สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีวิทยุเพื่อการเกษตร
Farm Broadcasting Station
สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร
ตราสัญลักษณ์องค์กร
พื้นที่กระจายเสียงครอบคลุม 24 จังหวัดในประเทศไทย
ความถี่เอเอ็ม 1386 กิโลเฮิร์ตซ์
สัญลักษณ์ให้ความรู้ตลอดชีวิต ให้ความคิดทุกโมงยาม ฟัง 1386 วิทยุเพื่อการเกษตร
แบบรายการ
ภาษาไทย ไทย
รูปแบบเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร และผลการวิจัย สู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของกรมส่งเสริมการเกษตร
([[กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)|]])
ผู้ประกอบธุรกิจรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
รับมอบหมายจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
ประวัติ
เริ่มกระจายเสียง22 มกราคม พ.ศ. 2509
ข้อมูลทางเทคนิค
พิกัดสถานีส่งเกษตรกลางบางเขน กรุงเทพมหานคร
ลิงก์
เว็บไซต์https://www.am1386.com/

พ.ศ. 2503 พลเอกสุรจิต จารุเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สมัยนั้น ได้พิจารณาเห็นว่ามีสถานีวิทยุจำนวนมากในประเทศไทยจึงน่าจะมีสถานีวิทยุฯ เพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้และวิชาการทางด้านการเกษตรให้เกษตรกรได้นำไปปรับปรุงการทำไร่นารวมทั้งเผยแพร่ข่าวโดยเฉพาะข่าวราคาสินค้าเกษตรกรรมซึ่งมีความสำคัญต่อเกษตรกรอย่างยิ่งซึ่งเกษตรกร ควรจะได้รับทราบความเคลื่อนไหวของผลิตผลการเกษตรทั้งภายในและต่างประเทศทุกระยะ เพื่อจะได้วางแผนการผลิตได้ถูกต้องโดยได้รับผลกำไรสูงสุดและไม่ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางและข่าวดินฟ้าอากาศซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกและเพื่อเตรียมการในด้านการเกษตรและหลีกเลี่ยงภัยธรรมชาติในขณะนั้น พลเอกสุรจิต จารุเศรณีดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการกระจายเสียงวิทยุการเกษตรขึ้นโดยใช้ห้องส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุ ปชส.8 ที่ซอยอารีย์ ถนนพหลโยธิน ซึ่งเดิมเป็นห้องส่งกระจายเสียงภาคภาษาจีน [1]

ประวัติ[แก้]

สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร เริ่มดำเนินการกระจายเสียงครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2509 โดยมีพลเอกสุรจิต จารุเศรณี เป็นประธานกรรมการโดยให้กรมประชาสัมพันธ์รับผิดชอบในด้านห้องส่งกระจายเสียง เครื่องส่งกระจายเสียงและเทคนิคการกระจายเสียงส่วนกระทรวงเกษตรฯรับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตรายการกระจายเสียงทั้งหมด โดยใช้ชื่อว่า สถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร ส่งกระจายเสียงในระบบ เอ เอ็ม ความถี่ 1386 กิโลเฮิรตซ์ ด้วย กำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้โอนงานสถานีวิทยุ ปชส.8วิทยุการเกษตร ไปขึ้นกับกรมกสิกรรม ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ อธิบดีกรมกสิกรรมสมัยนั้น ทรงเป็นประธานกรรมการสถานีวิทยุ ปชส.8วิทยุการเกษตรต่อมาในปี2511มีการสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตรขึ้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ โอนงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร ไปอยู่ในความควบคุมดูแลของฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และในปี 2524 กรมส่งเสริมการเกษตร ขออนุมัติสำนักงาน กพ แยกงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร มาจัดตั้งเป็น ฝ่ายวิทยุการเกษตร สังกัด กองเกษตรสัมพันธ์ เช่นเดิม (ปัจจุบันฝ่ายวิทยุการเกษตร สังกัดสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร) และในปี 2528 ได้เปลื่ยนชื่อใหม่จากสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร เป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร [2]


การออกอากาศ[แก้]

ปัจจุบันสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร ได้จัดทำรายการ ณ ห้องส่งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร อาคารสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร ณ เกษตรกลางบางเขน และ ส่งออกอากาศ ณ อาคารเครื่องส่งกระจายเสียง สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร ศูนย์วิจัยข้าว อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพราะพื้นที่เกษตรกลางบางเขนอยู่ในเขตทางขึ้นลงของเครื่องบินของท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง และท่าอากาศยานทหารดอนเมือง (บน.6) จึงไม่สามารถตั้งเสาอากาศด้วยความสูงได้ เช่นเดียวกับสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงต้องส่งออกอากาศด้วยการถ่ายทอดสัญญาณไป ณ อำเภอธัญบุรี

การแบ่งส่วนการบริหารงาน[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.