ธัชวิทยา
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ธัชวิทยา ([ทัดชะวิดทะยา]; อังกฤษ: vexillology) คือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับธง ชื่อวิชา Vexillology เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2500 โดย วิทนีย์ สมิท
ผู้แต่งหนังสือเรื่อง ธง และบทความเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับธง ในช่วงแรกยังนับเป็นสาขาย่อยของ"วิชาการผูกตราสัญลักษณ์" (heraldry) ซึ่งบางครั้งก็ยังถือว่าเป็นดังนั้นอยู่ นอกจากนี้ก็ยังอาจถือว่าเป็นสาขาของวิชา สัญญาณศาสตร์ (semiotics) วิชานี้ได้มีการนิยามไว้ในข้อบังคับของ สหพันธ์ธัชวิทยานานาชาติ - FIAV (Fédération internationale des associations vexillologiques) ว่าเป็น "การสร้างสรรค์และพัฒนาการว่าด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับธงทุกประเภท ทุกรูปแบบ ทุกหน้าที่ใช้สอย และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และหลักการที่เป็นพื้นฐานแห่งความรู้นี้" บุคคลผู้ศึกษาเกี่ยวกับธงเรียกว่า "นักธัชวิทยา" (vexillologist) และเรียกผู้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบธงหรือนักออกแบบธง เป็นภาษาอังกฤษว่า vexillographer
ในคำภาษาอังกฤษ Vexillology ได้มาจากการสังเคราะห์คำภาษาละติน vexillum และ หน่วยคำเติมหลัง –ology ที่แปลว่า "การศึกษาว่าด้วย..." สำหรับ vexillum หมายถึงธงประจำกองทหารโรมันในยุคคลาสสิก ธงสมัยนั้นต่างกันธงปัจจุบันตรงที่ธงปัจจุบันใช้ผูกกับเสาทางดิ่ง ส่วนธง vexillum เป็นผืนสี่เหลี่ยมจตุรัสแขวนอยู่กับแขนกางเขนทางนอนที่ยึดกับปลายหอก
นักธัชวิทยารวมตัวกันในระดับนานาชาติจัดประชุมด้านธัชวิทยา (ICV - International Concress of Vexillology) ทุกๆ สองปี เมื่อ พ.ศ. 2550 จัดประชุมกันที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี สำหรับปี พ.ศ. 2552 มีกำหนดให้จัดที่เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น สำหรับกิจกรรมในอินเทอร์เน็ต FIAV มีเว็บไซต์เกี่ยวกับ "ธงในโลกนี้" คือ FOTW Official Flag สำหรับให้ผู้มีความสนใจเข้าศึกษา
หลักการออกแบบธง[แก้]
การออกแบบธง สะท้อนให้เห็นระเบียบวิธีการหลายอย่างที่สืบเนื่องมาจากข้อห่วงใยเชิงปฏิบัติ สภาวะทางประวัติศาสตร์และกฎเกณฑ์ทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาธงมาแต่อดีต และจะยังคงมีผลต่อวิวัฒนาการของธงต่อไปในอนาคตด้วย
ประการแรก ประเด็นปัญหาสำคัญที่นักออกแบบธงประสบคือการออกแบบที่จะต้องนำไปผลิต ซึ่งมักผลิตเป็นจำนวนมากและมักใช้ผ้าเป็นวัตถุดิบและต้องนำไปใช้แขวนภายนอกอาคารเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์การ ของส่วนบุคคลหรืออื่นๆ ในแง่นี้ จะเห็นว่าการออกแบบธงเสมือนการแตกสาขาออกมากจากการออกแบบตราสัญลักษณ์หรือ "โลโก" ซึ่งโลโกส่วนใหญ่เป็นเพียงตราที่อยู่นิ่งในหนังสือ จอ หรือป้ายโฆษณา ส่วนธงต้องนำไปแขวนประดับและโบกพริ้วไปมาที่มองจากระยะและทิศทางต่างๆ ที่หลากหลายกว่ามาก การใช้สีและรูปร่างที่ง่ายและเด่นชัดจึงเป็นหัวใจสำคัญในเชิงการใช้งานจริง
การออกแบบธงเป็นกระบวนการทางประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกันเนื่องจากธงมักมีความหมายโยงไปถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีต รูปแบบเดิม ความหมายและการใช้งานดั้งเดิม ความละเอียดอ่อนซับซ้อน กลุ่มประเภทของธงปัจจุบันอาจสืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษร่วมเพียงไม่กี่สาย เช่นในกรณีของ "สีพันธมิตรอัฟริกัน" (Pan-African colors) "สีพันธมิตรอาหรับ" (Pan-Arab colors) "สีพันธมิตรสลาวิก" (Pan-Slavic colors)และ "ธงชาติที่ได้แรงบันดาลในจากธงชาติตุรกี" (national flags inspired by the flag of Turkey) เป็นต้น
ในบางวัฒนธรรมจะมีการกำหนดการออกแบบธงไว้ตายตัว โดยการอยู่ในกรอบของตราสัญลักษณ์ประจำตระกูล (heraldic) หรือเป็นไปตามกฎระเบียบที่มีวางไว้ตายตัว ในกรณีเฉพาะบางกรณี การออกแบบอาจกำหนดมาจากหลักการทางศาสนา ตัวอย่างเช่น ธงอิสลาม (Islamic flags) และในฐานะเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ธัชวิทยาได้เริ่มส่งเสริมให้มีการกำหนดหลักการการออกแบบที่ได้จากงานวิจัยทางประวัติศาสตร์และการออกแบบธง ตัวอย่างสำคัญได้แก่ "หลักการออกแบบธงดีและธงเลวของเท็ด เคย์" (Ted Kaye's five Good Flag, Bad Flag principles) ซึ่งตีพิมพ์และได้รับการรับรองจากสมาคมธัชวิทยาภาคอเมริกาเหนือ (North American Vexillological Association) ดังนี้
- ทำให้เรียบง่าย: ธงควรเรียบง่ายในระดับที่เด็กสามารถเขียนได้จากความจำ
- ใช้สัญลักษณ์ที่ให้ความหมาย: ภาพลักษณ์ สี หรือลวดลายของธงควรสัมพันธ์กับความหมายของสัญลักษณ์
- ใช้สีพื้นฐาน 2-3 สี: จำกัดจำนวนสีที่ใช้กับผืนธงไว้ที่ 3 สี และเป็นสีที่มีความเปรียบต่างชัดที่ได้มาจากชุดสีมาตรฐาน
- ไม่ใช้ตัวอักษรหรือตรา: ไม่พึงใช้ตัวหนังสือเขียนไม่ว่าในภาษาใดและไม่พึงใส่ตราขององค์การใดๆ
- มีความโดดเด่น หรือ มีความเกี่ยวพันสูง: หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนหรือคล้ายคลึงกับธงอื่น แต่จงใช้ความคล้ายเพื่อแสดงความเกี่ยวข้องกันเท่านั้น
นักธัชวิทยา[แก้]
นักธัชวิทยาที่สำคัญหรือมีชื่อเสียงมีดังนี้
- Graham Bartram ผู้อำนวยการสถาบันธัชวิทยาและเลขาธิการการประชุมนานาชาติ FIAV
- William Crampton ผู้ก่อตั้งสถาบันธัชวิทยา
- Marc Leepson ผู้เขียนหนังสือ Flag: An American Biography
- Michel Lupant ประธานสหพันธ์ธัชวิทยานานาชาติคนปัจจุบัน (Federation_internationale_des_associations_vexillologiques FIAV)
- Ottfried Neubecker นักธัชวิทยาคนสำคัญของประเทศเยอรมัน ผู้แต่งหนังสือเรื่อง German navy Flaggenbuch of 1939
- George H. Preble ผู้เขียนหนังสือที่มีอิทธิพลต่อสาขาธัชวิทยาเมื่อ พ.ศ. 2415 History of the American Flag
- Rudolf Siegel ผู้เขียนหนังสือ Die Flagge ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2455
- Whitney Smith ผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยธง และบรรณาธิการ Flag Bulletin ผู้ตั้งชื่อ "Vexillology" เมื่อ พ.ศ. 2500
นักออกแบบธง[แก้]
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ออกแบบธงไตรรงค์
- เอเมลิโอ อากีนาลโด ผู้ออกแบบธงชาติฟิลิปปินส์
- Luis and Sabino Arana, ผู้ออกแบบธงบาสก์ (the Ikurriña) ประเทศสเปน
- Graham Bartram, ผู้ออกแบบธงประเทศทริสทาน ดา คูนา (Tristan da Cunha-หมู่เกาะภูเขาไฟใกล้แอฟริกาใต้และอเมริกาใต้)
- Manuel Belgrano, ผู้ออกแบบธงชาติอาร์เจนตินา
- Ron Cobb, ผู้ออกแบบธงนิเวศวิทยาของอเมริกา
- John Eisenmann, ผู้ออกแบบธงประจำรัฐโอไฮโอ
- Robert G. Heft, ผู้ออกแบบธงดาวสัญลักษณ์เขตปกครอง 50 ดวงในธงชาติสหรัฐฯ
- อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, ผู้ออกแบบธงชาตินาซีเยอรมนี (the Reichskriegsflagge)
- Francis Hopkinson, ผู้ออกแบบธงชาติสหรัฐอเมริกา (ตามหลักฐานของนักประวัติศาสตร์หลายคน)
- Sharif Hussein, ผู้ออกแบบธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ
- Lu Hao-tung, ผู้ออกแบบธงชาติสาธารณรัฐจีนพื้นสีฟ้าและมีดวงอาทิตย์สีขาว
- John McConnell, ผู้ออกแบบธงโลก
- Fredrik Meltzer, ผู้ออกแบบธงชาตินอร์เวย์
- Raimundo Teixeira Mendes, ผู้ออกแบบธงชาติบราซิล
- William Porcher Miles, ผู้ออกแบบธงกองทัพฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา (ช่วงสงครามกลางเมือง)
- Francisco de Miranda, ผู้ออกแบบธงชาติเวเนซูเอลา
- Friedensreich Hundertwasser, ผู้ออกแบบธงโครู (Koru Flag) หรือธงผักกูด สัญลักษณ์ของประเทศนิวซีแลนด์
- Christopher Pratt, ผู้ออกแบบธงประจำจังหวัดนิวฟาวด์แลนด์ และลาบราดอร์ ประเทศแคนาดา
- Betsy Ross, ผู้ออกแบบธงชาติสหรัฐอเมริกา (ตามตำนานการเล่าขาน)
- Gerard Slevin, อดีตเจ้ากรมตราสัญลักษณ์แห่งไอร์แลนด์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากการออกแบบธงสหภาพยุโรป
- Whitney Smith, ผู้ออกแบบธงชาติสาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา และธงอื่นๆ
- George Stanley, ผู้ออกแบบธงชาติแคนาดา
- Robert Watt, ผู้ออกแบบธงประจำมณฑลแวนคูเวอร์ และ บริทิชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา
- เจิง เหลียนซง ผู้ออกแบบธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน
- Theodosia Okoh, ผู้ออกแบบธงชาติกานา
ดูเพิ่ม[แก้]
- สหพันธ์นักธัชวิทยานานาชาติ (Fédération internationale des associations vexillologiques)
- ธง (Flag)
- สถาบันธง (Flag Institute - สหราชอาณาจักร)
- Flagmaster
- อภิธานศัพท์ธัชวิทยา (Flag terminology)
- นิยามของตรา
- Flags of the World (เว็บไซต์เกี่ยวกับธัชวิทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
- ตราสัญลักษณ์ประจำตระกูล (Heraldry)
- สมาคมธงนอร์ดิก (Nordic Flag Society)
- สมาคมธัชวิทยาแห่งอเมริกาเหนือ (North American Vexillological Association)
- สมาคมธัชวิทยาแห่งสเปน (Sociedad Española de Vexilología)
- Tincture(heraldry)
- ห้องสมุดวิลเลียวซีทิงเจอร์แรมตัน (William CTincturerampton Library)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- World Flag Database
- Flag Research Center (U.S.)
- Deutsche Gesellschaft für Flaggenkunde (Germany)
- FlagBerlin 2007 - 22. ICV at Berlin Archived 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ICV 2005 at Buenos Aires, Argentina Archived 2009-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน