เอียวเก๋า
เอียวเก๋า | |
---|---|
羊祜 | |
ภาพวาดเอียวเก๋าในราชวงศ์ชิงในWu Shuang Pu (無雙譜) โดย Jin Guliang | |
เจิงหนานต้าเจียงจวิน (征南大將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 276 – ค.ศ. 278 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ผิงหนานเจียงจวิน (平南將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 272 – ค.ศ. 276 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
จวีจี้เจียงจวิน (車騎將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 269 – ค.ศ. 272 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 221[a] |
เสียชีวิต | 27 ธันวาคม พ.ศ. 278 (57 ปี)[a] |
คู่สมรส | ลูกสาวแฮหัวป๋า |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ |
|
อาชีพ | ขุนพล, ขุนนาง |
ชิ่อรอง | ชูจือ (叔子) |
ตำแหน่ง | จู้ผิงโหว (鉅平侯) |
เอียวเก๋า (羊祜; ค.ศ. 221 – 27 ธันวาคม ค.ศ. 278),[a][3] ชื่อรอง ชูจือ เป็นขุนพลและขุนนางชาวจีนที่มีชีวิตในช่วงราชวงศ์จิ้นของจีน การสนับสนุนแผนการเพื่อพิชิตรัฐง่อก๊ก ในที่สุดก็เกลี้ยกล่อมให้จักรพรรดิจิ้นอู่ดำเนินการตามแผน แต่เขาไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อดูแผนการดำเนินการ เขาเป็นที่รู้จักในเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตนและการมองการณ์ไกล เฉินโซ่ว ผู้เขียนจดหมายเหตุสามก๊ก อธิบายว่าเขาเป็นผู้ชายที่มีความสูงปานกลางมีคิ้วและเคราที่สวยงาม
ประวัติ
[แก้]เอียวเก๋าเกิดเมื่อ ค.ศ. 221 ในปีที่ 2 แห่งรัชสมัย พระเจ้าโจผี ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยเป็นหลานตาของ ซัวหยง ขุนนางนักประวัติศาสตร์คนสำคัญในช่วงปลาย ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งพี่สาวของเขาได้เป็นภรรยาคนที่ 3 ของ สุมาสู บุตรชายคนโตของ สุมาอี้ อัครมหาเสนาบดีแห่งวุยก๊กโดยในภายหลังเมื่อสุมาเอี๋ยนได้สถาปนาตนเองเป็น จักรพรรดิจิ้นหวู่ และสถาปนาราชวงศ์จิ้นตะวันตกใน ค.ศ. 265 ก็ได้สถาปนาหยางฮูหยินผู้เป็นป้าสะใภ้เป็น พระพันปีหลวง
ต่อมาเอียวเก๋าได้เข้าพิธีสมรสกับบุตรสาวของ แฮหัวป๋า โดยมี แฮหัวหุย เป็นพ่อสื่อซึ่ง เฉินโซ่ว ได้บันทึกถึงเรื่องราวของเอียวเก๋าไว้ว่ามีความอัจฉริยะ มีความสามารถและมีรูปร่างที่สง่ารวมถึงมีหนวดเคราที่สวยงามเมื่อแฮหัวป๋าผู้เป็นพ่อตาได้แปรพักตร์ไปรับใช้ จ๊กก๊ก ใน ค.ศ. 249 นั้นตรงกับช่วงที่สุมาอี้ได้ก่อการกบฏต่อ โจซอง ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินทำให้เอียวเก๋าตกเป็นเป้าเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับตระกูลแฮหัวซึ่งจงรักภักดีกับตระกูลโจแต่เอียวเก๋าก็รอดมาได้เนื่องจากในตอนนั้นเขายังเป็นแค่ขุนนางชั้นผู้น้อยในรัชสมัย พระเจ้าโจมอ และ พระเจ้าโจฮวน จนกระทั่ง ค.ศ. 264 เอียวเก๋าได้เตือน สุมาเจียว น้องชายของสุมาสูซึ่งตอนนั้นเป็น จิ้นอ๋อง ให้ระวัง จงโฮย ขุนศึกคนสำคัญที่มีชื่อเสียงจากการพิชิตจ๊กก๊กว่าอาจจะก่อกบฏซึ่งจงโฮยก็ได้ก่อกบฏจริง ๆ ทำให้เมื่อปราบกบฏจงโฮยลงได้แล้วสุมาเจียวได้เลื่อนตำแหน่งให้เอียวเก๋าเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของสุมาเจียว
ต่อมา ค.ศ. 265 สุมาเจียวถึงแก่อสัญกรรมสุมาเอี๋ยนผู้เป็นบุตรชายได้เป็นจิ้นอ๋องสืบต่อมาจากนั้นไม่นานได้บีบให้พระเจ้าโจฮวนสละราชบัลลังก์พร้อมกับสถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตกทำให้ราชวงศ์วุยสิ้นสุดลงโดยพระเจ้าสุมาเอี๋ยนได้ตั้งเอียวเก๋าให้เป็นดยุคแต่เขาปฏิเสธไปทำให้เอียวเก๋าได้ถูกส่งไปเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วซึ่งเอียวเก๋าเป็นเจ้าเมืองที่มีคุณธรรมทำให้ในบางครั้งมีชาวง่อที่ทนการปกครองของ พระเจ้าซุนโฮ ไม่ไหวอพยพเข้ามา
ใน ค.ศ. 277 เอียวเก๋าได้วางแผนการรบเพื่อพิชิตง่อก๊กอันเนื่องมาจากความไม่พอใจที่ ลกข้อง แม่ทัพใหญ่ของง่อก๊กผู้เป็นบุตรชายของอดีตแม่ทัพใหญ่ ลกซุน ซึ่งสนิทกับเอียวเก๋ากลับถูกปลดออกจากตำแหน่งซึ่งเขาได้เข้าไปกราบทูลให้พระเจ้าสุมาเอี๋ยนยกทัพไปแต่พระองค์กลับระแวงว่าเอียวเก๋าจะไปเข้ากับง่อก๊กจึงได้มีบัญชาให้เขากลับมารับราชการที่เมืองหลวง ลกเอี๋ยง หลังจากนั้นเอียวเก๋าก็ล้มป่วย
เอียวเก๋าถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 278 ขณะอายุได้ 57 ปีแต่ก่อนที่เอียวเก๋าจะสิ้นใจได้กราบทูลให้พระเจ้าสุมาเอี๋ยนมีบัญชาแต่งตั้งให้ เตาอี้ หลานชายของ เตาจี๋ อดีตเสนาธิการของ โจโฉ เป็นแม่ทัพใหญ่ในการไปตีง่อก๊ก
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติของสุมาเอี๋ยนใน Jin Shu บันทึกว่า เอียนเก๋าเสียชีวิตในวัน xinmao เดือน 11 ปี 4 ของศักราช Xian'ning ในรัชสมัยสุมาเอี๋ยน[1] ตรงกับวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 278 ตามปฏิทินกริกอเรียน ชีวประวัติของเอียนเก๋าใน Jin Shu ก็บันทึกว่าตอนเสียชีวิต เขามีอายุ 58 ปี (นับตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[2] เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดขอเอียนเก๋าน่าจะอยู่ใน ค.ศ. 221
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ([咸寧四年十一月]辛卯,以尚書杜預都督荊州諸軍事。征南大將軍羊祜卒。) Jin Shu vol. 3.
- ↑ (尋卒,時年五十八。) Jin Shu vol. 34.
- ↑ Killigrew 2003, p. 15.
ข้อมูล
[แก้]- Chen Shou (1959) [280s or 290s]. Records of the Three Kingdoms. Beijing: Zhonghua Shuju. Cited as Sanguozhi.
- Fang Xuanling; และคณะ, บ.ก. (1974) [648]. Book of Jin 晉書. Beijing: Zhonghua Shuju. Cited as Jin Shu.
- Killigrew, John W. (2003). "The Reunification of China in AD 280: Jin's Conquest of Eastern Wu". Early Medieval China. 2003 (1): 1–34. doi:10.1179/152991003788138438. S2CID 162275334.
- Chen Shou (1977) [429]. Pei Songzhi (บ.ก.). Annotated Records of the Three Kingdoms 三國志注. Taipei: Dingwen Printing. Cited as Sanguozhi zhu.
- Sima Guang, บ.ก. (1934) [1084]. Zizhi Tongjian 資治通鑑. Hong Kong: Zhonghua Shuju.