ฟาโรห์เมนคาเร
ฟาโรห์เมนคาเร | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คาร์ทูธของฟาโรห์เมนคาเร | ||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||
รัชกาล | ระยะเวลาอันสั้น ราว 2181 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์ | |||||||||||||||||
ถัดไป | เนเฟอร์คาเรที่ 2 | |||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ |
เมนคาเร เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่แปดพระองค์ที่หนึ่งหรือสอง[1] พระองค์อาจครองราชย์เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสมัยราชอาณาจักรเก่าและสมัยช่วงระหว่างกลางที่ 1 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 22 ก่อนคริสตกาล[2] การขึ้นครองราชย์ต่ออย่างรวดเร็วของฟาโรห์ที่มีรัชสมัยสั้น ๆ บ่งบอกถึงในช่วงเวลาขณะนั้นเกิดความทุกข์ยาก ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดความแห้งแล้งอย่างกว้างขวางในบริเวณตะวันออกกลาง หรือที่รู้จักในชื่อเหตุการณ์ 4.2 พันปี ในฐานะที่เป็นฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่แปด ตามคำกล่าวของมาเนโท ศูนย์กลางการปกครองของฟาโรห์เมนคาเรน่าจะเป็นเมืองเมมฟิส
หลักฐานรับรอง
[แก้]หลักฐานทางประวัติศาสตร์
[แก้]หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลือเพียงชิ้นเดียวของฟาโรห์เมนคาเร คือ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่บันทึกขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 เพื่อจุดประสงค์ทางศาสนาและปัจจุบันทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เบื้องต้นสำหรับฟาโรห์ในสมัยต้นช่วงระหว่างกลางที่ 1 พระนามของฟาโรห์เมนคาเรปรากฏในรายการที่ 41 ของบันทึกพระนามฯ และบันทึกพระนามกษัตริย์อีกบันทึกหนึ่ง ซึ่งบันทึกขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 2 คือ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินที่อาจจะบันทึกพระนามฟาโรห์เมนคาเรไว้ด้วย แต่ที่น่าเสียดายที่ในบันทึกพระนามดังกล่าวเกิดความเสียหายขนาดใหญ่ขึ้นในบริเวณซึ่งที่น่าจะบันทึกพระนามของพระองค์ไว้[3]
หลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย
[แก้]หลุมฝังพระศพของพระราชินีนิธในซัคคาราใต้มีภาพสลัก ซึ่งเป็นภาพที่พระราชินีทรงยืนอยู่หน้าคาร์ทูธที่เสียหาย เพอร์ซี นิวเบอร์รี นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอว่าคาร์ทูธดังกล่าวน่าจะเป็นของฟาโรห์เมนคาเร ซึ่งอาจจะเป็นหลักฐานชั้นต้นเพียงชิ้นเดียวที่สามารถยืนยันการมีอยู่ของพระองค์ที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน[4] และความคิดเห็นนี้ถูกเผยแพร่กาเอ กัลเลนเดอร์ ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบจารึกของกุสตาฟ เฌอกิเออร์ใหม่[5]
หลักฐานจากสมัยภายหลัง
[แก้]หลักฐานที่เป็นไปได้อีกชิ้นหนึ่งที่แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นร่วมสมัยกัน แต่สามารถยืนยันการมีอยู่ของฟาโรห์เมนคาเรได้คือ ตราประทับทรงกระบอกที่ทำจากหินสบู่เคลือบ ซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติช หมายเลข 30557 และจารึกข้อความว่า "พระเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้ปกครองแห่งสองดินแดน เมนคาเร" [6][7] โดยตราประทับดังกล่าวมีอายุย้อนไปถึงราชวงศ์ที่ยี่สิบหกหรือประมาณราว 1700 ปีหลังจากการสวรรคตของพระองค์ และไม่ทราบที่มาของตราประทับดังกล่าว เนื่องจากพระองค์เป็นฟาโรห์ที่ค่อนข้างคลุมเครือ นักวิชาการบางคนได้เสนอว่าตราประทับนั้นมีข้อผิดพลาด และที่จริงแล้วอาจหมายถึงฟาโรห์เมนเคาเรที่รู้จักกันว่าเป็นฟาโรห์ที่โปรดให้สร้างพีระมิดแห่งที่สามของกิซา[2]
การระบุตัวตนที่ถูกหักล้างกับพระราชินีนิโทคริส
[แก้]ในข้อสมมติฐานเก่า ฟลินเดอร์ส เพทรี นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอว่าฟาโรห์เมนคาเร น่าจะเป็นพระองค์เดียวกับพระราชินีนิโทคริส ซึ่งเป็นบุคคลในตำนานที่ปรากฏใน งานเขียน เดอะฮิสทอรีส Histories ของเฮโรโดตัส และ แอจิปเทียกา (Aegyptiaca) ของมาเนโท และเชื่อว่ามีพระชนม์ชีพอยู่ใกล้กับรัชสมัยของฟาโรห์เมนคาเร ข้อสันนิษฐานของเพทรีน่าจะมีเค้ามูลตามข้อเท็จจริงของมาเนโทที่ว่า พระราชินีนิโทคริสมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างพีระมิดแห่งที่สามของกิซา แต่ที่จริงแล้วพีระมิดนี้สร้างขึ้นโดยฟาโรห์เมนเคาเร โดยเพทรีสันนิษฐานว่ามาเนโทคงจะสับสนระหว่างฟาโรห์เมนคาเรกับฟาโรห์เมนเคาเร[8] ในทำนองเดียวกัน ตราประทับในข้างต้นก็ดูเหมือนจะเกิดจากความสับสนเช่นกัน สมมติฐานของเพทรีถูกหักล้างอย่างสมบูรณ์ โดยการวิเคราะห์สมัยใหม่ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินและในปัจจุบันนี้ พระราชินีนิโทคริสเป็นที่ทราบจากพระนามของผู้ปกครองที่แท้จริงก็คือ ฟาโรห์เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์[3] ส่วนตราประทับดังกล่าวยังไม่ทราบถึงที่มา[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : Philip von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, see pp.66–67, king No 2.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 197
- ↑ 3.0 3.1 Kim Ryholt: The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris, Zeitschrift für ägyptische Sprache und Altertumskunde 127:87–100, (2000).
- ↑ Percy Newberry (1943): Queen Nitocris of the Sixth Dynasty, in: The Journal of Egyptian Archeology, vol. 29, pp=51–54
- ↑ Gae Callender: Queen Neit-ikrety/Nitokris, in: Miroslav Barta, Filip Coppens, Jaromic Krecji (editors): Abusir and Saqqara in the year 2010/1, Prague: Czech Institute of Egyptology, Faculty of Arts, Charles University, 2011, ISBN 978-8-07-308384-7, see pp. 249–250
- ↑ Harry Reginald Hall: Catalogue of Egyptian Scarabs, etc., in the British Museum, vol I: Royal Scarabs, British Museum 1913, available online see p. 272 seal num 2650.
- ↑ Peter Kaplony: Die Rollsiegel des Alten Reiches, Vol II, Fondation Egyptologique Reine Elisabeth, Brussels 1981, see p. 427–428 and pl. 113 num 1 and p. 114 num. 1 & 2.
- ↑ Flinders Petrie: A History of Egypt, Volume 1, 1902, available online, see p. 86, 104–105.