ราชอาณาจักรฮอลแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรฮอลแลนด์

อังกฤษ: Kingdom of Holland
ดัตช์: Koninkrijk Holland
ฝรั่งเศส: Royaume de Hollande
ค.ศ. 1806ค.ศ. 1810
ธงชาติฮอลแลนด์
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของฮอลแลนด์
ตราแผ่นดิน
ราชอาณาจักรฮอลแลนด์
ราชอาณาจักรฮอลแลนด์
สถานะรัฐบริวารของจักรวรรดิฝรั่งเศส
เมืองหลวงอัมสเตอร์ดัม
ภาษาทั่วไปดัตช์ ฝรั่งเศส
การปกครองราชาธิปไตย
• ค.ศ. 1806–1810
พระเจ้าหลุยส์ที่ 1
• ค.ศ. 1810
พระเจ้าหลุยส์ที่ 2
ยุคประวัติศาสตร์สมัยนโปเลียน
• ก่อตั้ง
5 มิถุนายน ค.ศ. 1806
• สิ้นสุด
9 กรกฎาคม ค.ศ. 1810
สกุลเงินกิลเดอร์
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐบาตาเวีย
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เนเธอร์แลนด์
 เยอรมนี

ราชอาณาจักรฮอลแลนด์ (ดัตช์: Koninkrijk Holland, ฝรั่งเศส: Royaume de Hollande, อังกฤษ: Kingdom of Holland) เป็นรัฐหุ่นเชิดที่ก่อตั้งขึ้นโดยนโปเลียน[1]สำหรับพระอนุชาหลุยส์ โบนาปาร์ตเพื่อให้ปกครองเนเธอร์แลนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ชื่อของราชอาณาจักรมาจากชื่อจังหวัดฮอลแลนด์ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอิทธิพลที่สุดในสาธารณรัฐดัตช์ ในปี ค.ศ. 1807 ฟรีเซีย และ เยเวอร์ของปรัสเซียก็ได้รับการรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร แต่ในปี ค.ศ. 1809 หลังจากการรุกรานของอังกฤษ ฮอลแลนด์ก็เสียดินแดนทางใต้ของแม่น้ำไรน์ทั้งหมดให้แก่ฝรั่งเศส

พระเจ้าหลุยส์มิได้ปกครองตามนโยบายของนโปเลียน แต่ทรงพยายามรักษาผลประโยชน์ของดัตช์แทนที่นโปเลียน ราชอาณาจักรถูกจึงยุบในปี ค.ศ. 1810 หลังจากนั้นเนเธอร์แลนด์ก็ถูกผนวกโดยฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1813 ราชอาณาจักรฮอลแลนด์ครอบคลุมบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์ ยกเว้นจังหวัดลิมบวร์ก, และบางส่วนของเซแลนด์ซึ่งเป็นดินแดนของฝรั่งเศส ฟรีเซียตะวันออก (ในเยอรมนีปัจจุบัน) ก็เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ราชอาณาจักรฮอลแลนด์ถือเป็นรัฐที่ปกครองแบบราชาธิปไตยเป็นครั้งแรกของเนเธอร์แลนด์นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1581

โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นผลดีแก่ราชวงศ์ออเรนจ์-นาซอที่จะกลับมามีอำนาจภายหลังจากการสิ้นสุดของยุคนโปเลียน โดยจะได้ปรับฐานะเป็นกษัตริย์ และจบฐานะผู้นำอันคุมเครือ (สตัดเฮาเดอร์) ที่กินเวลานานหลายศตวรรษอันเป็นสาเหตุแห่งความไม่มั่นคงและความขัดแย้งทางการเมืองในประวัติศาสตร์เนเธอร์แลนด์

บรรณานุกรม[แก้]

  • Kossmann, E. H. (1978). The Low Countries, 1780–1940.
  • Prak, M. (1997). "Burghers into Citizens: Urban and National Citizenship in the Netherlands during the Revolutionary Era". Theory and Society. 26: 403–420.
  • Schama, S. (1977). Patriots and Liberators: Revolution in the Netherlands, 1780–1813. London: Collins.
  • Van der Burg, M. (2010). "Transforming the Dutch Republic into the Kingdom of Holland: the Netherlands between Republicanism and Monarchy". European Review of History. 17 (2). pp. 151–170.
  • Van der Burg, M.; Lok, M. (2012). "The Netherlands under Napoleonic rule: A New Regime or a Revived Order?" in The Napoleonic Empire and the new European political culture.

อ้างอิง[แก้]

  1. Asprey, Robert (2000). The Rise of Napoleon Bonaparte. New York: Basic Books. ISBN 0-465-04879-X

ดูเพิ่ม[แก้]