ข้ามไปเนื้อหา

พีทีจี เอ็นเนอยี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:PTG
อุตสาหกรรมทรัพยากร
ก่อนหน้าบริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิง จำกัด (มหาชน)
ก่อตั้งพ.ศ. 2531
สำนักงานใหญ่90 อาคารซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ เอ ชั้นที่ 33 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลักพลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ (ประธานกรรมการบริษัท)
พิทักษ์ รัชกิจประการ (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่)
พงษ์ศักดิ์ วชิรศักดิ์พานิช (ประธานกรรมการบริหาร)
ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป, แก๊ส LPG, ร้านสะดวกซื้อ, ร้านกาแฟ, บริการดูแลรถยนต์
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: PTG Energy Public Company Limited, ชื่อย่อ: PTG) เป็นบริษัทในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป ภายใต้เครื่องหมายการค้า "PT" นอกจากนั้นยังดำเนินธุรกิจ ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับผู้ค้าน้ำมันรายอื่นและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ธุรกิจค้าปลีกแก๊ส LPG ผ่านสถานีที่บริษัทเป็นเจ้าของ ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงมีร้านสะดวกซื้อ Max Mart และร้านกาแฟพันธุ์ไทย และร้านคอฟฟี่ เวิลด์ ทั้งในและนอกสถานีบริการน้ำมัน ยังจำหน่ายสินค้าอื่น ๆ อย่างผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเครื่องยนต์ เครื่องหมายการค้า PT Maxnitron, บริการรับฝากน้ำมันให้กับผู้ค้าน้ำมันรายอื่น และการให้เช่าพื้นที่ภายในสถานีบริการน้ำมันที่บริษัทเป็นเจ้าของ[1]

บริษัทดำเนินธุรกิจเมื่อปี พ.ศ. 2531 ภายใต้ชื่อ ภาคใต้เชื้อเพลิง นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ มาจำหน่ายให้กับลูกค้า ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นเรือประมง และอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ ต่อมาขยายคลังน้ำมันมาอยู่ที่ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม จนปี พ.ศ. 2535 จึงเริ่มธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ตั้งบริษัทลูกชื่อ บริษัท ปิโตรเลียมไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เปลี่ยนจาก บริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิง จำกัด เป็น บริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิง จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนชื่อ เป็น บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ตามลำดับ[2]

จากข้อมูลรายงานประจำปี 2561 บริษัทมีสถานีบริการน้ำมันประเภทที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทและบริหารงานโดยบริษัท 1,638 แห่ง และบริษัทมีสถานีบริการน้ำมันประเภทผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันที่ได้รับอนุญาต ให้ใช้เครื่องหมายการค้า PT จากทางบริษัท 246 แห่ง ถือว่ามีจำนวนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมากเป็นอันดับ 2 รองจาก ปตท. (ปี พ.ศ. 2561)[3] ส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจน้ำมัน อย่างร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ ร้านข้าวแกง ร้านบริการดูแลรถยนต์ มีจำนวนรวม 504 สาขา (2561)[4]

บริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทร่วมค้า

[แก้]
ปั๊มแก๊ส LPG ของ PT

จากข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 มีข้อมูลดังนี้[3]

กลุ่มธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงและแก๊ส

[แก้]
  • บริษัท ปิโตรเลียมไทยคอร์ปอเรชั่น จำกัด (PTC) ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ดำเนินกิจการค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 11 และธุรกิจร้านสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน
  • บริษัท พีระมิด ออยล์ จำกัด (PMO) ถือหุ้นร้อยละ 99.98 ดำเนินกิจการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 10
  • บริษัท แอลไพน์ ออยล์ จำกัด (APO) ถือหุ้นร้อยละ 99.97 ดำเนินกิจการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 10
  • บริษัท เอ็มไพร์ ออยล์ จำกัด (EPO) ถือหุ้นร้อยละ 99.98 ดำเนินกิจการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 10
  • บริษัท เอเวอร์เรสต์ ออยล์ จำกัด (EVO) ถือหุ้นร้อยละ 99.98 ดำเนินกิจการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 10
  • บริษัท แอนดีส ออยล์ จำกัด (AND) ถือหุ้นร้อยละ 99.97 ดำเนินกิจการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 10
  • บริษัท แอตลาส ออยล์ จำกัด (ATL) ถือหุ้นร้อยละ 99.97 ดำเนินกิจการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 10
  • บริษัท โอลิมปัส ออยล์ จำกัด (OLP) ถือหุ้นร้อยละ 99.97 ดำเนินกิจการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 10
  • บริษัท บีพีทีจี จำกัด (BPTG) ถือหุ้นร้อยละ 59.99 ดำเนินกิจการค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 11

กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน

[แก้]
  • บริษัท พีทีจี กรีน เอ็นเนอยี จำกัด (PTGGE) ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ดำเนินกิจการค้าส่งน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 10 และ/หรือ จำหน่ายพลังงานทางเลือก
  • บริษัท อินโนเทค กรีน เอ็นเนอยี จำกัด (IGE) ถือหุ้นร้อยละ 99.99 (ถือหุ้นผ่านบริษัท พีทีจี กรีน เอ็นเนอยี จำกัด) ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายเอทานอล น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากกากมันสำปะหลัง หรือแป้ง โรงงานผลิตเอทานอล โรงไฟฟ้าไบโอแก๊ส โรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงไฟฟ้าทุกประเภท
  • บริษัท พีพีพี กรีน คอมเพล็กซ์ จำกัด (PPPGC) ถือหุ้นร้อยละ 40.00 ดำเนินธุรกิจด้านโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ทั้งผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบที่ได้จากการสกัด และธุรกิจด้านโรงงานผลิตน้ำยางข้น และน้ำยางแปรรูป รวมถึงโรงผลิตไฟฟ้าชีวมวล (Bio-gas) จากของเสียที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบและการแปรรูปน้ำยาง
  • บริษัท พลังงานพัฒนา 5 จำกัด (PP5) ถือหุ้นร้อยละ 51.00 (ถือหุ้นผ่าน บริษัท พีทีจี กรีน เอ็นเนอยี จำกัด ประกอบกิจการบริหารจัดการระบบขยะมูลฝอย เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะ จากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อน พลังงานชีวมวลไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ พลังลม กังหันก๊าซ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทดแทนอื่น ๆ รวมถึงการติดตั้งระบบส่งกระแสไฟฟ้า ซึ่งส่งจาก แหล่งผลิตไปยังระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า

กลุ่มธุรกิจขนส่ง

[แก้]
  • บริษัท พีทีจี โลจิสติกส์ จำกัด (PTGLG) ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ประกอบกิจการขนส่ง ขนถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และสินค้าทุกประเภท รวมถึงคนโดยสาร ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
  • บริษัท อาม่า มารีน จำกัด (มหาชน) (AMA) ถือหุ้นร้อยละ 24.00 (ถือหุ้นผ่าน บริษัท พีทีจี โลจิสติกส์ จำกัด) ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าเหลวทางทะเลโดยเรือบรรทุกสินค้าเหลว และให้บริการขนส่งสินค้าเหลวทางบกโดยรถบรรทุกสินค้าเหลว

กลุ่มธุรกิจบริหารและจัดการระบบ

[แก้]
  • บริษัท เอ็มไพร์ เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (ESS) ถือหุ้นร้อยละ 60.00 ประกอบธุรกิจระบบการบริหาร จัดการอุปกรณ์ และเครื่องจักร รวมทั้ง ให้บริการโปรแกรม คำสั่ง และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • บริษัท อินโนลิเจนท์ ออโตเมชั่น จำกัด (INA) ถือหุ้นร้อยละ 59.99 ประกอบกิจการบริหารจัดการเครื่องควบคุมการทำงานตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง

กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มและอาหาร

[แก้]
  • บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด (PUN) ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟชื่อ กาแฟพันธุ์ไทย
  • บริษัท จีเอฟเอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99 (ถือหุ้นผ่าน บริษัท กาแฟพันธ์ไทย จำกัด) ดำเนินธุรกิจสถานบริการจำหน่าย กาแฟ ชา เครื่องดื่ม และอาหาร ภายใต้แบรนด์ Coffee World, Cream and Fudge, New York 5th Av. Deli, และ Thai Chef Express
  • บริษัท จิตรมาส แคเทอริ่ง จำกัด (JTC) ถือหุ้นร้อยละ 69.99 (ถือหุ้นผ่าน บริษัท กาแฟพันธ์ไทย จำกัด) ประกอบกิจการค้าปลีก ค้าส่งอาหารปรุงสำเร็จ เบเกอรี่ เครื่องดื่ม อาหารแช่แข็ง ผลไม้ และบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร

กลุ่มธุรกิจบริการดูแลรถยนต์

[แก้]
  • บริษัท สยามออโต้แบคส์ จำกัด (SAB) ถือหุ้นร้อยละ 38.26 ประกอบธุรกิจศูนย์บริการและซ่อมบำรุงรถยนต์ ภายใต้แบรนด์ Autobacs
  • บริษัท สามมิตร พีทีจี โปรทรัค โซลูชัน เซ็นเตอร์ จำกัด (PTSC) ถือหุ้นร้อยละ 40.00 ประกอบธุรกิจศูนย์บริการและซ่อมบำรุงรถบรรทุกและรถเชิงพาณิชย์ ขนาดใหญ่ ภายใต้แบรนด์ PRO TRUCK

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. ""PTG Energy" ใช้กลยุทธ์ Underdog พลิกเกมจากผู้ท้าชิง สู่ผู้นำปั๊มน้ำมัน พร้อมลุย Non-oil เต็มสูบ". 20 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. 3.0 3.1 "รายงานประจำปี 2561 (20/03/2562)". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "ขายน้ำมันกำไรน้อย ขายกาแฟกำไรอู้ฟู่กว่า! ปั๊ม PT รุกขายแฟรนไชส์ร้านกาแฟพันธุ์ไทย และคอฟฟี่เวิลด์ ตั้งเป้า 5 ปีต้องมี 1,400 สาขา". โพซิชันนิงแม็ก. 28 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)