รายชื่อธงในประเทศอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธงในประเทศอินเดีย)

ภาพธงในหน้านี้ เป็นธงต่างๆ ที่มีการใช้และเคยใช้ในสาธารณรัฐอินเดีย

ธงชาติ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 ธงชาติอินเดีย ธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีแสด-ขาว-เขียว กลางแถบสีขาว เป็นรูปธรรมจักรพระเจ้าอโศกมหาราชสีน้ำเงิน ซึ่งมีกำ 22 ซี่ ธงนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ติรังคา" (ภาษาฮินดี : तिरंगा) แปลว่า ธงสามสี

ธงประธานาธิบดี[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดี ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 อยู่มุมซ้ายบน เป็นรูปตราแผ่นดินบนพื้นสีน้ำเงิน หมายถึงเอกภาพของชาติ ส่วนที่ 2 อยู่มุมขวาบน เป็นภาพวาดช้างจากถ้ำอชันตา บนพื้นสีแดง หมายถึง ความอดทนและความเข้มแข็ง ส่วนที่ 3 อยู่มุมซ้ายล่าง เป็นตราชูจากป้อมแดง (Red Fort) ที่เมืองเดลลีเดิม บนพื้นสีแดง หมายถึง ความยุติธรรม ส่วนที่ 4 อยู่มุมขวาล่าง เป็นภาพแจกันดอกบัวที่สารนาถ บนพื้นสีน้ำเงิน หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของชาติ

ธงเรือ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงแสดงสัญชาติสีแดง ธงพื้นสีแดง มีรูปธงชาติอินเดียอยู่ที่มุมธงด้านคันธง
ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน ธงเรือช่วยรบ และ ธงพาณิชยนาวีซึ่งควบคุมโดยเจ้าหน้าที่กำลังสำรองของกองทัพเรือ
ธงเรือราชการ ลักษณะคล้ายธงเรือช่วยรบ ที่ปลายธงมีสมอเรือสีเหลืองวางในแนวนอน

ธงทหาร[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงแสดงสัญชาติกองทัพบกอินเดีย ธงพื้นสีแดง มีตรากองทัพบกอินเดีย ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปธงชาติอินเดีย
ธงแสดงสัญชาติกองทัพอากาศอินเดีย ธงพื้นสีฟ้า มีรูปธงชาติอินเดียตรงมุมบนด้านคันธง ที่ด้านปลายธง มีรูปตราวงกลมสีธงชาติ (Roundel) ของกองทัพอากาศอินเดีย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ธงรัฐนาวี ธงพื้นสีขาว กลางธงมีกางเขนสีแดง กลางรูปกางเขนนั้น เป็นภาพลายเส้นตราแผ่นดินสีทอง ที่มุมธงด้านคันธงเป็นรูปธงชาติอินเดีย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ธงแสดงสัญชาติหน่วยรักษาชายฝั่ง ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงินอินเดีย ที่ด้านปลายธง มีตราของหน่วยรักษาชายฝั่งของอินเดีย

ธงหมายยศทหาร[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
ธงหมายยศเสนาธิการกลาโหม ธงแสดงสัญชาติสีแดง ปลายธงมีตราเสนาธิการกลาโหม
กองทัพบกอินเดีย
ธงหมายยศเสนาธิการทหารบก ธงแสดงสัญชาติสีแดง ปลายธงมีตรากองทัพบก ประกอบดาวห้าแฉกสีเหลืองสี่ดวง เรียงจากบนลงล่างของชายธง
ธงหมายยศรองเสนาธิการทหารบก
ธงหมายยศจอมพล ธงพื้นสีแดง กลางธงมีตราเครื่องหมายยศจอมพล ประกอบดาวห้าแฉกสีเหลืองห้าดวง เรียงตามแนวยาว
ธงหมายยศพลเอก
ธงหมายยศพลโท
กองทัพเรืออินเดีย
ธงหมายยศจอมพลเรือ (ไม่ปรากฏการใช้)
ธงหมายยศพลเรือเอก (ผู้บัญชาการ และ เสนาธิการ)
ธงหมายยศพลเรือโท
ธงหมายยศพลเรือตรี
ธงหมายยศพลเรือจัตวา
ธงหมายยศนาวาเอก
กองทัพอากาศอินเดีย
ธงหมายยศเสนาธิการกองทัพอากาศ
ธงหมายยศจอมพลอากาศ
ธงหมายยศพลอากาศโท
ธงหมายยศพลอากาศตรี
หน่วยรักษาชายฝั่ง
ธงหมายยศรองผู้บัญชาการหน่วยรักษาชายฝั่ง
ธงหมายยศผู้ตรวจการใหญ่หน่วยรักษาชายฝั่ง
ตำรวจอินเดีย

ธงในอดีต[แก้]

จักรวรรดิอินเดียโบราณ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 1879 - 2189 ธงจักรวรรดิวิชัยนคร ธงพื้นสีเหลือง มีรูปพระอาทิตย์ พระจันทร์เสี้ยว ประกอบกับดาบสั้นเอาปลายแหลมลง และ รูปหมูป่า
พ.ศ. 2069 - 2400 ธงจักรวรรดิโมกุล ธงพื้นสีเขียว มีรูปพระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2217 - 2361 ธงจักรวรรดิมราฐา ธงหางนกแซงแซวพื้นสีแสด
พ.ศ. 2342 - 2392 ธงจักรวรรดิซิกข์ (จักวรรดิของศาสนาซิกข์) ธงสามเหลี่ยมมุมฉากพื้นสีเหลืองทอง ภายในมีสัญลักษณ์ของศาสนาซิกข์ "ขันธา

บริติชราช[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 2428 - 2490 ผ้สำเร็จราชการแห่งบริติชอินเดีย ธงยูเนี่ยนแจ็ค กลางธงมีรูปตราดาราแห่งภารตะภายใต้มงกุฎแห่งอินเดีย
พ.ศ. 2490 - 2493 ธงพื้นสีนำเงิน กลางธงมีรูปสิงโตเหยียบมงกุฎทิวดอร์ ใต้รูปมีแถบแพรโบว์ริบบิ้นสีเหลืองพร้อมชื่อนามของประเทศ
พ.ศ. 2406 - 2490 ธงเรือรัฐบาลอินเดีย ใช้ทั่วไปในช่วงสงครามโลก ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน มีรูปดาราแห่งภารตะที่ด้านปลายธง
พ.ศ. 2423 - 2490 ธงเรือเอกชนอินเดีย ใช้ในเวทีกิจกรรมนานาชาติ ธงแสดงสัญชาติสีแดง มีรูปดาราแห่งภารตะที่ด้านปลายธง

ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราช[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 2449 ธงเมืองกัลกัตตา ธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีแสด-เหลือง-เขียว ในแถบสีแสดมีรูปดอกบัวบาน 8 ดอก แถบสีเขียวมีรูปดวงอาทิตย์และดวงจันทร์กับดาวหนึ่งดวง ส่วนแถบกลางสีเหลืองนั้นจารึกข้อความภาษาฮินดี อักษรเทวนาครีว่า "वन्दे मातरम्" (วันเท มาตะรัม - Vande Mataram - แปลว่า น้อมเศียรเกล้าแด่มารดาแห่งอินเดีย) ธงนี้นับเป็น 1 ในธงชาติอย่างไม่เป็นทางการแบบแรกสุด ของอินเดียในอดีตด้วย
พ.ศ. 2450 ธงของขบวนการชาตินิยมอินเดีย ลักษณะเดียวกับธงประจำเมืองธงกัลกัตตา โดยแถบสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีเขียว-เหลือง-แดง (บางผืนเป็นธงแถบด้านบนสีน้ำเงิน)
พ.ศ. 2460 ธงขบวนการปกครองตนเองของอินเดีย (Home Rule Movement) ธงหางนกแซงแซว พื้นเป็นริ้วสีแดง 5 ริ้ว สลับด้วยริ้วสีเขียว 4 ริ้ว ที่มุมธงด้านคันธงเป็นรูปธงชาติสหราชอาณาจักร หมายถึง การยอมรับว่า ยังอยู่ภายในอาณัติการปกครองของสหราชอาณาจักร ในพื้นสีแดงสลับเขียวนั้น มีรูปดวงจันทร์เสี้ยวกับดาวหนึ่งดวงที่มุมบนด้ายปลายธง ตอนล่างเป็นรูปดาวสีขาว 7 ดวง เรียงกันเป็นรูปกลุ่มดาวหมีใหญ่ ซึ่งในอินเดียนั้นเรียกว่า กลุ่มดาวสัปตฤๅษี รูปดาวกลุ่มนี้ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถือว่าเป็นรูปกลุ่มดาวศักดิ์สิทธิ์
พ.ศ. 2464 ธงประจำตัวของมหาตมา คานธี, ใช้โดยพรรคคองเกรสแห่งอินเดีย ในระหว่างการประชุมพรรค ธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีขาว-เขียว-แดง กลางแถบสีขาวเป็นกงล้อเข็นฝ้าย
พ.ศ. 2485 - 2488 ธงรัฐบาลเฉพาะกาลของขบวนการอินเดียเสรี (Provisional Government of Free India) ธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีแสด-ขาว-เขียว กลางแถบสีขาวเป็นกงล้อเข็นฝ้าย เดิมธงนี้ใช้เป็นธงคองเกรสแห่งอินเดีย พ.ศ. 2474 สามารถใช้สลับกันกับธงขบวนการอาซาดฮินด์ได้เช่นกัน
ธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีแสด-ขาว-เขียว กลางแถบสีขาวเป็นรูปเสือเผ่น ธงนี้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของขบวนการอาซาดฮินด์ (Azad Hind Movement) ซึ่งเป็นขบวนการหัวรุนแรง ฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มที่มีแนวคิดสันติแบบคานธี ซึ่งสามารถใช้สลับกันกับธงคองเกรสแห่งอินเดีย พ.ศ. 2474 ได้

ธงหมายยศทหาร[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ การใช้ คำอธิบาย
กองทัพเรืออินเดีย
พ.ศ. 2544 - 2547 ธงหมายยศจอมพลเรือ (ไม่ปรากฏการใช้)
ธงหมายยศพลเรือเอก (ผู้บัญชาการ และ เสนาธิการ)
ธงหมายยศพลเรือโท
ธงหมายยศพลเรือตรี
ธงหมายยศพลเรือจัตวา
ธงหมายยศนาวาเอก
กองทัพอากาศอินเดีย
พ.ศ. 2493 - 2523 ธงหมายยศจอมพลอากาศ
ธงหมายยศพลอากาศเอก
ธงหมายยศพลอากาศโท
ธงหมายยศพลอากาศตรี
ธงหมายยศพลอากาศจัตวา
ธงหมายยศนาวาอากาศเอก
ธงหมายยศนายเรืออากาศ
ธงหมายยศผู้บังคับการกองบิน

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]