ไลฟ์ทีวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ไลฟ์ทีวี จำกัด
ประเภทบริษัทจำกัด
อุตสาหกรรมให้เช่าสัญญาณดาวเทียมจากดาวเทียมไทยคม
ก่อตั้ง17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
สำนักงานใหญ่390 อาคารไออีซีคอมเพล็กซ์ ซอยรามคำแหง 30 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
บุคลากรหลัก
นายเกียรติศักดิ์ วังประเสริฐกุล ประธานกรรมการบริหาร
เว็บไซต์http://www.livetv.co.th

ไลฟ์ทีวี (อังกฤษ: LIVE TV) เป็นผู้ให้บริการให้เช่าสัญญาณดาวเทียม โดยได้เช่าย่านความถี่จากดาวเทียมไทยคม 5 ความถี่ 3480 H 30000 ให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์ดาวเทียม ในอดีตไลฟ์ทีวีเป็นผู้ผลิตช่องรายการทีวีผ่านดาวเทียมโดยดำเนินการในรูปแบบฟรีทีวีและขายลิขสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกหรือเคเบิลท้องถิ่น ดำเนินงานโดย บริษัท ไลฟ์ทีวี จำกัด ในเครือของ บริษัท ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของกิจการ ปัจจุบัน ไลฟ์ทีวี ได้ยุติการดำเนินกิจการแล้วเนื่องจากประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง

ประวัติ[1][แก้]

ไลฟ์ทีวี มีชื่อเดิมว่า สไมล์ทีวี (อังกฤษ: Smile TV) เจ้าของเดิมคือ "บริษัท บีเอ็นที ทีวี จำกัด" ในเครือของ "บริษัท บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) "

"สไมล์ทีวี" เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยมี นางสาววิลาสินี จิวานนท์ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท บีเอ็นทีทีวี จำกัด

เริ่มแรก สไมล์ทีวี ผลิตรายการโทรทัศน์โดยแบ่งตามประเภทรายการ จำนวน 6 ช่อง ได้แก่ ช่อง เอ็มวัน มูฟวีส์วัน , เอ็มทู , อีดีเอ็น , ป๊อป แชนแนล , รักไท ทีวี และ แฟชั่นทีวี และขายลิขสิทธิช่องรายการให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกหรือเคเบิลท้องถิ่น นำไปเผยแพร่ให้แก่สมาชิกผู้รับชมในเขตพื้นที่

วันที่ 1 เมษายน 2549 รักไททีวี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ไทยไชโย"

วันที่ 26 กันยายน 2549 ได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทใหม่ และเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก "บริษัท บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)" เป็น "บริษัท ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)" "บริษัท บีเอ็นทีทีวี จำกัด" เปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท ไลฟ์ทีวี จำกัด" และ "สไมล์ทีวี" เปลี่ยนชื่อเป็น "ไลฟ์ทีวี"

โลโก้ สไมล์ ทีวี

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 "นายอิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ" และ "นางสาววิลาสินี จิวานนท์" ได้แยกออกจาก บริษัท ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และก่อตั้งบริษัทใหม่ คือ "บริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวอร์ค จำกัด" และได้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์สำหรับบอกรับเป็นสมาชิกภายใต้ชื่อ "สไมล์ทีวี เน็ตเวิร์ค" ขึ้นมาอีกครั้ง (ปัจจุบันยุติการดำเนินธุรกิจแล้ว)

บริษัท ไลฟ์ทีวี จำกัด ได้เปลี่ยนกรรมการผู้จัดการเป็น "นายกุลพงศ์ บุนนาค"

วันที่ 2 เมษายน 2550 ได้เปิดบริการช่อง "วาไรตี้ วัน (อังกฤษ: Variety One)" ช่องรายการสาระบันเทิงในหลากหลายรูปแบบเพื่อคนทั้งครอบครัว โดยรวมอยู่ในช่องเดียวกับแฟชั่นทีวี โดยออกอากาศในแบบฟรีทีวี (อังกฤษ: Free To Air)

วันที่ 1 สิงหาคม 2550 ได้นำช่องมูฟวีส์วันมารวมกับช่องมูฟวีทู และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "มูฟวี พลัส (อังกฤษ: MOVIE PLUS)" และทำการเข้ารหัสสัญญาณช่อง วาไรตี้ วัน[2]

วันที่ 10 สิงหาคม 2550 สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบกิจการเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ ให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดผังช่องรายการใหม่ ในช่องลำดับที่ 21-40 บริษัท ไลฟ์ทีวี จำกัด ได้เข้าร่วมในการจัดลำดับช่องรายการในครั้งนี้ด้วย และทางสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ช่องป๊อป อยู่ที่ช่องลำดับที่ 38[3]

วันที่ 1 เมษายน 2552 ได้เปลี่ยนชื่อช่องวาไรตี้ วัน ใหม่เป็น "วัน วาไรตี้" และ (อังกฤษ: 1 Variety)ปรับผังและรูปแบบรายการใหม่ โดยออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง และได้ยุติการออกอากาศช่อง แฟชั่นทีวี

วันที่ 1 สิงหาคม 2552 ได้ยุติการออกอากาศช่อง "อีดีเอ็น" ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงพัฒนารูปแบบรายการ และได้ร่วมมือกับ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดช่องรายการ "มิราเคิล (อังกฤษ: Miracle)" ช่องรายการสารคดีเรื่องราวที่ลึกลับและเรื่องแปลกเหลือเชื่อ เป็นช่องรายการใหม่แทนที่

วันที่ 1 กันยายน 2552 ได้เปิดช่องรายการใหม่ 2 ช่อง คือช่องสารคดี "เอิร์ธ (อังกฤษ: EARTH)" และช่องฟุตบอล "ฟุตบอล พลัส (อังกฤษ: Football Plus)"

วันที่ 28 กันยายน 2552 ได้ร่วมกับ เดอะบริดจ์ กันตนา และ เอไอเอส จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวรายการประกวดร้องเพลงและเต้นเป็นคู่ชายหญิงในรูปแบบเรียลลิตี้ 24 ชั่วโมง “2 Tango คู่ร้อง ทำนองรัก” ณ Muse Pub เอกมัย ซอย 10

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 ได้ยุติการออกอากาศช่อง "มูฟวี่ พลัส" และเปิดช่อง "2 Tango" เพื่อถ่ายทอดสดรายการเรียลลิตี้ 24 ชั่วโมง “2 Tango คู่ร้อง ทำนองรัก”

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ได้มีการปรับรูปแบบรายการและเปลี่ยนโลโก้ช่อง ป๊อป และ ไทยไชโยใหม่และรายการเรียลลิตี้ “2 Tango คู่ร้อง ทำนองรัก” ได้สิ้นสุดลง ได้ซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการอาหาร "เอเชี่ยน ฟู๊ดส์ แชนแนล (อังกฤษ: Asian Food Channel)" จากประเทศสิงคโปร์มาออกอากาศในประเทศไทย แทนที่ช่อง 2 Tango

ได้ซื้อลิขสิทธิ์ช่องรายการการ์ตูนสำหรับเด็ก "เบบี้ทีวี (อังกฤษ: Baby TV)" จากประเทศสหราชอาณาจักรมาออกอากาศในประเทศไทย

ร่วมมือกับ บริษัท เอสทีจี มัลติมีเดีย จำกัด เปิดช่องรายการบันเทิงเอเชีย "คลิก เอเชีย (อังกฤษ: Click Asia)" ทำให้ไลฟ์ทีวีมีช่องรายการทั้งหมด 10 ช่อง

วันที่ 21 มีนาคม 2553 ได้มีการปล่อยสัญญาณทุกช่องเป็นแบบฟรีทีวีชั่วคราวเพื่อปรับปรุงคุณภาพสัญญาณและเป็นการประชาสัมพันธ์ช่องรายการ

วันที่ 5 เมษายน 2553 ได้ยุติการออกกากาศช่อง "วัน วาไรตี้" และได้เปิดช่อง "เฟม (FAME)" ช่องรายการเซเลบริตี้วาไรตี้บันเทิงสำหรับผู้หญิง และเปิดช่อง“2 Tango คู่ร้อง ทำนองรัก” โดยการนำเทปคอนเสิร์ตและรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้เข้าแข่งขันมาออกอากาศซ้ำ

วันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ได้มีการปรับแผนกลยุทธ์ขยายฐานผู้ชมโดยได้ปล่อยสัญญาณเป็นแบบฟรีทีวีในช่อง ป๊อป,ไทยไชโย,มิราเคิล,เฟม,และคลิกเอเชีย เพื่อให้ผู้ที่ติดจานดาวเทียมระบบซี-แบนด์ (อังกฤษ: C-Band) ได้รับชมฟรี โดยเปลี่ยนรูปแบบจากการขายลิขสิทธิ์ช่องเหล่านี้ให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวี มาเป็นขายโฆษณาแทน ส่วนช่องที่เหลือยังคงขายลิขสิทธิ์ให้กับผู้ประกอบการเคเบิลทีวีเช่นเดิม

วันที่ 1 สิงหาคม 2553 ได้ร่วมกับ บริษัท พีเอสไอโฮลดิ้งส์ จำกัด ผู้ผลิตจานดาวเทียมระบบ ซี-แบนด์ พีเอสไอ เปิดตัวบริการ "ไลฟ์ทีวี พลัส (อังกฤษ: LIVE TV PLUS)" เพื่อให้ผู้ชมผ่านจานดาวเทียมพีเอสไอ หรือ จานดาวเทียมในระบบ ซี-แบนด์ (C-Band) ได้รับชมช่องรายการที่เข้ารหัส โดยมีการเก็บค่าบริการผ่านทางบัตรเติมเงิน

วันที่ 1 กันยายน 2553 ได้เปิดช่องรายการกีฬาใหม่คือ "สปอร์ต พลัส (อังกฤษ: Sports Plus)" ให้อยู่ในระบบการเข้ารหัสสัญญาณ ใน ไลฟ์ ทีวี พลัส แพ็คเกจ (อังกฤษ: LIVE TV Plus)

เปิดช่อง "ไลฟ์ทีวี พรีวิว (อังกฤษ: LIVE TV PREVIEW)" ออกอากาศในระบบฟรีทูแอร์ โดยนำบางช่วงของรายการต่าง ๆ ที่ออกอากาศในช่องที่เข้ารหัส นำมาออกอากาศเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ชมได้ทดลองชม

วันที่ 1 สิงหาคม 2552 ได้ยุติการออกอากาศช่อง "ทู แทงโก้" และได้เปิดช่องรายการ "ดู๊ด ทีวี (อังกฤษ: Dude TV)" ช่องรายการบันเทิงสำหรับผู้ชาย เป็นช่องรายการใหม่แทนที่ โดยอยู่ในระบบฟรีทีวี

วันที่ 19 ตุลาคม 2553 ได้ร่วมกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ประเทศสหราชอาณาจักร จัดงานแถลงข่าวลงนามเซ็นต์สัญญาซื้อลิขสิทธิ์ช่อง Manchester United TV (MUTV) ออกอากาศในประเทศไทยตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 ปี ณ ลานเซ็นทรัลเวิลด์ และได้เริ่มออกอากาศในวันที่ 29 ตุลาคม 2553 เป็นวันแรก

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ได้ยุติการออกอากาศช่อง "คลิกเอเชีย" และช่อง "เฟม" ได้นำช่องสัญญาณให้ผู้ผลิตรายอื่นเช่าสัมปทาน

วันที่ 30 กันยายน 2554 ได้ยุติการออกอากาศช่อง "เอิร์ธ" "เบบี้ ทีวี" และ "ไลฟ์ทีวี ฟรีวิว" ได้นำช่องสัญญาณให้ผู้ผลิตรายอื่นเช่าสัมปทาน

วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ได้ร่วมทุนกับ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันบริหารช่องรายการกีฬาร่วมกัน ได้แก่ ช่องฟุตบอลพลัส , สปอร์ตพลัส และ เอ็มยูทีวี

วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ได้ยุติบริการ ไลฟ์ทีวี พลัส และยุติการออกอากาศช่อง "เอเชี่ยนฟู้ดส์แชนแนล" เนื่องจากหมดสัญญาสัปทาน

วันที่ 31 มีนาคม 2555 ไลฟ์ทีวีประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง เพราะธุรกิจทีวีดาวเทียมมีภาวะการแข่งขันที่สูงมากมีผู้ประกอบการรายอื่น ๆ เข้ามาในตลาดมากมาย จึงได้มีการยุติการผลิตช่องทีวีดาวเทียมภายใต้ชื่อไลฟ์ทีวีทั้งหมด โดยโอนกรรมสิทธิ์ช่องรายการที่เหลือ ดังนี้

  • ช่องป๊อป คัลเจอร์ คลับ โอนกรรมสิทธิ์ให้ บริษัท ป๊อปทีวี จำกัด
  • ช่องไทยไชโย โอนกรรมสิทธิ์ให้ บริษัท ไทยไชโยทีวี จำกัด
  • ช่องฟุตบอลพลัส , สปอร์ตพลัส และ เอ็มยูทีวี โอนกรรมสิทธิ์ให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)

ปัจจุบัน ไลฟ์ ทีวี ไม่มีการผลิตช่องรายการทีวีดาวเทียมแล้ว แต่ยังคงมีช่องสัญญาณที่เช่ากับดาวเทียมไทยคมอยู่ในความถี่ 3480 H 30000 ปัจจุบันได้นำช่องสัญญาณให้ผู้ประกอบการรายอื่นเช่าช่องสัญญาณ

ไลฟ์ ทีวี พลัส[แก้]

ไลฟ์ ทีวี ร่วมกับจานดาวเทียมพีเอสไอเปิดตัวบริการ "ไลฟ์ ทีวี พลัส (อังกฤษ: LIVE TV PLUS)" เป็นการขยายฐานผู้ชมโดยการเพิ่มช่องทางการรับชมช่องรายการที่เข้ารหัส ซึ่งจากเดิมเป็นการขายลิขสิทธื์ให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นเท่านั้น โดยได้เพิ่มบริการสำหรับผู้ที่ติดจานดาวเทียมพีเอสไอที่สนใจรับชมช่องรายการเพิ่ม ทั้งนี้ผู้ชมจะต้องมีกล่องรับสัญญาณดาวเทียมรุ่น โอทู (อังกฤษ: O2) และรุ่น โบนัส (อังกฤษ: BONUS) ที่มีอุปกรณ์ถอดรหัสแซทเมลล์ (อังกฤษ: Dongle Satmail) เท่านั้นจึงจะสามารถรับชมได้ ปัจจุบันยุติการดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2554 เนื่องจากประสบปัญหาภาวะขาดทุน

ช่องรายการในอดีตของไลฟ์ทีวี[แก้]

  • ป๊อป (อังกฤษ: Pop) ช่องรายการสาระบันเทิง ไลฟ์สไตล์ วัฒนธรรม ของวัยรุ่น ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เสียงเพลงเท่านั้น แต่เติมเต็มทุกแง่มุม ทุกความต้องการ ทุกไลฟ์สไตล์ ทุกเทรนด์ ทั้งแฟชั่น เทคโนโลยี และกิจกรรมสำหรับวัยมันส์จากทั่วทุกมุมโลก
  • ไทยไชโย (อังกฤษ: Thai Chai Yo) ช่องรายการเพลงและสาระบันเทิงของท้องถิ่นไทย พรั่งพร้อมไปด้วยศิลปินลูกทุ่ง ตลอดจนความเคลื่อนไหวในวงการลูกทุ่งไทย
  • มิติ 4 (อังกฤษ: MITI 4) ช่องที่รวมเรื่องราวหลากหลายทั้งบันเทิง ตื่นเต้น และมหัศจรรย์ ความรู้ต่างๆ ที่พิสูจน์ได้ และพิสูจน์ไม่ได้รอบตัวคุณ
  • ฟุตบอล พลัส (อังกฤษ: Football Plus) ช่องรายการกีฬาที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ พร้อมข่าวสารเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล และการถ่ายทอดสดการแข่งขันลีกชั้นนำ หลากหลายรายการสำหรับคนรักกีฬาฟุตบอล (ปัจจุบันได้โอนสัปทานให้กับ GMM Grammy แล้ว)
  • สปอร์ต พลัส (อังกฤษ: Sports Plus) ช่องรายการกีฬาชั้นนำหลากหลาย รายงานข่าวกีฬาต้นชั่วโมง อัปเดตวงการกีฬาทั่วทุกมุมโลก (ปัจจุบันได้โอนสัปทานให้กับ GMM Grammy แล้ว)
  • เอเชี่ยน ฟู๊ตส์ แชนแนล (อังกฤษ: Asian Food Channel AFC) ช่องรายการอาหารของเอเชีย ที่รวบรวมทุกเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร ไลฟ์สไตล์ สาระความรู้ด้วยรูปแบบที่สนุกสนาน แตกต่างไม่ซ้ำใคร (ปัจจุบันได้โอนสัมปทานของ CTH เคเบิลไทยโฮลดิ้ง แล้ว)
  • เอ็มยู ทีวี (อังกฤษ: MUTV ช่องรายการฟุตบอลของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ช่องเดียวที่รวมทุกแม็ทซ์การแข่งขัน ซึ่งไลฟ์ทีวีเป็นผู้ถือสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย (ปัจจุบันโอนสัปทานให้กับ True Visions แล้ว)
  • วัน วาไรตี้ (อังกฤษ: 1 Variety) รายการสาระบันเทิงในหลากหลายรูปแบบเพื่อคนทั้งครอบครัว เดิมชื่อช่อง วาไรตี้ วัน (อังกฤษ: Variety One)
  • มูฟวี พลัส (อังกฤษ: Movie Plus) รายการภาพยนตร์ลิขสิทธิ์ถูกต้อง ชั้นนำจากทั่วทุกมุมโลก
  • อีดีเอ็น (อังกฤษ: EDN Edutainment Network) รายการแนวสารคดีและเรื่องราวหลากหลายบนโลก
  • มิราเคิล (อังกฤษ: Miracle) รายการและละครแนวลึกลับ ความเชื่อทางไสยศาสตร์ รวมไปถึงเรื่องแปลกจากทุกมุมโลก จากกันตนา (ปัจจุบันย้ายคลื่นความถี่ไปอยู่ในเครือ MCOT Network และช่องเดิมที่ความถี่ของ LIVE TV เปลี่ยนเป็นช่อง มิติ 4)
  • ทู แทงโก้ (อังกฤษ: 2 Tango) รายการเรียลลิตี้เกี่ยวกับการเต้นรำ โดยเป็นการร่วมมือระหว่างไลฟ์ ทีวี กับ กันตนา ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นช่อง ดู๊ด ทีวี
  • คลิก เอเชีย (อังกฤษ: Click Asia) รายการบันเทิงและซีรีส์จากทั่วเอเชีย
  • เฟม (อังกฤษ: Fame) รายการเซเลบริตี้ วาไรตี้บันเทิง ทั้งไทยและเกี่ยวกับเรื่องราวของดาราฝั่งฮอลลีวูด
  • เบบี้ ทีวี (อังกฤษ: Baby TV) รายการสาระบันเทิงเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกครรภ์จนถึงวัยโต
  • เอิร์ธ (อังกฤษ: EARTH) รายการแนวสารคดีและเรื่องราวหลากหลายบนโลก
  • ดู๊ด ทีวี (อังกฤษ: DUDE TV) ช่องรายการทางเลือกสำหรับผู้ชาย ทุกเรื่องราวที่อยู่ในความสนใจของหนุ่มๆ ทั้งกีฬา ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ เพลง ภาพยนตร์ สังคม ปาร์ตี้ เทรนด์ต่างๆ (ปัจจุบันได้เช่าสัมปทานกับ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่ หรือ PRD. 3 แล้ว)

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.live.co.th/th/about_services.php เก็บถาวร 2007-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติและความเป็นมาของ บมจ. ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น
  2. http://www.newswit.com/news/2007-02-28/19c303dfc9f69fb542ce2f6f00d843d1/ เก็บถาวร 2007-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บิ๊ก ไลฟ์ทีวี ทุ่มงบกว่า 20 ล้านบาท ปรับผัง ช่องวาไรตี้ วัน เทียบชั้นฟรีทีวี
  3. http://www.tcta.or.th/news.php?newsid=69/ เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อตกลงในความร่วมมือการจัดผังรายการ ช่องที่ 21-40 ของผู้ประกอบกิจการเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]