ข้ามไปเนื้อหา

สปาร์ตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลาเกไดมอน

Λακεδαίμων  (กรีกโบราณ)
ทศวรรษ 900–192 ปีก่อนคริสตกาล
กองทัพสปาร์ตาใช้อักษรแลมบ์ดาเป็นสัญลักษณ์ของลาเกไดมอนของสปาร์ตา
กองทัพสปาร์ตาใช้อักษรแลมบ์ดาเป็นสัญลักษณ์ของลาเกไดมอน
ดินแดนสปาร์ตาโบราณ
ดินแดนสปาร์ตาโบราณ
เมืองหลวงสปาร์ตา
ภาษาทั่วไปกรีกดอริก
ศาสนา
พหุเทวนิยมกรีก
การปกครองทวิกฎ
กษัตริย์ 
• 1,104–1,066 ปีก่อนคริสตกาล
ยูริสธีนีส
• 1,104–1,062 ปีก่อนคริสตกาล
โปรคลีส
• 489–480 ปีก่อนคริสตกาล
ลีออนิดัสที่ 1
• 192 ปีก่อนคริสตกาล
ลาโคนิคัส
สภานิติบัญญัติ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยคลาสสิก
ทศวรรษ 900 ก่อนคริสตกาล
685–668 ปีก่อนคริสตกาล
480 ปีก่อนคริสตกาล
431–104 ปีก่อนคริสตกาล
362 ปีก่อนคริสตกาล
1988282 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ยุคมืดของกรีก
สันนิบาตอะเคียน
สาธารณรัฐโรมัน

สปาร์ตา (กรีกดอริก: Σπάρτα, Spártā; กรีกแอตติก: Σπάρτη, Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร[1] ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซียและจักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงครามดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหารมาก[2] จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหารที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซียและจักรวรรดิเอเธนเนียน

สปาร์ตาได้รับการยอมรับว่าเป็นกองกำลังชั้นนำของกองทัพกรีกที่มีความสามัคคีและแข็งแกร่งที่สุดในยุคสงครามกรีก-เปอร์เซีย[3] และสปาร์ตายังถือเป็นศัตรูที่สำคัญของเอเธนส์ในช่วงสงครามเพโลพอนนีเซียน (ในช่วงระหว่าง 431 ถึง 404 ก่อน คริสต์ศักราช) ในช่วง 371 ก่อนคริสต์ศักราช เริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อมถอยของสปาร์ตาแม้ว่ารัฐจะยังคงรักษาเอกราชทางการเมืองไว้ได้จนกระทั่งอาณาจักรโรมันพิชิตกรีกได้ในช่วง 146 ก่อนคริสต์ศักราช

สปาร์ตามีระบบสังคมและรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการแนะนำโดยไลเคอร์กัส (Lycurgus) ผู้ออกกฎหมายในตำนานชาวกรีก กฎหมายของเขาได้กำหนดให้สปาร์ตาสามารถเพิ่มขีดความสามารถทางทหารได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยมุ่งเน้นที่การฝึกทหารอย่างเต็มรูปแบบและการพัฒนาทางกายภาพ[4] กล่าวคือเด็กผู้ชายทุกคนที่มีอายุครบ 7 ปีจะต้องเข้ารับการฝึกทหารและจะต้องเข้าเป็นสมาชิกกองทัพอย่างเป็นทางการเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ชาวสปาร์ตาแบ่งชั้นกันเป็น Spartiates (พลเมืองที่มีสิทธิเต็มรูปแบบ) mothakes, perioikoi (กลุ่มพลเมืองชั้นสองหรือผู้อพยพที่ไม่ใช่ Spartiates) และ helots (คนซึ่งเป็นทาสของรัฐ) โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ตามเพศสภาพอย่างชัดเจน เพศชายจะมีหน้าที่ในการฝึกทหารและปกป้องอาณาจักร ส่วนฝ่ายหญิงมีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตในด้านอื่น ๆ อย่างเต็มที่แต่จะต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนให้บุคคลในครอบครัวที่เป็นเพศชายเข้าร่วมกองทัพตามที่รัฐกำหนดโดยไม่มีข้อแม้[5]

ที่มาของชื่อ

[แก้]
แม่น้ำยูโรทัส

ชาวกรีกโบราณใช้สามชื่อต่อไปนี้เพื่ออ้างถึงนครรัฐสปาร์ตาและที่ตั้งของรัฐ ชื่อแรก "Sparta" หมายถึง กลุ่มคนซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในหุบเขาของแม่น้ำยูโรทัส ชื่อที่สอง "Lacedaemon" (Λακεδαίμων) มักใช้เป็นคำคุณศัพท์และเป็นชื่อที่อ้างถึงในผลงานของโฮเมอร์และนักประวัติศาสตร์เฮโรโดทัสและทูซิดิเดส[6] คำที่สาม "Laconice" (Λακωνική)[7] หมายถึงพื้นที่รอบ ๆ เมืองสปาร์ตาที่ราบสูงทางตะวันออกของภูเขา Taygetos

โดยทั่วไปแล้วเฮโรโดทัสนักประวัติศาสตร์ชื่อดัง จะใช้คำว่า "Lacedaemon" เพื่อสื่อความหมายถึงป้อมปราการของชาวกรีกที่บริเวณ Therapne[8] ซึ่งตรงกันข้ามกับเมืองสปาร์ตาทางตอนล่าง คำนี้สามารถใช้พ้องความหมายกับ Sparta ซึ่งใช้กล่าวถึงคนในรัฐสปาร์ตาได้เช่นกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะแสดงถึงภูมิประเทศและบริเวณที่เมืองตั้งอยู่ โดยทั่วไปแล้วในหนังสือและผลงานของโฮเมอร์เขามักจะบรรยายสภาพความเป็นอยู่ของชาวชนบทในสปาร์ตาว่า: กว้างใหญ่ไพศาล ส่องแสงว่าง และเต็มไปด้วยหุบเหว ในทางกลับกันคำว่า "Sparta" จะถูกอธิบายความหมายว่าเป็น "ประเทศแห่งผู้หญิงที่น่ารัก" ซึ่งเป็นฉายาสำหรับผู้คนในสปาร์ตา[9]

สภาพภูมิศาสตร์

[แก้]

รัฐสปาร์ตาตั้งอยู่ในภูมิภาคลาโคเนีย (Laconia)[10] ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ Peloponnese รัฐสปาร์ตาโบราณสร้างขึ้นบนฝั่งแม่น้ำยูโรทัส[11] ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของ Laconia[12] โดยเป็นแหล่งน้ำจืด หุบเขายูโรทัสเป็นป้อมปราการตามธรรมชาติที่ล้อมรอบไปทางทิศตะวันตกด้วยระยะทาง 2,407 เมตร และไปทางทิศตะวันออกด้วยระยะทาง 1,935 เมตร โดยบริเวณดังกล่าวนั้นมีพื้นที่เนินเขาซึ่งสูงถึง 1,000 เมตร ป้อมปราการธรรมชาติเหล่านี้เป็นประโยชน์ของสปาร์ตาในการป้องกันความปลอดภัยของรัฐจากการรุกรานของข้าศึกได้เป็นอย่างดี แม้ว่าสปาร์ตาไม่มีทางออกสู่ทะเลแต่พวกเขาก็มีท่าเรือของเหล่าข้าราชบริพารบนอ่าวลาโคเนียซึ่งเอาไว้ใช้ประโยชน์ทั้งด้านการขนส่งและการทำสงคราม

ตำนาน

[แก้]

มีตำนานเล่าขานกันว่า Lacedaemon (Λακεδαίμων) ผู้เป็นกษัตริย์ในตำนานของลาโคเนีย[13] และเป็นบุตรชายของเทพซูส และนาง Taygete เขาแต่งงานกับสตรีนามว่าสปาร์ตาบุตรสาวของยูโรทัส โดยมีบุตรคือ Amyclas, Eurydice และ Asine ในฐานะกษัตริย์เขาตั้งชื่อประเทศที่ปกครองของเขาตามชื่อตัวเองว่า Lacedaemon และตั้งชื่อเมืองตามชื่อภรรยาของเขาว่าสปาร์ตาจึงเป็นที่มาของชื่อรัฐสปาร์ตา นักเขียนชาวสปาร์ตาในยุคโบราณเป็นผู้ยืนยันว่าตำนานต้นกำเนิดของชาวสปาร์ตามีความเกี่ยวข้องกับวีรบุรุษเฮอร์คิวลิส ต่อมานักประวัติศาสตร์ในยุคหลัง เช่น เฮอรอโดทัส, พลูทาร์ก เป็นต้น ก็ได้กล่าวถึงที่มาของชาวสปาร์ตาว่าพวกเขาเป็นลูกหลานผู้สืบเชื้อสายมาจากของเฮอร์คิวลิสจริง[14]

รัฐบาลและสังคม

[แก้]

การปกครอง

[แก้]

นครสปาร์ตามีการปกครองที่เป็นราชาธิปไตยส่วนหนึ่ง, เป็นคณาธิปไตยส่วนหนึ่ง และประชาธิปไตยอีกส่วนหนึ่ง[15] กล่าวคือ ในขณะที่เอเธนส์ใช้ระบอบประชาธิปไตยในการปกครอง สปาร์ตานั้นกลับมีกษัตริย์สองพระองค์ โดยพระองค์หนึ่งจะประทับอยู่ที่พระราชวังในขณะที่อีกพระองค์จะเสด็จออกรบ การรบนั้นเป็นสิ่งที่ชาวสปาร์ตาทำได้ดีที่สุด ชาวกรีกมักกล่าวว่า "นักรบสปาร์ตาหนึ่งคนมีค่าเท่ากับนักรบเผ่าอื่น ๆ หลายคนรวมกัน" กษัตริย์สองพระองค์ปกครองนครสปาร์ตาและห้าพระองค์ได้เลือกตั้งผู้บังคับบัญชาให้บริหารรัฐ และยังประกอบด้วยพฤฒิสภาหรือวุฒิสภา (Council of Elders) ซึ่งแต่งตั้งจากประชาชนสูงอายุจำนวน 30 คน พลเมืองชาวสปาร์ตาทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสภาซึ่งมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่และได้ออกเสียงเกี่ยวกับกฎหมายที่เสนอโดยสภารวมทั้งการแสดงความคิดเห็นด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารัฐ

สังคมของชาวสปาร์ตาประกอบบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนทั่วไป ชาวต่างด้าวที่อยู่อย่างอิสระ และชนชั้นทาส ประชาชนทั่วไป คือ ลูกหลานที่สืบทอดมาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมในภูมิภาคนี้ พวกเขาอาศัยอยู่ในเมืองและใช้เวลาทั้งหมดด้วยการฝึกฝนเพื่อเป็นทหาร[16] ชาวต่างด้าวที่อยู่อย่างอิสระ คือ ผู้ที่ไม่มีสิทธิทางสังคม ได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านถัดไปในบริเวณใกล้เคียง และกลุ่มชนชั้นต่ำที่สุด คือ ชนชั้นทาส แรงงานซึ่งได้ทำหน้าที่แบ่งเบาชาวสปาร์ตาในการทำงาน โดยทาสเหล่านี้จะคอยทำงานในฟาร์มให้กับชาวสปาร์ตา และคอยปลูกพืชผลที่เป็นอาหารสำหรับชาวสปาร์ตาและครอบครัว ทำให้ชาวสปาร์ตามีเวลาเต็มที่ในการฝึกฝนทหาร[17]

ภาพวาดแสดงสภาพความเป็นอยู่ของชาวสปาร์ตาในยุคโบราณ

การศึกษา

[แก้]

เป้าหมายของชาวสปาร์ตา คือ การมีกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุด เด็กผู้ชายทุกคนเมื่ออายุครบ 7 ปี[18] จะต้องย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านทหาร ที่เรียกว่า ค่ายทหาร (barracks) การศึกษาของพวกเขา จะเน้นระเบียบวินัย หน้าที่ ความแข็งแรงและทักษะทางทหาร เด็กผู้ชายจะเรียนรู้การอ่านเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น พลเมืองชายทั้งหมดจะต้องเข้าไปอยู่ในกองทัพเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ และทำหน้าที่ไปจนกว่าพวกเขาอายุ 60 ปี และแม้ว่าจะแต่งงานแล้วผู้ชายทุกคนก็ต้องใช้ชีวิตส่วนมากอยู่กับกองทัพ และจะได้รับอนุญาตให้ไปเยี่ยมครอบครัวได้ในบางโอกาสเท่านั้น

บทบาทของสตรี

[แก้]

ด้วยความที่เป็นรัฐทหารและผู้ชายมีหน้าที่ในการปกป้องอาณาจักร พลเมืองหญิงทุกคนก็จะต้องได้รับการปลูกฝังในเรื่องภาวะผู้นำและความเข้มแข็ง[19] สตรีทุกคนในสปาร์ตามีสิทธิ์ในการแสดงออกทางการเมืองในด้านต่าง ๆ การศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิงในสปาร์ตา มุ่งเน้นให้เด็กผู้หญิงมีแข็งแกร่งทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ[20] มีการฝึกอบรมทางด้านกีฬาและเรียนรู้ในการปกป้องตนเองรวมทั้งครอบครัว สตรีทุกคนได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของทรัพย์สินและของมีค่าต่าง ๆ ได้ตามฐานะของตนเอง ภรรยามักจะมีหน้าที่ในการดูแลบ้านเรือนรวมทั้งมีสิทธิในการดูแลสมบัติของสามีในภาวะสงคราม[21]

เศรษฐกิจ

[แก้]

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐสปาร์ตาถือได้ว่ามีความแตกต่างจากเอเธนส์อย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากระบอบการปกครองและวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน[22] แม้จะมีนโยบายที่เหมือนกันคือการใช้แรงงานทาสเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชนชั้นปกครอง โดยชนชั้นล่างหรือผู้ใช้แรงงานหากเป็นหนี้รัฐและไม่ชำระคืนก็จะต้องถูกริบที่ดินหรือทรัพย์สินและบังคับเอาผลผลิตทางการเกษตรเป็นค่าตอบแทน[23] แรงงานทาสถือเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสปาร์ตาสามารถขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับเอเธนส์และนครรัฐอื่น ๆ เกษตรกรรมถือเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของชาวปาร์ตันเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีเนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศที่เอื้ออำนวย ประชาชนสามารถเลี้ยงชีพได้โดยการทำการเกษตรและรัฐยังนิยมนโยบายในการแผ่ขยายดินแดนไปยังอาณาเขตของเพื่อนบ้านเพื่อขยายอำนาจ แรงงานทาสของสปาร์ตามักจะจ่ายค่าส่วยหรือภาษีให้แก่รัฐในรูปของพืชผลชนิดต่าง ๆ เนื้อสัตว์ ไข่ ไวน์ และผลผลิตอื่น ๆ

เหล่าขุนนางหรือชนชั้นสูงมีกฎหมายห้ามไม่ให้ประชาชนระดับล่างแสวงหาความร่ำรวยโดยการสะสมทรัพย์สมบัติประเภทต่าง ๆ เนื่องจากเกรงว่าพวกเขาจะมีอำนาจในการต่อรองทางการเมือง เนื้อที่หรือที่ดินที่มีขนาดกว้างใหญ่และไม่มีผู้ครอบครองจะถูกกำหนดให้เป็นสมบัติของรัฐเพื่อใช้ในการฝึกฝนทหารเท่านั้นห้ามมิให้ผู้ใดครอบครองหรือใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ[24]

เทศกาลประจำปี

[แก้]

ในอดีตกาล ชาวสปาร์ตาจะมีเทศกาลประจำปีโดยให้เด็กชายทุกคนอดอาหารจนอ่อนล้าเพราะความหิว และจะต้องวิ่งไปแย่งเนยแข็งที่ตั้งอยู่บนแท่นบูชาเทพเจ้าอาทีมิสให้ได้จำนวนมากที่สุด ทุกคนจึงต้องต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร[25] ถึงแม้จะต้องแลกกับความเจ็บปวดทางกาย และบางคนอาจถึงขั้นถูกเฆี่ยนจนเสียชีวิตในช่วงระหว่างพิธีกรรมนั้น[26]

การฝึกทหาร

[แก้]

เป็นที่ยอมรับกันมาตั้งแต่สมับโบราณว่าชาวสปาร์ตาเป็นหนึ่งในรัฐที่มีความยิ่งใหญ่และเข้มแข็งทางการทหารมากที่สุดเท่าที่ประวัติศาสตร์เคยจารึกไว้[27] นักรบสปาร์ตาทุกคนจะมีรูปร่างสูงใหญ่ องอาจ น่าเกรงขาม ไม่เคยหวั่นเกรงต่อสิ่งใด และมองความตายในสนามรบว่าเป็นสิ่งที่สวยงามที่สุดในชีวิต[28] พวกเขาจะสวมเสื้อคลุมสีแดงเพื่อไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นเลือดจากบาดแผลและยังเป็นการแสดงความน่ายำเกรงในการรบ ในยุคที่สปาร์ตารุ่งโรจน์ถึงขีดสุดนั้น ชาวกรีกแทบไม่ต้องการกำแพงล้อมรอบเมืองหรือเครื่องป้องกันอื่นใดเลย เนื่องด้วยประชาชนคิดว่าแค่มีเหล่านักรบสปาร์ตาก็เพียงพอต่อการขับไล่ผู้รุกรานได้แล้ว ชาวกรีกจึงมักพูดกันว่า "นักรบสปาร์ตาหนึ่งคนมีค่าเท่ากับนักรบเผ่าอื่น ๆ หลายคนรวมกัน"

ภาพวาดสมัยใหม่ซึ่งจำลองการเคลื่อนทัพของกองทัพสปาร์ตา

เด็กชายแรกเกิดทุกคนจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนคัดเลือกทหารโดยผู้อาวุโสชาวสปาร์ตาในทันที[29] หากเด็กคนใดมีร่างกายไม่แข็งแรง หรือไม่สมประกอบ ทารกเหล่านี้จะถูกทิ้งให้อดอาหารและเสียชีวิตไปในที่สุด เพราะชาวสปาร์ตาเชื่อว่าคนที่เหมาะสมนั้นต้องมีสุขภาพดีเป็นอันดับแรกและผู้ที่เกิดมาไม่สมประกอบถือเป็นลางร้ายต่อครอบครัวและอาณาจักร ไม่สามารถเลี้ยงดูให้เติบใหญ่ได้ เด็กชายทุกคนจะต้องห่างไกลจากครอบครัวเมื่อมีอายุครบ 7 ปี พวกเขาต้องถูกส่งตัวไปฝึกฝนวิชาต่าง ๆ[30] ในการรบซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของผู้คุม ชาวสปาร์ตายึดมั่นในความเชื่อที่ว่าการฝึกซ้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยสร้างทหารให้กล้าแกร่งและพร้อมออกรบได้ในภาวะสงคราม เด็กทุกคนที่เข้ารับการฝึกฝนจะไม่ได้รับอาหารมากพอเพื่อประทังชีวิต พวกเขาได้ทานอาหารเพียงเล็กน้อยหรือบางครั้งต้องอดอาหารเป็นเวลาหลายวัน และสวมใส่ได้แค่กางเกงตัวเดียวปราศจากเสื้อหรือรองเท้าใด ๆ ซึ่งความทรหดเหล่านี้จะทำให้พวกเขาปรับตัวได้กับทุกสถานที่ในทุกสภาพอากาศเมื่อออกรบ การฝึกฝนต่าง ๆ นี้ มีระยะเวลารวมทั้งสิ้น 13 ปี หากคนใดสามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้จึงถือว่าผ่านบททดสอบ[31] และจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนักรบสปาร์ตาอย่างเต็มตัวในวัย 20 ปีบริบูรณ์ และจะรับใช้กองทัพไปจนอายุ 60 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ความลับ 9 ข้อของพวกสปาร์ตา นักรบเหนือนักรบ". gypzyworld.
  2. "ประวัติศาสตร์โลก: กรีซยุคโบราณ". ประวัติศาสตร์โลก.
  3. Kiger, Patrick J. "How Sparta Used Harsh Training to Produce 'Perfect' Warriors". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
  4. Matters, Military History (2020-07-29). "War of Words – 'Spartan' | Military History Matters". www.military-history.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. "Sparta Reconsidered - Spartan Women". elysiumgates.com.
  6. September 2017, Owen Jarus-Live Science Contributor 23. "History of Ancient Sparta". livescience.com (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  7. "Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, Λα^κεδαίμ-ων". www.perseus.tufts.edu.
  8. Louis, chevalier de Jaucourt (biography) (2003-08-01). "Lacedaemon, Republic of". Encyclopedia of Diderot & d'Alembert - Collaborative Translation Project.
  9. "LacusCurtius • Herodotus — Book VI: Chapters 43‑93". penelope.uchicago.edu.
  10. "Laconia map (Sparta) - Detailed map of Laconia GREECE". Greece Maps (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-09-27.
  11. "Laconia Region - Must See Mani - Monemvasia - Ancient Sparta - Mystras". eumelia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. "Laconia, Peloponessos". www.greecetravel.com.
  13. Pausânias (Pseudonym); Jones, W. H. S. (William Henry Samuel); Ormerod, Henry Arderne (1918). Pausanias Description of Greece. Robarts - University of Toronto. London : W. Heinemann ; New York : G.P. Putnam's Sons.
  14. "Spartans: A New History | Wiley". Wiley.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  15. "ประชาธิปไตยในกรีกยุคคลาสสิก | ปฏิรูปประเทศไทย". bangkokbiznews.com.
  16. M, Dattatreya; al (2019-07-12). "Spartans: The Tough Society And Military Of The Greeks". Realm of History (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  17. "Bred for Battle—Understanding Ancient Sparta's Military Machine". History (ภาษาอังกฤษ). 2016-11-15.
  18. "วิธีสร้างนักรบพันธุ์แกร่งของสปาร์ตา". www.thairath.co.th. 2016-12-11.
  19. Editors, History com. "Sparta". HISTORY (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  20. "The Women of Sparta: Athletic, Educated, and Outspoken Radicals of the Greek World". World History Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ).
  21. Pomeroy, Sarah B.; Pomeroy, Dintinguished Professor of Classics Sarah B. (2002). Spartan Women (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-513067-6.
  22. "3.นครรัฐ - กำเนิดอารยธรรมโบราณของโลก". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
  23. "Spartian Economy". Ancient Greece.
  24. "Economy". HSC Ancient History (ภาษาอังกฤษ). 2014-11-13.
  25. "5. Cultural Life". HSC Ancient History Notes.
  26. "Artemis Orthia". The Secret of Civilization (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  27. "กว่าจะมาเป็นสุดยอดนักรบสปาร์ตา - National Geographic Thailand". ngthai.com.
  28. Kiger, Patrick J. "How Sparta Used Harsh Training to Produce 'Perfect' Warriors". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
  29. Strom, Caleb. "Spartan Soldier From Birth: Growing Up In A City of Warriors". www.ancient-origins.net (ภาษาอังกฤษ).
  30. "Spartan Training - Workout Like the Legendary Warriors". The Bioneer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-10-24.
  31. "Ancient Greece - Staff Room". www.ancientgreece.co.uk.