ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิโชวะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6878875 สร้างโดย 2001:3C8:184B:4025:F084:1D4C:A4B6:7178 ([[User talk:2001:3C8:184B:4025:F084:1D4C:A4B6:7178|พูดคุ...
ย้อนการแก้ไขที่ 6878870 สร้างโดย 2001:3C8:184B:4025:F084:1D4C:A4B6:7178 ([[User talk:2001:3C8:184B:4025:F084:1D4C:A4B6:7178|พูดคุ...
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox monarch
# หน้าเปลี่ยนทาง [[สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ]]
| สีพิเศษ = #b80049
| สีอักษร = white
| image = Hirohito in dress uniform.jpg
| name = สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ <br><small> พระจักรพรรดิโชวะ</small>
| พระบรมนามาภิไธย =
| birth_name = ฮิโระฮิโตะ
| birth_place = [[29 เมษายน]] [[พ.ศ. 2444]]<br /> [[พระราชวังอะโอะยะมะ]] [[โตเกียว|กรุงโตเกียว]] [[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]
| death_date = 7 มกราคม พ.ศ. 2532 ({{อายุปีและวัน|2444|4|29|2532|1|7}})
|death_place = [[พระราชวังโอะมิยะ]] [[โตเกียว|กรุงโตเกียว]] [[ประเทศญี่ปุ่น]]
| title = [[จักรพรรดิญี่ปุ่น]]
| father = [[จักรพรรดิไทโช]]
| mother = [[สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม]]
| spouse-type = จักรพรรดินี
| spouse = [[สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง|เจ้าหญิงนะงะโกะแห่งคุนิ]]
| issue = [[ชิเงะโกะ ฮิงะชิกุนิ|เจ้าหญิงชิเงะโกะ เจ้าเทะรุ]]</br>• [[เจ้าหญิงซะชิโกะ เจ้าฮิซะ]]</br>• [[คะซุโกะ ทะกะสึกะซะ|เจ้าหญิงคะซุโกะ เจ้าทะกะ]]</br>• [[อะสึโกะ อิเกะดะ|เจ้าหญิงอะสึโกะ เจ้าโยะริ]]</br> • [[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ|จักรพรรดิอะกิฮิโตะ]]</br>• [[เจ้าชายมะซะฮิโตะ เจ้าฮิตะชิ]]</br>• [[ทะกะโกะ ชิมะสึ|เจ้าหญิงทะมะโกะ เจ้าซุงะ]]
| dynasty = [[ราชวงศ์ญี่ปุ่น]]
| era dates = [[โชวะ]] (2469 - 2532)
| coronation = [[10 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2471]]
|coronation_place = [[พระราชวังหลวงเคียวโตะ]]
|succession = [[จักรพรรดิญี่ปุ่น|จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น]] องค์ที่ 124
| reign = [[25 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2469]] - [[7 มกราคม]] [[พ.ศ. 2532]] ({{อายุปีและวัน|2469|12|25|2532|1|7}})
| predecessor = [[จักรพรรดิไทโช]]
| successor = [[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]]
| signature = Showa shomei.svg
|religion = [[ชินโต]]
|burial_date = [[24 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2532]]
|burial_place = [[สุสานหลวงมุซะชิ]]
}}

'''สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ''' ({{ญี่ปุ่น|裕仁天皇|''ฮิโระฮิโตะ เท็นโน''}}) หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ '''จักรพรรดิโชวะ''' ({{ญี่ปุ่น|昭和天皇|''โชวะ เท็นโน''}}) ([[29 เมษายน]] [[พ.ศ. 2444|2444]] - [[7 มกราคม]] [[พ.ศ. 2532|2532]]) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี [[พ.ศ. 2469]] - [[พ.ศ. 2532]] (63 ปี)

ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ [[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]ในขณะนั้น ได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจของโลกแล้ว ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก จักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงดำรงตำแหน่ง[[ประมุขแห่งรัฐ]]ของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้[[รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น]] ในรัชสมัยของพระองค์ ญี่ปุ่นได้เข้าร่วม[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ซึ่งทำให้ในห้วงเวลานั้น จักรวรรดิญี่ปุ่นแผ่อำนาจและดินแดนไปทั่ว[[เอเชียตะวันออก|เอเชียบูรพา]]โดยที่ไม่มีชาติใด ๆ จะสามารถต้านทาน ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงบนความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหา[[อาชญากรสงคราม]]ดังเช่นผู้นำคนอื่น ๆ ของชาติ[[ฝ่ายอักษะ]] และภายหลังสงคราม พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐใหม่ในการกอบกู้ประเทศชาติที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ในตอนปลายรัชกาล ประเทศญี่ปุ่นก็สามารถกลับมายืนหยัดในฐานะชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก

== พระราชประวัติ ==
[[ภาพ:Michi-no-miya Hirohito 1902.jpg|150px|thumb|left|upright|เจ้าชายฮิโระฮิโตะ ครั้นทรงพระเยาว์ พ.ศ. 2445]]
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังอะโอะยะมะ ใน[[โตเกียว|กรุงโตเกียว]] เมื่อวันที่ [[29 เมษายน]] ปีเมจิที่ 34 (ค.ศ.1901,พ.ศ. 2444) เป็นพระราชโอรสองค์โตใน[[สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช|เจ้าชายโยะชิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร]] (ภายหลังคือจักรพรรดิไทโช) และ[[สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม|เจ้าหญิงซะดะโกะ มกุฎราชกุมารี]] (ภายหลังคือจักรพรรดินีเทเม)<ref>Ponsonby-Fane, Richard. (1959). ''The Imperial House of Japan'', p. 337.</ref> โดยทรงราชทินนามขณะทรงพระเยาว์ ว่า '''เจ้ามิชิ''' (迪宮) ในปี พ.ศ. 2451 ทรงเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนประถมชูอิง

ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระบรมอัยกา [[สมเด็จพระจักรพรรดิมุสึฮิโตะ]] (เมจิ) เมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 พระราชบิดาของพระองค์ เจ้าชายโยะชิฮิโตะ ก็ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็น "สมเด็จพระจักรพรรดิโยะชิฮิโตะ" (ไทโช) ทำให้พระองค์กลายเป็นองค์รัชทายาทตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ญี่ปุ่น<ref>Ponsonby-Fane, p. 338; 'see'' [[:File:Crowd awaiting Crown Prince Tokyo Dec1916.jpg]], ''New York Times.'' December 3, 1916.</ref> ในขณะเดียวกัน ก็ทรงเข้ารับราชการในกองทัพบกและกองทัพเรือในยศเรือตรี ในตำแหน่งนายธง และได้รับพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ]] ชั้นสายสะพาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ทรงได้รับการเลื่อนยศให้เป็นร้อยโทแห่งกองทัพบก และเรือตรีแห่งกองทัพเรือ สองปีต่อมา ก็ถูกเลื่อนยศขึ้นเป็น พันโท และ นาวาเอก ในปีเดียวกันนี้เอง พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "มกุฎราชกุมาร" ตำแหน่งองค์รัชทายาทอย่างเป็นทางการ เมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457

=== มกุฎราชกุมาร ===
ในปี พ.ศ. 2463 พระองค์ได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็นพลโทแห่งกองทัพบก และ พลเรือโทแห่งกองทัพเรือ ต่อมา พ.ศ. 2464 เจ้าชายฮิโระฮิโตะได้ใช้เวลาหกเดือน ในการเสด็จประพาส[[ยุโรป]] ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน [[สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์|สหราชอาณาจักร]], [[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3|สาธารณรัฐฝรั่งเศส]], [[ราชอาณาจักรอิตาลี]], [[ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์]] และ [[เบลเยียม]] นับเป็นมกุฎราชกุมารญี่ปุ่นพระองค์แรกที่เสด็จเยือนต่างประเทศ ซึ่งภายหลังการกลับจากยุโรป ทรงดำรงตำแหน่ง [[คัมปะกุ|ผู้สำเร็จราชการพระองค์]] จากการที่ที่พระราชบิดาทรงพระประชวรทางพระจิต

ระหว่างที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ทรงมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย อาทิ ใน พ.ศ. 2464 การลงนามใน[[สนธิสัญญาสี่อำนาจ]] (อังกฤษ: Four-Power Treaty) โดยจักรวรรดิญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ตกลงที่จะรับรู้สภาพที่เป็นอยู่ในภาคพื้นแปซิฟิก ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรตกลงที่จะยุติ[[พันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่น]]อย่างเป็นทางการ หรือใน พ.ศ. 2466 ก็เกิด[[แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466|แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในภูมิภาคคันโต]] เป็นต้น

== พระราชจริยวัตร ==
หลังประสูติได้ไม่นาน เจ้าชายฮิโระฮิโตะอยู่ในความอภิบาลของ คะวะมุระ สึมิโยะชิ นายทหารเรือเกษียณ และภรรยา เมื่อคะวะมุระถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ. 2447 เจ้าชายองค์น้อยได้เสด็จกลับไปประทับร่วมกับพระบิดาและพระมารดาอีกครั้ง ณ [[พระตำหนักอะกะซะกะ|พระราชวังโทงู]] ทรงรู้สึกใกล้ชิดพระบิดาและพระชนนีเท่าใดนั้นยากที่จะกล่าว แต่หนึ่งในบรรดามหาดเล็กที่ถวายการดูแลเจ้าชายอยู่คือ คันโระจิ โอะซะนะงะ ให้ความเห็นว่าเจ้าชายรักและผูกพันกับจักรพรรดิเมจิ ซึ่งเป็นพระอัยกาเป็นพิเศษ และยามที่เสด็จไปหาเสด็จสมเด็จพระอัยกาที่พระราชวังโตเกียว ก็โปรดที่จะเกาะแจอยู่กับพระองค์ แต่ภาพเช่นนั้นก็ไม่ปรากฏบ่อยนัก <ref>Osanaga Kanroji, "Hirohito"An Intimate Portrait of the Japanese Emperor , Los Angeles : Gateway, 1975</ref> ทางจักรพรรดิเมจิ นั้น ก็ได้พระราชทานของขวัญแก่พระราชนัดดาองค์น้อยและแย้มพระโอษฐ์ให้ แม้จะตรัสกับพระราชนัดดาน้อยมาก เช่นเดียวกัน จักรพรรดิเมจิแทบจะไม่มีพระราชดำรัสต่อเจ้าชายโยะชิฮิโตะ มกุฎราชกุมารเลย

ในด้านพระวรกาย เจ้าชายฮิโระฮิโตะมิได้มีพระวรกายที่น่าประทับใจแก่ผู้พบเห็นแต่อย่างใด เพราะสายพระเนตรสั้น จึงต้องทรงฉลองพระเนตรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และเหล่ามหาดเล็กก็ต้องคอยทูลให้เปลี่ยนท่าทางพระวรกายอยู่เสมอ เพราะพระบุคลิกภาพของพระองค์ไม่ค่อยงดงามนัก นอกจากนี้ยังทรงเป็นเด็กเรียนรู้ช้า มักจะมีปัญหาแม้กระทั่งกลัดกระดุมเครื่องแบบนักเรียน ต้องพึ่งการฝึกซ้อมร่างกาย, ทรงม้า, ว่ายน้ำ และวิธีออกกำลังกายอื่นๆ อีกมากเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพระบุคลิกภาพให้ดีขึ้น แต่ก็ยังทรงพระวรกายเล็กอยู่เช่นเดิมแม้เมื่อเจริญพระชันษาแล้ว

เมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8|เจ้าชายเอดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์]] เสด็จพระราชดำเนินมาเยือนญี่ปุ่น เจ้าชายเอดเวิร์ดจำต้องแสร้งตีลูกกอล์ฟพลาด เมื่อทอดพระเนตรเห็นว่าเจ้าชายฮิโระฮิโตะทรงตีลูกกอล์ฟไม่ค่อยถูก<ref> HRH The Duke of Windsor, 'A King's Story', London: Cassell, 1951</ref>

== พระราชโอรส-ธิดา ==
[[ไฟล์:403px-Emperor Hirohito and empress Kojun of japan.jpg|thumb|185px|เจ้าชายฮิโระฮิโตะและเจ้าหญิงนะงะโกะ ในช่วงพิธีอภิเษกสมรส]]
เจ้าชายโยะชิฮิโตะได้อภิเษกสมรสกับ [[สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุน|เจ้าหญิงนะงะโกะแห่งคุนิ]] พระธิดาองค์โตในเจ้าชายคุนิ คุนิโยะชิ ซึ่งภายหลังบรมราชาภิเษก ก็ขึ้นเป็น "สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง" เมื่อวันที่ [[26 มกราคม]] [[พ.ศ. 2467]] (ค.ศ. 1924) และมีพระราชโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ และพระราชธิดา 5 พระองค์

* '''[[ชิเงะโกะ ฮิงะชิกุนิ|เจ้าหญิงชิเงะโกะ เจ้าเทะรุ]]''' ({{ญี่ปุ่น|照宮成子|เทะรุ-โนะ-มิยะ ชิเงโกะ}}) ประสูติเมื่อวันที่ [[6 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2468]] เสกสมรสกับ[[เจ้าชายโมริฮิโตะ ฮิงะชิกุนิ]] ต่อมาพระสวามีของเจ้าหญิงชิเงโกะได้ถูกสหรัฐอเมริกาถอดพระยศเป็นสามัญชน เจ้าหญิงชิเงโกะจึงเป็น "นางชิเงะโกะ ฮิงะชิกุนิ" ({{ญี่ปุ่น|東久邇成子|Higashikuni Shigeko}}) มีพระโอรส-ธิดา 5 พระองค์ และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ [[23 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2504]]
* '''[[เจ้าหญิงซะชิโกะ|เจ้าหญิงซะชิโกะ เจ้าฮิซะ]]''' ({{ญี่ปุ่น|久宮祐子|ฮิซะ-โนะ-มิยะ ซะชิโกะ}}) ประสูติ [[10 กันยายน]] [[พ.ศ. 2470]] พระราชธิดาองค์ที่สอง โดยต่อมาอีก 4 เดือนหลังจากพระประสูติกาล พระธิดาองค์น้อยนี้ก็มีพระอาการพระโลหิตเป็นพิษ โดยต่อมา 2 เดือน เจ้าหญิงซะชิโกะจึงสิ้นพระชนม์อย่างสงบ เมื่อวันที่ [[8 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2471]]
* '''[[คะซุโกะ ทะคะสึคะซะ|เจ้าหญิงคะซุโกะ เจ้าทะกะ]]''' ({{ญี่ปุ่น|孝宮和子|ทะกะ-โนะ-มิยะ คะซุโกะ}}) ประสูติเมื่อวันที่ [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2472]] ต่อมาเจ้าหญิงทากะได้เสกสมรสกับนายโทะชิมิชิ ทะคะสึตะซะ เจ้าหญิงทะกะจึงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ และใช้พระนามเป็น "นางคะซุโกะ ทะคะสึคะซะ" และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ [[28 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2532]]
* '''[[อะสึโกะ อิเกะดะ|เจ้าหญิงอะสึโกะ เจ้าโยะริ]]''' ({{ญี่ปุ่น|順宮厚子|โยะริ-โนะ-มิยะ อะสึโกะ}}) ประสูติ [[7 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2474]] เจ้าหญิงโยะริได้เสกสมรสแล้วกับนายทะกะมะซะ อิเกะดะ เจ้าหญิงโยะริจึงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ และใช้พระนามเป็น "นางอะสึโกะ อิเกะดะ"
* '''[[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ|เจ้าชายอะกิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร]]''' ({{ญี่ปุ่น|継宮明仁|สึงุโนะมิยะ อะกิฮิโตะ}}) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ [[23 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2476]] ต่อมาพระองค์ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ปัจจุบัน ออกพระนามว่า "[[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]]" อภิเษกสมรสกับ[[สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ|นางสาวโชดะ มิชิโกะ]] มีพระราชโอรส-ธิดา 3 พระองค์
* '''[[เจ้าชายมะซะฮิโตะ เจ้าชายฮิตะชิ|เจ้าชายมะซะฮิโตะ เจ้าโยะชิ]]''' ({{ญี่ปุ่น|義宮正仁|โยะชิ-โนะ-มิยะ มะซะฮิโตะ}}) ประสูติเมื่อวันที่ [[28 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2478]] ปัจจุบันมีออกพระนามว่า "เจ้าชายมะซะฮิโตะ เจ้าชายฮิตะชิ" ({{ญี่ปุ่น| 常陸宮正仁親王|ฮิตะชิ โนะ มิยะ มะซะฮิโตะ ชินโน}}) เสกสมรสกับ[[เจ้าหญิงฮะนะโกะ เจ้าหญิงฮิตะชิ|สึงะรุ ฮะนะโกะ]] แต่ไม่มีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน
* '''[[ทะกะโกะ ชิมะสึ|เจ้าหญิงทะกะโกะ เจ้าซุงะ]]''' ({{ญี่ปุ่น|清宮貴子|ซุงะ-โนะ-มิยะ ทะคะโกะ}}) ประสูติเมื่อวันที่ [[2 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2482]] ต่อมาเจ้าหญิงซุงะได้เสกสมรสกับนายฮิซะนะงะ ชิมะสึ เจ้าหญิงซุงะจึงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เป็น [[ทะคะโกะ ชิมะสึ|นางทะคะโกะ ชิมะสึ]] มีพระโอรส 1 พระองค์

== ขึ้นครองราชสมบัติ ==
[[ไฟล์:Emperor Showa.jpg|thumb|180px|left|upright|จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ครั้นเสด็จขึ้นครองราชย์]]
ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา [[สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช]] เจ้าชายฮิโระฮิโตะจึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในนามรัชสมัยใหม่ว่า '''[[ยุคโชวะ|โชวะ]]''' ที่หมายถึงสันติภาพอันส่องสว่าง ซึ่งภายหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาไม่นาน จักรพรรดิโยะชิฮิโตะถูกออกพระนามเป็น "จักรพรรดิไทโช"

สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ทรงตั้งความหวังไว้กับประเทศญี่ปุ่นไว้สูง โดยในพระราชโองการฉบับแรกแห่งรัชสมัยที่ทรงประกาศเมื่อวันที่ [[28 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2469]] มีข้อความว่า
{{คำพูด|โลกเราในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการวิวัฒน์ไปอย่างต่อเนื่อง ประวัติศาสตร์บทใหม่แห่งอารยธรรมโลกกำลังพลิกเผยตัวตนให้เราได้เห็นกัน...นโยบายของชาติเรามักจะมุ่งเน้นไปที่วิถีทางอันดำเนินไปอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กับการปรับปรุงให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ คือ ความเรียบง่ายแทนการสร้างภาพที่ไร้ประโยชน์ ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตนแทนการลอกเลียนแบบที่ไม่รู้จักคิด วิธีดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการแห่งยุคสมัยที่ดำเนินอยู่ การพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นเพื่อจะได้ไหลลื่นไปกับกระแสความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมโลก ความกลมเกลียวในชาติทั้งในด้านจุดหมายที่ต้องไปให้ถึงและวิธีการที่จะทำให้บรรลุจุดหมายนั้น ๆ คุณงามความดีที่เผยแผ่ไปทุกชนชั้น และสุดท้าย ความมีมิตรไมตรีจิตต่อประเทศทั้งมวลบนผืนพิภพ สิ่งเหล่านี้คือจุดหมายหลักที่เราใฝ่ใจและมุ่งที่จะไปให้ถึงอย่างที่สุด|สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ}}

== เหตุการณ์ต้นรัชสมัย ==
[[ไฟล์:Showa emperor smiles.jpg|upright|thumb||จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ในปี 2478]]
ตอนต้นรัชสมัยโชวะนั้น เป็นยุคสมัยที่ญี่ปุ่น กำลังประสบกับ[[วิกฤตการณ์การเงินโชวะ |วิกฤตการณ์การเงิน]] ในขณะที่อำนาจของกองทัพก็มีมากขึ้นภายในรัฐบาล ด้วยการแทรกแซงทั้งวิธีการตามกฎหมายและนอกกฎหมาย กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้กุมอำนาจทางการเมืองอย่างเด็ดขาดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2443 ซึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2464-2487 ก็มีอุบัติเหตุทางการเมืองมากถึง 64 ครั้ง

=== กบฏ 26 กุมภาฯ ===
9 มกราคม พ.ศ. 2475 จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ รอดจากการลอบสังหารอย่างหวุดหวิด จากการขว้างระเบิดมือของ ''ลี บงชาง'' นักเคลื่อนไหวเพื่อ[[ปลดแอก]]เกาหลี ในกรุงโตเกียว หรือที่เรียกกันว่า [[เหตุการณ์ซะกุระดะมง]] อีกกรณีที่น่าสังเกตคือ[[การลอบสังหาร]][[นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น|นายกรัฐมนตรี]] [[อินุไก สึโยะชิ]] โดยทหารเรือระดับล่างในปีเดียวกัน เหตุการณ์นี้เองตามมาด้วยการที่สี่ปีต่อมา กลุ่มนายทหารรักษาพระองค์ระดับล่างที่มีแนวคิดแบบชาตินิยม หรือ ''[[โคโดฮะ]]'' ไม่พอใจเหล่านายทหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล ในหลายๆ เรื่อง อาทิ การทุจริตในรัฐบาล ผลประโยชน์แก่เหล่าพวกพ้อง มีความพยายามทำ[[รัฐประหาร]] ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม [[เหตุการณ์ 26 กุมภาพันธ์]]<ref>Mikiso Hane, ''Emperor Hirohito and His Chief Aide-de-camp, The Honjō Diary'', 1983; ''Honjō Nikki'', Hara Shobō, 1975</ref>

การก่อกบฏครั้งนี้ได้สร้างความสูญเสียเป็นอย่างมาก นักการเมือง, เจ้าหน้าที่, และนายทหารระดับสูงหลายคนถูกฆ่าตาย มีการบุกทำลายสถานที่ราชการหลายแห่งในใจกลางกรุงโตเกียว การก่อกบฏครั้งนี้ ฝ่ายกบฏอ้างว่าเป็นการต่อสู้ในนามของพระจักรพรรดิ เมื่อจักรพรรดิทรงทราบว่ามีกลุ่มทหารเลือดใหม่ก่อกบฏ ทรงกำชับรัฐมนตรีกลาโหมอย่างเฉียบขาดว่า ''"เราให้เวลาท่านหนึ่งชั่วโมงในการปราบกบฏ"'' ผลปรากฏว่า รัฐบาลล้มเหลวในการปราบกบฏ วันต่อมาทรงรับสั่งว่า ''"ฉัน! ตัวฉันนี่แหล่ะ จะนำกองโคะโนะเอะ(กองราชองค์รักษ์)และปราบพวกเขาเอง"''<ref>Peter Wetzler, Hirohito and War, p. 188</ref> กลุ่มกบฏได้บุกเข้ามายัง[[พระราชวังโตเกียว]]เพื่อต้องการที่จะอ่านสาสน์ต่อสมเด็จพระจักรพรรดิเพื่อให้จักรพรรดิรับรองสถานะของกลุ่มทหารที่ก่อการกบฏ จักรพรรดิฮิโระฮิโตะมีพระราชดำรัสต่อกลุ่มทหารเหล่านั้นว่า ''"พวกเจ้ากล้าดีอย่างไรที่เข้ามาในนี้ ไม่รู้หรือว่าฉันเป็นจักรพรรดิของพวกเจ้า"''<ref>Edwin Hoyt, supra note, p.101 </ref>

ภายหลังปราบกบฏได้ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พลเรือเอก [[โอกะดะ เคซุเกะ]] นายกรัฐมนตรีซึ่งรอดจากการถูกสังหาร ได้ปรากฏตัวหลังจากการหลบซ่อน สามวันต่อมา เขาประกาศลาออกจากนายกรัฐมนตรี อันเป็นการเปิดทางให้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนขึ้น

== สงครามโลกครั้งที่สอง ==
{{ประวัติศาสตร์จักรวรรดิญี่ปุ่น}}
[[ไฟล์:K2870702-12.jpg|thumb|185px|left|จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2]]

แม้ว่าพระองค์จะเห็นว่าการทำสงครามเป็นสิ่งจำเป็นต่อญี่ปุ่น แต่พระองค์ก็ไม่ทรงเห็นด้วยกับกองทัพที่ดำเนินนโยบายการสงครามแบบบ้าระห่ำ เมื่อทรงทราบถึง[[การโจมตีท่าเพิร์ล|แผนการณ์โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์]]ของ[[สหรัฐอเมริกา]] พระองค์ทรงกังวลมิน้อยว่าการกระทำนี้จะส่งผลร้ายต่อญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงพอพระทัยอยู่เสมอเมื่อทรงทราบว่ากองทัพญี่ปุ่นได้ชัยชนะในศึกสงครามที่อยู่ห่างไกล ต้นเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2485]] ทรงพอพระทัยไม่น้อยกับชัยชนะอันรวดเร็วของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีเหนือ[[เกาะฮ่องกง]], [[กรุงมะนิลา]], [[สิงคโปร์]], [[ปัตตาเวีย]] (จาร์กาตา) และ[[ย่างกุ้ง]]

ขณะเดียวกัน ก็ทรงกังวลเกี่ยวกับปัญหาในการลำเลียงเสบียงและ[[เชื้อเพลิง]]ไปให้กับกองกำลังญี่ปุ่นที่กำลังรบอยู่ในสมรภูมิที่ห่างไกลมาตุภูมิ
''"ชัยชนะที่ได้มาออกจะเร็วไปหน่อย"'' พระองค์จึงมักจะทรงเตือนผู้นำทหารบกและทหารเรือให้ปรับปรุงการทำงานระหว่างสองกองทัพให้ประสานงานได้ดีขึ้น เพราะสภาพที่เป็นอยู่นั้นจัดว่าไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง และยังทรงเตือนให้สองกองทัพ เลิกใช้วิธีเหมือนเล่นการเมืองพาทะเลาะกันเรื่องการเคลื่อนย้ายฝูงบินเสียที เมื่อทรงได้รับรายงานเกี่ยวกับความปราชัยครั้งสำคัญของญี่ปุ่นเช่นที่ [[ยุทธนาวีมิดเวย์]] จึงมีแต่พระราชดำรัสให้ผู้นำทหารทั้งหลายทำงานของตนให้ดีที่สุดในการปฏิบัติครั้งหน้า โดยแทบจะมิได้ทรงแสดงอารมณ์ใด ๆ ออกมาอีก ราวกับทรงปลงเสียแล้ว

พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติในระหว่างสงครามกระตุ้นให้ประชาชนฮึกเหิมกับศึกที่เกิดขึ้นด้วยอีกแรงหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการทรงม้าขาวออกเสด็จตรวจกำลังพล หรือมีพระราชดำรัสเปิดการประชุมรัฐสภาที่ปลุกเร้ากำลังใจของราษฎรให้ช่วยกันพยายามเพื่อชัยชนะของประเทศตามหนังสือที่ร่างโดยรัฐบาล พระราชกรณียกิจเหล่านี้ล้วนสร้างภาพว่า พระองค์กำลังทรงบัญชาการความเคลื่อนไหวทั้งหมดของกองทัพในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพของชาติ ในความเป็นจริง พระองค์ทรงทำหน้าที่แค่ทอดพระเนตรรายงานการสถานการณ์รบ และลงพระนามรับรองแผนปฏิบัติการทางทหารต่างๆเท่านั้น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะมิได้ทรงมีส่วนในการบัญชาการรบใดๆ เช่นเมื่อนานกิงถูกตีแตกในปี พ.ศ. 2480 และทหารญี่ปุ่นได้สังหารพลเรือนไปกว่าสองแสนคนนั้น รายงานที่ถวายไปยังพระองค์ระบุแค่ว่า กองทัพสามารถยึดนานกิงได้แล้ว

จักรพรรดิทรงเห็นว่า ญี่ปุ่นได้รับชัยชนะและดินแดนมามากเกินพอแล้ว การทำสงครามต่ออาจจะส่งผลร้ายในภายหลัง ทรงอยากให้กองทัพญี่ปุ่นยุติสงครามโดยไวที่สุด ดังในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 พระองค์มีพระราชดำรัสให้พลเอก[[ฮิเดะกิ โทโจ]] นายกรัฐมนตรีรับทราบข้อเท็จจริงข้อนี้
''"ฉันหวังว่าตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ ท่านได้ใช้ความพยายามอย่างที่สุด และใช้ทุกโอกาสที่มีอยู่เพื่อยุติการประหัตประหารในทันทีที่สามารถทำได้ ถ้าคิดถึงความสงบสุขของมนุษย์ด้วยกันแล้ว การปล่อยให้สงครามยืดเยื้อต่อไปก็รังแต่จะเปล่าประโยชน์...ฉันเกรงว่า ประสิทธิภาพทหารเราอาจจะด้อยลง หากสงครามต้องยืดเยื้อ"'' แต่โทโจก็ยังยืนยันถึงความจำเป็นในการทำสงครามต่อไป

แม้กระแสการรบจะพัดย้อนไปกระหน่ำญี่ปุ่นแทน สงครามก็ยังไม่อาจยุติลงได้ ดูเหมือนว่าจักรพรรดิฮิโระฮิโตะกลับเป็นผู้ต่อเวลาทำสงครามออกไปเสียเองถึง 2 ทางด้วยกัน
ประการแรก แม้ในช่วงแรก ๆ จะมีขบวนการสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์บางองค์ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโทโจออกตามคำเรียกร้องของสมาชิกขบวนการที่ต้องการจะหยุดยั้งสงครามไว้ให้ได้ เพราะในระหว่างยังไงเสียญี่ปุ่นก็ต้องอาศัยโทโจดำเนินการรบไปจนกว่าสถานะของญี่ปุ่นในการเจรจาสันติภาพจะดีขึ้น และบรรลุเงื่อนไขตามที่ญี่ปุ่นต่อรอง โดยพระองค์ตรัสกับ [[เจ้าชายโนะบุฮิโตะ เจ้าทะกะมะสึ|เจ้าทะกะมะสึ]] พระอนุชาองค์รองว่า

''"ใครๆก็ว่าโทโจไม่ดี แต่จะหาใครดีไปกว่านี้ได้อีกไหมในเมื่อมันไม่มีคนที่เหมาะสมกว่า ยังจะมีทางเลือกอื่น นอกจากร่วมงานกับคณะของโทโจหรือ"''

== ภายหลังสงคราม ==
=== สถานะของจักรพรรดิ ===
[[ภาพ:Macarthur hirohito.jpg|180px|thumb|left|จักรพรรดิฮิโระฮิโตะและนายพล[[ดักลาส แมคอาเธอร์]]]]

ภายหลังญี่ปุ่นยอมแพ้ สหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังทหารส่วนหนึ่งเข้าควบคุมญี่ปุ่น มีการเรียกร้องจากชาติฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะจากยุโรป ให้นำตัวสมเด็จพระจักรพรรดิมาลงโทษ นายพล[[ดักลาส แมคอาเธอร์]] ได้แสดงความคัดค้านอย่างถึงที่สุดในเรื่องนี้ ด้วยมองว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข แสนยานุภาพของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ และหากจะลงโทษจักรพรรดิแล้ว อาจเกิดการลุกฮือจากกองทัพญี่ปุ่นก็เป็นได้ ซึ่งจะต้องส่งกำลังทหารเข้ามาประจำการในญี่ปุ่นอีกมหาศาล อีกทั้งการบัญชาการทัพญี่ปุ่นในการบุกดินแดนต่าง ๆ เป็นการบัญชาการจากผู้นำรัฐบาลและกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นหลัก ท้ายที่สุดจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ รอดพ้นจากข้อหาอาชญากรสงคราม

แม้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิจะรอดพ้นจากข้อหาอาชญากรสงคราม แต่ทรงถูกบังคับ<ref>Dower, pp. 308–318</ref>ให้ปฏิเสธการเรียกร้องรัฐ[[ชินโต]]ที่[[จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น]]เป็น ''[[อะระฮิโตะงะมิ]]'' หรือพระเจ้าที่มีตัวตน สิ่งนี้เป็นแรงจูงใจจากข้อเท็จจริงที่ว่า ตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ค.ศ. 1889]] บัญญัติให้จักรพรรดิมีพระราชอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมาจากความเชื่อของชินโตที่ว่า พระราชวงศ์แห่งจักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นสืบเชื้อสายมาจากจันทรเทพ ''[[สึกุโยะมิ]]'' และ สุริยะเทพี ''[[อะมะเตะระซุ]]'' ซึ่งจักรพรรดิฮิโระฮิโตะยืนกรานในความเชื่อนี้ ดังในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2488 ตรัสกับรองสมุหพระราชวัง มิชิโอะ คิโนะชิตะ ว่า ''"เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ที่จะบอกว่า ความคิดที่ว่าเท็นโน (จักรพรรดิ) เป็นลูกหลานของเทพเจ้านั้น เป็นความคิดที่ผิด แต่เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้อย่างยิ่งหากจะบอกว่า เรื่องที่เท็นโนเป็นลูกหลานของเทพเจ้า เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ "''<ref>Wetzler, p. 3</ref>

การที่ทรงปฏิเสธข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิ ทำให้ปมนี้เป็นอันตกไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนายพลแมคอาเธอร์คิดว่า พระองค์มีแนวโน้มที่จะเป็นพันธมิตรที่จะทำให้สหรัฐได้รับประโยชน์ในอนาคต อีกส่วนคือการดำเนินการของ[[ชิเงะรุ โยะชิดะ]] นายกรัฐมนตรี ที่ขัดขวางความพยายามที่จะทำให้จักรพรรดิเป็นพระมหากษัตริย์ตามในแบบของยุโรป

อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาได้ถอดพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ออกจากฐานันดรศักดิ์เป็นสามัญชน

=== พระราชกรณียกิจ ===
[[ไฟล์:Hirohito.jpg|thumb|234px|สมเด็จพระจักรพรรดินี, [[เบ็ตตี ฟอร์ด|สุภาพสตรีฟอร์ด]], สมเด็จพระจักรพรรดิ และประธานาธิบดี[[เจอรัลด์ ฟอร์ด]] ที่ทำเนียบขาว พ.ศ. 2518]]
จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจทั่วไปที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การขจัดทุกข์บำรุงสุขและให้กำลังใจแก่ประชาชน การปรากฏพระองค์ในพิธีการหรือเหตุการณ์สำคัญ นอกจากนี้ ยังทรงมีบทบาทสำคัญในด้านการสร้างภาพลักษณ์ทางการทูตของญี่ปุ่น เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอยู่บ่อยครั้งเพื่อพบปะกับผู้นำต่างประเทศ อาทิ [[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2]] (พ.ศ. 2514) , ประธานาธิบดี[[เจอรัลด์ ฟอร์ด]] (พ.ศ. 2518) เป็นต้น

สมเด็จพระจักรพรรดิทรงให้ความสนใจและทรงรอบรู้เกี่ยวกับ[[ชีววิทยาทางทะเล]] ซึ่งภายใน[[พระราชวังโตเกียว]]มีห้องปฏิบัติการที่สมเด็จพระจักรพรรดิได้เผยแพร่เอกสารการค้นคว้าและวิจัยหลายด้าน ในนามแฝงของพระองค์ว่า "โช" ผลงานของพระองค์ก็อาทิ คำอธิบายเกี่ยวกับ[[ไฮโดรซัว]]หลากหลายสายพันธุ์<ref>{{cite web|url=http://www.marinespecies.org/hydrozoa/aphia.php?p=search |title=World Hydrozoa Database |publisher=Marinespecies.org |date= |accessdate=2010-10-03}}</ref>

== พระราชอิสริยยศ ==
* '''29 เมษายน พ.ศ. 2444 – 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455''': เจ้ามิชิ
* '''30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469''': มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น
* '''25 ธันวาคม พ.ศ. 2469 – 7 มกราคม พ.ศ. 2532''': สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น

== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[ไฟล์:Order of the Rajamitrabhorn (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์]] (ร.ม.ภ.) ([[ประเทศไทย]])<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2507/D/022/571.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่น], เล่ม ๘๑, ตอน ๒๒ง, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๕๗๑ </ref>
* [[ไฟล์:Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.JPG|80px]] [[เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์]]ฝ่ายหน้า (ม.จ.ก.) ([[ประเทศไทย]])

== พงศาวลี ==
{{Ahnentafel top|width=100%}}
{{Ahnentafel-compact5
|style=font-size: 90%; line-height: 110%;
|border=1
|boxstyle=padding-top: 0; padding-bottom: 0;
|boxstyle_1=background-color: #fcc;
|boxstyle_2=background-color: #fb9;
|boxstyle_3=background-color: #ffc;
|boxstyle_4=background-color: #bfc;
|boxstyle_5=background-color: #9fe;
|1= 1.'''ฮิโระฮิโตะ, สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ '''
|2= 2.[[จักรพรรดิไทโช|โยะชิฮิโตะ, สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช]]
|3= 3.[[สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม|ซะดะโกะ คุโจ, สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม]]
|4= 4.[[จักรพรรดิเมจิ|มุสึฮิโตะ, จักรพรรดิเมจิ]]
|5= 5. พระสนมนะรุโกะ ยะนะงิวะระ
|6= 6.[[คุโจ มิชิตะกะ|เจ้าชายคุโจ มิชิตะกะ แห่งฟุจิวะระ]]
|7= 7. ท่านหญิงอิกุโกะ โนะมะ
|8= 8.[[จักรพรรดิโคเม|โอะซะฮิโตะ, สมเด็จพระจักรพรรดิโคเม]]
|9= 9.[[โยะชิโกะ นะกะยะมะ|พระสนมโยะชิโกะ นะกะยะมะ]]
|10= 10. ทะกะมิสึ ยะนะงิวะระ
|11= 11. อุตะโนะ ฮะเซะงะวะ
|12= 12.[[คุโจ ฮิซะตะดะ|เจ้าชายคุโจ ฮิซะตะดะ, ผู้สำเร็จราชการ]]
|13= 13. ท่านหญิงสึเนะโกะ คะระฮะชิ
|14= 14. โยะริโอะกิ โนะมะ
|15= 15.?
}}</center>
{{Ahnentafel bottom}}

== อ้างอิง ==
{{คอมมอนส์|Hirohito}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* Behr, Edward Hirohito: Behind the Myth, Villard, New York, 1989. - A controversial book that posited that Hirohito had a more active role in WWII than had publicly been portrayed; it contributed to the re-appraisal of his role.
* Bix, Herbert P. Hirohito and the Making of Modern Japan, HarperCollins, 2000. ISBN 0-06-019314-X, A recent scholarly (and copiously sourced) look at the same issue.
* Drea, Edward J. (1998). "Chasing a Decisive Victory: Emperor Hirohito and Japan's War with the West (1941-1945)". In the Service of the Emperor: Essays on the *Imperial Japanese Army. Nebraska: University of Nebraska Press. ISBN 0-8032-1708-0.
* Fujiwara, Akira, Shōwa Tennō no Jū-go Nen Sensō (Shōwa Emperor's Fifteen-year War), Aoki Shoten, 1991. ISBN 4-250-91043-1 (Based on the primary sources)
* Hoyt, Edwin P. Hirohito: The Emperor and the Man, Praeger Publishers, 1992. ISBN 0-275-94069-1
* Kawahara, Toshiaki Hirohito and His Times: A Japanese Perspective, Kodansha International, 1997. ISBN 0-87011-979-6 (Japanese official image)
* Mosley, Leonard Hirohito, Emperor of Japan, Prentice-Hall, Englewood Cliffs, 1966. ISBN 1-111-75539-6 ISBN 1-199-99760-9, The first full-length biography, it gives his basic story.
* Wetzler, Peter Hirohito and War: Imperial Tradition and Military Decision Making in Prewar Japan, University of Hawaii Press, 1998. ISBN 0-8248-1925-X
* Yamada, Akira, Daigensui Shōwa Tennō (Shōwa Emperor as Commander in Chief), Shin-Nihon Shuppansha, 1994. ISBN 4-406-02285-6 (Based on the primary sources)
{{จบอ้างอิง}}<br>

{{เริ่มกล่อง}}
{{สืบตำแหน่ง
| รูปภาพ = Flag_of_the_Japanese_Emperor.svg
| ก่อนหน้า = [[สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช]]
| ตำแหน่ง = [[จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น]]
| ราชวงศ์ = ราชวงศ์ญี่ปุ่น
| ปี = [[พ.ศ. 2469]] - [[พ.ศ. 2532]]
| ถัดไป = [[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]]
}}
{{สืบตำแหน่ง
| รูปภาพ = Japan_Koutaisi(son)_Flag.svg
| ตำแหน่ง = มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น
| จำนวนตำแหน่ง =
| ก่อนหน้า = [[สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช|เจ้าชายโยะชิฮิโตะ]] <br><small>''ภายหลังคือ จักรพรรดิไทโช''</small>
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = [[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ|เจ้าชายอะกิฮิโตะ]] <br><small>''ภายหลังคือ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ''</small>
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = [[พ.ศ. 2457]] - [[พ.ศ. 2469]]
}}
{{สืบตำแหน่ง
| รูปภาพ = Japan_Sessyo_Flag.svg
| ตำแหน่ง = [[คัมปะกุ|ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน]]
| จำนวนตำแหน่ง =
| ก่อนหน้า = ''ไม่มี''
| จำนวนก่อนหน้า =
| ถัดไป = ''ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิเอง''
| จำนวนถัดไป =
| ช่วงเวลา = [[พ.ศ. 2464]] - [[พ.ศ. 2469]]
}}
{{สืบตำแหน่ง
| ก่อนหน้า= [[สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช]]
| ตำแหน่ง=[[เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น|พระประมุขแห่งเกาหลี]]|
ราชวงศ์=ราชวงศ์ญี่ปุ่น|
ปี=[[พ.ศ. 2469]] - [[พ.ศ. 2488]]|
ถัดไป= สิ้นสุด <br> ''เกาหลีหลุดพ้นจากญี่ปุ่น''
}}
{{จบกล่อง}}

{{จักรพรรดิญี่ปุ่น}}
{{เจ้าชายแห่งญี่ปุ่น}}
{{พระบรมวงศานุวงศ์แห่งญี่ปุ่น}}

{{เกิดปี|2444}}{{ตายปี|2532}}

[[หมวดหมู่:จักรพรรดิญี่ปุ่น|ช]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์ญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ม.ภ.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)]]
[[หมวดหมู่:ผู้นำในสงครามเย็น]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:25, 6 มีนาคม 2560

สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ
พระจักรพรรดิโชวะ
จักรพรรดิญี่ปุ่น
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 124
ครองราชย์25 ธันวาคม พ.ศ. 2469 - 7 มกราคม พ.ศ. 2532 (62 ปี 13 วัน)
ราชาภิเษก10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471
พระราชวังหลวงเคียวโตะ
ก่อนหน้าจักรพรรดิไทโช
ถัดไปสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
ประสูติ29 เมษายน พ.ศ. 2444
พระราชวังอะโอะยะมะ กรุงโตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
ฮิโระฮิโตะ
สวรรคต7 มกราคม พ.ศ. 2532 (87 ปี 253 วัน)
พระราชวังโอะมิยะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ฝังพระศพ24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
สุสานหลวงมุซะชิ
จักรพรรดินีเจ้าหญิงนะงะโกะแห่งคุนิ
พระราชบุตรเจ้าหญิงชิเงะโกะ เจ้าเทะรุ
เจ้าหญิงซะชิโกะ เจ้าฮิซะ
เจ้าหญิงคะซุโกะ เจ้าทะกะ
เจ้าหญิงอะสึโกะ เจ้าโยะริ
จักรพรรดิอะกิฮิโตะ
เจ้าชายมะซะฮิโตะ เจ้าฮิตะชิ
เจ้าหญิงทะมะโกะ เจ้าซุงะ
รัชศก
โชวะ (2469 - 2532)
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิไทโช
พระราชมารดาสมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม
ศาสนาชินโต
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 裕仁天皇โรมาจิ: 'ฮิโระฮิโตะ เท็นโน') หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ จักรพรรดิโชวะ (ญี่ปุ่น: 昭和天皇โรมาจิ: 'โชวะ เท็นโน') (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532 (63 ปี)

ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิญี่ปุ่นในขณะนั้น ได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจของโลกแล้ว ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก จักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ในรัชสมัยของพระองค์ ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทำให้ในห้วงเวลานั้น จักรวรรดิญี่ปุ่นแผ่อำนาจและดินแดนไปทั่วเอเชียบูรพาโดยที่ไม่มีชาติใด ๆ จะสามารถต้านทาน ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงบนความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาอาชญากรสงครามดังเช่นผู้นำคนอื่น ๆ ของชาติฝ่ายอักษะ และภายหลังสงคราม พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐใหม่ในการกอบกู้ประเทศชาติที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ในตอนปลายรัชกาล ประเทศญี่ปุ่นก็สามารถกลับมายืนหยัดในฐานะชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก

พระราชประวัติ

เจ้าชายฮิโระฮิโตะ ครั้นทรงพระเยาว์ พ.ศ. 2445

สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังอะโอะยะมะ ในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 29 เมษายน ปีเมจิที่ 34 (ค.ศ.1901,พ.ศ. 2444) เป็นพระราชโอรสองค์โตในเจ้าชายโยะชิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร (ภายหลังคือจักรพรรดิไทโช) และเจ้าหญิงซะดะโกะ มกุฎราชกุมารี (ภายหลังคือจักรพรรดินีเทเม)[1] โดยทรงราชทินนามขณะทรงพระเยาว์ ว่า เจ้ามิชิ (迪宮) ในปี พ.ศ. 2451 ทรงเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนประถมชูอิง

ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระบรมอัยกา สมเด็จพระจักรพรรดิมุสึฮิโตะ (เมจิ) เมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 พระราชบิดาของพระองค์ เจ้าชายโยะชิฮิโตะ ก็ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็น "สมเด็จพระจักรพรรดิโยะชิฮิโตะ" (ไทโช) ทำให้พระองค์กลายเป็นองค์รัชทายาทตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ญี่ปุ่น[2] ในขณะเดียวกัน ก็ทรงเข้ารับราชการในกองทัพบกและกองทัพเรือในยศเรือตรี ในตำแหน่งนายธง และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ชั้นสายสะพาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 ทรงได้รับการเลื่อนยศให้เป็นร้อยโทแห่งกองทัพบก และเรือตรีแห่งกองทัพเรือ สองปีต่อมา ก็ถูกเลื่อนยศขึ้นเป็น พันโท และ นาวาเอก ในปีเดียวกันนี้เอง พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "มกุฎราชกุมาร" ตำแหน่งองค์รัชทายาทอย่างเป็นทางการ เมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457

มกุฎราชกุมาร

ในปี พ.ศ. 2463 พระองค์ได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็นพลโทแห่งกองทัพบก และ พลเรือโทแห่งกองทัพเรือ ต่อมา พ.ศ. 2464 เจ้าชายฮิโระฮิโตะได้ใช้เวลาหกเดือน ในการเสด็จประพาสยุโรป ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน สหราชอาณาจักร, สาธารณรัฐฝรั่งเศส, ราชอาณาจักรอิตาลี, ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และ เบลเยียม นับเป็นมกุฎราชกุมารญี่ปุ่นพระองค์แรกที่เสด็จเยือนต่างประเทศ ซึ่งภายหลังการกลับจากยุโรป ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการพระองค์ จากการที่ที่พระราชบิดาทรงพระประชวรทางพระจิต

ระหว่างที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ทรงมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย อาทิ ใน พ.ศ. 2464 การลงนามในสนธิสัญญาสี่อำนาจ (อังกฤษ: Four-Power Treaty) โดยจักรวรรดิญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ตกลงที่จะรับรู้สภาพที่เป็นอยู่ในภาคพื้นแปซิฟิก ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักรตกลงที่จะยุติพันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ หรือใน พ.ศ. 2466 ก็เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในภูมิภาคคันโต เป็นต้น

พระราชจริยวัตร

หลังประสูติได้ไม่นาน เจ้าชายฮิโระฮิโตะอยู่ในความอภิบาลของ คะวะมุระ สึมิโยะชิ นายทหารเรือเกษียณ และภรรยา เมื่อคะวะมุระถึงแก่กรรมลงในปี พ.ศ. 2447 เจ้าชายองค์น้อยได้เสด็จกลับไปประทับร่วมกับพระบิดาและพระมารดาอีกครั้ง ณ พระราชวังโทงู ทรงรู้สึกใกล้ชิดพระบิดาและพระชนนีเท่าใดนั้นยากที่จะกล่าว แต่หนึ่งในบรรดามหาดเล็กที่ถวายการดูแลเจ้าชายอยู่คือ คันโระจิ โอะซะนะงะ ให้ความเห็นว่าเจ้าชายรักและผูกพันกับจักรพรรดิเมจิ ซึ่งเป็นพระอัยกาเป็นพิเศษ และยามที่เสด็จไปหาเสด็จสมเด็จพระอัยกาที่พระราชวังโตเกียว ก็โปรดที่จะเกาะแจอยู่กับพระองค์ แต่ภาพเช่นนั้นก็ไม่ปรากฏบ่อยนัก [3] ทางจักรพรรดิเมจิ นั้น ก็ได้พระราชทานของขวัญแก่พระราชนัดดาองค์น้อยและแย้มพระโอษฐ์ให้ แม้จะตรัสกับพระราชนัดดาน้อยมาก เช่นเดียวกัน จักรพรรดิเมจิแทบจะไม่มีพระราชดำรัสต่อเจ้าชายโยะชิฮิโตะ มกุฎราชกุมารเลย

ในด้านพระวรกาย เจ้าชายฮิโระฮิโตะมิได้มีพระวรกายที่น่าประทับใจแก่ผู้พบเห็นแต่อย่างใด เพราะสายพระเนตรสั้น จึงต้องทรงฉลองพระเนตรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และเหล่ามหาดเล็กก็ต้องคอยทูลให้เปลี่ยนท่าทางพระวรกายอยู่เสมอ เพราะพระบุคลิกภาพของพระองค์ไม่ค่อยงดงามนัก นอกจากนี้ยังทรงเป็นเด็กเรียนรู้ช้า มักจะมีปัญหาแม้กระทั่งกลัดกระดุมเครื่องแบบนักเรียน ต้องพึ่งการฝึกซ้อมร่างกาย, ทรงม้า, ว่ายน้ำ และวิธีออกกำลังกายอื่นๆ อีกมากเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพระบุคลิกภาพให้ดีขึ้น แต่ก็ยังทรงพระวรกายเล็กอยู่เช่นเดิมแม้เมื่อเจริญพระชันษาแล้ว

เมื่อเจ้าชายเอดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ เสด็จพระราชดำเนินมาเยือนญี่ปุ่น เจ้าชายเอดเวิร์ดจำต้องแสร้งตีลูกกอล์ฟพลาด เมื่อทอดพระเนตรเห็นว่าเจ้าชายฮิโระฮิโตะทรงตีลูกกอล์ฟไม่ค่อยถูก[4]

พระราชโอรส-ธิดา

ไฟล์:403px-Emperor Hirohito and empress Kojun of japan.jpg
เจ้าชายฮิโระฮิโตะและเจ้าหญิงนะงะโกะ ในช่วงพิธีอภิเษกสมรส

เจ้าชายโยะชิฮิโตะได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงนะงะโกะแห่งคุนิ พระธิดาองค์โตในเจ้าชายคุนิ คุนิโยะชิ ซึ่งภายหลังบรมราชาภิเษก ก็ขึ้นเป็น "สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง" เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) และมีพระราชโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ และพระราชธิดา 5 พระองค์

ขึ้นครองราชสมบัติ

จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ครั้นเสด็จขึ้นครองราชย์

ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช เจ้าชายฮิโระฮิโตะจึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในนามรัชสมัยใหม่ว่า โชวะ ที่หมายถึงสันติภาพอันส่องสว่าง ซึ่งภายหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดาไม่นาน จักรพรรดิโยะชิฮิโตะถูกออกพระนามเป็น "จักรพรรดิไทโช"

สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ทรงตั้งความหวังไว้กับประเทศญี่ปุ่นไว้สูง โดยในพระราชโองการฉบับแรกแห่งรัชสมัยที่ทรงประกาศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2469 มีข้อความว่า

โลกเราในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการวิวัฒน์ไปอย่างต่อเนื่อง ประวัติศาสตร์บทใหม่แห่งอารยธรรมโลกกำลังพลิกเผยตัวตนให้เราได้เห็นกัน...นโยบายของชาติเรามักจะมุ่งเน้นไปที่วิถีทางอันดำเนินไปอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กับการปรับปรุงให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ คือ ความเรียบง่ายแทนการสร้างภาพที่ไร้ประโยชน์ ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตนแทนการลอกเลียนแบบที่ไม่รู้จักคิด วิธีดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการแห่งยุคสมัยที่ดำเนินอยู่ การพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นเพื่อจะได้ไหลลื่นไปกับกระแสความก้าวหน้าแห่งอารยธรรมโลก ความกลมเกลียวในชาติทั้งในด้านจุดหมายที่ต้องไปให้ถึงและวิธีการที่จะทำให้บรรลุจุดหมายนั้น ๆ คุณงามความดีที่เผยแผ่ไปทุกชนชั้น และสุดท้าย ความมีมิตรไมตรีจิตต่อประเทศทั้งมวลบนผืนพิภพ สิ่งเหล่านี้คือจุดหมายหลักที่เราใฝ่ใจและมุ่งที่จะไปให้ถึงอย่างที่สุด

— สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ

เหตุการณ์ต้นรัชสมัย

จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ในปี 2478

ตอนต้นรัชสมัยโชวะนั้น เป็นยุคสมัยที่ญี่ปุ่น กำลังประสบกับวิกฤตการณ์การเงิน ในขณะที่อำนาจของกองทัพก็มีมากขึ้นภายในรัฐบาล ด้วยการแทรกแซงทั้งวิธีการตามกฎหมายและนอกกฎหมาย กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้กุมอำนาจทางการเมืองอย่างเด็ดขาดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2443 ซึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2464-2487 ก็มีอุบัติเหตุทางการเมืองมากถึง 64 ครั้ง

กบฏ 26 กุมภาฯ

9 มกราคม พ.ศ. 2475 จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ รอดจากการลอบสังหารอย่างหวุดหวิด จากการขว้างระเบิดมือของ ลี บงชาง นักเคลื่อนไหวเพื่อปลดแอกเกาหลี ในกรุงโตเกียว หรือที่เรียกกันว่า เหตุการณ์ซะกุระดะมง อีกกรณีที่น่าสังเกตคือการลอบสังหารนายกรัฐมนตรี อินุไก สึโยะชิ โดยทหารเรือระดับล่างในปีเดียวกัน เหตุการณ์นี้เองตามมาด้วยการที่สี่ปีต่อมา กลุ่มนายทหารรักษาพระองค์ระดับล่างที่มีแนวคิดแบบชาตินิยม หรือ โคโดฮะ ไม่พอใจเหล่านายทหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาล ในหลายๆ เรื่อง อาทิ การทุจริตในรัฐบาล ผลประโยชน์แก่เหล่าพวกพ้อง มีความพยายามทำรัฐประหาร ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม เหตุการณ์ 26 กุมภาพันธ์[5]

การก่อกบฏครั้งนี้ได้สร้างความสูญเสียเป็นอย่างมาก นักการเมือง, เจ้าหน้าที่, และนายทหารระดับสูงหลายคนถูกฆ่าตาย มีการบุกทำลายสถานที่ราชการหลายแห่งในใจกลางกรุงโตเกียว การก่อกบฏครั้งนี้ ฝ่ายกบฏอ้างว่าเป็นการต่อสู้ในนามของพระจักรพรรดิ เมื่อจักรพรรดิทรงทราบว่ามีกลุ่มทหารเลือดใหม่ก่อกบฏ ทรงกำชับรัฐมนตรีกลาโหมอย่างเฉียบขาดว่า "เราให้เวลาท่านหนึ่งชั่วโมงในการปราบกบฏ" ผลปรากฏว่า รัฐบาลล้มเหลวในการปราบกบฏ วันต่อมาทรงรับสั่งว่า "ฉัน! ตัวฉันนี่แหล่ะ จะนำกองโคะโนะเอะ(กองราชองค์รักษ์)และปราบพวกเขาเอง"[6] กลุ่มกบฏได้บุกเข้ามายังพระราชวังโตเกียวเพื่อต้องการที่จะอ่านสาสน์ต่อสมเด็จพระจักรพรรดิเพื่อให้จักรพรรดิรับรองสถานะของกลุ่มทหารที่ก่อการกบฏ จักรพรรดิฮิโระฮิโตะมีพระราชดำรัสต่อกลุ่มทหารเหล่านั้นว่า "พวกเจ้ากล้าดีอย่างไรที่เข้ามาในนี้ ไม่รู้หรือว่าฉันเป็นจักรพรรดิของพวกเจ้า"[7]

ภายหลังปราบกบฏได้ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พลเรือเอก โอกะดะ เคซุเกะ นายกรัฐมนตรีซึ่งรอดจากการถูกสังหาร ได้ปรากฏตัวหลังจากการหลบซ่อน สามวันต่อมา เขาประกาศลาออกจากนายกรัฐมนตรี อันเป็นการเปิดทางให้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนขึ้น

สงครามโลกครั้งที่สอง

ไฟล์:K2870702-12.jpg
จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

แม้ว่าพระองค์จะเห็นว่าการทำสงครามเป็นสิ่งจำเป็นต่อญี่ปุ่น แต่พระองค์ก็ไม่ทรงเห็นด้วยกับกองทัพที่ดำเนินนโยบายการสงครามแบบบ้าระห่ำ เมื่อทรงทราบถึงแผนการณ์โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกา พระองค์ทรงกังวลมิน้อยว่าการกระทำนี้จะส่งผลร้ายต่อญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงพอพระทัยอยู่เสมอเมื่อทรงทราบว่ากองทัพญี่ปุ่นได้ชัยชนะในศึกสงครามที่อยู่ห่างไกล ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2485 ทรงพอพระทัยไม่น้อยกับชัยชนะอันรวดเร็วของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีเหนือเกาะฮ่องกง, กรุงมะนิลา, สิงคโปร์, ปัตตาเวีย (จาร์กาตา) และย่างกุ้ง

ขณะเดียวกัน ก็ทรงกังวลเกี่ยวกับปัญหาในการลำเลียงเสบียงและเชื้อเพลิงไปให้กับกองกำลังญี่ปุ่นที่กำลังรบอยู่ในสมรภูมิที่ห่างไกลมาตุภูมิ "ชัยชนะที่ได้มาออกจะเร็วไปหน่อย" พระองค์จึงมักจะทรงเตือนผู้นำทหารบกและทหารเรือให้ปรับปรุงการทำงานระหว่างสองกองทัพให้ประสานงานได้ดีขึ้น เพราะสภาพที่เป็นอยู่นั้นจัดว่าไร้ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง และยังทรงเตือนให้สองกองทัพ เลิกใช้วิธีเหมือนเล่นการเมืองพาทะเลาะกันเรื่องการเคลื่อนย้ายฝูงบินเสียที เมื่อทรงได้รับรายงานเกี่ยวกับความปราชัยครั้งสำคัญของญี่ปุ่นเช่นที่ ยุทธนาวีมิดเวย์ จึงมีแต่พระราชดำรัสให้ผู้นำทหารทั้งหลายทำงานของตนให้ดีที่สุดในการปฏิบัติครั้งหน้า โดยแทบจะมิได้ทรงแสดงอารมณ์ใด ๆ ออกมาอีก ราวกับทรงปลงเสียแล้ว

พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติในระหว่างสงครามกระตุ้นให้ประชาชนฮึกเหิมกับศึกที่เกิดขึ้นด้วยอีกแรงหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการทรงม้าขาวออกเสด็จตรวจกำลังพล หรือมีพระราชดำรัสเปิดการประชุมรัฐสภาที่ปลุกเร้ากำลังใจของราษฎรให้ช่วยกันพยายามเพื่อชัยชนะของประเทศตามหนังสือที่ร่างโดยรัฐบาล พระราชกรณียกิจเหล่านี้ล้วนสร้างภาพว่า พระองค์กำลังทรงบัญชาการความเคลื่อนไหวทั้งหมดของกองทัพในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพของชาติ ในความเป็นจริง พระองค์ทรงทำหน้าที่แค่ทอดพระเนตรรายงานการสถานการณ์รบ และลงพระนามรับรองแผนปฏิบัติการทางทหารต่างๆเท่านั้น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะมิได้ทรงมีส่วนในการบัญชาการรบใดๆ เช่นเมื่อนานกิงถูกตีแตกในปี พ.ศ. 2480 และทหารญี่ปุ่นได้สังหารพลเรือนไปกว่าสองแสนคนนั้น รายงานที่ถวายไปยังพระองค์ระบุแค่ว่า กองทัพสามารถยึดนานกิงได้แล้ว

จักรพรรดิทรงเห็นว่า ญี่ปุ่นได้รับชัยชนะและดินแดนมามากเกินพอแล้ว การทำสงครามต่ออาจจะส่งผลร้ายในภายหลัง ทรงอยากให้กองทัพญี่ปุ่นยุติสงครามโดยไวที่สุด ดังในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 พระองค์มีพระราชดำรัสให้พลเอกฮิเดะกิ โทโจ นายกรัฐมนตรีรับทราบข้อเท็จจริงข้อนี้ "ฉันหวังว่าตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ ท่านได้ใช้ความพยายามอย่างที่สุด และใช้ทุกโอกาสที่มีอยู่เพื่อยุติการประหัตประหารในทันทีที่สามารถทำได้ ถ้าคิดถึงความสงบสุขของมนุษย์ด้วยกันแล้ว การปล่อยให้สงครามยืดเยื้อต่อไปก็รังแต่จะเปล่าประโยชน์...ฉันเกรงว่า ประสิทธิภาพทหารเราอาจจะด้อยลง หากสงครามต้องยืดเยื้อ" แต่โทโจก็ยังยืนยันถึงความจำเป็นในการทำสงครามต่อไป

แม้กระแสการรบจะพัดย้อนไปกระหน่ำญี่ปุ่นแทน สงครามก็ยังไม่อาจยุติลงได้ ดูเหมือนว่าจักรพรรดิฮิโระฮิโตะกลับเป็นผู้ต่อเวลาทำสงครามออกไปเสียเองถึง 2 ทางด้วยกัน ประการแรก แม้ในช่วงแรก ๆ จะมีขบวนการสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์บางองค์ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโทโจออกตามคำเรียกร้องของสมาชิกขบวนการที่ต้องการจะหยุดยั้งสงครามไว้ให้ได้ เพราะในระหว่างยังไงเสียญี่ปุ่นก็ต้องอาศัยโทโจดำเนินการรบไปจนกว่าสถานะของญี่ปุ่นในการเจรจาสันติภาพจะดีขึ้น และบรรลุเงื่อนไขตามที่ญี่ปุ่นต่อรอง โดยพระองค์ตรัสกับ เจ้าทะกะมะสึ พระอนุชาองค์รองว่า

"ใครๆก็ว่าโทโจไม่ดี แต่จะหาใครดีไปกว่านี้ได้อีกไหมในเมื่อมันไม่มีคนที่เหมาะสมกว่า ยังจะมีทางเลือกอื่น นอกจากร่วมงานกับคณะของโทโจหรือ"

ภายหลังสงคราม

สถานะของจักรพรรดิ

จักรพรรดิฮิโระฮิโตะและนายพลดักลาส แมคอาเธอร์

ภายหลังญี่ปุ่นยอมแพ้ สหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังทหารส่วนหนึ่งเข้าควบคุมญี่ปุ่น มีการเรียกร้องจากชาติฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะจากยุโรป ให้นำตัวสมเด็จพระจักรพรรดิมาลงโทษ นายพลดักลาส แมคอาเธอร์ ได้แสดงความคัดค้านอย่างถึงที่สุดในเรื่องนี้ ด้วยมองว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข แสนยานุภาพของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยังคงมีอยู่ และหากจะลงโทษจักรพรรดิแล้ว อาจเกิดการลุกฮือจากกองทัพญี่ปุ่นก็เป็นได้ ซึ่งจะต้องส่งกำลังทหารเข้ามาประจำการในญี่ปุ่นอีกมหาศาล อีกทั้งการบัญชาการทัพญี่ปุ่นในการบุกดินแดนต่าง ๆ เป็นการบัญชาการจากผู้นำรัฐบาลและกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นหลัก ท้ายที่สุดจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ รอดพ้นจากข้อหาอาชญากรสงคราม

แม้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิจะรอดพ้นจากข้อหาอาชญากรสงคราม แต่ทรงถูกบังคับ[8]ให้ปฏิเสธการเรียกร้องรัฐชินโตที่จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นเป็น อะระฮิโตะงะมิ หรือพระเจ้าที่มีตัวตน สิ่งนี้เป็นแรงจูงใจจากข้อเท็จจริงที่ว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น ค.ศ. 1889 บัญญัติให้จักรพรรดิมีพระราชอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมาจากความเชื่อของชินโตที่ว่า พระราชวงศ์แห่งจักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นสืบเชื้อสายมาจากจันทรเทพ สึกุโยะมิ และ สุริยะเทพี อะมะเตะระซุ ซึ่งจักรพรรดิฮิโระฮิโตะยืนกรานในความเชื่อนี้ ดังในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2488 ตรัสกับรองสมุหพระราชวัง มิชิโอะ คิโนะชิตะ ว่า "เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ที่จะบอกว่า ความคิดที่ว่าเท็นโน (จักรพรรดิ) เป็นลูกหลานของเทพเจ้านั้น เป็นความคิดที่ผิด แต่เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้อย่างยิ่งหากจะบอกว่า เรื่องที่เท็นโนเป็นลูกหลานของเทพเจ้า เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ "[9]

การที่ทรงปฏิเสธข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสถานะอันศักดิ์สิทธิ์ของจักรพรรดิ ทำให้ปมนี้เป็นอันตกไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนายพลแมคอาเธอร์คิดว่า พระองค์มีแนวโน้มที่จะเป็นพันธมิตรที่จะทำให้สหรัฐได้รับประโยชน์ในอนาคต อีกส่วนคือการดำเนินการของชิเงะรุ โยะชิดะ นายกรัฐมนตรี ที่ขัดขวางความพยายามที่จะทำให้จักรพรรดิเป็นพระมหากษัตริย์ตามในแบบของยุโรป

อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาได้ถอดพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ออกจากฐานันดรศักดิ์เป็นสามัญชน

พระราชกรณียกิจ

ไฟล์:Hirohito.jpg
สมเด็จพระจักรพรรดินี, สุภาพสตรีฟอร์ด, สมเด็จพระจักรพรรดิ และประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ที่ทำเนียบขาว พ.ศ. 2518

จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจทั่วไปที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การขจัดทุกข์บำรุงสุขและให้กำลังใจแก่ประชาชน การปรากฏพระองค์ในพิธีการหรือเหตุการณ์สำคัญ นอกจากนี้ ยังทรงมีบทบาทสำคัญในด้านการสร้างภาพลักษณ์ทางการทูตของญี่ปุ่น เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอยู่บ่อยครั้งเพื่อพบปะกับผู้นำต่างประเทศ อาทิ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (พ.ศ. 2514) , ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด (พ.ศ. 2518) เป็นต้น

สมเด็จพระจักรพรรดิทรงให้ความสนใจและทรงรอบรู้เกี่ยวกับชีววิทยาทางทะเล ซึ่งภายในพระราชวังโตเกียวมีห้องปฏิบัติการที่สมเด็จพระจักรพรรดิได้เผยแพร่เอกสารการค้นคว้าและวิจัยหลายด้าน ในนามแฝงของพระองค์ว่า "โช" ผลงานของพระองค์ก็อาทิ คำอธิบายเกี่ยวกับไฮโดรซัวหลากหลายสายพันธุ์[10]

พระราชอิสริยยศ

  • 29 เมษายน พ.ศ. 2444 – 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455: เจ้ามิชิ
  • 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469: มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น
  • 25 ธันวาคม พ.ศ. 2469 – 7 มกราคม พ.ศ. 2532: สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 337.
  2. Ponsonby-Fane, p. 338; 'see File:Crowd awaiting Crown Prince Tokyo Dec1916.jpg, New York Times. December 3, 1916.
  3. Osanaga Kanroji, "Hirohito"An Intimate Portrait of the Japanese Emperor , Los Angeles : Gateway, 1975
  4. HRH The Duke of Windsor, 'A King's Story', London: Cassell, 1951
  5. Mikiso Hane, Emperor Hirohito and His Chief Aide-de-camp, The Honjō Diary, 1983; Honjō Nikki, Hara Shobō, 1975
  6. Peter Wetzler, Hirohito and War, p. 188
  7. Edwin Hoyt, supra note, p.101
  8. Dower, pp. 308–318
  9. Wetzler, p. 3
  10. "World Hydrozoa Database". Marinespecies.org. สืบค้นเมื่อ 2010-10-03.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่น, เล่ม ๘๑, ตอน ๒๒ง, ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗, หน้า ๕๗๑
  • Behr, Edward Hirohito: Behind the Myth, Villard, New York, 1989. - A controversial book that posited that Hirohito had a more active role in WWII than had publicly been portrayed; it contributed to the re-appraisal of his role.
  • Bix, Herbert P. Hirohito and the Making of Modern Japan, HarperCollins, 2000. ISBN 0-06-019314-X, A recent scholarly (and copiously sourced) look at the same issue.
  • Drea, Edward J. (1998). "Chasing a Decisive Victory: Emperor Hirohito and Japan's War with the West (1941-1945)". In the Service of the Emperor: Essays on the *Imperial Japanese Army. Nebraska: University of Nebraska Press. ISBN 0-8032-1708-0.
  • Fujiwara, Akira, Shōwa Tennō no Jū-go Nen Sensō (Shōwa Emperor's Fifteen-year War), Aoki Shoten, 1991. ISBN 4-250-91043-1 (Based on the primary sources)
  • Hoyt, Edwin P. Hirohito: The Emperor and the Man, Praeger Publishers, 1992. ISBN 0-275-94069-1
  • Kawahara, Toshiaki Hirohito and His Times: A Japanese Perspective, Kodansha International, 1997. ISBN 0-87011-979-6 (Japanese official image)
  • Mosley, Leonard Hirohito, Emperor of Japan, Prentice-Hall, Englewood Cliffs, 1966. ISBN 1-111-75539-6 ISBN 1-199-99760-9, The first full-length biography, it gives his basic story.
  • Wetzler, Peter Hirohito and War: Imperial Tradition and Military Decision Making in Prewar Japan, University of Hawaii Press, 1998. ISBN 0-8248-1925-X
  • Yamada, Akira, Daigensui Shōwa Tennō (Shōwa Emperor as Commander in Chief), Shin-Nihon Shuppansha, 1994. ISBN 4-406-02285-6 (Based on the primary sources)


ก่อนหน้า จักรพรรดิโชวะ ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532)
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ
เจ้าชายโยะชิฮิโตะ
ภายหลังคือ จักรพรรดิไทโช

มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น
(พ.ศ. 2457 - พ.ศ. 2469)
เจ้าชายอะกิฮิโตะ
ภายหลังคือ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ
ไม่มี
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
(พ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2469)
ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิเอง
สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช พระประมุขแห่งเกาหลี
(พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2488)
สิ้นสุด
เกาหลีหลุดพ้นจากญี่ปุ่น

แม่แบบ:พระบรมวงศานุวงศ์แห่งญี่ปุ่น