เครื่องยอด (อังกฤษ: Crest) เป็นองค์ประกอบของตราอาร์มที่ได้ชื่อดังกล่าวเพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่เหนือหมวกเกราะเหมือนหงอนที่อยู่บนหัวนกบางชนิด
เครื่องยอดแรกที่สุดของอิสริยาภรณ์เป็นภาพที่เขียนบนพัดโลหะ ที่มักจะนำมาใช้ในการประดับตราอาร์ม ที่เขียนบนโล่ ที่ต่อมาเลิกใช้ไป ต่อมาเครื่องยอดใช้แกะบนหนังหรือวัสดุอื่น
เดิม “เครื่องยอด” มักจะติดต่อลงมายังพู่ประดับ แต่ปัจจุบันเครื่องยอดมักจะอยู่เหนือผ้าคาด (torse) ที่ประกอบด้วยสีหลักของโล่ (สีประจำเหล่า) แต่บางครั้งก็จะมีการใช้จุลมงกุฎแทนผ้าคาด แต่ก็มีบ้างในบางกรณีก็มีจุลมงกุฎเหนือผ้าคาดและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยอด[1] เครื่องยอดจุลมงกุฎที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือรูปสัญลักษณ์ของจุลมงกุฎดยุก ที่มีสี่แฉกแทนที่จะเป็นแปดแฉก ถ้าเป็นเครื่องยอดของเมืองก็มักจะเป็น “มงกุฎเชิงเทิน” (mural crown)[2] หรือจุลมงกุฎในรูปของหยักเชิงเทิน
สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องยอดก็อาจจะเป็นสัตว์โดยเฉพาะสิงโต ตามปกติมักจะเป็นครึ่งด้านหน้า, มนุษย์ที่มักจะเป็นรูปครึ่งตัว, แขนหรือมือถืออาวุธ หรือปีกนก ในเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงเครื่องยอดมักจะนำมาจากเครื่องหมายประจำกลุ่มในรูปของหมวกสูง, ขนนกบนหมวกสลับสี หรือแตรงอนคู่ แตรอาจจะมีรูตรงปลายเพื่อเสียบช่อขนนกหรือช่อดอกไม้
อ้างอิง[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
|
---|
| สัตว์ | |
---|
| นก | |
---|
| สัตว์ในตำนาน | |
---|
| ปลา | |
---|
| อื่นๆ | |
---|
| |
|