เหตุการณ์ 4.2 พันปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การกระจายทั่วโลกของเหตุการณ์ 4.2 พันปี บริเวณแรเงาคือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศชื้นหรือน้ำท่วม ส่วนพื้นที่จุดประได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งหรือพายุฝุ่น[1]

เหตุการณ์ความแห้งแล้งเมื่อ 4.2 พันปีก่อนปัจจุบัน เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ทางภูมิอากาศที่รุนแรงที่สุดของสมัยโฮโลซีน[2] โดยนับเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงอายุเมฆาลายันซึ่งเป็นช่วงอายุปัจจุบันในสมัยโฮโลซีน

เหตุการณ์นี้เริ่มต้นขึ้นประมาณปี 2200 ก่อนศริสต์ศักราช โดยอาจกินเวลาตลอดก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 22 เหตุการณ์นี้เป็นสมมติฐานการล่มสลายของอาณาจักรเก่าในอียิปต์ รวมถึง จักรวรรดิแอกแคดในเมโสโปเตเมีย และวัฒนธรรมเหลียงซูบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนล่าง[3][4] ความแห้งแล้งอาจทำให้เกิดการเริ่มต้นของการล่มสลายของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งทำให้ประชากรบางส่วนเคลื่อนย้ายไปทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นบริเวณที่เหมาะสมต่อต้องการมากกว่า[5] รวมไปถึงการอพยพของกลุ่มคนพูดภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนเข้าสู่อินเดีย[6]

นักวิทยาศาสตร์บางคนไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ โดยอ้างว่าหลักฐานของเหตุการณ์นั้นไม่ใช่ภัยแล้งทั่วโลกและระยะเวลาการเกิดนั้นไม่ชัดเจน[7]

หลักฐาน[แก้]

แผนภูมิอุณหภูมิบริเวณตอนกลางของกรีนแลนด์ ซึ่งไม่เหมือนกับเหตุการณ์ 8.2 พันปี โดยเหตุการณ์ 4.2 พันปีนั้นไม่มีสัญญาณที่เด่นชัดในแกนน้ำแข็ง Gisp2 ใน 4.2 พันปีก่อนปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

ช่วงแล้งอย่างรุนแรงเมื่อประมาณ 4.2 พันปีก่อนปัจจุบันนั้นถูกบันทึกไว้ทั่วแอฟริกาเหนือ[8] ตะวันออกกลาง[9] ทะเลแดง[10] คาบสมุทรอาหรับ[11] อนุทวีปอินเดีย[5] และตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ[12] โดยธารน้ำแข็งทั่วทั้งเทือกเขาของด้านตะวันตกของประเทศแคนาดาได้เคลื่อนมาในช่วงเวลานั้น[13] โดยหลักฐานยังถูกพบในถ้ำหินพอกของประเทศอิตาลี[14] พืดน้ำแข็งคิลิมันจาโร[15] และน้ำแข็งธารน้ำแข็งแอนดีสด้วย[16] ลักษณะของความแห้งแล้งในเมโสโปเตเมียนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณปี 4100 ก่อนปัจจุบัน ซึ่งใกล้เคียงกับเหตุการณ์การเย็นตัวลงในแอตแลนติกเหนือ เรียกว่า เหตุการณ์บอนด์ 3[2][17][18] อย่างไรก็ตาม ภูมิศาสตร์ของตัวอย่างเหล่านี้มีความหลากหลาย และหลักฐานของเหตุการณ์ 4.2 พันปีในยุโรปเหนือก็มีความคลุมเครือ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าต้นกำเนิดและผลกระทบของเหตุการณ์นี้นั้นค่อนข้างซับซ้อน[19]

ในปี 2561 คณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากลได้แบ่งสมัยโฮโลซีนออกเป็นสามยุค[20] โดยตอนปลายของสมัยโฮโลซีนที่ประมาณ 2250 ปีก่อนคริสต์ศักราชขึ้นมานั้นถูกกำหนดเป็นช่วงอายุ/หินช่วงอายุเมฆาลายัน[21] มีขอบของชั้นหินแบบฉบับเป็นหินถ้ำในถ้ำ Mawmluh ในประเทศอินเดีย[22] และชั้นหินแบบฉบับแทรกทั่วโลกคือแกนน้ำแข็งจากภูเขาโลแกนในประเทศแคนาดา[23] อย่างไรก็ตาม เหตุผลสำหรับการแบ่งนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ภัยแล้งระดับโลก และไม่มีระยะเวลาการเกิดที่ชัดเจน โดยเจสสิกา เทียร์นีย์ นักบรรพภูมิอากาศวิทยา มหาวิทยาลัยแอริโซนาในทูซอน สหรัฐ ได้กล่าวว่าการเสนอการแบ่งใหม่นั้นผิดพลาด "โดยเป็นการรวบรวมเอาหลักฐานด้านความแห้งแล้งและช่วงเปียกชื้นอื่น ๆ ซึ่งบางครั้งก็เกิดขึ้นห่างกันไปหลายศตวรรษ"[7]

ผลกระทบ[แก้]

คาบสมุทรไอบีเรีย[แก้]

ในคาบสมุทรไอบีเรีย เชื่อว่าการตั้งถิ่นฐานแบบโมติญญาในช่วงหลังปี 2200 ก่อน ค.ศ. นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแห้งแล้งรุนแรงที่ส่งผลกระทบในพื้นที่นี้

ตามที่เมฆีอัสและคณะได้รายงานการวิจัยด้านบรรพอุทกธรณีวิทยาเชิงสหวิทยาการในลามันชา ประเทศสเปนเป็นครั้งแรก ความว่า

จากการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าจุดขุดค้น "โมติญญา" จากยุคสัมฤทธิ์ในลามันชาอาจเป็นระบบกักเก็บน้ำใต้ดินที่โบราณที่สุดในคาบสมุทรไอบีเรีย.... โดยระบบเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในระหว่างเหตุการณ์ภูมิอากาศ 4.2 พันปีก่อนปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่มีความตึงเครียดด้านสภาพแวดล้อมเนื่องมาจากยุคแห้งแล้งที่รุนแรงและยาวนาน[24]

โดยการวิเคราะห์ของผู้เขียนเป็นการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสารตั้งต้นทางธรณีวิทยาและการกระจายเชิงพื้นที่ของโมติญญา

อียิปต์โบราณ[แก้]

ในประมาณปี 2150 ก่อน ค.ศ. อียิปต์ประสบกับอุทกภัยจากแม่น้ำไนล์ในระดับต่ำเป็นพิเศษเป็นชุด ๆ ซึ่งอาจมีอิทธิพลนำไปสู่การล่มสลายของการบริหารแบบรวมศูนย์ของอาณาจักรเก่าหลังจากภาวะข้าวยากหมากแพง[25]

คาบสมุทรอาหรับ[แก้]

ในภูมิภาคคาบสมุทรอาหรับ เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานอย่างกะทันหัน รวมไปถึงลักษณะของเคริ่องปั้นดินเผาและสุสาน โดยในศตวรรษที่ 22 ก่อน ค.ศ. ความแห้งแล้งได้ทำให้วัฒนธรรมอุมม์อัลนาร์ถึงจุดล่มสลาย และได้เปลี่ยนไปเป็นวัฒนธรรมวาดีซัคแทน[11]

เมโสโปเตเมีย[แก้]

ความแห้งแล้งในเมโสโปเตเมียอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของการเย็นลงของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ (Bond event 3) การวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือสมัยใหม่แสดงให้เห็นว่า ปริมาณน้ำที่ถูกนำมายังเมโสโปเตเมียระหว่างปีลดลงเป็นอย่างมาก (ร้อยละ 50) เมื่ออุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกด้านตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณใต้ขั้วโลกนั้นลดลงอย่างผิดปกติ[26] ต้นน้ำของแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีสจึงมาจากปริมาณน้ำฝนที่ถูกดักไว้ในที่สูงของฤดูหนาวในเมดิเตอร์เรเนียน

จักรวรรดิอัคคาเดียนในปี 2300 ก่อน ค.ศ. เป็นอารยธรรมที่สองที่มีการรวมสังคมอิสระเป็นรัฐเดี่ยว (อารยธรรมแรกคืออียิปต์โบราณในช่วงประมาณปี 3100 ก่อน ค.ศ.) มีการกล่าวอ้างว่าการล่มสลายของรัฐนั้นได้รับอิทธิพลมาจากภัยแล้งที่ยาวนานหลายศตวรรษ[27][28] หลักฐานทางโบราณคดีระบว่ามีการละทิ้งที่ราบการเกษตรกรรมทางตอนเหนือของเมโสโปเตเมียเป็นวงกว้าง และมีการอพยพเข้าสู่เมโสโปเตเมียตอนใต้อย่างฉับพลันในช่วงประมาณปี 2170 ก่อน ค.ศ.[29] "ตัวผลักดันแห่งอามูร์" (Repeller of the Amorites) เป็นชื่อของกำแพงยาว 180 กิโลเมตรซึ่งถูกสร้างขึ้นในเมโสโปเตเมียตอนกลางเพื่อสกัดการรุกรานของชนเร่ร่อนจากทางใต้ ในราวปี 2150 ก่อน ค.ศ. ชาวกูเทียนซึ่งแต่เดิมมีถิ่นที่อยู่อาศัยแถบเทือกเขาซากรอสได้ปราบกองทัพอัคคาเดียนได้ และเข้ายึดครองนครแอกแคดและได้ทำลายลงในประมาณปี 2115 ก่อน ค.ศ. และยังมีการเปลี่ยนแปลงทางเกษตรกรรมอย่างแพร่หลายในตะวันออกใกล้ปรากฏให้เห็นในช่วงสิ้นสุดของสหัสวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.[30]

การตั้งถิ่นฐานใหม่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบตอนเหนือโดยประชากรประจำถิ่นในราวปี 1900 ก่อน ค.ศ. สามศตวรรษให้หลังหลังจากจักรวรรดิล่มสลายลง[29]

การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของปะการังในประเทศโอมานให้หลักฐานว่าเกิดฤดูหนาวชามัลอย่างยาวนานเมื่อประมาณ 4200 ปีก่อน นำไปสู่การเค็มของพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งทำให้พืชผลทางการเกษตรลดลงเป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ในที่สุดก็เป็นผลให้เกิดการล่มสลายของจักรวรรดิอัคคาเดียนโบราณ[31][32]

เอเชียกลางและเอเชียใต้[แก้]

ในสหัสวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ความแห้งแล้งเป็นวงกว้างเกิดขึ้นในที่ราบยูเรเซียและในเอเชียใต้[6][33] ในที่ราบการเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณนั้นทำให้เกิด "การเคลื่อนย้ายที่สูงขึ้นและได้เปลี่ยนผ่านไปสู่การเพาะพันธุ์ปศุสัตว์เร่ร่อน"[33][note 1][note 2] โดยปัญหาการขาดแคลนน้ำยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในเอเชียใต้ด้วย

ครั้งนี้เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ๋ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา การที่ฝนไม่ตกเป็นเวลายาวนานทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำให้เกิดการล่มสลายของวัฒนธรรมเมืองซึ่งอาศัยอยู่เป็นประจำในเอเชียกลาง ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศอิหร่าน และประเทศอินเดีย และนำไปสู่การอพยพครั้งใหญ่ ผู้มาใหม่จึงถูกผนวกเข้ากับวัฒนธรรมหลังเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้[6]

ศูนย์กลางเมืองของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุถูกทิ้งร้างไปและถูกแทนที่ด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแบบเดียวกันที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคใกล้เคียงกันทางตะวันตก[34] ในปี 2559 นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า ความแห้งแล้งและการค้ากับอียิปต์และเมโสโปเตเมียที่ลดลง ทำให้เกิดการล่มสลายของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสนธุ[35] ซึ่งระบบแม่น้ำคักการ์-ฮัคกรานั้นถูกหล่อเลี้ยงด้วยน้ำฝน[36][37][38] และน้ำก็ขึ้นอยู่กับมรสุม ภูมิอากาศของหุบเขาสินธุนั้นเกิดการเย็นลงและแห้งแล้งอย่างมากเมื่อประมาณปี 1800 ก่อน ค.ศ. ซึ่งถูกเชื่อมโยงกับการอ่อนกำลังลงของมรสุม[36] ความแห้งแล้งที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้แม่น้ำคักการ์-ฮัคกราหดสั้นไปจนถึงเชิงเทือกเขาหิมาลัย[36][39][40] ซึ่งนำไปสู่อุทกภัยที่ไม่แน่นอนและมีความรุนแรงน้อย ทำให้เกษตรกรรมในพื้นที่น้ำท่วมถึงนั้นมีความยั่งยืนลดน้อยลง โดยความแห้งแล้งนั้นลดปริมาณน้ำลงอย่างมากพอที่จะทำให้อารยธรรมเกิดการล่มสลาย และทำให้มีการเคลื่อนย้ายของประชากรอย่างกระจายไปทางทิศตะวันออก[5][41][42][43]

จีนโบราณ[แก้]

ความแห้งแล้งอาจทำให้เกิดการล่มสลายของวัฒนธรรมยุคหินใหม่รอบจีนตอนกลางในช่วงปลายสหัสวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.[44] ในขณะเดียวกัน ตอนกลางของแม่น้ำเหลืองก็ประสบกับชุดเหตุการณ์อุทกภัยพิเศษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระเจ้าอวี่ซึ่งเป็นบุคคลในตำนาน[45] ในแอ่งแม่น้ำอี่ชู วัฒนธรรมหลงชานอันรุ่งเรื่องได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิที่ลดลง ซึ่งลดผลผลิตทางการเกษตรอย่างข้าวลงอย่างมาก ทำให้ประชากรลดลงเป็นอย่างมากและมีแหล่งทางโบราณคดีที่น้อยลง[46] ในประมาณปี 2000 ก่อน ค.ศ. วัฒนธรรมหลงชานได้ถูกแทนที่ด้วยวัฒนธรรมเยว์ฉือ ซึ่งมีสิ่งประดิษฐ์เซรามิกและสัมฤทธิ์ที่มีความซับซ้อนน้อยลงและมีจำนวนน้อยลง

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Demkina et al. (2017): "In the second millennium BC, humidization of the climate led to the divergence of the soil cover with secondary formation of the complexes of chestnut soils and solonetzes. This paleoecological crisis had a significant effect on the economy of the tribes in the Late Catacomb and Post-Catacomb time stipulating their higher mobility and transition to the nomadic cattle breeding."[33]
  2. See also Eurogenes Blogspot, The crisis.

อ้างอิง[แก้]

  1. Another map for reference in Railsback, L. Bruce; Liang, Fuyuan; Brook, G. A.; Voarintsoa, Ny Riavo G.; Sletten, Hillary R.; Marais, Eugene; Hardt, Ben; Cheng, Hai; Edwards, R. Lawrence (15 April 2018). "The timing, two-pulsed nature, and variable climatic expression of the 4.2 ka event: A review and new high-resolution stalagmite data from Namibia". Quaternary Science Reviews. 186: 78–90. Bibcode:2018QSRv..186...78R. doi:10.1016/j.quascirev.2018.02.015. ISSN 0277-3791. The initial source where this map comes from had the map caption the wrong way around: Wang, Xinming; Wang, Yuhong; Chen, Liqi; Sun, Liguang; Wang, Jianjun (10 June 2016). "The abrupt climate change near 4,400 yr BP on the cultural transition in Yuchisi, China and its global linkage". Scientific Reports (ภาษาอังกฤษ). 6: 27723. Bibcode:2016NatSR...627723W. doi:10.1038/srep27723. ISSN 2045-2322. PMC 4901284. PMID 27283832.
  2. 2.0 2.1 deMenocal, Peter B. (2001). "Cultural Responses to Climate Change During the Late Holocene". Science. 292 (5517): 667–673. Bibcode:2001Sci...292..667D. doi:10.1126/science.1059827. PMID 11303088.
  3. Gibbons, Ann (1993). "How the Akkadian Empire Was Hung Out to Dry". Science. 261 (5124): 985. Bibcode:1993Sci...261..985G. doi:10.1126/science.261.5124.985. PMID 17739611.
  4. Li, Chun-Hai; Li, Yong-Xiang; Zheng, Yun-Fei; Yu, Shi-Yong; Tang, Ling-Yu; Li, Bei-Bei; Cui, Qiao-Yu (August 2018). "A high-resolution pollen record from East China reveals large climate variability near the Northgrippian-Meghalayan boundary (around 4200 years ago) exerted societal influence". Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology. 512: 156–165. Bibcode:2018PPP...512..156L. doi:10.1016/j.palaeo.2018.07.031. ISSN 0031-0182.
  5. 5.0 5.1 5.2 Staubwasser, M.; และคณะ (2003). "Climate change at the 4.2 ka BP termination of the Indus valley civilization and Holocene south Asian monsoon variability". Geophysical Research Letters. 30 (8): 1425. Bibcode:2003GeoRL..30.1425S. doi:10.1029/2002GL016822. S2CID 129178112.
  6. 6.0 6.1 6.2 Rajesh Kochhar (2017), The Aryan chromosome, The Indian ERxpress
  7. 7.0 7.1 Paul Voosen (August 8, 2018). "Massive drought or myth? Scientists spar over an ancient climate event behind our new geological age". Science. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020.
  8. Gasse, Françoise; Van Campo, Elise (1994). "Abrupt post-glacial climate events in West Asia and North Africa monsoon domains". Earth and Planetary Science Letters. 126 (4): 435–456. Bibcode:1994E&PSL.126..435G. doi:10.1016/0012-821X(94)90123-6.
  9. Bar-Matthews, Miryam; Ayalon, Avner; Kaufman, Aaron (1997). "Late Quaternary Paleoclimate in the Eastern Mediterranean Region from Stable Isotope Analysis of Speleothems at Soreq Cave, Israel". Quaternary Research. 47 (2): 155–168. Bibcode:1997QuRes..47..155B. doi:10.1006/qres.1997.1883.
  10. Arz, Helge W.; และคณะ (2006). "A pronounced dry event recorded around 4.2 ka in brine sediments from the northern Red Sea". Quaternary Research. 66 (3): 432–441. Bibcode:2006QuRes..66..432A. doi:10.1016/j.yqres.2006.05.006. S2CID 55910028.
  11. 11.0 11.1 Parker, Adrian G.; และคณะ (2006). "A record of Holocene climate change from lake geochemical analyses in southeastern Arabia" (PDF). Quaternary Research. 66 (3): 465–476. Bibcode:2006QuRes..66..465P. doi:10.1016/j.yqres.2006.07.001. S2CID 140158532. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 29, 2008.
  12. Booth, Robert K.; และคณะ (2005). "A severe centennial-scale drought in midcontinental North America 4200 years ago and apparent global linkages". The Holocene. 15 (3): 321–328. Bibcode:2005Holoc..15..321B. doi:10.1191/0959683605hl825ft. S2CID 39419698.
  13. Menounos, B.; และคณะ (2008). "Western Canadian glaciers advance in concert with climate change c. 4.2 ka". Geophysical Research Letters. 35 (7): L07501. Bibcode:2008GeoRL..3507501M. doi:10.1029/2008GL033172.
  14. Drysdale, Russell; และคณะ (2005). "Late Holocene drought responsible for the collapse of Old World civilizations is recorded in an Italian cave flowstone". Geology. 34 (2): 101–104. Bibcode:2006Geo....34..101D. doi:10.1130/G22103.1.
  15. Thompson L.G.; และคณะ (2002). "Kilimanjaro Ice Core Records Evidence of Holocene Climate Change in Tropical Africa". Science. 298 (5593): 589–93. Bibcode:2002Sci...298..589T. doi:10.1126/science.1073198. PMID 12386332. S2CID 32880316.
  16. Davis, Mary E.; Thompson, Lonnie G. (2006). "An Andean ice-core record of a Middle Holocene mega-drought in North Africa and Asia". Annals of Glaciology. 43 (1): 34–41. Bibcode:2006AnGla..43...34D. doi:10.3189/172756406781812456.
  17. Bond, G.; และคณะ (1997). "A Pervasive Millennial-Scale Cycle in North Atlantic Holocene and Glacial Climates" (PDF). Science. 278 (5341): 1257–1266. Bibcode:1997Sci...278.1257B. doi:10.1126/science.278.5341.1257. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-02-27.
  18. "Two examples of abrupt climate change". Lamont-Doherty Earth Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-23.
  19. Roland, Thomas P; และคณะ (2014). "Was there a '4.2 ka event' in Great Britain and Ireland? Evidence from the peatland record" (PDF). Quaternary Science Reviews. 83: 11–27. Bibcode:2014QSRv...83...11R. doi:10.1016/j.quascirev.2013.10.024. hdl:10871/30630.
  20. "Meghalaya Age: Newest phase in Earth's history named after Meghalaya rock | - Times of India". The Times of India.
  21. Amos, Jonathan (2018-07-18). "Welcome to the Meghalayan Age a new phase in history". BBC News.
  22. "Collapse of civilizations worldwide defines youngest unit of the Geologic Time Scale".
  23. "Formal subdivision of the Holocene Series/Epoch" (PDF).
  24. Mejías Moreno, M., Benítez de Lugo Enrich, L., Pozo Tejado, J. del y Moraleda Sierra, J. 2014. Los primeros aprovechamientos de aguas subterráneas en la Península Ibérica. Las motillas de Daimiel en la Edad del Bronce de La Mancha. Boletín Geológico y Minero, 125 (4): 455–474 ISSN 0366-0176
  25. Stanley, Jean-Daniel; และคณะ (2003). "Nile flow failure at the end of the Old Kingdom, Egypt: Strontium isotopic and petrologic evidence". Geoarchaeology. 18 (3): 395–402. doi:10.1002/gea.10065.
  26. Cullen, Heidi M.; deMenocal, Peter B. (2000). "North Atlantic influence on Tigris-Euphrates streamflow". International Journal of Climatology. 20 (8): 853–863. Bibcode:2000IJCli..20..853C. doi:10.1002/1097-0088(20000630)20:8<853::AID-JOC497>3.0.CO;2-M.
  27. Kerr, Richard A. (1998). "Sea-Floor Dust Shows Drought Felled Akkadian Empire". Science. 279 (5349): 325–326. Bibcode:1998Sci...279..325K. doi:10.1126/science.279.5349.325. S2CID 140563513.
  28. Cullen, H. M. et al., "Climate change and the collapse of the Akkadian empire: Evidence from the deep sea", Geology, vol. 28, iss. 4, pp. 379-382, 2000
  29. 29.0 29.1 Weiss, H; และคณะ (1993). "The Genesis and Collapse of Third Millennium North Mesopotamian Civilization". Science. 261 (5124): 995–1004. Bibcode:1993Sci...261..995W. doi:10.1126/science.261.5124.995. PMID 17739617. S2CID 31745857.
  30. Riehl, S. (2008). "Climate and agriculture in the ancient Near East: a synthesis of the archaeobotanical and stable carbon isotope evidence". Vegetation History and Archaeobotany. 17 (1): 43–51. doi:10.1007/s00334-008-0156-8. S2CID 128622745.
  31. Watanabe, Takaaki K.; Watanabe, Tsuyoshi; Yamazaki, Atsuko; Pfeiffer, Miriam (2019). "Oman corals suggest that a stronger winter shamal season caused the Akkadian Empire (Mesopotamia) collapse". Geology. GeoScienceWorld. 47 (12): 1141–1145. Bibcode:2019Geo....47.1141W. doi:10.1130/G46604.1.
  32. "Strong winter dust storms may have caused the collapse of the Akkadian Empire". Hokkaido University. 24 October 2019.
  33. 33.0 33.1 33.2 Demkina, T.S. (2017). "Paleoecological crisis in the steppes of the Lower Volga region in the Middle of the Bronze Age (III–II centuries BC)". Eurasian Soil Science. 50 (7): 791–804. Bibcode:2017EurSS..50..791D. doi:10.1134/S1064229317070018. S2CID 133638705.
  34. "Decline of Bronze Age 'megacities' linked to climate change". phys.org.
  35. Lawler, Andrew (6 June 2008). "Indus Collapse: The End or the Beginning of an Asian Culture?". Science. 320 (5881): 1282–3. doi:10.1126/science.320.5881.1281. PMID 18535222. S2CID 206580637.
  36. 36.0 36.1 36.2 Giosan, L.; และคณะ (2012). "Fluvial landscapes of the Harappan Civilization". Proceedings of the National Academy of Sciences USA. 109 (26): E1688–E1694. Bibcode:2012PNAS..109E1688G. doi:10.1073/pnas.1112743109. PMC 3387054. PMID 22645375.
  37. Clift et al., 2011, "U-Pb zircon dating evidence for a Pleistocene Sarasvati River and capture of the Yamuna River", Geology, 40, 211–214 (2011). [1]
  38. Tripathi, Jayant K.; Tripathi, K.; Bock, Barbara; Rajamani, V. & Eisenhauer, A. (25 October 2004). "Is River Ghaggar, Saraswati? Geochemical Constraints" (PDF). Current Science. 87 (8).
  39. Rachel Nuwer (28 May 2012). "An Ancient Civilization, Upended by Climate Change". LiveScience. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  40. Charles Choi (29 May 2012). "Huge Ancient Civilization's Collapse Explained". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 May 2016.
  41. Madella, Marco; Fuller, Dorian (2006). "Palaeoecology and the Harappan Civilisation of South Asia: a reconsideration". Quaternary Science Reviews. 25 (11–12): 1283–1301. Bibcode:2006QSRv...25.1283M. doi:10.1016/j.quascirev.2005.10.012.
  42. MacDonald, Glen (2011). "Potential influence of the Pacific Ocean on the Indian summer monsoon and Harappan decline". Quaternary International. 229 (1–2): 140–148. Bibcode:2011QuInt.229..140M. doi:10.1016/j.quaint.2009.11.012.
  43. Brooke, John L. (2014), Climate Change and the Course of Global History: A Rough Journey, Cambridge University Press, p. 296, ISBN 978-0-521-87164-8
  44. Wu, Wenxiang; Liu, Tungsheng (2004). "Possible role of the "Holocene Event 3" on the collapse of Neolithic Cultures around the Central Plain of China". Quaternary International. 117 (1): 153–166. Bibcode:2004QuInt.117..153W. doi:10.1016/S1040-6182(03)00125-3.
  45. Chun Chang Huang; และคณะ (2011). "Extraordinary floods related to the climatic event at 4200 a BP on the Qishuihe River, middle reaches of the Yellow River, China". Quaternary Science Reviews. 30 (3–4): 460–468. Bibcode:2011QSRv...30..460H. doi:10.1016/j.quascirev.2010.12.007.
  46. Gao, Huazhong; Zhu, Cheng; Xu, Weifeng (2007). "Environmental change and cultural response around 4200 cal. yr BP in the Yishu River Basin, Shandong". Journal of Geographical Sciences. 17 (3): 285–292. doi:10.1007/s11442-007-0285-5. S2CID 186227589.