ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์กาอา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กา'อา (หรือเรียกว่า คา'อา) (ความหมายตามตัวอักษร: "พระกรของพระองค์ถูกยกขึ้น"[1]) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลา 33 ปีในช่วงปลายศตวรรษที่ 30 ก่อนคริสตกาล

ควีเบห์ เป็นพระนามของฟาโรห์กาอาในบันทึกรายนามแห่งอบีดอส

การครองราชย์

[แก้]

ปรากฏข้อมูลไม่มากเกี่ยวกับรัชกาลของฟาโรห์กาอา แต่ดูเหมือนว่าพระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลานาน (ประมาณ 33 ปี) จารึกบนภาชนะหินจำนวนมากกล่าวถึงเทศกาลเซดครั้งที่สองของฟาโรห์กาอา ซึ่งชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงปกครองอย่างน้อย 33 ปี ซึ่งที่จริงเทศกาลเซดครั้งแรกมักไม่ได้รับการเฉลิมฉลองก่อน 30 ปีในรัชกาลและงานเทศกาลที่ตามมาอาจมีการทำซ้ำทุก ๆ ปีที่สามแห่งการครองราชย์ ศิลาปาแลร์โมได้กล่าวถึงปีแห่งพิธีราชาภิเษกและเหตุการณ์ทางศาสนาบางอย่างที่ได้รับการเฉลิมฉลองภายในรัชสมัยของฟาโรห์ทุกพระองค์เท่านั้น แผ่นสลักงาช้างจำนวนมากสืบมาจนถึงรัชสมัยของพระองค์ยังกล่าวถึงการจัดเตรียมเฉพาะ เช่น ภาพสลักและการนับถวายบูชาพระบรมศพและทรัพย์สินส่วนพระองค์ของฟาโรห์ สุสานของขุนนางชั้นสูงในมาสตาบาหลายแห่งจากรัชสมัยของฟาโรห์กาอา เช่น เมอร์คา (S3505), เฮนูกา (ไม่ทราบการฝังศพ), เนเฟอร์เอฟ (ไม่ทราบการฝังศพ) และ ซาบเอฟ (ฝังอยู่ในสุสานหลวงของฟาโรห์กาอา)[2][3]

สุสาน

[แก้]
แผนที่สุสานของฟาโรห์กาอา

ฟาโรห์กาอาทรงมีหลุมฝังพระบรมศพที่ค่อนข้างใหญ่ในอไบดอส ซึ่งมีขนาด 98.5 X 75.5 ฟุต หรือ 30 X 23 เมตร[4] เนื่องจากพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน หลุมฝังพระบรมศพแห่งนี้ขุดโดยนักโบราณคดีชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 1993 และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีการฝังศพบริวารจำนวน 26 ศพ (หรือ การบูชายัญ) ตราประทับที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์โฮเทปเซเคมวีถูกพบใกล้กับทางเข้าสุสานหลวงของฟาโรห์กาอา (สุสาน คิว) โดยสถาบันโบราณคดีแห่งเยอรมันในช่วงกลางคริสค์ทศวรรษที่ 1990[5] การค้นพบรอยประทับตราถูกตีความว่าเป็นหลักฐานว่าฟาโรห์กาอาถูกฝังไว้ที่นี่ และด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ฟาโรห์โฮเทปเซเคมวีทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์และเป็นผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์ ตามที่แมนิโธได้ระบุไว้ จารึกหลุมฝังพระบรมศพที่สวยงามของฟาโรห์จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีและมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Qa'a | Ancient Egypt Online".
  2. P. Lacau, J. P. Lauer: La Pyramide a Degeres IV, Inscriptions Gravees sur les Vases. Cairo 1959, page 12.
  3. Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt. Routledge, London/ New York 1999, ISBN 0-415-18633-1, page 81–83.
  4. Peter Clayton, Chronicle of the Pharaohs, Thames & Hudson Ltd, 2006 paperback p.25; the tomb is now fully published: Eva-Maria Engel: Das Grab des Qa'a: Architektur und Inventar, Wiesbaden 2017 ISBN 978-3447108768
  5. G. Dreyer et al., MDAIK 52,1996, pp.71-72, fig. 25, pl. 14a