ราชอาณาจักรนาโปลี (นโปเลียน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรนาโปลี

Regno di Napoli  (อิตาลี)
Regno 'e Napule  (นาโปลี)
Royaume de Naples  (ฝรั่งเศส)
ค.ศ. 1806–ค.ศ. 1815
ธงชาตินาโปลี
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของนาโปลี
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของนาโปลี
สถานะรัฐบริวารของจักรวรรดิฝรั่งเศส
เมืองหลวงนาโปลี
ภาษาทั่วไปอิตาลี, นาโปลี, ฝรั่งเศส
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 1806–1808
พระเจ้าโฌแซ็ฟที่ 1
• ค.ศ. 1808–1815
ฌออากีม–นโปเลียน
ยุคประวัติศาสตร์สงครามนโปเลียน
• ประกาศก่อตั้ง
30 มีนาคม ค.ศ. 1806
• โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต เสด็จสู่นาโปลี
15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1806
10 มีนาคม ค.ศ. 1806
• ฌออากีม มูว์รา มาแทนที่โฌแซ็ฟ
1 สิงหาคม ค.ศ. 1808
3 พฤษภาคม ค.ศ. 1815
9 มิถุนายน ค.ศ. 1815
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรนาโปลี
ราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง
ธงพลเรือน

ราชอาณาจักรนาโปลี (อิตาลี: Regno di Napoli; นาโปลี: Regno 'e Napule; ฝรั่งเศส: Royaume de Naples) หรือ ราชอาณาจักรเนเปิลส์ (อังกฤษ: Kingdom of Naples) เป็นรัฐบริวารของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 4 และ 7 แห่งนาโปลีและซิซิลี แห่งราชวงศ์บูร์บง อยู่ฝ่ายของสหสัมพันธมิตร ต่อกรกับจักรพรรดินโปเลียน และผลลัพธ์ในทางกลับกันคือพระองค์ถูกขับไล่ออกจากราชอาณาจักรโดยการรุกรานของฝรั่งเศส โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต พี่ชายของจักรพรรดินโปเลียน ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนาโปลี แทนที่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ โฌแซ็ฟได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าชายแห่งนาโปลี" เพื่อเป็นมรดกแก่ลูกหลานของโฌแซ็ฟ เมื่อโฌแซ็ฟกลายเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสเปนใน ค.ศ. 1808 นโปเลียนแต่งตั้งน้องเขยของเขา ฌออากีม มูว์รา ให้ขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์แทน ภายหลังมูว์ราโดนถอดถอนโดยการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ใน ค.ศ. 1815 ภายหลังปะทะกับจักรวรรดิออสเตรียในสงครามนาโปลี ซึ่งเขาได้รับความปราชัยอย่างเด็ดขาดในยุทธการตูแร็งติโน

ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์ของนโปเลียน จะมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า พระมหากษัตริย์แห่งนาโปลีและซิซิลี ก็ตาม แต่การที่บริเตนมีอำนาจในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้น ทำให้ฝรั่งเศสไม่สามารถเข้าควบคุมดินแดนซิซิลี ที่ซึ่งพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้หลบหนีไป และอำนาจของจักรวรรดิฯ ถูกจำกัดขอบเขตอยู่ในราชอาณาจักรนาโปลีบนแผ่นดินใหญ่อยู่อย่างเพียงลำพัง ในขณะที่พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ยังคงพำนักอยู่และได้ปกครองดินแดนของราชอาณาจักรซิซิลี

ด้วยจิตวิญญาณแห่งการปรับปรุงให้ทันสมัยในสมัยของการปฏิวัติฝรั่งเศส ระบอบการปกครองของโฌแซ็ฟและมูว์รา จึงได้ดำเนินแผนงานการปฏิรูปอย่างกว้างขว้าง ต่อองค์กรและโครงสร้างของราชอาณาจักรศักดินาโบราณ ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1806 ได้มีการยกเลิกระบบศักดินา และสิทธิ์และอภิสิทธิ์ทั้งหมดของชนชั้นขุนนางถูกยกเลิก[1] การเก็บภาษีที่นาก็ได้สิ้นสุดลง และการจัดเก็บภาษีทั้งหมด ก็ค่อย ๆ ถูกควบคุมจากส่วนกลางโดยตรง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ได้นำผู้รับจ้างออกจากระบบการจัดเก็บภาษี และชดเชยผู้ที่สูญเสียอภิสิทธิ์ของการเก็บภาษีจากระบบศักดินาด้วยพันธบัตร[2] ระบบไฟถนนสาธารณะระบบแรก ซึ่งจำลองมาจากกรุงปารีส ก็ถูกติดตั้งในเมืองนาโปลีในรัชสมัยของโฌแซ็ฟ เช่นกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. Procacci, 266.
  2. Connelly, 80.