ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1
เซนุสเรตที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เซซอสทรีส, เซซอนโคซิส | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปสลักของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ที่พิพิธภัณฑ์ไคโร, อียิปต์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 1971–1926 ปีก่อนคริสตกาล; (1920–1875 ปีก่อนคริสตกาล) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อเมเนมเฮตที่ 1 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | อเมเนมเฮตที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | เนเฟรูที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | อเมเนมเฮตที่ 2, อเมเนมเฮต-อังค์, อิตาคาย, เซบัต, เนเฟอร์รูโซเบ๊ค, เนเฟอร์รัปทาห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | อเมเนมเฮตที่ 1 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | เนเฟริทาเจเนน[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สวรรคต | 1926 ปีก่อนคริสตกาล (1875 ปีก่อนคริสตกาล) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | พีระมิดที่อัลลิษต์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อนุสรณ์สถาน | วิหารน้อยขาว, พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสอง |
เซนุสเรตที่ 1 (อียิปต์สมัยกลาง: z-n-wsrt; /suʀ nij ˈwas.ɾiʔ/) หรือในรูปแบบที่แปรมาเป็นภาษาอังกฤษ เซซอสทริสที่ 1 และเซนวอสเรตที่ 1 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สองจากราชวงศ์สิบสอง พระองค์ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 1971 ถึง 1926 ปีก่อนคริสตกาล (หรือ 1920 ถึง 1875 ปีก่อนคริสตกาล)[2] และเป็นหนึ่งในฟาโรห์ที่มีอำนาจมากที่สุดในราชวงศ์นี้ พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 เป็นที่ทราบโดยพระนามนำหน้าของพระองค์พระนามว่า เคเปอร์คาเร ซึ่งหมายความว่า "ดวงวิญญาณแห่งเทพเรทรงถูกสร้างขึ้น"[3] พระองค์ทรงขยายพระราชอาณาจักรอียิปต์ ส่งผลให้พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินในยุครุ่งเรือง[4]
พระองค์ยังคงทรงดำเนินต่อพระราโชบายขยายขอบเขตเชิงรุกของพระราชบิดาไปยังดินแดนนิวเบีย โดยเริ่มจากการส่งคณะเดินทางจำนวนสองครั้งเข้าในนิวเบียในช่วงปีที่ 10 และ 18 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ และทรงสถาปนาพรมแดนทางใต้อย่างเป็นทางการของอียิปต์ใกล้กับแก่งน้ำตกที่สองของแม่น้ำไนล์ ซึ่งพระองค์ทรงได้วางกองทหารรักษาการณ์และจารึกแห่งชัยชนะไว้ที่นั่น[5] พระองค์ทรงยังได้จัดคณะเดินทางไปยังโอเอซิสของทะเลทรายตะวันตก ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ทรงได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับผู้ครองนครถิ่นในซีเรียและคานาอัน นอกจากนี้ พระองค์ยังพยายามรวมศูนย์โครงสร้างทางการเมืองของพระราชอาณาจักรด้วยการสนับสนุนบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่นที่ภักดีต่อพระองค์ พีระมิดของพระองค์ได้ถูกสร้างขึ้นที่เอล-ลิชต์ และยังมีการกล่าวถึงพระองค์ในงานเขียนชื่อว่า เรื่องราวแห่งซินูเฮ (The Story of Sinuhe) ซึ่งได้บันทึกว่า พระองค์ทรงรีบเสด็จกลับไปยังพระราชวังในเมมฟิสจากการทรงดำเนินการทางทหารในดินแดนลิเบีย หลักจากทรงทราบการลอบปลงพระชนม์ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์
พระราชวงศ์
[แก้]เป็นที่ทราบอย่างดีเกี่ยวความสัมพันธ์ภายในพระราชวงศ์ของพระองค์ โดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 กับพระนางเนเฟริทาเทเนน ซึ่งเป็นพระราชินีในพระราชบิดา พระมเหสีพระองค์หลักของพระองค์นามว่า พระนางเนเฟรูที่ 3 ซึ่งเป็นพระภคินีหรือพระขนิษฐาของพระองค์ และยังเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ที่ขึ้นมาปกครองต่อจากพระราชบิดา ส่วนพระราชบุตรทีเหลือและเป็นที่ทราบก็คือ เจ้าหญิงอิตาคายต์ และเจ้าหญิงเซบาต ซึ่งพระราชธิดาพระองค์หลังนี้น่าเป็นพระธิดาของพระนางเนเฟรูที่ 3 เนื่องจากพระนางได้ปรากฏพร้อมกับเจ้าหญิงพระองค์ดังกล่าวในจารึกเดียวกัน ต่อมาฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 พระราชบิดาของพระองค์ได้ถูกลอบปลงพระชนม์
เหตุการณ์ภายในรัชสมัย
[แก้]ในปีที่ 18 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 พระองค์ทรงเริ่มดำเนินการทางทหารกับดินแดนนิวเบียล่าง และพิชิตดินแดนนี้จนถึงแก่งน้ำตกที่สองของแม่น้ำไนล์ ช่วงเวลาแห่งการออกเดินทางของคณะได้ระบุไว้บนจารึกจากบูเฮน[6] มีการกล่าวถึงการดำเนินการทางทหารไว้ในจารึกหลายชิ้นในรัชสมัยของฟาโรห์พระองค์นี้ ข้าราชการท้องถิ่นหลายคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสำรวจทางทหาร เช่น อเมเนมเฮต ซึ่งเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นเขตปกครองแห่งออริกซ์ ได้เดินทางไปที่นั่นพร้อมด้วยตำแหน่ง ผู้ดูแลกองทัพ[7] ในปีที่ 25 แห่งการครองราชย์ ภายในพระราชอาณาจักรได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้น เนื่องจากระดับในแม่น้ำไนล์ลดต่ำ[8]
แผนสิ่งปลูกสร้าง
[แก้]ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ได้ทรงส่งคณะสำรวจเหมืองหินหลายครั้งไปยังคาบสมุทรไซนายและวาดิ ฮัมมามัต และทรงโปรดให้สร้างศาลเทพเจ้าและวิหารหลายแห่งทั่วอียิปต์และนิวเบียในช่วงรัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ พระองค์โปรดให้สร้างวิหารที่สำคัญแห่งเทพเร-อาตุมขึ้นในเฮลิโอโพลิส ซึ่งเป็นศูนย์กลางของลัทธิบูชาพระอาทิตย์ พระองค์ทรงโปรดให้เสาหินแกรนิตสีแดงจำนวนสองเสาขึ้นที่นั่น เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลเซดในปีที่ 30 แห่งการครองราชย์ หนึ่งในเสาโอเบลิสก์ยังคงอยู่และเป็นเสาโอเบลิสก์ที่เก่าแก่ที่สุดในอียิปต์ ขณะนี้อยู่ในพื้นที่อัล-มาซัลลา (เสาโอเบลิสค์ในภาษาอาหรับ) ของเขตอัล-มาตารัยยาห์ ซึ่งใกล้ใกล้กับเขตอายน์ ชามส์ (เฮลิโอโพลิส) ซึ่งมีความสูง 67 ฟุต และหนัก 120 ตันหรือ 240,000 ปอนด์
พระองค์ทรงเป็นผู้โปรดให้สร้างวิหารสำคัญหลายแห่งในสมัยอียิปต์โบราณ รวมทั้งวิหารแห่งเทพมินที่คอปโตส วิหารแห่งเทพีซาเทตบนเกาะแอลเลเฟนไทน์ วิหารแห่งเทพมอนทูที่อาร์มันต์และวิหารแห่งเทพมอนทูที่เอล-โตด ที่มีจารึกที่เกี่ยวข้องพระองค์ยังคงหลงเหลืออยู่[9]
ศาลเทพเจ้า (หรือรู้จักกันในชื่อว่า วิหารน้อยขาว หรือวิหารน้อยแห่งการเฉลิมฉลอง) ซึ่งมีภาพนูนต่ำนูนสูงของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ที่สร้างขึ้นที่คาร์นัก เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 30 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ ต่อมาได้มีบูรณะใหม่โดยสมบูรณ์จากบล็อกหินต่าง ๆ ที่อองรี เชฟคีเออร์ค้นพบในปี ค.ศ. 1926 และพระองค์ยังทรงโปรดให้บูรณะปรับปรุงวิหารแห่งเคนติ-อเมนติอู โอซิริส ที่อไบดอส ซึ่งอยู่ในหมู่แผนก่อสิ่งปลูกสร้างหลักอื่น ๆ ของพระองค์
พระราชสำนัก
[แก้]สมาชิกคนสำคัญบางส่วนของพระราชสำนักในช่วงรัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 เป็นที่รู้ทราบ เช่น ราชมนตรีในช่วงต้นรัชสมัยของพระองค์มีนามว่า อินเตฟิเกอร์ ซึ่งเป็นที่ทราบจากจารึกมากมายและจากหลุมฝังศพของเขาถัดจากพีระมิดแห่งอเมนเนมเฮตที่ 1 ดูเหมือนว่าเขาจะดำรงตำแหน่งนี้มาเป็นเวลานาน และตามมาด้วยราชมนตรีคนถัดมาที่มีนามว่า เซนุสเรต ผู้ดูแลพระคลังมหาสมบัติจำนวนสองคน ซึ่งเป็นที่ทราบจากในรัชสมัยของพระองค์มีนามว่า โซเบคโฮเทป (ปีที่ 22) และเมนทูโฮเทป ซึ่งมีหลุมฝังศพขนาดใหญ่ด้านหลังติดกับพีระมิดของพระองค์ และดูเหมือนเขาจะเป็นสถาปนิกหลักของวิหารแห่งเทพอามุนที่คาร์นัก มีเจ้าพนักงานชั้นสูงหลายคน ร่วมถึง ฮอร์ ซึ่งเป็นที่ทราบจากจารึกหลายชิ้น และจารึกในวาดิ เอล-ฮูดิ ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เขาเป็นผู้นำคณะสำรวจแร่อเมทิสต์ หนึ่งในจารึกนั้นมีอายุย้อนไปถึงปีที่ 9 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ และมีผู้หนึ่งนามว่า นาคร์ เข้ารับตำแหน่งในราชสำนักช่วงประมาณปีที่ 12 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ เขามีหลุมฝังศพที่ลิชต์ อันเตฟ บุตรชายของสตรีคนหนึ่งนามว่า ซาตอามุน ซึ่งเป็นที่ทราบจากจาึกหลายชิ้น โดยระบุช่วงเวลาถึงปีที่ 24 และอีกปีหนึ่งถึงปีที่ 25 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 และอันเตฟอีกคน ผู้เป็นบุตรชายของสตรนามว่า ซาตยูเซอร์ และมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นเจ้าพนักงานชั้นสูงในรัชสมัยของพระองค์[10]
การสืบสันตติวงศ์
[แก้]ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ได้รับพระราชทานตำแหน่งผู้สำเร็จราชการร่วมกับฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 1 ในช่วงปีที่ 20 แห่งการครองราชย์ของพระราชบิดา ในช่วงปลายรัชสมัย พระองค์ได้พระราชทานแต่งตั้งฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ผู้เป็นพระราชโอรสขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระองค์ ศิลาจารึกแห่งเวปวาเวโทที่ระบุช่วงระหว่างปีที่ 44 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ และปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 ดังนั้น พระองค์คงจะพระราชทานตำแหน่งผู้สำเร็จราชการร่วมในปีที่ 43[11] และสันนิษฐานว่า ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 เสด็จสวรรคในช่วงปีที่ 46 แห่งการครองราชย์ของพระองค์จากที่บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้ระบุไว้ว่า พระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลา 45 ปี[12]
-
รูปสลักส่วนบนของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 จากอียิปต์โบราณช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางจากราชวงศ์ที่สิบสอง ราวประมาณ 1950 ปีก่อนคริสตกาล จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์นอยส์ ประเทศเยอรมนี
-
เสาโอเบลิกส์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ที่เฮลิโอโพลิส
-
รูปสลักเทพโอซิริสของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1
-
ตุ้มน้ำหนักหินที่ปรากฏพระนามฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1
-
ฐานรูปสลักหินแกรนิตที่สลักพระนามฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 จากอาร?มันต์ ประเทศอียิปต์ ตั้งจัดแสดงอยู่พิพิธภัณฑ์เพทรี กรุงลอนดอน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ W. Grajetzki, The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, Archaeology and Society, Duckworth, London 2006 ISBN 0-7156-3435-6, p.36
- ↑ Erik Hornung; Rolf Krauss; David Warburton, บ.ก. (2006). Ancient Egyptian chronology. Brill. ISBN 9004113851. OCLC 70878036.
- ↑ Peter Clayton, Chronicle of the Pharaohs, Thames & Hudson Ltd, (1994), p.78
- ↑ Robins. The Art of Ancient Egypt. pp. 95–97.
- ↑ Senusret I
- ↑ William K. Simpsonː Sesostris II, inːWolfgang Helck (ed.), Lexikon der Ägyptologie Vol. 5, Harrassowitz, Wiesbaden, 1984, ISBN 3447024895, p. 895
- ↑ Percy E. Newberryː Beni Hasan (volume 1), London, 1893, p. 25 onlin
- ↑ Wolfram Grajetzki: The People of the Cobra Province in EgyptOxbow Books. Oxford 2020, ISBN 9781789254211, pp. 177-178
- ↑ Grajetzki, The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, p. 38–41
- ↑ W. Grajetzki: Court officials of the Middle Kingdom, London 2009, ISBN 978-0-7156-3745-6, p. 172
- ↑ Murnane, William J. Ancient Egyptian Coregencies, Studies in Ancient Oriental Civilization. No. 40. p.5. The Oriental Institute of the University of Chicago, 1977.
- ↑ Murnane, William J. Ancient Egyptian Coregencies, Studies in Ancient Oriental Civilization. No. 40. p.6. The Oriental Institute of the University of Chicago, 1977.