ถ้ำอชันตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ้ำอชันตา *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ถ้ำอชันตา
พิกัด20°33′12″N 75°42′01″E / 20.55333°N 75.70028°E / 20.55333; 75.70028พิกัดภูมิศาสตร์: 20°33′12″N 75°42′01″E / 20.55333°N 75.70028°E / 20.55333; 75.70028
ประเทศเอารังคาบาด รัฐมหาราษฏระ ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iii) (vi)
อ้างอิง242
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2526 (คณะกรรมการสมัยที่ 7)
พื้นที่8,242 ha
พื้นที่กันชน78,676 ha
ถ้ำอชันตาตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ถ้ำอชันตา
ที่ตั้งของถ้ำอชันตา ในประเทศอินเดีย
ถ้ำอชันตาตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ
ถ้ำอชันตา
ถ้ำอชันตา (รัฐมหาราษฏระ)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
ภาพวาดพระปัทมปาณิโพธิสัตว์และพระวัชรปาณีโพธิสัตว์จิตรกรรมที่ผนังถ้ำอชันตา หมายเลข 1 ศิลปะคุปตะตอนปลาย หรือหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่12) ถือกันว่าเป็นงานจิตรกรรมที่งดงามที่สุดภาพหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย

ถ้ำอชันตา (อังกฤษ: Ajanta Caves, มราฐี: अजिंठा लेणी) ตั้งอยู่ในเมืองเอารังคาบาด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ได้ชื่อว่าเป็น วัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก สร้างเมื่อ พ.ศ. 350 โดยพระภิกษุในสมัยนั้นได้ค้นพบสถานที่แห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เจาะภูเขาเพื่อสร้างเป็นกุฏิ โบสถ์ วิหาร ฯลฯ เพื่ออาศัยอยู่อย่างสันโดษ เนื่องจากเป็นสถานที่ห่างไกลผู้คน ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน เป็นองค์เจดีย์ เป็นพระพุทธรูป และภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ในพุทธประวัติและชาดก ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดย องค์การยูเนสโก[1]

การค้นพบ[แก้]

28 เมษายน พ.ศ. 2362 ข้าราชการทหารของสหราชอาณาจักร จอหน์ สมิธ (John Smith) ได้ค้นพบถ้ำนี้โดยบังเอิญ ถ้ำหมายเลข 1 เป็น ถ้ำพุทธมหายาน ที่ได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลกว่า มีภาพเขียนสีที่งดงามมากที่สุด แม้เวลาจะผ่านมานานถึงกว่า 1,500 ปี ภาพก็ยังคงสีสันและลายเส้นที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์

อ้างอิง[แก้]