ข้ามไปเนื้อหา

จอนนี่ แอนโฟเน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอนนี่ แอนโฟเน่
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดจอนนี่ แอนโฟเน่
เกิด28 ตุลาคม พ.ศ. 2512 (55 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสจริยา แอนโฟเน่ (2536–ปัจจุบัน)
บุตร3 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • พิธีกร
  • นักดนตรี
  • นักการเมือง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2529–ปัจจุบัน
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
เสียดาย (2537)

จอนนี่ แอนโฟเน่ (เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นนักแสดงและพิธีกรลูกครึ่งไทย-เยอรมัน-ฟิลิปปินส์ อดีตสมาชิกวงดนตรีแกรนด์เอ็กซ์

ประวัติ

[แก้]

จอนนี่เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2512 เป็นบุตรชายของเรเน แอนโฟเน[1] เป็นนักดนตรีชาวฟิลิปปินส์ กับละอองทิพย์ ภู่บุญ แอนโฟเน ลูกครึ่งไทย-เยอรมัน บิดาและมารดานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[2][3] ส่วนตัวนับถือศาสนาพุทธ[4] สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้นศึกษาที่ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา

เข้าสู่วงการบันเทิงจากการถ่ายแบบ ตั้งแต่อายุ 15 ปี ในช่วงที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเซนต์ดอมินิก รุ่นที่ 19 และได้ถ่ายแบบนิตยสารเปรียวเป็นเล่มแรกจากนั้นมีผลงาน ภาพยนตร์โฆษณามากขึ้นต่อมาได้รับการติดต่อจาก นคร เวชสุภาพร มือกีตาร์ นักร้องนำ และหัวหน้าวงแกรนด์เอ็กซ์ที่เห็นผลงานจากโฆษณาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลและสืบทราบว่าครอบครัวของจอนนี่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกับนครให้เข้ามาเป็นสมาชิกวง แกรนด์เอ็กซ์ ในอัลบั้มชุด ขวดโหล เมื่อ พ.ศ. 2529 ทำหน้าที่เป็นมือคีย์บอร์ดและร้องประสานนาน 3 ปี จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ลาออกจากวงและอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จอนนี่ต้องลาออกจากวงคือแฟนเพลงมักบุกไปที่บ้านทำให้ไม่มีเวลาเป็นส่วนตัวพอเรียนถึงชั้นปี 3 จอนนี่ได้เล่นละครโทรทัศน์กับบริษัทกันตนา โดยเล่นละครเรื่องแรกคือ มิติมืด เป็นละครตอนเดียวจบ และมาเล่นละครยาวเรื่องแรกคือ ปีศาจในโลงศพ กำกับการแสดงโดย ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์ และมาเล่นละครเรื่อง ผู้การเรือเร่ คู่กับนิออน อิศรา ซึ่งถือว่าเล่นเป็นพระเอกเต็มตัวเรื่องแรก จากนั้นมีผลงานการแสดงละครและภาพยนตร์เป็นจำนวนมากกว่า 60 เรื่อง

จอนนี่สมรสกับจริยา แอนโฟเน่ มีบุตร 3 คน[5] ได้แก่ จิรายุ (เจมส์), จอมภัค (เจมมี่) และจิรชยา (จีนส์) ตามลำดับ[6][7] กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 จอนนี่ได้สมัครเป็นสมาชิก พรรคไทยสร้างไทย พร้อมกับประกาศลงสมัคร ส.ส. ใน เขตมีนบุรี ในนามพรรคไทยสร้างไทยโดยมี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทยมาร่วมเปิดตัวและมอบเสื้อพรรคพร้อมกับมอบหมายให้ จอนนี่ ดูแลนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้าน ศิลปะ วัฒนธรรม บันเทิง แบบครบวงจร[8] ก่อนหน้านั้นในวันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565 จอนนี่ได้ช่วยหาเสียงให้กับ นายสมพร ดำพริก ผู้สมัคร ส.ก. เขตมีนบุรี ของพรรคไทยสร้างไทย ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2565 จอนนี่ได้ร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงของทางพรรคที่ เขตหนองจอก[9][10]

ผลงาน

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น ออกอากาศ
2532 ปีศาจในโลงศพ ช่อง 5
ลมหายใจไม่เคยแพ้ ช่อง 7
2533 ฑูตมรณะ ตำรวจ
คุณแม่เพื่อนรัก
ผู้หญิงแถวหน้า
2534 แม่เบี้ย (รับเชิญ)
กะล้าก้นครัว เอ๋
กำลังใจ
ผู้การเรือเร่ นาวาตรี นาวิน พิทักษ์สมุทร ช่อง 5
พิษสวาท นายแพทย์เชษฐา วรวงศ์ (หมอเชษฐา / เชษ)
2535 จะไม่มีช่องว่างระหว่างเรา ศิวัสว์
กุหลาบในเปลวไฟ
2536 เรือใบไม้ ช่อง 7
สีวิกา มนัสวีร์ ณ.แมนสรวง
นางฟ้ากับซาตาน กร้าว ศุภกาญจน์ ช่อง 3
คำมั่นสัญญา สาริน
2537 คลื่นชีวิต สาธิต ก้องเกียรติภูมิ
เพลิงรักเพลิงแค้น อัมพุ
หนาวน้ำตา ช่อง 5
2538 เรือนแพ ริน
นางอาย ธนาธิป อักขรา (ธิป) / ท่านกงสุลธนาธิป ช่อง 3
สกาวเดือน ทรงกลด บริรักษ์นรากร
ไอ้คุณผี ดร. ดิสพงศ์ สุรวัติ / ดิษพัฒน์ สุรวัฒน์ (รับบทฝาแฝด)
2539 เยี่ยมวิมาน คริส แอนเดอสัน
ดาวเรือง จินตวัฒน์ วิโสภา (จิ๋น)
แผ่นดินของเรา นเรนทร์ นรารักษ์ ช่อง 5
ฉก.เสือดำ
2540 หัวใจทระนง
อำนาจ ผู้พันโคลัมโบ โกเมซ ช่อง 7
สายรุ้ง พงศธร / ภาคย์ ช่อง 3
เก็บใจไว้เพื่อรัก ศิลา
2541 เชลย ปีเตอร์
ผีพยาบาท คุณประโยชน์ ช่อง 5
เถ้ากุหลาบ พงษ์ระพี ช่อง 7
ซอยปรารถนา ๒๕๐๐ เปรมประชา
2542 เริงมายา
วิมานเมขลา พญา อัครรักษ์ราช
เจ้าสาวของอานนท์ อานนท์ วิทยาธร ช่อง 5
เกิดแต่ชาติปางไหน เขตขันธ์ ช่อง 3
ดอกรักบานหลังฝน มาตาฮารี
เมียหลวง ดร.อนิรุทธิ์ ศัลวิทย์
2543 รัตติกาลยอดรัก ดร.จักรกฤษณ์ อิสราลักษณ์
แก้วกลางดง ทรงเผ่า
ระเริงไฟ ชาคริต พิชชากร
มนต์มายา ภราดร ช่อง 7
2544 ขอหยุดหัวใจไว้เพียงเธอ สหฤทธิ์ ช่อง 3
2545 ต้นรักดอกงิ้ว พงษ์ดนัย ช่อง 5
ยอดรักร้อยล้าน ตราสิน ช่อง 7
2546 ทับเทวา อิษฎ์ / อนุชา / พงษ์พิษณุ (รับบทฝาแฝด)
โบตั๋น จักรกฤษ ช่อง 3
2547 มนต์รักอสูร เทิด พักทักษ์ติกุล
คุณแม่รับฝาก แรมจรัส
ตารีบุหงา อัษฎา (ขุนอัฐ) ช่อง 5
เจ้าบ่าวโค้งสุดท้าย รุจรวี ช่อง 7
เล็กใหญ่ไม่เกี่ยว ขอเอี่ยวด้วยคน ใหญ่
หน้ากาก ติยะ วรารมย์
กำกับรัก กำกับหัวใจ จอมพล ไอทีวี
2548 ตุ๊กตาโรงงาน พลวัต ช่อง 3
แม่คุณ...ทูนหัว ภูริช ช่อง 7
2549 เงินปากผี เลี้ยง ไอทีวี
2554 ตะวันเดือด พ่อเลี้ยงจรัญ ช่อง 3
2556 สาปพระเพ็ง กษัตริย์นรสิงห์สีหบดี / นรสิงห์
2557 ภพรัก ผบ.สงคราม บุษประเวศ
ดาวเคียงเดือน ม.ร.ว.จันทร ทัศนัย
2558 หัวใจปฐพี เดวิด เชอร์ล็อก (เอเดน)
2559 ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน พระเจ้าอิสราธิบดี
2560 อาคม ฮันเตอร์ (อาจารย์ของทรงกลด/คิม)
2563 ฟากฟ้าคีรีดาว ศิขริน

พิธีกร

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]

มิวสิกวีดีโอ

[แก้]

โฆษณา

[แก้]
  • ยาสีฟันใกล้ชิด
  • คอฟฟีเมต

รางวัล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เพื่อนดาราร่วมไว้อาลัยพ่อจอนนี่ แอนโฟเน". เซิร์ซเอ็นเตอร์เทนเมนต์. 9 มกราคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "จอนนี่ แอนโฟเน่ สูญเสียคุณพ่อเรเน วัย 75 ปี". สนุกดอตคอม. 7 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "'จอนนี่ แอนโฟเน' แจ้งข่าวเศร้าสูญเสียคุณแม่ละอองทิพย์". TNN Thailand. 24 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ""จอนนี่-เปิ้ล" ได้ฤกษ์ปลงผมนาค ก่อนบวช 15 วันที่อินเดีย ลั่นขอทำเพื่อ "ในหลวง"". ASTV ผู้จัดการรายวัน. 3 กุมภาพันธ์ 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. จอนนี่ แอนโฟเน
  6. "ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังอุบัติเหตุไฟไหม้ "จอนนี่ แอนโฟเน"". ผู้จัดการออนไลน์. 16 กันยายน 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-30. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "จอนนี่ แอนโฟเน เผย ติดมอร์ฟีนหนัก ลงแดงนาน 8 เดือน". สนุกดอตคอม. 22 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ไทยสร้างไทย เปิดตัว "จอนนี่ แอนโฟเน่" ลง ส.ส. ช่วยงานนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  9. "ศิธา-สุดารัตน์" ควงผู้สมัคร ส.ก. ชงจัดงบฯ กทม.พัฒนาโรงเรียนสอนศาสนา
  10. ไทยสร้างไทย “สุดารัตน์ - ศิธา” ลุยหนองจอก ชูกองทุนเครดิต ชิงผู้ว่าฯ กทม.
  11. "รางวัลตุ๊กตาทอง พ.ศ. 2541". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.