สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค เป็นหนึ่งในกลุ่มสถานีโทรทัศน์แห่งเดียวในประเทศไทย ดำเนินการแบบหน่วยงานราชการของรัฐบาลไทย ที่ออกอากาศภาคพื้นดินในส่วนภูมิภาคเท่านั้น ดำเนินการโดย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกลุ่มดำเนินการในรูปแบบสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย ที่ทำการแพร่ภาพออกอากาศในต่างจังหวัด ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา

ประวัติ[แก้]

สทท.ในส่วนภูมิภาค มีการกำเนิดก่อตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ว่าต้องการที่จะพัฒนากิจการโทรทัศน์เข้าสู่ส่วนภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนในแต่ละภาครับทราบข้อมูลข่าวสาร นโยบาย และการดำเนินงานต่างๆ ของประเทศให้รวดเร็วและทั่วถึงทุกภูมิภาค ดังนั้นรัฐบาลจึงอนุมัติเงินลงทุนจำนวน 25 ล้านบาท และมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินกิจการโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาคครั้งแรกภาคละ 1 สถานี จำนวน 3 ภาค ซึ่งอยู่ช่วงที่พลเอก สุจริต จารุเศรณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น ต่อจากนั้นก็ได้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยที่ลำปาง ขอนแก่น และสงขลา

ในช่วงยุค พ.ศ. 2510 และในช่วง พ.ศ. 2520 สทท.ในส่วนภูมิภาค ก็ได้มีการเพิ่มขยายในส่วนแต่ละแห่ง โดยขยายส่วนที่จังหวัดขอนแก่น คือให้จัดตั้งสถานีเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์อุบลราชธานี ส่วนลำปาง ขยายไปจัดตั้งสถานีเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ เชียงใหม่ แพร่ ส่วนที่จังหวัดสงขลา จัดตั้งสถานีเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เป็นลำดับ

ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 สทท.ส่วนภูมิภาค ยุติออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ทั้งนี้ สทท.ส่วนภูมิภาค ยังสามารถรับชมผ่านช่องทางโทรทัศน์ในระบบจานดาวเทียมไทยคม 5 ระบบซีแบนด์ระยะหนึ่ง และกลับมาออกอากาศ สทท.ส่วนภูมิภาค ผ่านช่องทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ในแต่ละภูมิภาค ทางช่องหมายเลข 11 เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ออกอากาศวันละ 15 ชั่วโมง ตั้งแต่ 06:00 - 21:00 น.

รายนามสถานีส่วนภูมิภาคแต่ละแห่ง[แก้]

สถานีส่วนภูมิภาคในปัจจุบัน[แก้]

รายละเอียดทั้งหมดนี้ เป็นรายละเอียดของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ออกอากาศทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลช่องหมายเลข 11 โดยแบ่งตามช่องภูมิภาคในประเทศไทยดังต่อไปนี้

สถานีส่วนภูมิภาค วันเปิดตัว ผลิตโดย ที่ตั้งสตูดิโอห้องส่งและออกอากาศ พื้นที่ครอบคลุมออกอากาศ
NBT North 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 พิษณุโลก
เชียงใหม่ (ห้องส่งหลัก)
พิษณุโลก
ภาคเหนือ
NBT Northeast สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี
ขอนแก่น (ห้องส่งหลัก)
อุบลราชธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
NBT South สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 สุราษฎร์ธานี
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา
สุราษฎร์ธานี (ห้องส่งหลัก)
ภูเก็ต
นครศรีธรรมราช
สงขลา
ตรัง
ยะลา
ภาคใต้
NBT Central สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 จันทบุรี
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 8 กาญจนบุรี
จังหวัดจันทบุรี (ห้องส่งหลัก)
จังหวัดกาญจนบุรี
ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก
และ ปริมณฑล

สถานีส่วนภูมิภาคในอดีตยุคทีวีแอนะล็อก[แก้]

รายละเอียดทั้งหมดนี้ เป็นรายละเอียดสถานีส่วนภูมิภาคที่เคยออกอากาศภาคพื้นดินระบบอนาล็อกทั้งสิ้น แต่ปัจจุบันได้ยุติการออกอากาศในระบบดังกล่าวไปแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา

สถานีส่วนภูมิภาค ก่อตั้ง(สถานีหลัก) ที่ตั้ง (จังหวัด) สถานีย่อย
ภาคเหนือ
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่ พ.ศ. 2514 เชียงใหม่
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2513 พิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น พ.ศ. 2505 ขอนแก่น
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2 อุบลราชธานี พ.ศ. 2511 อุบลราชธานี
ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 จันทบุรี พ.ศ. 2540 จันทบุรี
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 8 กาญจนบุรี พ.ศ. 2540 กาญจนบุรี
ภาคใต้
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 สุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2498 สุราษฎร์ธานี
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา พ.ศ. 2505 สงขลา

สถานีโทรทัศน์ในอดีต[แก้]

ภาคเหนือ[แก้]

  • ลำปาง ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 8 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ถึงปัจจุบัน แต่ได้โอนไปเป็นสิทธิและหน้าที่ความเป็นแม่ข่ายที่สถานีส่งเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2543 โดยออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 11

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]

  • ขอนแก่น ออกอากาศภาพขาวดำ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2505 และออกอากาศภาพสี ด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 4 ในช่วงยุค พ.ศ. 2518 ปัจจุบันออกอากาศด้วยระบบยูเอชเอฟ ช่อง 26 เมื่อประมาณ พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน
  • อุบลราชธานี เดิมเป็นแค่เฉพาะสถานีส่ง ออกอากาศภาพขาวดำ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2511 และออกอากาศภาพสี ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 4 ในปี พ.ศ. 2521 ปัจจุบันออกอากาศระบบยูเอชเอฟ ช่อง 33 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

ภาคตะวันออก[แก้]

  • ระยอง ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 12 พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน แต่ได้โอนไปเป็นสิทธิและหน้าที่ความเป็นแม่ข่ายที่สถานีส่งจันทบุรี ออกอากาศด้วยระบบยูเอชเอฟ ช่อง 38 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

ภาคใต้[แก้]

  • สงขลา ออกอากาศด้วยภาพขาวดำ ระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2505 และเปลี่ยนเป็นภาพสี ในยุค พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา โดยออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 10 (ก่อนหน้านั้นเป็นภาพขาวดำมาก่อน)
  • ภูเก็ต ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 ในช่วงยุค พ.ศ. 2515 และออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 5 ในช่วงยุค พ.ศ. 2530
  • นครศรีธรรมราช ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 12 ในช่วงยุค พ.ศ. 2520 โดยประมาณ และออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 5 ในปัจจุบัน

ภาคใต้ตอนบน[แก้]

  • สุราษฎร์ธานี ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2510 และออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟช่อง 12 ในช่วงยุค พ.ศ. 2525

การออกอากาศ[แก้]

  • การออกอากาศในรายการข่าวของสถานีแต่ละแห่ง จะเสนอข่าวท้องถิ่น แต่ละภาค โดยออกอากาศในเวลา 08.00-09.00 น. และ 15.30 - 17.00 น. พ.ศ. 2555 ซึ่งจะส่งสัญญาณจากสถานีหลักในภูมิภาคแต่ละแห่งกันไป
  • สำหรับการออกอากาศที่สถานี สทท.กรุงเทพมหานคร ในข่าวท้องถิ่น คือ เมโทรนิวส์ (จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551)
  • การเสนอข่าวภาคเช้า เที่ยง และค่ำ ในอดีตทาง สทท.ส่วนภูมิภาค คือจะรับสัญญาณจาก สถานีโทรทัศน์องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (หมายถึงสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.) จนถึงปี พ.ศ. 2530 หลังจาก สทท.ส่วนกลาง ได้ถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2528 3 ปีให้หลัง สทท.ส่วนภูมิภาค ก็สามารถรับสัญญาณการเสนอข่าวจาก ส่วนกลาง ได้เป็นต้นมา
  • การออกอากาศเปิดปิดสถานี มีกำหนดบางแห่ง แต่เมื่อมีที่ส่วนกลาง ก็ต้องใช้เวลาเปิดปิดตรงกันกับที่กำหนดดังกล่าว
  • ในอดีต จะออกอากาศทั้งวัน ตั้งแต่ช่วงเปิดจนปิดสถานี มีการเสนอรายการจากสถานีของตนเอง ไม่ว่าจะออกอากาศภาพขาวดำหรือสี ในระบบวีเอชเอฟ แต่ปัจจุบัน เหลือแค่ออกอากาศในเวลา 08:30 น. ถึง 18:00 น. และถ่ายทอดสดส่งไปที่อื่นด้วย
  • สทท.ส่วนภูมิภาค ออกอากาศในระบบวีเอชเอฟ และยูเอชเอฟภาคพื้นดิน ในแต่ละแห่ง ดังนั้น ผู้ที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัด สามารถรับชมการแพร่ภาพจากเครื่องรับโทรทัศน์ในแต่ละแห่งตามได้

ระบบดาวเทียม[แก้]

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 สถานีโทรทัศน์ NBT ส่วนภูมิภาค ได้ทำการยุติการออกอากาศในระบบดาวเทียม จึงทำให้ไม่สามารถรับชมได้ และย้ายไปออกอากาศในโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ช่อง 11

ตราสัญลักษณ์[แก้]

  • บางสถานีจะใช้ตรากรอบจอโทรทัศน์หรือแบบอื่น พร้อมกับใช้ชื่อย่อว่า สทท. และบางตราก็ใช้สัญลักษณ์แบบกรอบจอโทรทัศน์ และสีแดง เขียว และน้ำเงิน พร้อมกับตัวเลขส่งระบบวีเอชเอฟ เสียตรงที่ว่า ไม่ได้ใช้ตัวย่อว่า สทท.กำกับ ทั้งๆที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ
  • ใช้ตราสัญลักษณ์จากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา
  • บางโอกาสได้ใช้ตราราชการของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นตราประจำสถานีฯ แต่ไม่ค่อยได้เห็นมากเท่าไรนัก

สถานที่ที่ตั้งสถานี[แก้]

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค แต่ละแห่ง ในส่วนสถานีโทรทัศน์ หรือ สถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ระบบวีเอชเอฟ และระบบยูเอชเอฟ จะมีที่ตั้งใกล้กับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งสำนักประชาสัมพันธ์เขต หรือสำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดแต่ละแห่ง

อ้างอิง[แก้]