ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดยะลา"

พิกัด: 6°33′N 101°17′E / 6.55°N 101.29°E / 6.55; 101.29
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 104: บรรทัด 104:
|- class="sortbottom" bgcolor="#dddddd" align="right"
|- class="sortbottom" bgcolor="#dddddd" align="right"
| colspan="4" align="center" | '''รวม'''
| colspan="4" align="center" | '''รวม'''
| align="center" | '''56''' || '''532,326''' || '''4,521.078''' || '''117.74'''
| align="center" | '''56''' || '''532,326 คน''' || '''4,521.078''' || '''117.74'''
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:54, 17 กรกฎาคม 2562

จังหวัดยะลา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Yala
คำขวัญ: 
ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดยะลาเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดยะลาเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดยะลาเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ อนุชิต ตระกูลมุทุตา
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2560)
พื้นที่
 • ทั้งหมด4,521.078 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 47
ประชากร
 (พ.ศ. 2561)
 • ทั้งหมด532,326 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 49
รหัส ISO 3166TH-95
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้อโศกเหลือง
 • ดอกไม้พิกุล
 • สัตว์น้ำปลาพลวงชมพู
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
 • โทรศัพท์0 7322 1014
 • โทรสาร0 7321 1586
เว็บไซต์http://www.yala.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ยะลา เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย มีพื้นที่ 4,521.078 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 532,326 คน อาณาเขตทางใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย เป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่ติดทะเล[3]

จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูปัตตานีในการสื่อสาร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู รองลงมาคือชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธ อย่างไรก็ตามยะลาถือเป็นจังหวัดที่ดำรงความเป็นพหุวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจน เพราะมีความแตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ภาษา และศาสนา แต่ชนทุกกลุ่มยังคงรักษาวิถีชีวิตและประเพณีของตนไว้อย่างเหนียวแน่น[4]

ศัพทมูลวิทยา

เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มลายู: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มลายู: Jalor, جالور) แปลว่า "แห" ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง "แห" หรือ "ตาข่าย"[5] มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกภูเขานี้ว่า ยะลา หรือ ยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง[5]

แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้

เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติ

ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476 เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 56 ตำบล 341 หมู่บ้าน มีรายชื่อดังนี้

เลข ชื่ออำเภอ ชื่อมลายู[6] ชื่อโรมัน จำนวนตำบล ประชากร
(พ.ศ. 2561)[2]
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
1 เมืองยะลา Jala Mueang Yala 13 75,584 คน 258.0 292.96
2 เบตง Betung Betong 5 35,904 คน 1,328.0 27.03
3 บันนังสตา Bendang Setar Bannang Sata 6 54,932 คน 629.0 87.33
4 ธารโต Air Kedung Than To 4 23,576 คน 648.0 36.38
5 ยะหา Johar Yaha 7 60,200 คน 500.0 120.4
6 รามัน Ramai Raman 16 85,237 คน 516.1 165.15
7 กาบัง Gambir Kabang 2 24,564 คน 451.0 54.56
8 กรงปินัง Kampung Pinang Krong Pinang 4 28,909 คน 191.0 151.35
รวม 56 532,326 คน 4,521.078 117.74
 แผนที่

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 กระทรวงมหาดไทยประชุมเพื่อพิจารณาร่างกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอลำใหม่แยกจากอำเภอเมืองยะลา และอำเภอโกตาบารูแยกจากอำเภอรามันเป็นกรณีพิเศษ โดยอ้างความจำเป็นพิเศษด้านความมั่นคง และหากมีการจัดตั้งแล้ว อำเภอโกตาบารูจะมีการขอพระราชทานชื่อใหม่[7]

การปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา), เทศบาลนคร 1 แห่ง (เทศบาลนครยะลา), เทศบาลเมือง 2 แห่ง, เทศบาลตำบล 13 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 47 แห่ง รายชื่อเทศบาลทั้งหมดมีดังนี้

ประชากร

ชาติพันธุ์

ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดยะลาเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูเป็นพื้น ในอดีตจะถูกเรียกอย่างรวม ๆ กับชาวชวา-มลายูทั่วไปว่าคนยาวี (Orang Jawi)[8] แต่จะเรียกตัวเองว่าออแฆนายู และพึงใจที่ผู้อื่นเรียกว่าคนนายูมากกว่าคนยาวี[9] เมื่อ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ในสมัยหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 3 เรื่องการเรียกชื่อชาวไทยโดยให้เรียกชาวมลายูมุสลิมว่าไทยอิสลาม[10] และปัจจุบันทางราชการของไทยยังคงเรียกคนเชื้อสายมลายูว่าคนไทยหรือไทยมุสลิมอยู่[11] นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นชนกลุ่มน้อย อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะอำเภอเบตงถือเป็นชุมชนชาวจีนที่มีขนาดใหญ่และเข้มแข็ง สามารถคงอัตลักษณ์ความเป็นจีนไว้อย่างเหนียวแน่น[4] โดยมากเป็นชาวจีนกวางไส บรรพบุรุษอพยพจากเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง[12] ส่วนชาวไทยพุทธมีอยู่หนาแน่นในเขตเทศบาลนครยะลา[13] แต่ระยะหลังเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธอพยพออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก[14][15][16] เช่นชุมชนชาวจีนที่บ้านเนียง อำเภอเมืองยะลา และชุมชนจีนบ้านแบหอ อำเภอรามัน ที่ลูกหลานโยกย้ายออกจากถิ่นฐานเดิมจนสิ้น[17][18]

ขณะที่ชาวซาไกเผ่ากันซิวและจำนวนน้อยเป็นเผ่ากินตัก[19] ซึ่งเคยตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่อพยพไปประเทศมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ[20] นอกจากนี้ยังมีชาวพม่า ลาว และกัมพูชา เข้าเป็นแรงงานในยะลาเป็นจำนวนมากในเขตอำเภอเมืองยะลาและอำเภอเบตง โดยใน พ.ศ. 2552 มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 5,000 คน[21] และมีชาวเขาจากภาคเหนืออพยพมาลงหลักปักฐานที่ยะลาหลายเผ่าเพื่อเป็นแรงงาน เช่น เผ่าม้งเข้ามาอาศัยในอำเภอเบตงและอำเภอธารโตจำนวนหนึ่ง และพบว่าม้งส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ร่วมนิคมกับเผ่าซาไกที่บ้านซาไก[22] ส่วนชุมชนมูเซอบ้านบ่อน้ำร้อนในอำเภอเบตง[23][24][25] มีประชากรมากถึงขั้นก่อตั้งโบสถ์คริสต์ในชุมชนของตัวเอง[26]

ภาษา

ป้ายจราจรสี่ภาษาหน้าสถานีรถไฟยะลา

จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสามจังหวัดของประเทศไทยที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูปัตตานีในการสื่อสาร เป็นสำเนียงที่ใช้ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสงขลา ภาษานี้มีการใช้อักษรยาวีซึ่งได้รับอิทธิพลจากอักษรอาหรับสำหรับการเขียน[8][27] สำหรับการเผยแผ่ศาสนาโดยเฉพาะ[28] ทว่าในยุคหลังมานี้มีการยืมคำไทยเข้าปะปนมากขึ้น[29] โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่พูดมลายูปนไทย[28] ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ติดป้ายประกาศของสถานที่ราชการเป็นภาษามลายูปัตตานีและอักษรยาวีทั่วไปในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[30] ทั้งนี้ชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนสามารถพูดภาษามลายูเพื่อสื่อสารกับคนมลายูซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่[31][32][33]

ขณะที่ชาวไทยพุทธจะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ มีสำเนียงใกล้เคียงกับสำเนียงสงขลา[34] มีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาใต้ถิ่นอื่นที่มีการรวบคำให้สั้นกระชับ ทว่ามีลักษณะเด่นคือการออกเสียงที่นุ่มนวลไม่หยาบกระด้างต่างจากภาคใต้ถิ่นอื่น[35] และมีการยืมคำมลายูมาก โดยมีความหนาแน่นของคำยืมจากมลายูมากถึงร้อยละ 75.75[36]

ส่วนชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะอำเภอเบตงที่มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พวกเขาธำรงอัตลักษณ์ความเป็นจีนคือการใช้ภาษาจีน[4] ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มได้แก่ ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนกวางไส ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว และภาษาจีนแคะ[37][38] เช่นประชาชนในชุมชนวัดปิยมิตรที่สามารถสื่อสารภาษาจีนกลางได้[39] ปัจจุบันคนยุคหลังใช้ภาษาจีนน้อยลง[40] และลูกหลานจีนหลายคนนิยมใช้ภาษาไทยมาตรฐาน แต่บุคคลเชื้อสายจีนในเทศบาลนครยะลาที่อายุต่ำกว่า 50 ปีจะพูดจีนไม่ได้แต่พอฟังรู้ความ[33]

ปัจจุบันชาวไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนในเทศบาลนครยะลาเกินครึ่งพูดภาษาไทยถิ่นใต้ไม่ได้ ส่วนชาวไทยเชื้อสายมลายูนอกเขตเทศบาลจะพูดภาษาไทยไม่ชัดเจน และหากมีอายุ 70 ปีขึ้นไปจะไม่ได้สามารถพูดภาษาไทยได้เลย[33]

ศาสนา

ศาสนาในจังหวัดยะลา (พ.ศ. 2559)[41]
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
74.06%
พุทธ
  
21.16%
อื่น ๆ
  
4.78%
วัดพุทธแห่งหนึ่งในอำเภอบันนังสตา

จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[42] มีชุมชนชาวคริสต์ขนาดย่อมทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ในเขตเทศบาลนครยะลาและเทศบาลเมืองเบตง[43] นอกจากนี้ยังมีชุมชนของผู้นับถือศาสนาซิกข์ขนาดน้อย อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครยะลา[44] ส่วนชาวซาไกหันมานับถือศาสนาพุทธโดยให้เหตุผลว่านับถือตามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แต่ปัจจุบันยังปะปนไปด้วยความเชื่อพื้นเมือง[45] และแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในยะลาก็นับถือศาสนาพุทธและร่วมปฏิบัติศาสนกิจร่วมกับชาวพุทธในท้องถิ่น[46][47]

จากการสำรวจใน พ.ศ. 2550 พบว่า มีผู้นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 75.42 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 24.25 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.33 [48] พ.ศ. 2553 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 76.59 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 22.74[49] ส่วนการสำรวจใน พ.ศ. 2557 พบว่า ประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 79.60 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 20.13 และผู้นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 0.27[50] และการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2559 พบว่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 74.06 ผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 21.16 และผู้นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 4.78[41] หลังการก่อวินาศกรรมด้วยการวางระเบิดถนนสายหลักในปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2555 ส่งผลให้ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธจำนวนมากอพยพออกจากยะลา ประชากรที่นับถือศาสนาพุทธจึงหดตัวอย่างเฉียบพลัน[14][15][16]

สำนักงานสถิติจังหวัดยะลารายงานว่า ใน พ.ศ. 2560 จังหวัดยะลามีมัสยิด 508 แห่ง วัดพุทธ 52 แห่ง สำนักสงฆ์ 13 แห่ง โบสถ์คริสต์ 9 แห่ง[51] และคุรุดวารา 1 แห่ง [52]

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562 กลุ่มสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา จำนวน 60 คน เรียกร้องให้โรงพยาบาลในจังหวัดยะลาและในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำห้องครัวสำหรับไทยพุทธและอาคารสำหรับพระสงฆ์อาพาธ[53]

อุทยาน

สถานที่ท่องเที่ยว

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

ระดับมัธมยมศึกษา

อ้างอิง

  1. สำนักงานสถิติจังหวัดยะลา. "สภาพทั่วไปของจังหวัดยะลา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://yala.nso.go.th/yala/yala.html [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. 2.0 2.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561". กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ข้อมูลจังหวัดชายทะเล". ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 ณัฐธิดา เย็นบำรุง. "เมืองเบตง : คนไทยเชื้อสายจีนที่เข้มแข็ง". ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน. 2547, หน้า 346
  6. ประพนธ์ เรืองณรงค์. "ชื่อบ้านนามเมืองภาษามลายูในคาบสมุทรภาคใต้ของไทย" (PDF). ดำรงวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "รายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย คณะที่ 2 ครั้งที่ 2/2558 วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ณ ห้องประชุมสำนักกฎหมาย สป. ชั้น 6 อาคารดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย" (PDF). สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 กัณหา แสงรายา (14 มกราคม 2555). "มลายู-ยาวี เรียกอย่างไรดี?". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (26 พฤษภาคม 2559). "คนตานี … มลายูมุสลิมที่ถูกลืม". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: C1 control character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 8 (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง (27 กุมภาพันธ์ 2560). "แขกตานี". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. กัณหา แสงรายา (3 สิงหาคม 2554). "คำเรียก มลายู มลายูมุสลิม ไทย ไทยมุสลิม ไทยมลายู และ 'แขก' ในสังคมไทย (1)". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ (14 ธันวาคม 2561). "ตามรอยจีนกวางไสในเบตง (1)". สยามรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "ยะลา-คุมเข้มทุกพื้นที่หลังคนร้ายก่อเหตุยิงคนไทย-พุทธ". .timenews2017. 7 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. 14.0 14.1 "ไทยพุทธที่ชายแดนภาคใต้ (ตอน 1) : การตื่นตัวที่สายเกิน?". ประชาไท. 4 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. 15.0 15.1 "ฟิต! มทภ.4 ลงพบชาวไทยพุทธยะลา รับปากพร้อมแก้ปัญหา จชต". ไทยรัฐออนไลน์. 2 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. 16.0 16.1 "ชุมชนชาวไทยพุทธในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้". ไทยพีบีเอส. 29 ธันวาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. ทรัยนุง มะเด็ง และอื่น ๆ. "ในท้องถิ่นยาลอ". ยาลอเป็นยะลา ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา, หน้า 204
  18. "ยะลาเปิดงานสมโภช แห่พระลุยไฟศาลเจ้าแม่มาผ่อ สร้างความสัมพันธ์พหุวัฒนธรรมไทยจีนไทยพุทธและมุสลิม". SPM Online. 16 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. วันเฉลิม จันทรากุล (2544). "เงาะป่า-ซาไก นิเชาเมืองไทย ชนป่าที่กำลังสูญสลาย". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "รอวันปิดตำนาน 'ซาไก' แห่ง 'ศรีธารโต'" (Press release). สำนักข่าวอามาน. 3 มกราคม พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  21. "ยะลาเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว". ไทยรัฐออนไลน์. 25 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. วัชรินทร์ ดำรงกูล และปัตติกาญจน์ บรรดาศักดิ์. แนวทางการจัดการคืนถิ่นชนเผ่าซาไก : กรณีศึกษา ซาไกตระกูลศรีธารโต (PDF). งานวิจัย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. p. 33, 43.
  23. "ตชด.445 ยะลา รวบ 2 พ่อค้ายาบ้าชาวเขาเผาลาหู่ ได้ของกลางกว่า 9 พันเม็ด". MGR Online. 23 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "การปราบปรามยาเสพติด". สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เบตง. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "ชาวบ้านหาของป่า หลงป่าในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา นาน 9 วัน เจ้าหน้าที่ ตชด. นปพ. กู้ภัย กว่า 30 คน เร่งตามหา แต่ยังไม่พบตัว". SPM News. 19 ธันวาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. กินเลน ประลองเชิง (10 พฤศจิกายน 2557). "สุดใต้ที่เบตง". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. วนิดา เต๊ะหลง. "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษามลายู" (PDF). สารรอบรั้วศิลปศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. 28.0 28.1 Arifin bin Chik (1 เมษายน 2550). "ปัญหา สตูล ปัตตานี กับวัฒนธรรมที่กำลังถูกทำลาย". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "พจนานุกรมภาษามลายูถิ่นปัตตานี อีกความหวังลดดีกรีร้อนจังหวัดใต้". ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 13 สิงหาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน (24 สิงหาคม 2556). "ภาษามลายูอักขระยาวี : จังหวัดชายแดนภาคใต้ และโลกมลายู". Nusantara Studies Center. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. ทวี แทนหนู (2521). "ปัญหาการสอนชั้นเด็กเล็กในสามจังหวัดภาคใต้ของไทย" (PDF). Chulalongkorn University Intellectual Repository. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. ทวีพร คุ้มเมธา (3 ตุลาคม 2558). "ชนกลุ่มน้อยในชนกลุ่มน้อย ส่งเสียงต่อการแก้ปัญหา 3 จว. ชายแดนใต้". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. 33.0 33.1 33.2 แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2546). "ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมลายูมุสลิมและจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "ภาษาสงขลา". ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 24 เมษายน 2561. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. "ภาษาและวรรณกรรม จังหวัดยะลา". หอมรดกไทย. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. สุภา วัชรสุขุม. "คำยืมภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีในภาษาไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้". ฐานข้อมูลวิจัยจังหวัดชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. Ma Guitong (8 มกราคม 2561). "ชาวจีนฮากกาในเมืองเบตง". MGR Online. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "สภาพและข้อมูลพื้นฐาน". องค์การบริหารส่วนตำบลยะรม. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. "ปั้น "เบตง" เจาะนักท่องเที่ยวจีน ผุด "สกายวอล์ก" ทะเลหมอก". ประชาชาติธุรกิจ. 8 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ (28 ธันวาคม 2561). "ตามรอยจีนกวางไสในเบตง (3)". สยามรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. 41.0 41.1 "ข้อมูลทั่วไป จังหวัดยะลา" (PDF). สำนักงายกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดยะลา. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. "การสำรวจข้อมูลสำมะโนประชากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้". 3 สิงหาคม 2547. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  43. นูรยา เก็บบุญเกิด (21 พฤศจิกายน 2555). "เสียงที่ไม่ค่อยได้ยิน ชาวคริสต์ในชายแดนใต้". โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ (30 มิถุนายน 2560). ""ซิงค์ ลันดาเว" และชาวซิกข์ในยะลา". สยามรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  45. วีรวัฒน์ สุขวราห์ (2539). "พฤติกรรมสุขภาพของชาวซาไก : กรณีศึกษาบ้านซาไก หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. "ชาวพม่าจัดหมฺรับแห่ "ส่งเปรต" ร่วมกับชาวพุทธยะลา สร้างสีสันบุญสารทเดือนสิบชายแดนใต้". MGR Online. 15 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. "ชาวไทยพุทธยะลาร่วมทำบุญสารทเดือนสิบคึกคัก". กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 6 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  48. จ ำนวนศาสนิกชนและศาสนสถานรายอำเภอ / เทศบาลปี พ.ศ. 2550
  49. ชลัท ประเทืองรัตนา (1 พฤศจิกายน 2553). "โครงการวงดนตรีออร์เคสตร้า เทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา" (PDF). สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  50. "บทที่ 1 สภาพทั่วไป จังหวัดยะลา" (PDF). กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  51. "สถิติศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม" (PDF). สำนักงานสถิติจังหวัดยะลา. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  52. สมาคมไทยซิกข์แห่งประเทศไทย. พระศาสนสถานคุรุดวารา - วัดซิกข์
  53. "สทพ.จ.ยล.รวมตัวเรียกร้อง รพ.ยะลา ดำเนินการครัวไทยสากล-ที่พักสงฆ์ สร้างความเสมอภาค". ผู้จัดการออนไลน์. 18 มกราคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

6°33′N 101°17′E / 6.55°N 101.29°E / 6.55; 101.29