แก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แก่งน้ำตกทั้งหกแห่งแม่น้ำไนล์

แก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ (ภาษาอังกฤษ : Cataracts of the Nile) เป็นส่วนบริเวณตื้นหรือแก่งน้ำเชี่ยวของแม่น้ำไนล์ที่อยู่ระหว่างเมืองคาร์ทูมและเมืองอัสวาน ซึ่งบริเวณแห่งนั้นด้วยหินก้อนเล็กๆ จำนวนมากที่โผล่ขึ้นมาจากก้นแม่น้ำ ตลอดจนมีเกาะแก่งหินจำนวนมาก ในบางแห่งก็มีกระแสน้ำเชี่ยว และในขณะที่บางแห่งกระแสน้ำไหลปกติแต่ไหลผ่านบริเวณที่ตื้นเขิน

แก่งน้ำตกทั้งหกแห่ง[แก้]

โดยเริ่มนับจากด้านปลายแม่น้ำไปยังต้นแม่น้ำไนล์ (จากเหนือลงใต้):

ใน อียิปต์:

ใน ซูดาน:

ภูมิศาสตร์[แก้]

นักธรณีวิทยาได้ระบุว่า พื้นที่ทางตอนเหนือของซูดานมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในบริเวณนี้ส่งผลให้แม่น้ำมีลักษณะ "อ่อนเยาว์"[1] ซึ่งส่วนตวัดโค้งของแม่น้ำไนล์ในนิวเบียได้เปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำไนล์ไปทางทิศตะวันตก ในขณะเดียวกันก็ทำให้ระดับความลึกในแม่น้ำตื้นขึ้นและก่อให้เกิดแก่งน้ำตก ถึงแม้ว่าพื้นแม่น้ำจะสึกกร่อนจากการกัดเซาะ แต่ผืนดินก็กลับถูกยกตัวขึ้น ทำให้ส่วนต่างๆ ของพื้นแม่น้ำเป็นพิ้นที่โล่ง ภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นเหล่านี้ของแม่น้ำไนล์ระหว่างเมืองอัสวานและเมืองคาร์ทูม ซึ่งเกิดและพบได้ในหลายจุด จึงเรียกกันว่าแก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ ในขณะที่ส่วนปลายแม่น้ำบางครั้งจะเรียกว่า "แม่น้ำไนล์อียิปต์" ความแตกต่างทางธรณีวิทยาระหว่างสองส่วนของแม่น้ำนี้มีความสำคัญมาก ทางเหนือของเมืองอัสวาน ซึ่งมีท้องแม่น้ำที่ไม่เป็นหิน แต่กลับเต็มด้วยตะกอน และอยู่ห่างไกลจากส่วนที่แม่น้ำตื้นเขิน จึงเชื่อกันว่า[2] ในอดีตหินบริเวณดังกล่าวถูกกัดเซาะให้มีความลึกหลายพันฟุต ซึ่งส่งผลให้เกิดหุบเขากว้างใหญ่ และในปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยตะกอน

ประวัติศาสตร์[แก้]

คำว่า แก่งน้ำตก หรือ " cataract " มีรากคำมาจากภาษากรีก καταρρέω (แปลว่า "ไหลลง") ถึงแม้ว่าคำภาษากรีกดั้งเดิมจะอยู่ในรูปของพหูพจน์เท่านั้น (Κατάδουποι) อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม แก่งน้ำตกหลักทั้งหกแห่งของแม่น้ำไนล์ก็ไม่สามารถอธิบายได้อย่างถูกต้องว่าเป็นแก่งน้ำตก และให้คำจำกัดความที่กว้างขึ้น แก่งน้ำตกเหล่านี้ก็เช่นเดียวกันกับแก่งน้ำตกขนาดเล็ก ๆ อีกหลายแห่ง

ในสมัยโบราณ อาณาจักรอียิปต์บนได้แผ่ขยายอาณาเขตจากทางใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ไปยังแก่งน้ำตกแห่งที่หนึ่ง ในขณะที่อยู่ดินแดนบริเวณต้นแม่น้ำที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยอาณาจักรคุชโบราณ ซึ่งต่อมาจะเข้ายึดครองดินแดนอียิปต์ในช่วงตั้งแต่ 760 ถึง 656 ปีก่อนคริสตกาล[3] นอกจากการรุกรานชาวคุชแล้ว สำหรับประวัติศาสตร์อียิปต์ส่วนใหญ่ ในแก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แก่งน้ำตกแห่งที่หนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นพรมแดนตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันการข้ามเข้ามาจากทางใต้ เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวจะต้องอาศัยการเดินทางของแม่น้ำเพื่อเดินทางไปทางเหนือและใต้ ซึ่งส่งผลให้ชายแดนทางใต้ของอียิปต์ได้รับการปกป้องจากการรุกราน และนอกเหนือจากการปกครองในอียิปต์ของชนชาติคุชในระยะเวลาสั้น ๆ แล้ว มันยังคงเป็นพรมแดนตามธรรมชาติสำหรับประวัติศาสตร์อียิปต์ส่วนใหญ่[4]

เอราทอสเทนีสแห่งไซรีเน ได้ให้คำอธิบายที่แม่นยำของแก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ไว้ว่า[5]

มันมีรูปร่างคล้ายกับตัวอักษร N กลับหลัง โดยแม่น้ำไหลไปทางเหนือจากเมโรวีประมาณ 2,700 สตาเดีย แล้ววกกลับมาทางทิศใต้และพระอาทิตย์ตกในฤดูหนาวประมาณ 3,700 สตาเดีย และเกือบจะถึงแนวขนานเดียวกันกับภูมิภาคเมโรวีและเดินทางไปไกลถึงลิเบีย จากนั้นแม่น้ำจะวกเลี้ยวอีกครั้งและไหลไปทางเหนือ 5,300 สตาเดีย ไปยังที่แก่งน้ำตกใหญ่โค้งไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย จากนั้นอีก 1,200 สตาเดียแม่น้ำไหลไปยังแก่งน้ำตกขนาดเล็กที่ไซยีน (หรือ เมืองอัสวานในปัจจุบัน) และอีก 5,300 สตาเดีย แม่น้ำจะไหลออกสู่ทะเล

แก่งน้ำตกทั้งหกแห่งของแม่น้ำไนล์ได้ถูกบรรยายโดยนักท่องเที่ยวชาวยุโรปจำนวนมาก โดยเฉพาะวินสตัน เชอร์ชิลล์ในหนังสือ The River War (1899) ซึ่งเขาเล่าถึงความพยายามของชาวอังกฤษที่พยายามจะกลับไปยังซูดานระหว่างปี ค.ศ. 1896 ถึง ค.ศ. 1898 หลังจากที่พวกเขาถูกบังคับให้ออกจากซูดานไปในปี ค.ศ. 1885

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thurmond, Allison K.; Stern, Robert J.; Abdelsalam, Mohamed G.; Nielsen, Kent C.; Abdeen, Mamdouh M.; Hinz, Emily (2004). "The Nubian Swell" (PDF). Journal of African Earth Sciences. 39 (3–5): 401–407. Bibcode:2004JAfES..39..401T. doi:10.1016/j.jafrearsci.2004.07.027. ISSN 1464-343X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 May 2011. สืบค้นเมื่อ 21 October 2006.
  2. Warren, John (2006). Evaporites:Sediments, Resources and Hydrocarbons. Berlin: Springer. p. 352. ISBN 3-540-26011-0.
  3. "Cataracts of the Nile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2010. สืบค้นเมื่อ 17 February 2014.
  4. "Geography". Ancient Egypt 101.
  5. Strabo (1932). The Geography. Vol. VIII. แปลโดย Jones, H. L. Harvard University Press – โดยทาง Bill Thayer.