 3-14)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • แผนการเรียนพิเศษ ICT/AI (ห้อง 1)
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์สุขภาพ (ห้อง 2)
  • แผนการเรียน วิศวกรรม - สถาปัตยกรรม (ห้อง 3)
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ - คอมพิวเตอร์ (ห้อง 4)
  • แผนการเรียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (ห้อง 5)
  • แผนการเรียนมการจัดการค้าสมัยใหม่ (ห้อง 6)
  • แผนการเรียน ศิลปศาสตร์ - ภาษาฝรั่งเศส (ห้อง 7)
  • แผนการเรียน ศิลปศาสตร์ - ภาษาเกาหลี (ห้อง 8)
  • แผนการเรียน ศิลปศาสตร์ - ภาษาจีน (ห้อง 9)
  • แผนการเรียน นิติศาสตร์ - รัฐศาสตร์ (ห้อง 10)
  • แผนการเรียน นิเทศศาสตร์ (ห้อง 11)
  • แผนการเรียน ศิลปกรรมศาสตร์ (ห้อง 12)
  • แผนการเรียน คหกรรมศาสตร์ (ห้อง 13)

รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายนพคุณ ทรงชาติ พ.ศ. 2510 – 2518
2 นายเชาว์ สาลีฉัน พ.ศ. 2518 – 2524
3 นายแสงทอง กมลรัตน์ พ.ศ. 2524 – 2533
4 นายคำนวณ บุญเพ็ชรแก้ว พ.ศ. 2533 – 2535
5 นายวิโรจน์ หุตะจูฑะ พ.ศ. 2535 – 2537
6 นางอุไรวรรณ สุพรรณ พ.ศ. 2537 – 2539
7 นางลาวัณย์ คมขำ พ.ศ. 2539 – 2543
8 นายโกศล พละกลาง พ.ศ. 2543 – 2545
9 นายมงคล อนุรักษ์ พ.ศ. 2545 – 2550
10 นายพิชยนันท์ สารพานิช พ.ศ. 2550 – 2554
11 นางวรรณี บุญประเสริฐ พ.ศ. 2554 – 2559
12 นายสมพร สังวาระ พ.ศ. 2559 – 2561
13 นางสาวจินตนา ศรีสารคาม พ.ศ. 2561 – 2563
14 นายสันติพงศ์ ชินประดิษฐ พ.ศ. 2563 – 2566
15 นายราเมศน์ โสมแสน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°41′29″N 100°37′59″E / 13.691378°N 100.633190°E / 13.691378; 100.633190