เจิมมาศ จึงเลิศศิริ
เจิมมาศ จึงเลิศศิริ | |
---|---|
เจิมมาศ ใน พ.ศ. 2555 | |
เหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | สุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ |
ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 – 5 เมษายน พ.ศ. 2565 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการ | คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | ศิริ หวังบุญเกิด |
ถัดไป | กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ |
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | ศิริ หวังบุญเกิด |
ถัดไป | เอก จึงเลิศศิริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2528–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เอก จึงเลิศศิริ |
เจิมมาศ จึงเลิศศิริ (เกิด 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502) เหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช)[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย และอดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 2 สมัย
ประวัติ
[แก้]เจิมมาศ เกิดวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน ด้านครอบครัวสมรสกับเอก จึงเลิศศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก โรงเรียนคริสต์ธรรมวิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนสีตบุตรบำรุง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนอัสสัมชัญพณิชยการ (ACC) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
การทำงาน
[แก้]เจิมมาศ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็น สภากรุงเทพมหานคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย ต่อมาในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 จึงได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 1 ซึ่งเอาชนะ ศิริ หวังบุญเกิด เจ้าของพื้นที่เดิมจากพรรคไทยรักไทย และเป็น 1 ใน 4 ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยลงคู่กับหม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล และอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ ซึ่งได้รับเลือกตั้งทั้งหมด ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่ได้การเลือกตั้ง จากนั้นจึงเข้าดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่ได้การเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เจิมมาศ จึงเลิศศิริ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์เจิมมาศ จึงเลิศศิริ ที่เว็บไซต์ ModernBangkok.com
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋ว
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.