ข้ามไปเนื้อหา

สมัยร้อยวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ด
ส่วนหนึ่งของ สงครามนโปเลียนและสงครามสหสัมพันธมิตร

ยุทธการที่วอเตอร์ลู โดยวิลเลียม แซดเลอร์ที่ 2
วันที่20 มีนาคม – 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1815
(110 วัน)
สถานที่
ผล

ฝ่ายสหสัมพันธมิตรชนะ

คู่สงคราม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
800,000–1,000,000 นาย[1] 280,000 นาย[1]

สมัยร้อยวัน (ฝรั่งเศส: les Cent-Jours, สัทอักษรสากล: [le sɑ̃ ʒuʁ];[2] อังกฤษ: Hundred Days) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่เจ็ด (อังกฤษ: War of the Seventh Coalition) เป็นช่วงเวลาที่เริ่มตั้งแต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 หนีจากเกาะเอลบาขึ้นสู่แผ่นดินยุโรป เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 จนถึงการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง เป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 (เป็นเวลารวมทั้งสิ้น 111 วัน)[3]

คำว่า “les Cent Jours” ใช้เป็นครั้งแรกโดยเพรเฟต์แห่งปารีส กาสปาร์ด เดอ ชาโบรล ในสุนทรพจน์ต้อนรับการกลับมาของพระมหากษัตริย์[4]

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เสด็จกลับมายังปารีสขณะที่การประชุมแห่งเวียนนายังคงดำเนินอยู่ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม เจ็ดวันก่อนที่นโปเลียนจะเสด็จถึงปารีส คณะที่ประชุมก็ประกาศว่าพระองค์เป็นผู้นอกกฎหมาย สี่วันต่อมาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์, รัสเซีย, ออสเตรีย และ ปรัสเซีย รวมตัวกันเป็นสหสัมพันธมิตรและส่งกำลังทหาร 150,000 นายเข้าต่อสู้เพื่อยุติการหวนคืนสู่อำนาจของนโปเลียน[5] การกระทำครั้งนี้เป็นการวางพื้นฐานของความขัดแย้งครั้งสุดท้ายของสงครามนโปเลียน ความพ่ายแพ้ของนโปเลียนในยุทธการวอเตอร์ลู[6] เป็นการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ของฝรั่งเศสเป็นครั้งที่สอง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถูกส่งตัวไปยังเกาะเซนต์เฮเลนาอันเป็นที่เสด็จสวรรคตของพระองค์ในปี ค.ศ. 1821

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Chandler 1966, p. 1015.
  2. "Hundred Days". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 11 Oct 2021.
  3. Histories differ over the start and end dates of the Hundred Days; another popular period is from 1 March, when Napoleon Bonaparte landed in France, to his defeat at Waterloo on 18 June.
  4. Gifford 1817, p. 1511.
  5. Hamilton-Williams, David p. 59
  6. one of the most famous battles in history

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งที่มา

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]