ยุทธการที่วอเตอร์ลู
ยุทธการวอเตอร์ลู | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ด | |||||||
![]() ภาพ เวลลิงตันที่วอเตอร์ลู | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
![]() |
ฝ่ายสหสัมพันธมิตร:![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ | |||||||
![]() ![]() |
![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
72,000[1] | อังกฤษ-พันธมิตร: 68,000[1] ปรัสเซีย: 50,000[2] | ||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||
ตาย/บาดเจ็บ 25,000 คน ตกเป็นเชลย 7,000 คน สูญหาย 15,000[3] |
ตาย/บาดเจ็บ 22,000 คน[4] |
ยุทธการที่วอเตอร์ลู (อังกฤษ: Battle of Waterloo) เกิดขึ้นเมื่อ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815 ที่หมู่บ้านวอเตอร์ลู ประเทศเบลเยียม (ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์) กองทัพฝรั่งเศสภายในบัญชาของจักรพรรดินโปเลียนพ่ายแพ้ต่อสองกองทัพฝ่ายสหสัมพันธมิตร กองทัพแรกคือกองทัพผสมระหว่างบริเตน, เนเธอร์แลนด์, ฮันโนเฟอร์, เบราน์ชไวค์ และนัสเซา ในบัญชาของจอมพลดยุกแห่งเวลลิงตัน กองทัพที่สองคือกองทัพปรัสเซียในบัญชาของจอมพลเก็พฮาร์ท ฟ็อน บลึชเชอร์ ยุทธการครั้งนี้เป็นจุดจบของสงครามนโปเลียนที่ดำเนินมากว่า 12 ปี
เมื่อนโปเลียนหนีออกจากเกาะเอลบาและคืนสู่อำนาจในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศทั้งหลายรีบตัวกันจัดตั้งกองทัพสหสัมพันธมิตรเพื่อต่อต้านนโปเลียน กองทัพเวลลิงตันและกองทัพบลึชเชอร์ตั้งค่ายอยู่ใกล้ชายแดนทางเหนือของฝรั่งเศส นโปเลียนวางแผนทั้งคู่ก่อนที่ทั้งคู่จะรวมตัวกับกองทัพพันธมิตรอื่นและบุกเข้าฝรั่งเศส ในวันที่ 16 มิถุนายน นโปเลียนประสบความสำเร็จในการรุกตีกองทัพปรัสเซียในยุทธการที่ลิงงี (Ligny) ด้วยกองหลัก ทำให้ปรัสเซียต้องถอยร่นขึ้นเหนือในวันต่อมา แต่ศึกด้านเวลลิงตันจบลงที่ผลเสมอ นโปเลียนส่งกำลังราวหนึ่งในสามเพื่อไล่ตีกองทัพปรัสเซียจนเกิดเป็นยุทธการที่วาฟ (Wavre) เมื่อวันที่ 18–19 มิถุนายน ทำให้ทหารฝรั่งเศสกองดังกล่าวติดพันศึกด้านนั้นและมาสมทบที่วอเตอร์ลูไม่ได้
เมื่อดยุกแห่งเวลลิงตันทราบเรื่องดังกล่าวก็มองเห็นโอกาสดี ดยุกแห่งเวลลิงตันตัดสินใจตั้งทัพที่เนินมงแซ็งฌ็อง (Mont-Saint-Jean) บนทางหลวงเชื่อมบรัสเซลส์ ใกล้กับหมู่บ้านวอเตอร์ลู เวลลิงตันรับการโจมตีอย่างต่อเนื่องของฝรั่งเศสตลอดบ่ายวันที่ 18 มิถุนายน เมื่อทหารปรัสเซียมาถึง กองทัพปรัสเซียเข้าตีปีกข้างของกองทัพฝรั่งเศสและสร้างความเสียหายอย่างมาก เมื่อตกค่ำ นโปเลียนสั่งกองพันทหารราบรักษาพระองค์ (Garde Impériale) ซึ่งเป็นทหารกองหนุนหน่วยสุดท้ายที่เหลืออยู่เข้าโจมตีแถวของทหารอังกฤษ อีกด้านหนึ่ง ทหารปรัสเซียรุกฝ่าเข้ามาทางปีกขวาของกองทัพฝรั่งเศส ทหารอังกฤษสามารถยันกองพันทหารราบฝรั่งเศสไว้ได้ กองทัพฝรั่งเศสแพ้ราบคาบ
นโปเลียนสละราชสมบัติในอีกสี่วันให้หลัง กองทัพผสมเคลื่อนพลเข้าสู่กรุงปารีสในวันที่ 7 กรกฎาคม ความพ่ายแพ้ที่วอเตอร์ลูปิดฉากการปกครองของนโปเลียนในฐานะจักรพรรดิฝรั่งเศส เป็นจุดจบของสมัยร้อยวัน และเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1
ต้นเหตุ[แก้]
วันที่ 13 มีนาคม 1815, 6 วันก่อนนโปเลียนเดินทางถึงปารีส การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ได้ประกาศให้นโปเลียนเป็นคนนอกกฎหมาย[5] สี่วันต่อมา สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, ออสเตรีย, และ ปรัสเซีย ได้ยกกองทัพมาเพื่อกำจัดอำนาจของนโปเลียน[6] นโปเลียนทราบว่า ถ้าเขาไม่สามารถป้องกันการโจมตีของฝ่ายสหสัมพันธมิตรได้แล้ว เขาต้องโจมตีกองทัพสหสัมพันธมิตรก่อนที่จะยกทัพมาเพื่อรักษาอำนาจที่ตนมี ถ้าหากเขาสามารถโจมตีกองกำลังผสมที่อยู่ทางตอนใต้ของกรุงบรัสเซล ได้สำเร็จแล้ว อาจจะทำให้กองทัพอังกฤษถอยทัพออกไปยังเกาะบริเตน และทำให้กองทัพปรัสเซียพ่ายแพ้
เหตุผลอีกประการหนึ่งคือในเขตนั้นมีกลุ่มผู้สนับสนุนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสอยู่ (Francophone) ชัยชนะอาจทำให้เกิดการเข้าร่วมกับกองทัพฝรั่งเศส อีกประการหนึ่ง กองทัพอังกฤษที่นั่นเป็นทหารใหม่ กองทัพจำนวนมากที่เคยรบสงครามคาบสมุทรได้ถูกส่งไปประจำการที่อเมริกาในสงครามปี 1812[7]การยกพลกองทัพไปผ่านมงส์ไปยังบรัสเซลส์ มีจุดประสงค์เพื่อตั้งรับการโจมตีนของนโปเลียน [8] การทำเช่นนี้ทำให้เวลลินตันไม่สามารถติต่อกับฐานบัญชาการที่ออสเตนด์ แต่กองทัพของเขาจะใกล้กับบลือเชอร์มาก ฝั่งซ้ายของกองทัพควบคุมโดยมีแชล แน ฝั่งขวาควบคุมโดยมาร์เชลกรูชี กองทัพฝรั่งเศสได้เข้าโจมตีป้อมของกลุ่มพัทธมิตร ในช่วงรุ่งอรุณของวันที่ 15 มิถุนายน ที่ชาร์เลอรัว
สมรภูมิ[แก้]
สมรภูมิวอเตอร์ลูมีแนวสันเขาตามทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก มีถนนไปบรัสเซล์ตัดผ่านตรงกลางในแนวตั้งฉาก ทางยอดเขามีถนนโออังและหุบเหวตื้น ที่จุดตัดของถนนไปบรัสเซล์มีต้นเอม ซึ่งเวลลิงตันได้ควบคุมการรบที่นั่น โดยใช้การรบบนเนินเขา[9]ความยาวของกองทัพนั้นประมาณ 2.5 ไมล์ (4.0 กิโลเมตร) เวลลิงตันจึงสามารถนำกองทัพของเขารุกขึ้นมาได้ ซึ่งเขาทำในช่วงตอนกลางและฝั่งขวาไปยังหมู่บ้านแบรน์-ลาลเลอดโดยหวังใช้กองทัพปรัสเซียมาถึงให้ทันเวลา[10] ด้านหน้าสันเขามีจุดสำตัญที่สามารถใช้ป้องกันการโจมตีได้ ฝั่งขวาสุดมีชาโต สวน และสวมผลไม้ที่อูโกมองต์มีบ้านที่ซ่อนอยู่ท่ามกลางต้นไม้ซึ่งหันไปทางทิศเหนือ ตามแนวร่องเหว ฝั่งซ้ายสุดมีหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อปาปล็อต(Papelotte) ซึ่งอูโกมองต์และปาปล็อตได้มีทหารประจำการ ซึ่งทำให้การโจมตีตามแนวขอบใช้ไม่ได้ และปาปล็อตยังยึดถนนไปวาเวรอ ซึ่งทหารปรัสเซียใช้เดินทางมา ทิศตะวันตกของถนนไปบรัสเซล์มีฟาร์มชื่อว่าลาแอย์แซงต์มีทหารเบาแห่งกองทหารแห่งกษัตริย์เยอรมัน 400 นายประจำการอยู่.[11] ด้านตรงข้ามของถนนมีเหมืองทราย ที่หน่วยไรเฟิลที่ 95ประจำการเป็นพลแม่นปืน[12] ตำแหน่งของกองทัพเช่นนี้เป็นสิ่งที่ลำบากใจในการโจมตี การโจมตีต้องโจมตีที่อูโกมง ถ้าโจมตีตรงกลางจะถูงยิงทั้งสองด้าน คือทางอูโกมงและลาแอย์แซงต์ ฝั่งซ้ายจะถูกโจมตีที่ลาแอย์แซงต์ และเมืองปาปล็อต [13] กองทัพฝรั่งเศสอยู่ทางใต้ของสันเขา นโปเลียนไม่เห็นตำแหน่งของเวลลิงตัน จึงเดินทัพไปทางถนนบรัสเซล ปีกขวามีกองที่ 1 นำทัพโดยเดอลงมีทหารราบ 1,600 นาย ทหารม้า 1,500 นาย และสำรองอีก 4,700 ปีกซ้ายนำโดยรายยี มีทหารราบ 1,300 นาย ทหารม้า 1,300 นายและสำรองอีก 4,600 นาย ตรงกลางถนนไปยังลา แบล อาลายยังมีกำลังเสริมของโลโบ ประกอบด้วยทหารราบ 6,000 ทหารรักษาพระองค์ 1,300 นาย และทหารท้าอีก 1,200 นาย[14]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 Hofschröer, pp. 72–73
- ↑ Chesney, p. 4
- ↑ Barbero, p. 420
- ↑ Barbero, p. 419
กองทัพของเวลลิงตัน: ตาย 3,500 คน; บาดเจ็บ 10,200 คน; สูญหาย 3,300 คน
Blücher's army: ตาย 1,200 คน; บาดเจ็บ 4,400 คน; สูญหาย 1,400 คน - ↑ Timeline: The Congress of Vienna, the Hundred Days, and Napoleon's Exile on St Helena, Center of Digital Initiatives, Brown University Library
- ↑ Hamilton-Williams 1993, p. 59
- ↑ Chandler 1966, pp. 1016, 1017, 1093
- ↑ Siborne 1990, p. 82.
- ↑ Barbero 2005, pp. 78,79.
- ↑ Barbero 2005, p. 80.
- ↑ Barbero 2005, p. 149.
- ↑ Parry 1900, p. 58.
- ↑ Barbero 2005, pp. 141,235.
- ↑ Barbero 2005, pp. 83–85.