ข้ามไปเนื้อหา

ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาวลาว)
ชาวลาว
ประชากรทั้งหมด
ป. 4 ล้านคน
(ไม่รวมชาวอีสาน)[a][1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 ลาว      3,427,665[2]
 ไทย17,222,432 (รวมคนอีสานในประเทศไทย)[3]
 ฝรั่งเศส200,000[4]
 สหรัฐ200,000 (2015)[5]
 กัมพูชา23,000[b][1]
 แคนาดา24,580 (2016)[6]
 พม่า17,000[1]
 เวียดนาม17,532[7]
 เยอรมนี4,000[8]
ภาษา
ลาว
ศาสนา
พุทธเถรวาท, ศาสนาพื้นเมืองลาว
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวไทอื่น ๆ (เช่น ชาวไทดำ, ชาวอีสาน, ชาวไต่ ฯลฯ)

ลาว (ลาว: ລາວ) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ตระกูลภาษาขร้า-ไท เป็นชนชาติใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศลาว มีประชากรประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเป็นจำนวนร้อยละ 53.2 ส่วนที่อื่น ๆ อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวลาวบางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ชาวลาวส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน

ชาวลาวส่วนมากจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และบางส่วนยังนับถือควบคู่ไปกับลัทธิภูตผีวิญญาณต่าง ๆ แม้ชาวลาวจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนชาติต่าง ๆ แต่ก็ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนได้เป็นอย่างดี

ชื่อเรียก

[แก้]

ศัพทมูลวิทยา ของคำว่า ลาว ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เป็นที่สันนิษฐานกันว่าอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับเผ่า อ้ายลาว (ลาว: ອ້າຍລາວ, อีสาน: อ้ายลาว, จีน: 哀牢; พินอิน: Āiláo, เวียดนาม: ai lao) ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ปรากฏในบันทึกสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน โดยอาศัยอยู่ที่บริเวณมณฑลยูนนานในปัจจุบัน ต่อมาชนเผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่าอ้ายลาวรวมถึงเผ่าไทได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[9] นักวิชาการสมัยใหม่ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ของลาว ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธ์ที่พูดตระกูลภาษาขร้า-ไท โดย แกรนท์ อีวานส์ (Grant Evans) และ Søren Ivarsson เสนอว่าอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ของลาวอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน อาจเป็นสิ่งที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นในยุคล่าอาณานิคม เพื่อโต้แย้งอำนาจของไทยในดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง และสร้างความเป็นชาตินิยม[10] และอีวานส์ยังเชื่อว่า คำว่าลาว ถูกใช้โดยชาติตะวันตกอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก (โดยเฉพาะโปรตุเกส) ราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อเข้ามาค้าขายในแถบสุวรรณภูมิ เนื่องจากฝรั่งที่เข้ามาติดต่อค้าขายและสำรวจพื้นที่ ต้องการคำไว้ใช้เรียกผู้คน และดินแดนที่อยู่เลยไปจากอำนาจปกครองของอยุธยาอย่างคร่าวๆ[11]

คำเรียกภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Laotian ใช้สลับกันได้กับลาวในบริบทส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส Laotien / Laotienne โดยชาวลาวส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยจะมีดีเอ็นเอใกล้เคียงกับชาวลาวในเวียงจันทร์[12] โดยคนไทยจะเรียกตามแบบภาษาไทยว่า อีสาน หรือ "ไทยอีสาน" (ลาว: ໄທ ອີສານ, อีสาน: ไทยอีสาน) ซึ่งมาจากคำภาษาสันสกฤตที่หมายความว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ" แต่คำว่า "ลาว" ก็ยังคงใช้อยู่[13]

ภาษาและอักษร

[แก้]

ภาษาลาว (ພາສາລາວ) เป็นภาษาที่ใช้เป็นส่วนใหญ่ในประเทศลาว ส่วนอักษรเขียนอย่างเป็นทางการจะใช้อักษรลาว[14] และเป็นภาษาพูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งสื่อสารโดยใช้ภาษาของชนกลุ่มน้อยเช่น ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก, ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต, ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และ ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน เป็นต้น

การแบ่งย่อย

[แก้]

ใน ประเทศลาว มีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างลาวกับกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ มีเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เช่น ชาวไท กับภาษาเข้าใจร่วมกันที่มีการจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน เป็น ลาวโลม หรือ "ลุ่มลาว" (ลาว: ລາວລຸ່ມ láːu lūm , Thai: ลาวลุ่ม, IPA: laːw lum) กลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่มีลักษณะทางวัฒนธรรมร่วมกันหลายอย่างและพูดภาษาหรือสำเนียงที่คล้ายกันมาก มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในโทนเสียง คำศัพท์และการออกเสียงของคำบางคำ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสนทนา แต่หลายกลุ่มเหล่านี้ เช่น ไทญ้อ หรือ ภูไท พิจารณาตัวเองว่ามีแตกต่างกัน และมักมีความแตกต่างในเสื้อผ้าที่แยกความแตกต่างออกไป[15]

ประวัติ

[แก้]

การอพยพของชาวไท

[แก้]

ตามตำนานร่วมกันระหว่างเผ่าไทต่างๆ กษัตริย์ที่อาจเป็นตำนานหรือ ขุนบรม กษัตริย์แห่งเมืองแถน (ເມືອງແຖນ) ได้ให้กำเนิดลูกชายหลายคนซึ่งได้แยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรของตนเอง หรือเมืองรัฐทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนใต้ของประเทศจีน[16] สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนยุคโบราณที่รู้จักกันในชื่อว่า เย่ว์ และ อ้ายลาว ชนเผ่าไทเริ่มอพยพเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อต้นสหัสวรรษที่ 1 แต่การโยกย้ายถิ่นฐานขนาดใหญ่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 13 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบริเวณ สิบสองปันนา, ยูนนาน และ กวางสี ในปัจจุบัน เหตุผลที่เป็นไปได้สำหรับการโยกย้ายถิ่นชาวไทมากจากการกดดันจากการขยายดินแดนของชาวจีนฮั่น และการรุกรานมองโกล เพื่อหาที่ดินเหมาะสำหรับปลูกข้าวเปลือกเพิ่ม และนำไปสู่การล่มสลายของรัฐที่ชาวไทอาศัยอยู่[17][18]

ชาวไทซึมซับหรือปลีกตัวเองออกวัฒนธรรมพื้นเมืองของตน และรับเอาตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) มาใช้ และตั้งรกรากอยู่ที่ขอบอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ได้แก่ กลุ่มอาณาจักรมอญ และ จักรวรรดิเขมร การผสมผสานของชนชาติและการไหลบ่าเข้ามาของปรัชญา ศาสนา ภาษา วัฒนธรรมและประเพณี จากอินเดีย ได้ถูกรับเข้ามาและปรับเข้าสู่วัฒนธรรมของชาวไท แต่ชาวไทก็ยังคงติดต่อกับกลุ่มชาวไทจากเมืองอื่นๆ[19]

สมัยล้านช้าง

[แก้]
อาณาเขตของอาณาจักรลาวล้านช้าง

รัฐของชาวไทได้ใช้ประโยชน์จากความเสื่อมของจักรวรรดิเขมร และประกาศตนออกมาเป็นอิสระ สำหรับชาวลาวนับเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ชาติของพวกเขาจนถึงเวลานี้ เห็นได้จากอนุสาวรีย์ที่สำคัญจำนวนมาก, วัด, งานศิลปะ, และด้านอื่น ๆ ของวัฒนธรรมลาว ได้ถือกำเนิดมาจากช่วงเวลานี้ จากจุดนี้ชาวลาวมักอ้างถึงรัฐไทบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่า ไทยสยาม[20] และเรียกรัฐไทอาณาจักรล้านช้าง หรือบริเวณประเทศลาวในปัจจุบันว่า "คนลาว"

อาณาจักรลาวล้านช้าง หรือ "แผ่นดินแห่งช้างล้านตัว" เริ่มในปี ค.ศ. 1354 เมื่อพระยาฟ้างุ้ม (ຝ້າງູ່ມ) (ค.ศ. 1354 - 1373) กลับมายังเมืองซวา (ເມືອງຊວາ, เปลี่ยนชื่อเป็น เซียงทอง หรือ "เชียงทอง" (ຊຽງທອງ) ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หลวงพระบาง จากเมืองนี้ล้านช้างขยายอาณาเขตไปถึงบริเวณของประเทศลาวทั้งหมดและบริเวณที่ราบสูงโคราชของประเทศไทย รวมทั้งบางส่วนของสิบสองปันนาในภาคใต้ของประเทศจีน สิบสองจุไทย ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม และ เชียงแตง[21][22] บริเวณจังหวัดสตึงแตรง[23] ของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

ราชอาณาจักรล้านช้างที่มีประสิทธิภาพมีความมั่งคั่งและมีอิทธิพลเนื่องมาจากทำเลที่ตั้งของเมืองหลวงที่เป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่างอาณาจักรรอบข้างและยังเป็นแหล่งศูนย์กลางของพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[24] อาณาจักรยังรุ่งเรืองจากการค้าตามเส้นทางการจราจรตามแนวแม่น้ำโขงและเส้นทางบนบกไปยังท่าเรือต่างๆของสยาม ซึ่งได้เติบโตขึ้นเป็นเมืองท่าธุรกิจที่คึกคักจากการติดต่อค้าขายทางทะเล และไปทางใต้ของประเทศจีนและกลุ่มรัฐที่มีกลุ่มชาวไทอาศัยอยู่ ชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อกับอาณาจักรล้านช้างครั้งแรกในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (ພຣະເຈົ້າສຸຣິຍະວົງສາທັມມິກຣາດ) (ค.ศ. 1634–1697) ได้มีการบันทึกไว้ว่าราชอาณาจักรรุ่งเรืองจากการส่งออกของ ทอง, เรซิน, กำยาน,ครั่ง, เครื่องเคลือบ สมุนไพร, งาช้าง, ไหม, ผ้าไหมและไม้ วัดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซียงทอง (หลวงพระบางปัจจุบัน) และเวียงจันทร์ ได้มีหลักฐานบันทึกถึงเรื่องราวเหล่านี้[25]

ในช่วงเวลานี้ตำนานของขุนบรม ได้ถูกเขียนบันทึกต้นฉบับไว้บนใบลานและมหากาพย์สังข์ศิลป์ชัยก็ได้ถูกบันทึกขึ้นด้วยเช่นกัน พุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติและเวียงจันทน์กลายเป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนา อิทธิพลทางวัฒนธรรมนอกเหนือจากนี้ก็มาจาก ชาวมอญ และ ชาวเขมร การรวมล้านนาไทยเข้ากับอาณาจักรล้านช้างเกิดช่วงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (ພຣະເຈົ້າໄຊເສດຖາທິຣາດ) (ค.ศ. 1548–1572) นำไปสู่การพัฒนาสถาปัตยกรรมและศิลปะจำนวนมาก ในด้านศิลปะได้เลียนแบบศิลปะของล้านนา การรับเอาวัฒนธรรมล้านนามาใช้ในอาณาจักรล้านช้างรวมไปถึงวัฒนธรรมทางปัญญาด้วย เช่น หอสมุดของล้านนาถูกคัดลอก รวมทั้งวรรณกรรมทางศาสนามาก นี้อาจนำไปสู่การยอมรับหรืออาจนำมาประยุกต์ใช้ใหม่ของตัวเมืองที่มาจากภาษามอญ นำมาใช้ในอาณาจักรล้านช้างสำหรับงานเขียนด้านศาสนา

อาณาจักรล้านช้างถูกแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรจำปาศักดิ์ อาณาจักรเวียงจันทน์และอาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งต่อมาทั้งสามอาณาจักรก็ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม ส่วนที่เหลือของกลุ่มล้านช้างได้รวบรวมผู้คนของพวกเขาขึ้นในศตวรรษที่ 18 และ 19 นำไปสู่การก่อกบฏในลาวของเจ้าอนุวงศ์ (ເຈົ້າອນຸວົງ) ต่อต้านอิทธิพลของสยามขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ก็ถูกปราบปรามจนพ่ายแพ้ไป[26]

วัฒนธรรม

[แก้]

การแต่งกาย

[แก้]

การแต่งกายของชาวลาวจะแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ในโอกาสที่เป็นทางการหรืองานพิธีการ ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น, ผ้าถุง, ใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอกหรือ "เสื้อปัด" (ເສື້ອປັດ) และไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้ สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

อาหาร

[แก้]
ตำลาว, ปิ้งไก่ และ ข้าวเหนียว เป็นอาหารลาวที่พบบ่อย

อาหารลาวมีความคล้ายคลึงกับอาหารในภูมิภาคอื่น ๆ เช่นอาหารไทยและกัมพูชา แต่มีลักษณะเด่นแตกต่างกันหลายประการที่ไม่ซ้ำกัน อาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศลาวคือ ลาบ และส้มตำลาว ซึ่งสองอาหารดังกล่าวเป็นอาหารดั้งเดิมของลาว[27] อาหารของลาวในประเทศลาวและภาคอีสานของไทยแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ความแตกต่างที่สำคัญคือ อาหารลาวขาดอิทธิพลของอาหารไทยและอาหารอีสานในไทยจะขาดอิทธิพลจากอาหารฝรั่งเศสที่มีอิทธิพลต่ออาหารลาว

สำหรับอาหารลาว ข้าวเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร ข้าวที่นิยมใช้ปรุงมากที่สุดคือข้าวเหนียว (ເຂົ້າຫນຽວ) ซึ่งเป็นวัตถดิบที่นิยมในภาคอีสานและภาคเหนือของประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองได้รับอิทธิพลจากอาหารลาว แม้ว่าบางครั้งถูกแทนที่ด้วยก๋วยเตี๋ยวหรือวัตถุดิบอื่นๆ วัตถุดิบที่นิยมรองลงมาจะถูกใช้โดยทั่วไปเป็นส่วนประกอบของซอส, ผักดิบ, อาหารลาวบางอย่างจะมีรสเผ็ดมากโดยการใช้พันธุ์พริกหลายชนิดในการปรุง ซึ่งจะปรุงรสด้วยสมุนไพรและซอสปลาหมัก[28]

ดนตรี

[แก้]

ดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิมคือ "ลำลาว" (ລຳລາວ) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมอลำ ซึ่งจะต่างกับหมอลำในภาคอีสานของไทย โดยหมอลำในประเทศลาวจะใช้สำเนียงลาวในการขับร้องแต่หมอลำในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้ในภาษาอีสานในการขับร้อง เครื่องดนตรีหลักของดนตรีลาวจะใช้ "แคน" (ແຄນ)[29]

ศาสนา

[แก้]

ศาสนาในประเทศลาวเป็นลักษณะผสมผสาน ศาสนาในลาวนั้นได้มาจากสามศาสนาผสมผสานกันอย่างกลมกลืน ถึงแม้ว่าชาวลาวส่วนใหญ่จะอ้างว่าเป็นชาวพุทธ แต่ประเพณีต่างๆมาจากแนวปฏิบัติของศาสนาฮินดูและศาสนาผีซึ่งเป็นศาสนาพื้นบ้าน

พุทธศาสนา

[แก้]
ชาวลาวตักบาตรเพื่อทำบุญให้พระสงฆ์ในเวียงจันทร์

พุทธศาสนา (ພຣະພຸດທະສາສນາ) เป็นศาสนาที่ชาวลาวนิยมมากที่สุดและศาสนาประจำชาติในประเทศลาว คิดเป็น 67% ของประเทศและเกือบทั้งหมดของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ซึ่งตัวเลขจริงอย่างจะสูงกว่านี้เล็กน้อย ในขณะที่พุทธศาสนายังมีอิทธิพลต่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อีกหลายกลุ่มซึ่งโดยทั่วไปนับถือศาสนาผีหรือศาสนาพื้นบ้าน[30] นอกจากนี้ยังเป็นศาสนาที่เด่นชัดของประเทศอีสานและประเทศอื่น ๆ ที่อยู่นอกพรมแดนของประเทศลาว ซึ่งผู้คนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเป็นนิกายเถรวาท (ເຖຣະວາດ) ส่วนศาสนานิกายๆอื่น ได้แก่ อิทธิพลทางประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามหายาน ซึ่งยังคงเป็นนิกายหลักของชนกลุ่มน้อยชาวเวียดนามและชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่ชาวลาว

วัดในชุมชนลาวเป็นศูนย์กลางของชุมชนที่ชาวบ้านจะหารือเกี่ยวกับความกังวลใจหรือขอให้พระสงฆ์สำหรับภูมิปัญญาและคำแนะนำ ชาวลาวส่วนใหญ่มักจะหาโอกาสจะเข้าวัดอารามเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางศาสนาและทำบุญ

วันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาของลาว ได้แก่ บุญพระเวส (ບຸນພຣະເວດ), มาฆบูชา (ມະຄະບູຊາ), สงกรานต์ (ສັງຂານ), วิสาขบูชา (ວິສາຂະບູຊາ), วันเข้าพรรษา (ວັນເຂົ້າພັນສາ), วันออกพรรษา (ວັນອອກພັນສາ), กฐิน (ກະຖິນ) นอกจากนี้ ชาวลาวยังมีวันทำบุญหรือ วันพระ (ວັນພຣະ) ในระหว่างช่วงข้างขึ้นข้างแรม จะมีงานมหกรรมวัดซึ่งชาวลาวจะนิยมเข้าร่วมงานวัด โดยการทำบุญและสวดมนต์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. บางครั้งจัดให้ชาวอีสานเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างหากแต่มีความใกล้ชิดมาก
  2. ไม่รวมจังหวัดสตรึงเตรงที่มี 60,000 คน และจังหวัดรัตนคีรีที่มี 18,400 คน
  1. 1.0 1.1 1.2 Hattaway, Paul, บ.ก. (2004). Lao. Peoples of the Buddhist World. William Carey Library. p. 149.
  2. "Results of Population and Housing Census 2015" (PDF). Lao Statistics Bureau. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
  3. Vapattanawong, Patama. "ชาวต่างชาติในเมืองไทยเป็นใครบ้าง? (Foreigners in Thailand)" (PDF). Institute for Population and Social Research - Mahidol University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ June 30, 2017.
  4. "Présentation du Laos" [Presentation of Laos] (ภาษาฝรั่งเศส). France: French Ministry of Foreign Affairs. 2017. สืบค้นเมื่อ 14 July 2017.
  5. "U.S. Immigrant Population by Country of Birth, 2000-Present" (XLSX). migrationpolicy.org. สืบค้นเมื่อ February 14, 2017.
  6. Statistics Canada. "Immigration and Ethnocultural Diversity Highlight Tables". สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.
  7. "Report on Results of the 2019 Census". General Statistics Office of Vietnam. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
  8. https://www.migrationpolicy.org/programs/data-hub/charts/immigrant-and-emigrant-populations-country-origin-and-destination. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  9. Fairbank, J. K., Loewe, M., & Twitchett, D. C. (1986). The Ch'in and Han Empires 221 B.C.-A.D. 220 . (1986). The Cambridge history of china. Cambridge, UK: Cambridge University Press.
  10. Ivarsson, Søren (2008). Creating Laos: The Making of a Lao Space between Siam and Indochina, 1860–1945. NIAS Press. p. 240. ISBN 8-7769-4023-3.
  11. Ivarsson 2008, pp. 24–25.
  12. Srithawong, Suparat; Muisuk, Kanha; Srikummool, Metawee; Mahasirikul, Narongdet; Triyarach, Saksuriya; Sriprasert, Kamnikone; Kutanan, Wibhu (2020-09). "Genetic structure of the ethnic Lao groups from mainland Southeast Asia revealed by forensic microsatellites". Annals of Human Genetics. 84 (5): 357–369. doi:10.1111/ahg.12379. ISSN 1469-1809. PMID 32115685. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  13. Hayashi, Y. (2003). Practical Buddhism among the thai-lao: religion in the making of a region. Melbourne, Australia: Trans Pacific Press
  14. Lao pdr constitution. (1997). Retrieved from laoembassy.com เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. The Thai and Other Tai-Speaking Peoples
  16. Eliot Joshua et al. (2002). Laos Handbook. London: Footprint Publishers.
  17. Edmondson, J. A. (2007). The power of language over the past: tai settlement and tai linguistics in southern china and northern vietnam. Harris, J. G., Burusphat, S., Harris, J. (ed). Studies in southeast asian linguistics. Bangkok: Ek Phim Thai Co. Ltd.
  18. Church, P. (ed). (2006). A short history of South-East Asia. Vol. XII. Singapore: John Wiley and Sons Asia.
  19. Wyatt, D. K., (2003).
  20. Cœdès, G. (1921). "The Origins of the Sukhodaya Dynasty" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Heritage Trust. JSS Vol. 14.1b (digital): image. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560. ....formation of the Kingdom of Siam properly so called. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. บ้านจอมยุทธ. สงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส. เรียกดูเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556
  22. โอเคเนชั่น. ๑๕. สยามเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556
  23. ศานติ ภักดีคำ. "เขมร "เขม่น" ไทย ในแบบเรียนประวัติศาสตร์กัมพูชา เก็บถาวร 2009-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2546, กรุงเทพฯ : มติชน, 2546
  24. Town of Luang Prabang
  25. Simms, P., & Simms, S. (2001). The Kingdoms of Laos. London, UK: Curzon Press.
  26. Askew, Marc, Logan, William, & Long, Colin. (2007). Vientiane: transformations of a lao landscape. New York, NY: Routledge.
  27. Asian Bites
  28. Fukui, H. (1994). Food and population in a northeast thai village. Honolulu, HI: University of Hawai'i Press.
  29. Taylor, J.L. (1993). Forest Monks and the Nation-State: An Anthropological and Historical Study in Northeastern Thailand. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.
  30. Cia-the world factbook: laos. (2010, January 05). Retrieved from cia.gov เก็บถาวร 2010-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน