ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครอุดรธานี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
OktaRama2010 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| ชื่อไทย = อุดรธานี
| ชื่อไทย = อุดรธานี
| image = Udon Thani - Fountain at the Roundabaout Pho Si Road and Udon Dutsadi Road - 0001.jpg
| image = Udon Thani - Fountain at the Roundabaout Pho Si Road and Udon Dutsadi Road - 0001.jpg




| คำอธิบายภาพ = ย่านวงเวียนน้ำพุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
| คำอธิบายภาพ = ย่านวงเวียนน้ำพุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
| seal = Uth2.jpg‎
| seal = {{#property:p158}}
| ชื่ออังกฤษ = Udon Thani
| ชื่ออังกฤษ = Udon Thani
|ขนาดเทศบาล = นคร
|ขนาดเทศบาล = นคร

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:56, 27 เมษายน 2561

เทศบาลนครอุดรธานี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Nakhon Udon Thani
ย่านวงเวียนน้ำพุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
ย่านวงเวียนน้ำพุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครอุดรธานี
ตรา
คำขวัญ: 
เทศบาลนครอุดรธานี ศูนย์กลางการพัฒนา เมืองน่าอยู่คู่ธรรมาภิบาล บริการอย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างสมานฉันท์
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุดรธานี
อำเภอเมืองอุดรธานี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ
พื้นที่
 • ทั้งหมด47.70 ตร.กม. (18.42 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)
 • ทั้งหมด140,274 คน
 • ความหนาแน่น2,797.25 คน/ตร.กม. (7,244.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
เทศบาลนครอุดรธานี เลขที่ 1 ถนนอธิบดี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
โทรศัพท์0 4232 5176 85
โทรสาร0 4232 6456
เว็บไซต์http://www.udoncity.go.th http://www.udoncity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครอุดรธานี เป็นเทศบาลนครขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นศูนย์กลางหน่วนงานราชการภูมิภาค การค้า การพานิชย์ การคมนาคมทางบก และอากาศ และอุตสาหกรรมของจังหวัดอุดรธานี เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากเทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลนครนครราชสีมา ตามลำดับ

ประวัติ

เดิมเป็นเทศบาลเมืองอุดรธานีจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2479 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479 มีพื้นที่ 5.60 ตารางกิโลเมตร ขยายเขตครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2495 มีพื้นที่ 8.30 ตารางกิโลเมตร ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2536 มีพื้นที่ 47.70 ตารางกิโลเมตร ยกฐานะเป็นเทศบาลนครอุดรธานี ตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเทศบาลนครอุดรธานี พ.ศ. 2538 เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538

ที่ตั้งและอาณาเขต

เทศบาลนครอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตของอำเภอเมืองอุดรธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางบัญชาการของมณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดรธานีในอดีต ครอบคลุมพื้นที่ 47.70 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 562 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ตัดผ่าน สภาพพื้นที่ภายในตัวเมืองเป็นแอ่ง ลาดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ มีทางน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 2 สาย คือ ห้วยหมากแข้งและห้วยมั่ง ห้วยทั้งสองนี้เป็นเส้นทางระบายน้ำธรรมชาติออกจากตัวเมือง นอกจากนี้ในเทศบาลนครอุดรธานี ยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง สำหรับใช้ในการผลิตน้ำประปา และเป็นแหล่งน้ำสำรองน้ำใช้ คือ หนองประจักษ์ศิลปาคม และหนองสิม

เทศบาลนครอุดรธานี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

ชุมชน

เทศบาลนครอุดรธานีมีทั้งหมด 104 ชุมชน

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของเทศบาลนครอุดรธานี ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพามวลอากาศแห้งและเย็นจากทะเลมหาสมุทรมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน ทำให้มีฝนตกทั่วไป

ข้อมูลภูมิอากาศของอุดรธานี
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.4
(97.5)
38.3
(100.9)
41.0
(105.8)
41.8
(107.2)
40.9
(105.6)
39.6
(103.3)
37.2
(99)
36.2
(97.2)
35.5
(95.9)
35.8
(96.4)
34.9
(94.8)
34.8
(94.6)
41.8
(107.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.2
(84.6)
31.6
(88.9)
34.2
(93.6)
35.4
(95.7)
33.7
(92.7)
32.5
(90.5)
32.2
(90)
31.5
(88.7)
31.3
(88.3)
31.1
(88)
30.1
(86.2)
28.7
(83.7)
31.79
(89.23)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 22.2
(72)
24.7
(76.5)
27.6
(81.7)
29.3
(84.7)
28.5
(83.3)
28.2
(82.8)
27.9
(82.2)
27.5
(81.5)
27.2
(81)
26.7
(80.1)
24.6
(76.3)
22.1
(71.8)
26.38
(79.48)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.8
(60.4)
18.6
(65.5)
21.7
(71.1)
24.1
(75.4)
24.7
(76.5)
25.0
(77)
24.7
(76.5)
24.5
(76.1)
24.1
(75.4)
22.9
(73.2)
19.8
(67.6)
16.2
(61.2)
21.84
(71.32)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 4.5
(40.1)
9.4
(48.9)
10.0
(50)
16.0
(60.8)
18.8
(65.8)
21.5
(70.7)
20.4
(68.7)
21.0
(69.8)
20.5
(68.9)
16.4
(61.5)
8.4
(47.1)
6.2
(43.2)
4.5
(40.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 6
(0.24)
19
(0.75)
36
(1.42)
83
(3.27)
220
(8.66)
231
(9.09)
222
(8.74)
276
(10.87)
254
(10)
84
(3.31)
9
(0.35)
3
(0.12)
1,443
(56.81)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 2 3 6 14 15 15 17 15 7 1 0 96
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[1]

สถานศึกษา

ระดับอุดมศึกษา

ระดับอาชีวศึกษา

ระดับประถมศึกษา–มัธยมศึกษา

ไฟล์:อุดรพิทยานุกูล อุดรธานี.jpg
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล โรงเรียนประจำจังหวัดอุดรธานี
โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี
  • โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี
  • โรงเรียนเทศบาล 2 มุขมนตรี
  • โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า
  • โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม
  • โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา
  • โรงเรียนเทศบาล 6 ไลออนส์อุทิศ
  • โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี
  • โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์
  • โรงเรียนเทศบาล 8 ไทยรัฐวิทยา 72
  • โรงเรียนเทศบาล 9 มณเฑียรทองอนุสรณ์
  • โรงเรียนเทศบาล 10 อนุบาลหนูดี
  • โรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน
  • โรงเรียนเทศบาล 12 บ้านช้าง
โรงเรียนมัธยม สพม.
โรงเรียนประถม สพป.
โรงเรียนเอกชน
  • โรงเรียนอุดรคริสเตียนวิทยา
  • โรงเรียนอุดรคริสเตียนศึกษา
  • โรงเรียนมารีพิทักษ์
  • โรงเรียนอุดรวิทยา
  • โรงเรียนเซนต์เมรี่
  • โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา

สาธารณสุข

สถานพยาบาลของรัฐ
สถานพยาบาลของเทศบาล
  • โรงพยาบาลเทศบาลนครอุดรธานี
สถานพยาบาลเอกชน
  • โรงพยาบาลเอกอุดร
  • โรงพยาบาลนอร์ทอีสเทิร์นวัฒนา
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ-อุดรธานี
  • โรงพยาบาลหมอไพโรจน์ 1991
สถานพยาบาลสำหรับสัตว์

เศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของจังหวัดอุดรธานี ปี พ.ศ. 2557 อยู่ที่ 94,000 บาท เป็นอันดับ 3 ของภาคอีสาน รองจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดขอนแก่น และเป็นอันดับ 25 ของประเทศ ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 75,000 บาท สูงกว่าภาคอีสานเฉลี่ยที่ 48,000 ต่อคนต่อปี โดยจีดีพีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการขยายตัวของการค้า การลงทุน การผลิต และการบริการ[2]

โครงสร้างเศรษฐกิจสำคัญของอุดรธานี คือ การค้าปลีก-ส่ง, เกษตรกรรม, การบริการ, อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม โดยมีนิคมอุตสาหกรรมอันดับที่ 56 ของประเทศ และมีสนามบินศักยภาพสูง มีเที่ยวบินขึ้นลงรับส่งผู้โดยสารมากที่สุดในภาคอีสาน ถือว่าเป็นฐานการคมนาคมขนส่งออกทางอากาศ เชื่อมโยงไปสู่กลุ่มประเทศอินโดจีนและเป็นจุดแรกในการกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคใกล้เคียงและประเทศในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นศูนย์กลางของการเงินและการค้ากับประเทศลาว ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม

ย่านการค้าที่สำคัญ

ไฟล์:CENTRALPLAZA UDONTHANI 2012.jpg
เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี
ไฟล์:UD Town, Udon thani.jpg
ยูดีทาวน์
ย่านถนนทองใหญ่–ถนนประจักษ์ศิลปาคม

ย่านถนนทองใหญ่–ถนนประจักษ์ศิลปาคม เป็นจุดบรรจบของถนนสำคัญสองสาย และยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมสำคัญของจังหวัดอุดรธานี เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานีแห่งที่ 1 และสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ มีห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร หลายประเภทอยู่ด้วยกัน และยังเป็นจุดนัดพบปะสังสรรค์ของชาวอุดร ซึ่งมีห้างสรรพสินค้าจำนวนมากตั้งอยู่

ย่านถนนนิตโย หรือถนนโพศรี

ทางหลวงหมายเลข 22 หรือถนนนิตโย เป็นถนนที่เป็นเส้นทางหลักเชื่อมต่อกับจังหวัดสกลนคร แต่ช่วงที่อยู่ในเขตตัวเมืองอุดรธานี จะเรียกว่า ถนนโพศรี และเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจที่สำคัญอีกหลายย่าน จึงเป็นถนนที่มีห้างสรรพสินค้า โรงแรม ร้านค้าต่าง ๆ รวมทั้งตลาดขนาดใหญ่ตั้งอยู่

ย่านวงเวียนห้าแยกน้ำพุ

ห้าแยกน้ำพุ เป็นจุดบรรจบของถนนสายสำคัญของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้รับการวางผังเมืองไว้เป็นอย่างดีตั้งแต่อดีต และเป็นสัญลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยู่คู่เมืองอุดรธานี นับตั้งแต่เมื่อเริ่มมีการก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นมา ทำให้บริเวณห้าแยกน้ำพุเป็นย่านกานค้าเก่าแก่ที่มีร้านค้าต่าง ๆ มากมายรวมอยู่ในย่านนี้ นอกจากนี้ยังเป็นย่านธุกิจค้าส่งเสื้อผ้าที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ย่านวงเวียนหอนาฬิกาหรือสี่แยกคอกวัว
ย่านวงเวียนหอนาฬิกา

วงเวียนหอนาฬิกาหรือสี่แยกคอกวัว เป็นหนึ่งในวงเวียนสำคัญของเมืองอุดรธานี ซึ่งเป็นจุดตัดของถนนอุดรดุษฎีและถนนประจักษ์ศิลปาคม เป็นย่านการค้าสำคัญของเมืองอุดรธานีมาตั้งแต่อดีตที่เชื่อมไปยังย่านอื่น ๆ ของตัวเมือง

ย่านถนนมิตรภาพ (ช่วงเลี่ยงเมือง อุดรธานี-หนองคาย)

ย่านธุรกิจแห่งใหม่ที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองไปยังชานเมือง เป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัดข้างเคียง และประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีห้างสรรพสินค้าและร้านค้ามากมายเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน และค้าส่ง ค้าปลีกสินค้าแฟชั่น

ย่านถนนมิตรภาพ (ช่วงเลี่ยงเมือง อุดรธานี-ขอนแก่น)

ย่านธุรกิจแห่งใหม่ที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองไปยังชานเมือง เป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัดข้างเคียง

ย่านถนนบุญยาหาร (เลี่ยงเมือง ช่วงอุดรธานี-หนองบัวลำภู)

ย่านธุรกิจแห่งใหม่ ที่เกิดจากการขยายตัวของตัวเมืองไปยังชานเมือง ซึ่งมีหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมากตั้งอยู่ เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังสนามบินนานาชาติอุดรธานีซึ่งเป็นศูนย์กลางการบินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ถนนสายนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานีแห่งที่สอง ตลอดจนสามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดเลย ทำให้มีห้างค้าปลีกค้าส่งจำนวนมากตั้งอยู่

การคมนาคม

เทศบาลนครอุดรธานีมีเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางอากาศที่สามารถเดินทางได้สะดวก ทั้งในรูปแบบของการเดินทางของประชาชนและการขนส่งสินค้า

ทางราง

สถานีรถไฟอุดรธานี ศูนย์กลางการขนส่งระบบรางในภาคอีสานตอนบน

สถานีรถไฟอุดรธานี ตั้งอยู่ที่ถนนทองใหญ่ สำหรับทางรถไฟมีหลายขบวนด้วยกันและมีปลายทางที่จังหวัดอุดรธานีโดยตรง และขบวนรถที่ผ่านต่อไปยังจังหวัดหนองคายให้บริการทุกวัน อาทิเช่น สายกรุงเทพ–หนองคาย, กรุงเทพ–อุดรธานี, นครราชสีมา–หนองคาย, นครราชสีมา–อุดรธานี และในช่วงเทศกาลอย่างสงกรานต์และปีใหม่ จะมีการเปิดเดินรถสายกรุงเทพ–อุดรธานี เพิ่มเติม

ทางบก

รถสองแถวสีเขียวในนครอุดรธานี

เส้นทางรถยนต์มีทางหลวงที่สำคัญ คือ

สถานีขนส่งผู้โดยสารในเทศบาลนครอุดรธานี มี 2 แห่ง ได้แก่

  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ถนนสายอุทิศ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ 3 โครงการในอนาคต

ทางอากาศ

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ท่าอากาศยานประจำจังหวัดอุดรธานี

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เป็นท่าอากาศยานประจำจังหวัดอุดรธานี มีสายการบินที่ให้บริการ ได้แก่ การบินไทยสมายล์, นกแอร์, ไทยแอร์เอเชีย, ไทยไลออนแอร์, บางกอกแอร์เวย์

สถานที่สำคัญ

สวนสาธารณะหนองประจักษ์
สวนสาธารณะ
  • สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า หนองนาเกลือ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานีได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อม ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดสวยงามมาก ทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนไปพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะมีพระตำหนักหนองประจักษ์ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
  • สวนสาธารณะหนองสิม เป็นสวนสาธารณะในย่านชุมชนที่จะให้บริการแก่ประชาชนสำหรับเป็นสถานที่ใช้ในการออกกำลังกาย พักผ่อน ซึ้งภายในได้มีการจัดพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • สวนสาธารณะหนองบัว เป็นสวนสาธารณะสำหรับใช้ออกกำลังกายจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เป็นสถานที่พบปะพูดคุยกัน ภายในจัดเป็นสวนหย่อมปลูกต้นไม้ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม อีกทั้งยังมีการจัดแสดงน้ำพุให้ได้ชมกันอีกด้วย และรอบสวนสาธารณะหนองบัวยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ด้วย นั่นก็คือ ศาลเจ้าปู่ย่า จังหวัดอุดรธานี
  • ทุ่งศรีเมือง
  • สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
ศูนย์การเรียนรู้
  • พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี
  • อาคารเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ (ท้องฟ้าจำลอง)
  • ห้องสมุดประชาชนนครอุดรธานี
ตลาด
  • ตลาดสดเทศบาล 1 ถนนสร้างหลวง
  • ตลาดสดเทศบาล 2 ุถนนสร้างหลวง
  • ตลาดสดสวัสดิการมณฑลทหารบกที่ 24
  • ตลาดสดรังษิณา
  • ตลาดสดอุดรเงินแชร์
  • ตลาดเมืองทองเจริญศรี
  • ตลาดไทยอิสาร
  • ตลาดหนองบัว 1
  • ตลาดหนองบัว 2
  • ตลาดบ้านห้วย 1
  • ตลาดบ้านห้วย 2
  • ตลาดบ้านห้วยราษฎร์พัสดุ
  • ตลาดบุญศรี
  • ตลาดบ้านเหล่า
  • ตลาดโพศรี
  • ตลาดไทยศิริ 1
ศูนย์กีฬา
  • ศูนย์กีฬาเทศบาลนครอุดรธานี

วัฒนธรรม

เทศกาล
  • งานทุ่งศรีเมือง และงานโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิดจังหวัดอุดรธานี จัดระหว่างวันที่ 1–15 ธันวาคม ของทุกปี
  • งานฉลองเจ้าปู่ - เจ้าย่า อำเภอเมืองอุดรธานี จัดทุกวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี
  • งานถนนอาหาร สงกรานต์เมืองอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี ระหว่างวันที่ 10–16 เมษายน ของทุกปี
  • งานวันคล้ายวันสถาปนาการก่อตั้งเมืองอุดรธานี วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี

อ้างอิง

  1. "Climate Normals for Udon Thani". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. http://www.thairath.co.th/content/457432