กลุ่มดาวหมีใหญ่
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
คลิกเพื่อดูรูปใหญ่ | |
ชื่อย่อ: | UMa |
---|---|
ชื่อคุณศัพท์: | Ursae Majoris |
สัญลักษณ์: | หมีใหญ่ |
ไรต์แอสเซนชัน: | 10.67 ชั่วโมง |
เดคลิเนชัน: | 55.38° |
เนื้อที่: | 1280 ตารางองศา (อันดับที่ 3) |
จำนวนดาวฤกษ์: (ความส่องสว่างปรากฏน้อยกว่า 3) | 6 |
ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด: | ดาวอัลลิออท e UMa (ความส่องสว่างปรากฏ = 1.8) |
ฝนดาวตก: | ฝนดาวตกแอลฟาหมีใหญ่ ฝนดาวตกสิงโต-หมี |
กลุ่มดาวที่ติดกัน: | กลุ่มดาวมังกร กลุ่มดาวยีราฟ กลุ่มดาวแมวป่า กลุ่มดาวสิงโตเล็ก กลุ่มดาวสิงโต กลุ่มดาวผมเบเรนิซ กลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ |
มองเห็นได้ในระหว่างละติจูด +90° ถึง −30° มองเห็นได้ดีที่สุดในเวลา 21.00 น. ของเดือนเมษายน | |
กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นกลุ่มดาวที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับคัลลิสโตในเทพนิยายกรีก ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด 7 ดวง ทำให้เกิดดาวเรียงเด่นซึ่งคนไทยเรียกว่า ดาวจระเข้ คนลาว เรียกว่า ดาวหัวช้าง ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า คันไถ ในจีนและอเมริกาเหนือ เรียกว่า กระบวยใหญ่
กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นกลุ่มดาวสำคัญ ช่วยชี้หาดาวเหนือได้ โดยไล่จากขาหน้าขวา (βUMa) ไปทางขาหน้าซ้าย (αUMa) เลยออกไปอีกประมาณ 5 ช่วง นอกจากกลุ่มดาวหมีใหญ่ ยังมีอีกกลุ่มที่ใช้หาดาวเหนือได้คือ กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย หรือดาวค้างคาว
สำหรับคนในซีกโลกเหนือ กลุ่มดาวหมีใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่มองเห็นได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับดาวเหนือ แต่ในทางกลับกันเนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มาก ๆ จะเห็นได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบนทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลกเกือบตลอดเวลา
สิ่งที่น่ารู้อีกอย่างเกี่ยวกับกลุ่มดาวหมีใหญ่คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่มีโลกที่สดใสและเป็นสีชมพูตลอดเวลาเนื่องจากกลุ่มดาวหมีใหญ่มีดาวบีตา(β)ชื่อว่า"มีรัก(Merak)"