ตราสัญลักษณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฉากแท่นบูชาวิลทัน (ป. 1395–1399) เป็นรูปทูตสวรรค์สวมไวท์ฮาร์ท (กวาง) ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ส่วนพระองค์ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ
ตราแผ่นดินของอุซเบกิสถาน
ครอบครัว ตราสัญลักษณ์ของ House of El

ตราสัญลักษณ์[1] หรือบางบริบทคือ สัญลักษณ์[2] (อังกฤษ: Emblem) เป็นศิลปะที่เป็นนามธรรมหรือภาพที่แสดงให้เห็นแนวความคิด เช่น ความจริงทางจริยธรรม อุปมานิทัศน์ หรือบุคคล เช่น พระมหากษัตริย์ หรือนักบุญ[3]

ความหมายในภาษาอังกฤษ[แก้]

ตราสัญลักษณ์บนกำแพงด้านเหนือ ในบ้านของเจ้าชายแห่งเนเปิลส์ ปอมเปอี

แม้ว่าคำว่า Emblems กับคำว่า Symbols (สัญลักษณ์) มักจะใช้งานแทนกันได้ และถูกใช้ในความหมายเดียวกันในหลาย ๆ ครั้ง แต่ตราสัญลักษณ์ (Emblems) คือสัญลักษณ์ที่เป็นรูปแบบสำหรับการแสดงความคิดหรือความเป็นปัจเจกชน และตราสัญลักษณ์ก็พัฒนามาเป็นรูปธรรมได้

ตราสัญลักษณ์อาจจะถูกสวมใส่ หรือใช้เป็นตรา (Badge) ระบุตัวตน หรือแพทช์ (Patch) สำหรับติดบนเครื่องแบบ ตัวอย่างเช่น ในอเมริกา ตราเจ้าหน้าที่ตำรวจ หมายถึงตราประจำตัวที่ทำขึ้นมาจากโลหะ ในขณะที่ตราสัญลักษณ์แบบแพทช์ที่ติดอยู่บนเครื่องแบบนั้นเป็นการระบุว่าตำรวจคนนั้นสังกัดอยู่หน่วยไหน

ในยุคกลาง นักบุญหลายคนได้รับตราสัญลักษณ์สำหรับใช้ระบุตัวตนของเขาในภาพเขียนและภาพต่าง ๆ เช่น แคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรียเป็นวงล้อหรือดาบ ส่วนแอนโทนีอธิการเป็นหมูและกระดิ่งอันเล็ก สิ่งเหล่านี้ถูกเรียกอีกอย่างว่าคุณลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักบุญที่มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะหรืออยู่ใกล้ชิดกับศิลปินที่ทำงานศิลปะ

พระมหากษัตริย์และบุคคลในสำคัญประวัติศาสตร์อื่น ๆ ก็เริ่มมีการนำสัญลักษณ์ประจำตัวหรือตราสัญลักษณ์มาใช้งาน ซึ่งออกแบบแตกต่างจากตราประจำตระกูลของพวกเขา โดยที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสคือพระอาทิตย์ พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสคือซาลาแมนเดอร์ พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษคือหมูป่า และ พระเจ้ามานูแวลที่ 1 แห่งโปรตุเกสคือวงแหวนจำลองตำแหน่งดาวดาว

ในศตวรรษที่สิบห้าและสิบหก มีแฟชั่นที่เริมต้นในอิตาลีในการทำเหรียญอิสริยาภรณ์ขนาดใหญ่ที่มีหัวของบุคคลอยู่ด้านหน้า และตราสัญลักษณ์อยู่ด้านหลัง โดยสิ่งเหล่านี้จะถูกมอบให้กับมิตรสหายและและเป็นของกำนัลทางการทูต ซึ่งพิซาเนลโล (Pisanello) เป็นศิลปินที่ผลิตงานที่งดงามและดีที่สุดหลายชิ้น

ในขณะเดียวกัน สัญลักษณ์ (Symbol) ใช้แทนสิ่งหนึ่งในการแทนอีกสิ่งหนึ่งในรูปแบบที่เป็นรูปธรรมมาขึ้น[3] เช่น

"ผู้ยิ่งใหญ่กินผู้น้อย" (The big eat the small) ตราสัญลักษณ์ทางการเมืองจากหนังสือตราสัญลักษณ์ พ.ศ. 2160

ศัพท์เฉพาะอื่น ๆ[แก้]

ตราแผ่นดินของเอสโตเนีย มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปสิงโตในมุทราศาสตร์สามตัว

โทเท็มเป็นตราสัญลักษณ์รูปสัตว์ที่แสดงออกถึงจิตวัญญาณของแคลน (กลุ่มคน) ตราสัญลักษณ์ประจำตระกูลมักรู้จักกันในชื่อว่าเครื่องหมาย สิงโตยืนยกเท้าหน้าเป็นตราสัญลักษณ์ของประเทศอังกฤษ สิงโตยืนผงาด เป็นตราสัญลักษณ์ของประเทศสกอตแลนด์

รูปเคารพประกอบกับภาพ (แต่เดิมเป็นภาพทางศาสนา) กลายเป็นปกติของประเพณีนิยม โลโก้เป็นสิ่งที่ไม่เฉพาะเจาะจง เป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศานา โดยทั่วไปจะเป็นของบรรษัท

ตราสัญลักษณ์ในประวัติศาสตร์[แก้]

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 คำว่า emblem (emblema; จากภาษากรีก: ἔμβλημα, แปลว่า "เครื่องประดับที่มีลายนูน") และ emblematura มาจาก termini technici ในสถาปัตยกรรม โดยคำเหล่านี้หมายถึงการวาดรูปเคารพ การวาด หรือปติมากรรม แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่ติดอยู่ตามบ้านเรือนของตน เช่นเดียวกับจารึก ไปจนถึงเครื่องประดับต่าง ๆ ในสถาปัตยกรรม (ornamenta) หลังจากการตีพิมพ์ De re aedificatoria (พ.ศ. 1995) โดย เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี (พ.ศ. 1947–2015) ออกแบบตามรูปแบบของ De architectura โดยสถาปนิกชาวโรมันและวิศวกรคือวิตรูวิอุส ดังนั้น ตราสัญลักษณ์ึงเป็นผลพวงของความรู้ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งไม่เพียงแค่ในส่วนของกรีกและโรมันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอียิปต์ด้วย ซึ่งพิสูจน์ได้จากเสาโอเบลิสก์ (Obelisk) จำนวนมากที่สร้างขึ้นช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 ในกรุงโรม[6]

นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการใช้ตราสัญลักษณ์ในอเมริกายุคก่อนโคลัมบัส ตัวอย่างเช่นที่ใช้ในนครรัฐ อาณาจักรของมายา อาณาจักรของชาวมายัน เช่น จักรวรรดิแอซเท็ก หรือจักรวรรดิอินคา ซึ่งการใช้งานในทวีปอเมริกาก็ไม่แตกต่างจากภูมิภาคอื่นที่มีการใช้งานมากนัก แม้จะมีการใช้งานในสถานะเทียบเท่ากับตราอาร์มของหน่วยงานในอาณาเขตของตน[7]

อักษรสัญลักษณ์ของเมืองโกปันของชาวมายันในฮอนดูรัส ใช้งานโดยราชวงศ์ Yax K'uk Mo

ในปี พ.ศ. 2074 สำนักพิมพ์ในเอาก์สบวร์กได้ตีพิมพ์หนังสือตราสัญลักษณ์ครั้งแรก ชื่อว่า Emblemata โดย อันเดรีย อัลเซียโต นักกฎหมายชาวอิตาลี ปลุกกระแสความหลงไหลในตราสัญลักษณ์ทีคงทนยาวนานกว่าสองศควรรษและเข้าถึงประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันตก[8] "ตราสัญลักษณ์" ในแง่นี้ หมายถึงการผสมผสานระหว่างรูปภาพและข้อความเพื่อใช้ในการเผยแพร่ศาสนาทำให้ดึงดูดผู้อ่านให้ได้คิดและพิจารณาไตร่ตรองถึงชีวิตตนเอง การเชื่อมโยงตราสัญลักษณ์ที่มีความซับซ้อนนั้นสามารถส่งสารไปยังผู้อ่านที่มีความเข้าใจในวัฒนธรรมนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของขบวนการทางศิลปะในคตวรรษที่ 16 ที่เรียกว่าจริตนิยม

คอลเลคชั่นตราสัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยม และแพร่หลายไปในหลากหลายรูปแบบนั้นถูกนำเสนอโดย ฟรานซิส ควอร์ลส์ในปี พ.ศ. 2178 โดยตราสัญลักษณ์แต่ละชิ้นประกอบไปด้วยการถอดความจากข้อความในพระคัมภีร์ ซึ่งแสดงออกมาด้วยภาษาที่สูงส่งและใช้คำเชิงเปรียบเทียบ ตามด้วยข้อความจากปิตาจารย์แห่งคริสตจักร และปิดท้ายด้วยคำคมสั้น ๆ จำนวนสี่บรรทัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาพร้อมกับตราสัญลักษณ์ที่แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงพร้อมกับข้อความประกอบ

ตราสัญลักษณ์ในคำพูด[แก้]

ตราสัญลักษณ์เป็นสิ่งที่มีท่าทางบางอย่างที่มีความหมายเฉพาะในตัว ความหมายเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้น โดยการใช้ตราสัญลักษณ์นั้นทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันด้วยคำพูดได้ เช่น ผู้คนใช้การโบกมือให้กับคนรู้จักเพื่อที่จะสื่อสารว่า "สวัสดี" โดยไม่ต้องสื่อสารด้วยคำพูด[9]

ตราสัญลักษณ์กับภาษามือ[แก้]

แม้ว่าภาษามือจะใช้ท่าทางในการสื่อสารคำในลักษณะที่ไม่ใช้คำพูด แต่ไม่ควรสับสนกับการใช้ตราสัญลักษณ์ด้วยมือ ภาษามือมีคุณสมบัติทางภาษาที่คล้ายคลึงกับภาษาที่ใช้คำพูด และใช้ในการสื่อสารในรูปแบบบทสนทนา[10] ซึ่งมีคุณสมบัติทางภาษา ได้แก่ คำกริยา นำนาม คำสรรพนาม คำวิเศษ คำคุณศัพท์ เป็นต้น[11] โดยการใช้ตราสัญลักษณ์ด้วยมือนั้น ตรงข้ามกับการใช้ภาษามือ คือเป็นการสื่อสารด้วยท่าทางเดียวเพื่อส่งข้อความสั้น ๆ ที่ไม่ใช่คำพูดที่สื่อสารถึงบุคคลอื่น

ตราสัญลักษณ์ในวัฒนธรรม[แก้]

ตราสัญลักษณ์มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่ก่อตั้งขึ้น และขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมนั้น ๆ เช่น การทำเครื่องหมายเป็นวงกลมด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ในอเมริกาใช้ในการสื่อความหมายว่า "ตกลง" โดยไม่ต้องใช้คำพูด ในญี่ปุ่นหมายถึง "เงิน" และในบางประเทศในยุโรปตอนใต้หมายถึงบางสิ่งบางอย่างทางเพศ[12] นอกจากนี้ การทำเครื่องหมายยกนิ้วโป้ง ในอเมริกาหมายถึง "ดีมาก" แต่ในบางพื้นที่ของตะวันออกกลาง การทำเครื่องหมายยกนิ้วโป้งหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจเป็นอย่างมาก[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

Drysdall, Denis (2005). "Claude Mignault of Dijon: "Theoretical Writings on the Emblem: a Critical Edition, with apparatus and notes (1577)". สืบค้นเมื่อ 2009-05-29. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Emblematica Online. University of Illinois at Urbana Champaign Libraries. 1,388 facsimiles of emblem books.
  • Moseley, Charles, A Century of Emblems: An Introduction to the Renaissance Emblem (Aldershot: Scolar Press, 1989)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตราสัญญลักษณ์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า". www2.crma.ac.th.
  2. "emblem แปลว่าอะไร ความหมาย คำแปล หมายความว่า ตัวอย่างประโยค". dict.meemodel.com (ภาษาอังกฤษ).
  3. 3.0 3.1 symbol. United Kingdom: AskOxford - Compact Oxford English Dictionary. 1989. ISBN 0-19-861186-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2007.
  4. "The History of the Emblems". International Committee of the Red Cross. 2006-03-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 Aug 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29. History of the emblems of the International Red Cross: An account of this organisation's need to adopt an emblem to represent itself, and the factors which led to it eventually adopting a second (the red crescent) and third (the red crystal).
  5. "skull and crossbones". Macmillan Dictionary. Macmillan Publishers. 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ Oct 8, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29. macmillandictionary.com entry for "skull and crossbones"
  6. Piperno, Roberto. Rosamie Moore (บ.ก.). "Obelisks of Rome". สืบค้นเมื่อ 2009-05-29. [ลิงก์เสีย] Historical information, a map, photographs, and descriptions of Egyptian obelisks in Rome.
  7. Sánchez Huaringa, Carlos D. (2015-07-13). "LOS PRIMEROS INSTRUMENTOS MUSICALES PRECOLOMBINOS: LA FLAUTA DE PAN ANDINA O LA "ANTARA"". Arqueología y Sociedad (29): 461–494. doi:10.15381/arqueolsoc.2015n29.e12241. ISSN 0254-8062.
  8. Barker, William; Mark Feltham; Jean Guthrie (1995-10-26). "Alciato's Book of Emblems: The Memorial Web Edition in Latin and English". Memorial University of Newfoundland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ Jan 22, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29. This page states that "Andrea Alciato's [Emblemata] had enormous influence and popularity in the 16th and 17th centuries".
  9. Burgoon, Guerrero, Floyd (8 January 2016). Nonverbal Communication (1st ed.). Pearson Education, Inc. p. 432. ISBN 9780205525003. สืบค้นเมื่อ 12 April 2017.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Husain, Fatima T.; Patkin, Debra J.; Thai-Van, Hung; Braun, Allen R.; Horwitz, Barry (2009). "Distinguishing the Processing of Gestures from Signs in Deaf Individuals: An fMRI Study". Brain Res. 1276: 140–50. doi:10.1016/j.brainres.2009.04.034. PMC 2693477. PMID 19397900.
  11. Youn, Hyejin (2016). "On the Universal Structure of Human Lexical Semantics" (PDF). Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 113 (7): 1766–1771. arXiv:1504.07843. Bibcode:2016PNAS..113.1766Y. doi:10.1073/pnas.1520752113. PMC 4763760. PMID 26831113. สืบค้นเมื่อ May 4, 2017.
  12. Seal, Bernard (20 August 2012). Academic Encounters Level 4 Student's Book Reading and Writing: Human Behavior. Cambridge University Press. ISBN 9781107602977. สืบค้นเมื่อ May 4, 2017.
  13. "What Hand Gestures Mean In Different Countries". Busuu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ Sep 9, 2017. สืบค้นเมื่อ 5 May 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]