ราชอาณาจักรวิซิกอท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรวิซิกอท

Gutthiuda Thiudinassus
ค.ศ. 418–ค.ศ. 721
ราชอาณาจักรวิซิกอทเมื่อรุ่งเรืองที่สุดราว ค.ศ. 500
ราชอาณาจักรวิซิกอทเมื่อรุ่งเรืองที่สุดราว ค.ศ. 500
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงตูลูส, โตเลโด
ภาษาทั่วไปกอธิค
ศาสนา
Arianism, ลัทธิไนเซียน, โรมันคาทอลิก และยูดาย
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 418-419
วอลเลีย
• ค.ศ. 714-721
อาร์โด
ประวัติศาสตร์ 
• วิซิกอทได้รับดินแดนจากในกัลเลียอากวีตาเนียจากโรมัน
ค.ศ. 418
• พิชิตโดยอุมัยยะฮ์
ค.ศ. 721 ค.ศ. 721
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมันตะวันตก
จักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะฮ์

ราชอาณาจักรวิซิกอท (อังกฤษ: Visigothic kingdom) เป็นอำนาจของยุโรปตะวันตกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นหนึ่งในรัฐที่ตามมาจากจักรวรรดิโรมันตะวันตก เดิมก่อตั้งขึ้นโดยการการตั้งถิ่นฐานของวิซิกอทภายใต้ประมุขของตนเองในอากีแตน (กอลตอนใต้) โดยรัฐบาลของโรมัน ต่อมาก็ขยายดินแดนออกไปโดยการพิชิตในคาบสมุทรไอบีเรีย ราชอาณาจักรสามารถดำรงตัวเป็นอิสระจากจักรวรรดิไบแซนไทน์[1]เมื่อไบแซนไทน์พยายามรื้อฟื้นอำนาจของโรมันในไอบีเรียประสบความล้มเหลว แต่เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชนแฟรงค์ในกอลก็สามารถได้รับชัยชนะต่อราชอาณาจักรวิซิกอททั้งหมดยกเว้นเซ็พติมาเนีย ในที่สุดราชอาณาจักรวิซิกอทก็ล่มสลายระหว่างการโจมตีของการรุกรานของอิสลาม (Umayyad conquest of Hispania) จากโมร็อกโก ต่อมาราชอาณาจักรอัสตูเรียสก็กลายเป็นอาณาจักรที่สืบต่อจากราชอาณาจักรวิซิกอท

ราชอาณาจักรวิซิกอทปกครองโดยพระมหากษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้งและต้องเป็นชนกอธโดยมี “เซเนท” เป็นที่ปรึกษาราชการที่ประกอบด้วยสังฆราช และขุนนาง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะพยายามก่อตั้งราชวงศ์แต่ก็ไม่มีผู้ใดทำสำเร็จ พระมหากษัตริย์องค์แรก ๆ นับถือคริสต์ศาสนานิกาย Arianism หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นลัทธิไนเซียน (Nicene Creed) ซึ่งทางสถาบันศาสนาพยายามสร้างอำนาจมากขึ้นจากการประชุมสภาสงฆ์แห่งโตเลโด (Councils of Toledo) แต่กระนั้นวิซิกอทก็เป็นชาติที่มีการวิวัฒนาการทางกฎหมายทางโลกที่ก้าวหน้าที่สุดในยุโรปตะวันตก “Liber Iudiciorum” กลายมาเป็นรากฐานของกฎหมายของสเปนตลอดยุคกลาง

อ้างอิง[แก้]

  1. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: The Byzantine Empire[1]

ดูเพิ่ม[แก้]