เทศบาลตำบลยะหา

พิกัด: 6°29′02″N 101°07′55″E / 6.4837668°N 101.13184°E / 6.4837668; 101.13184
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลยะหา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Yaha
ทต.ยะหาตั้งอยู่ในจังหวัดยะลา
ทต.ยะหา
ทต.ยะหา
ที่ตั้งของเทศบาลตำบลยะหา
พิกัด: 6°29′02″N 101°07′55″E / 6.4837668°N 101.13184°E / 6.4837668; 101.13184
ประเทศ ไทย
จังหวัดยะลา
อำเภอยะหา
จัดตั้ง25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (ทต.ยะหา)[1]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีอาริยา มามะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด1.89 ตร.กม. (0.73 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2562)[2]
 • ทั้งหมด2,601 คน
 • ความหนาแน่น1,376.19 คน/ตร.กม. (3,564.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05950501
เว็บไซต์www.yaha.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลยะหา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลยะหา ตั้งอยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา 20 กิโลเมตร[3] ใน พ.ศ. 2562 เทศบาลตำบลยะหามีประชากรทั้งหมด 2,601 คน[2]

ประวัติ[แก้]

เดิมเทศบาลตำบลยะหาเป็นส่วนหนึ่งของตำบลยะหา ในยุครัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงครามได้ประกาศยกฐานะพื้นที่บางส่วนของตำบลยะหาจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลยะหา เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2499[4] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ด้วยเหตุนี้สุขาภิบาลยะหา จึงเปลี่ยนเป็นเทศบาลตำบลยะหา มาแต่นั้น[1]

ทั้งนี้ชื่อ "ยะหา" มาจากคำว่า "ยาฮา" เป็นภาษามลายูปัตตานีแปลว่า "ขี้เหล็ก" ด้วยเหตุนี้ตราสัญลักษณ์ของเทศบาลตำบลยะหาจึงเป็นรูปดอกขี้เหล็กตามนามเมือง[5]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลตำบลยะหาตั้งอยู่ห่างจากเทศบาลนครยะลา 20 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตตำบลยะหา มีพื้นที่ 1.89 ตารางกิโลเมตร[3]

เขตการปกครอง[แก้]

เทศบาลตำบลยะหาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ชุมชน ดังนี้[3]

  1. ชุมชนตลาดยะหา
  2. ชุมชนบ้านคละ
  3. ชุมชนกาปงยาฮา
  4. ชุมชนกาปงนือเร็ง
  5. ชุมชนบือแนแจเกาะ

ประชากร[แก้]

ใน พ.ศ. 2562 เทศบาลตำบลยะหามีประชากรทั้งหมด 2,601 คน[2] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 80 นอกนั้นเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยพุทธร้อยละ 20[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-11-02.
  2. 2.0 2.1 2.2 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลยะหา". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 "สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน". เทศบาลตำบลยะหา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง ฉบับพิเศษ): 99–100. 3 สิงหาคม 2499.
  5. "ประวัติความเป็นมา". เทศบาลตำบลยะหา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-27. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "สภาพทางสังคม". เทศบาลตำบลยะหา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)