ชุดตัวอักษรยาวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อักษรยาวี)
อักษรยาวี
ชนิดอักษรไร้สระ
ภาษาพูด
ช่วงยุคประมาณ ค.ศ. 1300 จนถึงปัจจุบัน
ระบบแม่
ระบบพี่น้องอักษรเปโกน
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด
ตัวอย่างอักษรยาวี

ชุดตัวอักษรยาวี (อักษรยาวี: جاوي; มลายูปัตตานี: ยาวี; อาเจะฮ์: Jawoë; เสียงอ่านภาษามลายู: [d͡ʒä.wi]) เป็นชุดของอักษรอาหรับดัดแปลงสำหรับเขียนภาษามลายู ภาษาอาเจะฮ์ ภาษาบันจาร์ ภาษามีนังกาเบา ภาษาเตาซูก และภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยค์ อะห์มัด อัลฟะฏอนี (Syeikh Ahmad al-Fathani) ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้องถิ่นนี้ อักษรยาวีมีฐานจากอักษรอาหรับ โดยแบ่งเป็นอักษรอาหรับดั้งเดิม 31 ตัว และอักษรเพิ่มเติมที่ปรับให้ตรงกับหน่วยเสียงภาษามลายู แต่ไม่พบในภาษาอาหรับคลาสสิก ได้แก่ (چ /t͡ʃ/, ڠ /ŋ/, ڤ /p/, ݢ /g/, ۏ /v/ และ ڽ /ɲ/)

อักษรยาวีถูกพัฒนาตอนที่อิสลามเริ่มเข้ามาในโลกมลายู โดยแทนที่ตระกูลอักษรพราหมีที่ใช้ในสมัยฮินดู-พุทธ หลักฐานอักษรยาวีที่เก่าแก่ที่สุดพบในศิลาจารึกตรังกานูในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งบันทึกในภาษามลายูคลาสสิกที่มีการผสมระหว่างภาษามลายู, สันสกฤต และอาหรับ มีทฤษฎีต้นกำเนดอักษรยาวีสองแบบ โดยทฤษฎียอดนิยมกล่าวแนะว่าระบบนี้ถูกพัฒนาและสืบทอดโดยตรงจากอักษรอาหรับ ในขณะที่นักวิชาการอย่าง R.O Windstedt กล่าวแนะว่ามันพัฒนาผ่านอิทธิพลของอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ[1]

ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน) ตั้งแต่ยังเยาว์ อักษรยาวียังคงใช้กันในสังคมมลายูในอินโดนีเซียและไทย[2]

คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายูว่า "ภาษายาวี" แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้วไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวีกับภาษามลายู

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

รายงานจากกามุซเดวัน "ยาวี" (Jawi, جاوي) เป็นคำพ้องกันกับคำว่า 'มลายู'[3] ทำให้คำนี้ใช้แทน 'มลายู' ได้ในบางคำ เช่น บาฮาซาจาวี (Bahasa Jawi) หรือ บาฮาซายาวี (Bahasa Yawi; ภาษามลายูปัตตานี สำเนียงมลายูในภาคใต้ของประเทศไทย), มาซุกยาวี (Masuk Jawi[4]; แปลว่า "เพื่อกลายเป็นมลายู" สื่อถึงการขริบหนังหุ้มปลายช่วงการก้าวผ่านวัย) และ ยาวีเปอกัน (Jawi pekan) หรือ ยาวีเปอรานากัน (Jawi Peranakan; แปลว่า 'เมืองมลายู' หรือ 'เกิดเป็นมลายู' สื่อถึงมุสลิมที่พูดภาษามลายู มีต้นกำเนิดผสมระหว่างมลายูกับอินเดีย)[5] คำว่า ตูลีซันยาวี (Tulisan Jawi) มีความหมายว่า "อักษรยาวี" เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความหมาย 'อักษรมลายู'[3]

ตัวอักษร[แก้]

อักษรยาวี[6]
ตัวอักษร ชื่อ ท้าย กลาง ต้น เดี่ยว เสียง เทียบอักษรรูมี ยูนิโคด
ا‎ alif ـا‎ ا‎ /a/ หรือ /ə/ a, e- (ĕ) U+0627
ب‎ ba ـب‎ ـبـ‎ بـ‎ ب‎ /b/ b U+0628
ت‎ ta ـت‎ ـتـ‎ تـ‎ ت‎ /t/ t U+062A
ة‎ ta marbutah ـة‎ ة‎ /t/ หรือ /h/ -t, -h U+0629
ث‎ sa (tha) ـث‎ ـثـ‎ ثـ‎ ث‎ /s/ หรือ /θ/ s U+062B
ج‎ jim ـج‎ ـجـ‎ جـ‎ ج‎ /d͡ʒ/ j U+062C
چ‎ ca ـچ‎ ـچـ‎ چـ‎ چ‎ /t͡ʃ/ c U+0686
ح‎ ha ـح‎ ـحـ‎ حـ‎ ح‎ /h/ หรือ /ħ/ h U+062D
خ‎ kha (khO) ـخ‎ ـخـ‎ خـ‎ خ‎ /x/ kh U+062E
د‎ dal ـد‎ د‎ /d/ d U+062F
ذ‎ zal ـذ‎ ذ‎ /z/ หรือ /ð/ z U+0630
ر‎ ra (rO) ـر‎ ر‎ /r/ r U+0631
ز‎ zai ـز‎ ز‎ /z/ z U+0632
س‎ sin ـس‎ ـسـ‎ سـ‎ س‎ /s/ s U+0633
ش‎ syin ـش‎ ـشـ‎ شـ‎ ش‎ /ʃ/ sy, sh U+0634
ص‎ sad (sOd) ـص‎ ـصـ‎ صـ‎ ص‎ /s/ s U+0635
ض‎ dad (dOd) ـض‎ ـضـ‎ ضـ‎ ض‎ /d/ d U+0636
ط‎ ta (tO) ـط‎ ـطـ‎ طـ‎ ط‎ /t/ t U+0637
ظ‎ za (zO) ـظ‎ ـظـ‎ ظـ‎ ظ‎ /z/ z U+0638
ع‎ ain ـع‎ ـعـ‎ عـ‎ ع‎ /ʔ/ a, i, u, -k U+0639
غ‎ ghain ـغ‎ ـغـ‎ غـ‎ غ‎ /ɣ/ gh U+063A
ڠ‎ nga ـڠ‎ ـڠـ‎ ڠـ‎ ڠ‎ /ŋ/ ng U+06A0
ف‎ fa ـف‎ ـفـ‎ فـ‎ ف‎ /f/ f U+0641
ڤ‎ pa ـڤ‎ ـڤـ‎ ڤـ‎ ڤ‎ /p/ p U+06A4
ق‎ qaf ـق‎ ـقـ‎ قـ‎ ق‎ /q/ หรือ /k/ q, k U+0642
ک‎ kaf ـک‎ ـکـ‎ کـ‎ ک‎ /k/ k U+06A9
ݢ‎ ga ـݢ‎ ـݢـ‎ ݢـ‎ ݢ‎ /ɡ/ g U+0762
ل‎ lam ـل‎ ـلـ‎ لـ‎ ل‎ /l/ l U+0644
م‎ mim ـم‎ ـمـ‎ مـ‎ م‎ /m/ m U+0645
ن‎ nun ـن‎ ـنـ‎ نـ‎ ن‎ /n/ n U+0646
و‎ wau ـو‎ و‎ /w/ และ /u, o, ɔ/ w, u, o U+0648
ۏ‎ va ـۏ‎ ۏ‎ /v/ v U+06CF
ه‎ ha ـه‎ ـهـ‎ هـ‎ ه‎ /h/ h U+0647
ء‎ hamzah ء‎ ء‎ /ʔ/ ไม่มี U+0621
ي‎ ya ـي‎ ـيـ‎ يـ‎ ي‎ /j/ และ /i, e, ɛ/ y, i, e (é) U+064A
ى‎ ye ـى‎ ى‎ /ə, a/ -e (ĕ), a U+0649
ڽ‎ nya ـڽ‎ ـڽـ‎ ڽـ‎ ڽ‎ /ɲ/ ny U+06BD
  • อักษรที่ไม่มีรูปต้นและรูปกลางจะใช้รูปเดี่ยว เพราะเชื่อมกับอักษรอื่นไม่ได้ (ا‎, د‎, ذ‎, ر‎, ز‎, و‎, ۏ‎)
  • อักษร hamzah แสดงเฉพาะรูปเดี่ยวในภาษามลายู
  • "nya"เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยภาคกลางและภาคใต้ พบเฉพาะในภาษาไทยสำเนียงภาคเหนือกับภาคอีสานเท่านั้น

ตัวอย่าง[แก้]

อักษรยาวีเขียนจากทางขวาไปซ้ายเหมือนอักษรอาหรับ ข้างล่างนี้คือตัวอย่างอักษรยาวีจากบทแรกและบทที่สองของ ฆอซัลอุนตุกราบีอะฮ์ (Ghazal untuk Rabiah, غزال اونتوق ربيعة; แปลว่าเฆาะซัลแก่เราะบีอะฮ์)[7]

อักษรยาวี อักษรูมี แปลไทย

کيلاون اينتن برکليڤ-کليڤ دلاڠيت تيڠݢي⹁
دان چهاي مناري-ناري دلاڠيت بيرو⹁
تيدقله داڤت مننڠکن ڤراساءنکو⹁
يڠ ريندوکن کحاضرن کاسيه.

ݢمرسيق ايراما مردو بولوه ڤريندو⹁
دان ڽاڽين ڤاري٢ دري کايڠن⹁
تيدقله داڤت تنترمکن سانوباري⹁
يڠ مندمباکن کڤستين کاسيهمو.‎

Kilauan intan berkelip-kelip di langit tinggi,
Dan cahaya menari-nari di langit biru,
Tidaklah dapat menenangkan perasaanku,
Yang rindukan kehadiran kasih.

Gemersik irama merdu buluh perindu,
Dan nyanyian pari-pari dari kayangan,
Tidaklah dapat tenteramkan sanubari,
Yang mendambakan kepastian kasihmu.

เพชรพลอยระยิบระยับบนท้องฟ้าอันสูงส่ง,
และแสงระยิบระยับบนท้องฟ้าสีคราม,
นั่นไม่สามารถปลอบประโลมใจข้า,
ที่สนใจเพื่ออยู่กับผู้เป็นที่รัก.

ท่วงทำนองอันไพเราะของขลุ่ยกก,
และเสียงร้องของนางไม้จากสวรรค์,
ไม่สามารถทำให้จิตใจสงบ,
ซึ่งโหยหาความแน่นอนในความรักของเจ้า.

อ้างอิง[แก้]

  1. Winstedt, Richard Olaf (1961), "Malay Chronicles from Sumatra and Malaya", Historians of South-East Asia of Historical Writing on the Peoples of Asia, 2: 24
  2. Andrew Alexander Simpson (2007). Language and National Identity in Asia. Oxford University Press. pp. 356–60. ISBN 978-0-19-926748-4.
  3. 3.0 3.1 "Jawi II". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. 2017. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  4. "Masuk Jawi". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. 2017. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  5. "Jawi Pekan". Pusat Rujukan Persuratan Melayu. 2017. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
  6. Daftar Kata Bahasa Melayu Rumi-Sebutan-Jawi, Dewan Bahasa Pustaka, 5th printing, 2006.
  7. Lirik – Ghazal untuk rabiah.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Hudson, Herbert Henry The Malay orthography (1892) Singapore, Kelly & Walsh.
  • H.S. Paterson (& C.O. Blagden), 'An early Malay Inscription from 14th-century Terengganu', Journ. Mal. Br.R.A.S., II, 1924, pp. 258–263.
  • R.O. Winstedt, A History of Malaya, revised ed. 1962, p. 40.
  • J.G. de Casparis, Indonesian Paleography, 1975, p. 70–71.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]