การทัพอุล์ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทัพอุล์ม
ส่วนหนึ่งของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม
วันที่25 กันยายน – 20 ตุลาคม 1805
สถานที่
ผล ฝรั่งเศสชนะ
คู่สงคราม
 ฝรั่งเศส
บาวาเรีย
ออสเตรีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นโปเลียนที่ 1
ปีแยร์ โอเฌอโร
แบร์นาด็อต
ฌ็อง-บาติสต์ แบซีแยร์
หลุยส์-นีกอลา ดาวู
ฌ็อง ลาน
โอกุสต์ เดอ มาร์มง
เอดัวร์ มอร์ตีเย
ฌออากีม มูว์รา
มีแชล แน
ฌ็อง-เดอ-ดีเยอ ซูลต์
แบร์นฮาร์ด เดรอย
ไลเบอริช  Surrendered
ฟรันโย เยลาชิช
มีชาเอิล คีนไมเออร์
โยฮัน ไรช์ Surrendered
ชวาร์ทเซินแบร์ค
ฟรันทซ์ แวร์เน็ค Surrendered
กำลัง
165,200[1]-235,000[2] 72,000[3]
ความสูญเสีย
6,000[1] 10,000 ตายหรือบาดเจ็บ[1]
60,000 ถูกจับ[1][3][4]

การทัพอุล์ม (ฝรั่งเศส: Campagne d'Ulm) เป็นการเคลื่อนไหวทางทหารและเป็นยุทธการของกองทัพฝรั่งเศสและกองทัพบาวาเรีย เพื่อโอบตีและจับกุมกองทัพออสเตรียในปี 1805 ระหว่างสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม การทัพครั้งนี้เกิดขึ้นบริเวณชายเขตนครอุล์ม กองทัพใหญ่ของนโปเลียนมีกำลัง 210,000 นายซึ่งจัดแบ่งเป็นเจ็ดกองทัพน้อย คาดหวังจะเข้าตีกองทัพออสเตรียที่แม่น้ำดานูบก่อนที่กำลังเสริมจากกองทัพรัสเซียจะมาถึง[5] กองทัพของนโปเลียนเดินทัพเร็วและสามารถจับกุมกองทัพออสเตรีย 23,000 นายในบัญชาของพลเอกไลเบอริชที่อุล์มในวันที่ 20 ตุลาคม ส่งผลให้ฝรั่งเศสมีจำนวนเชลยชาวออสเตรียในความดูแลเพิ่มขึ้นเป็นหกหมื่นคน การทัพครั้งนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานชิ้นเอกทางกลยุทธ์ และมีอิทธิพลต่อการคิดร่างแผนชลีเฟินของเยอรมนีในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[6]

ชัยชนะของฝรั่งเศสในการทัพอุล์มไม่ได้ยุติสงครามเนื่องจากกองทัพรัสเซียขนาดใหญ่ในบัญชาของจอมพลคูตูซอฟ ยังคงตั้งทัพอยู่ใกล้เวียนนา กองทัพรัสเซียร่นถอยสู่ตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรอรับกำลังเสริม และรอสนธิกำลังกับกำลังทหารออสเตรียที่เหลืออยู่ กองทัพฝรั่งเศสตามติดและเข้ายึดเวียนนาในวันที่ 12 พฤศจิกายน และแล้ว ชัยชนะขาดลอยของฝรั่งเศสในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ก็ขับไล่ออสเตรียออกจากเวทีสงคราม ในที่สุด สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม ก็เป็นอันยุติด้วยสนธิสัญญาเพร็สบวร์คซึ่งลงนามในเดือนถัดมา ฝรั่งเศสภายใต้นโปเลียนกลายเป็นชาติมหาอำนาจที่สุดในยุโรปกลาง ก่อนที่จะเกิดสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ในปีถัดมา[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Clodfelter 2017, p. 152.
  2. Chandler 2009, p. 384, 34. Plans and Preparations (PART SEVEN. From the Rhine to the Danube).
  3. 3.0 3.1 Fisher & Fremont-Barnes 2004, p. 41.
  4. Nafziger 2002, p. 282, Ulm, Capitulation of. (-U-).
  5. Schneid 2012, p. 35-50, 3. The Campaigns.
  6. Brooks 2000, p. 156"It is a historical cliché to compare the Schlieffen Plan with Hannibal's tactical envelopment at Cannae (216 BC); Schlieffen owed more to Napoleon's strategic maneuver on Ulm (1805)"
  7. Allsbrook, John T. Turin, Dustin (บ.ก.). "Napoleon Bonaparte's Peak of Military Success: Ulm and Austerlitz". Inquiries Journal. Boston, Massachusetts: Inquiries Journal/Student Pulse LLC/Northeastern University. 4 (9): 1–2. ISSN 2153-5760. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2016.