ยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท
ยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ | |||||||||
![]() นโปเลียนตรวจแถวทหารที่ (ตามตำนาน) ตะโกนโจมตีอย่างกระตือรือร้น ("en avant!" - "เดินหน้า!") ในช่วงยุทธการที่เยนา ภาพโดย Horace Vernet ค.ศ. 1836[1] | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
![]() | |||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
เยนา:![]() เอาเออร์ชเต็ท: ![]() |
เยนา:![]() ![]() เอาเออร์ชเต็ท: ![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||||
กำลัง | |||||||||
40,000 นาย[3](เยนา) 26,000 นาย(เอาเออร์ชเต็ท)[3] รวม: 66,000 นาย |
55,000 นาย(เยนา) 64,000 นาย(เอาเออร์ชเต็ท)[4] รวม: 119,000 นาย | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
5,000–6,000 นาย[5] (เยนา) 7,052–7,100 นาย[6] (เอาเออร์ชเต็ท) รวม: 12,600 นาย |
26,000–27,000 นาย[5] (เยนา)[3] 13,000 [6]–15,000 นาย(เอาเออร์ชเต็ท)[3] รวม: 41,000 นาย |
ยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท (อังกฤษ: Battle of Jena–Auerstedt) เป็นสองยุทธการที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1806 ในช่วงสงครามนโปเลียน บนที่ราบด้านตะวันตกของแม่น้ำซาเลอ ระหว่างกองทัพของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กับกองทัพของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮ็ล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ความปราชัยอย่างขาดลอยของกองทัพปรัสเซียทำให้ราชอาณาจักรปรัสเซียต้องยอมเป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิฝรั่งเศส[7]
ขุมกำลัง
[แก้]กองทัพปรัสเซียในขณะนั้นอยู่ในสภาพย่ำแย่ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์มีอายุถึง 71 ปีแล้ว ขณะที่ผู้บัญชาการภาคสนามคนอื่นก็อยู่ในวัยหกสิบกว่า กองทัพปรัสเซียยังคงใช้ยุทธวิธีและการฝึกซ้อมจากยุคพระเจ้าฟรีดริชมหาราช จุดอ่อนที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพปรัสเซียคือฝ่ายเสนาธิการ หน่วยทหารจำนวนมากถูกบริหารจัดการอย่างย่ำแย่และไม่ได้ติดต่อทำความเข้าใจกันอย่างดีพอ กองทัพปรัสเซียแบ่งกำลังออกเป็นสามกอง ได้แก่:
- 60,500 นาย ในบัญชาของจอมพลคาร์ล วิลเฮ็ล์ม แฟร์ดีนันท์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์
- 38,000 นาย ในบัญชาของพลเอกทหารราบฟรีดริช ลูทวิช เจ้าชายแห่งโฮเอินโลเออ
- 15,000 นาย ในบัญชาของพลเอกทหารราบแอนสท์ ฟอน รือเคิล
อีกด้านหนึ่ง กองทัพใหญ่ของฝรั่งเศสมีจอมทัพและผู้บัญชาการที่เชี่ยวชาญกว่ามาก ประกอบด้วยจอมพลทั้งแก่ทั้งหนุ่มและว่าที่จอมพล กองทัพใหญ่ของนโปเลียนที่เมืองเยนาประกอบด้วยทหารทั้งหมด 116,000 นาย และมีผู้บัญชาการกองทัพน้อยดังต่อไปนี้:
- กองทัพน้อยที่ 4 ในบัญชาของจอมพลฌ็อง-เดอ-ดีเยอ ซูลต์
- กองทัพน้อยที่ 5 ในบัญชาของจอมพลฌ็อง ลาน
- กองทัพน้อยที่ 6 ในบัญชาของจอมพลมีแชล แน
- กองทัพน้อยที่ 7 ในบัญชาของจอมพลปีแยร์ โอเฌอโร
- กองพลทหารม้า ในบัญชาของจอมพลฌออากีม มูว์รา
นอกจากนี้ ทางเหนือของเยนาบริเวณเมืองเอาเออร์ชเต็ท มีกองทัพน้อยที่ 1 ของจอมพลฌ็อง-บาติสต์ แบร์นาด็อต (20,000 นาย) และกองทัพน้อยที่ 3 ของจอมพลหลุยส์-นีกอลา ดาวู (27,000 นาย) ตั้งอยู่
ภาพรวม
[แก้]การรบเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพของนโปเลียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังหลักปะทะกับกองทัพของของพลเอกเจ้าชายแห่งโฮเอินโลเออใกล้กับเมืองเยนา ในตอนแรก จักรพรดรินโปเลียนมีกำลัง 48,000 นาย แต่ด้วยการวางแผนที่รอบคอบและยืดหยุ่น เขาสามารถเพิ่มกำลังได้ถึง 96,000 นาย[8] แต่ในการรบครั้งนี้ มีเพียง 40,000 นายเท่านั้นที่ถูกส่งเข้าไปสู้รบกับกองทัพปรัสเซีย
ในขณะที่ฝ่ายปรัสเซียตอบสนองช้าและไม่สามารถตัดสินใจได้ทันท่วงที ก่อนที่กำลังของพลเอกแอนสท์ ฟอน รือเชิล จำนวน 15,000 นาย จะมาถึงจากเมืองไวมาร์ กองกำลังของโฮเอินโลเออก็ถูกตีแตกแล้ว โดยมีทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 10,000 นาย และถูกจับเป็นเชลย 15,000 นาย[8] เมื่อพลเอกรือเชิลนำทหารของเขาเข้าสู่สนามรบและโฮเอินโลเออเข้ามาคุมการรบด้วยตัวเอง ทหารของพวกเขาถูกโจมตีและถูกส่งถอยกลับไปด้วยความพ่ายแพ้ พลเอกรือเชิลเองก็ได้รับบาดเจ็บ
แม้ว่าเยนาเป็นยุทธการที่ดุเดือด มีทหารฝรั่งเศสถูกเจ็บหรือตายหรือถูกจับกุมประมาณ 5,000 นาย นโปเลียนเองก็เข้าใจผิดว่าเขาเผชิญหน้ากับกองทัพหลักของปรัสเซียแล้ว ขณะที่ทางด้านเหนือที่เอาเออร์ชเต็ท ทั้งจอมพลดาวูและจอมพลแบร์นาด็อตได้รับคำสั่งให้มาช่วยนโปเลียน ดาวูพยายามปฏิบัติตามคำสั่งผ่านเส้นทางเอ็กคาร์ตสแบร์กา (Eckartsberga) ในขณะที่แบร์นาดอตเลือกเดินทัพผ่านดอร์นบวร์ค (Dornburg)
เส้นทางของดาวูสู่ทางใต้ถูกขัดขวางโดยกองกำลังหลักของปรัสเซียที่มีกำลังถึง 64,000 นาย ซึ่งรวมถึงองค์จอมทัพกษัตริย์แห่งปรัสเซีย จอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ และจอมพลเมอเลินดอร์ฟ และจอมพลคาลคร็อยท์ การรบที่ดุเดือดจึงเกิดขึ้น แม้ดาวูมีกำลังน้อยกว่าถึงสองเท่า แต่กองทัพที่สามของเขาซึ่งถูกฝึกฝนและมีวินัยสูง สามารถต้านการโจมตีหลายครั้งก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรุกและทำให้ทหารปรัสเซียถอยหนี
แต่ถึงแม้ว่าจอมพลแบร์นาดอตอยู่ในระยะที่สามารถได้ยินเสียงการรบจากทั้งสองสนามรบ เขากลับไม่ทำอะไรเพื่อช่วยดาวู โดยปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งของนโปเลียนที่ได้รับเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนหน้านี้[9][10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gerhard Bauer: Die Ikonographie des Sieges. 1806 in Malerei und Grafik des 19. und 20. Jahrhunderts, in: Karl-Heinz Lutz, Marcus von Salisch (Editors), Jena 1806. Vorgeschichte und Rezeption, Militärgeschichtliches Forschungsamt, Potsdam, 2009, ISBN 978-3-941571-01-3, p. 61–80, here: p. 70.
- ↑ Bodart 1908, pp. 372–73.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Connelly 2006, p. 101.
- ↑ Chandler 1966, p. 488.
- ↑ 5.0 5.1 Bodart 1908, p. 372.
- ↑ 6.0 6.1 Bodart 1908, p. 373.
- ↑ Chandler 1966, p. 479–506.
- ↑ 8.0 8.1 Chandler 1966, p. 1119.
- ↑ Barton 1921, pp. 138–46.
- ↑ Petre 1914, pp. 170–73.
- ↑ Gallaher 2018, pp. 134–35.
บรรณานุกรม
[แก้]- Acton, Lord (1906). The Cambridge Modern History. Cambridge: Cambridge University Press.
- Barton, D. Plunket (1921). Bernadotte and Napoleon: 1763–1810. London: John Murray.
- Bodart, Gaston (1908). Militär-historisches Kriegs-Lexikon (1618–1905). สืบค้นเมื่อ 17 June 2021.
- Chandler, D. (1966). The Campaigns of Napoleon. New York: Scribner. ISBN 978-0-02523-660-8.
- Connelly, Owen (2006). Blundering to Glory: Napoleon's Military Campaigns (third ed.). Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-5317-0.
- Creveld, van Martin (1985). Command in War. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 0-674-14440-6.
- Dunn-Pattinson, R.P. (1909). Napoleon's Marshals. London: Methuen & Co.
- Gallaher, John (2018). The Iron Marshal: A Biography of Louis N. Davout (third ed.). Barnsley, England: Frontline. ISBN 978-1-52673-832-5.
- Petre, F. Loraine (1914). Napoleon's Conquest of Prussia 1806. John Lane company. สืบค้นเมื่อ 17 June 2021.
- Petre, F. Loraine (1907). Napoleon's Conquest of Prussia 1806. London: Lionel Leventhal Ltd. ISBN 1-85367-145-2.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Barton, D. Plunket (1921). Bernadotte and Napoleon: 1763–1810. London: John Murray. สืบค้นเมื่อ 17 June 2021.
- Heyman, Neil M. (1966). France against Prussia: The Jena Campaign of 1806. Military Affairs. pp. 186–98.
- Maude, F. N. (2007). The Jena Campaign: 1806 – The Twin Battles of Jena & Auerstadt Between Napoleon's French and the Prussian Army.
- Vache, Colonel (2009). Napoleon and the Campaign of 1806: The Napoleonic Method of Organisation and Command to the Battles of Jena & Auerstadt.