ข้ามไปเนื้อหา

สุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์
สุทธิ ในปี พ.ศ. 2561
เหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าอภิชัย เตชะอุบล
ถัดไปเจิมมาศ จึงเลิศศิริ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)
เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2526–ปัจจุบัน)
คู่อาศัยสิริพร ฐิติไชโย
(นอกสมรส)

สุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ (เกิด 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นิพนธ์ บุญญามณี)[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และอดีตเหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 มีชื่อเล่นว่า "สอง" เป็นบุตรชายของนายลิ้มเซ็ก แซ่ตั้ง และนางเซียะฮวย แซ่โล้ว เป็นลูกชายคนเล็กในพี่น้อง 6 คน คือ นายสกุล ปัญญาสกุลวงศ์ นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นางยุพาวันต์ ปัญญาสกุลวงศ์ นางวิภา ปัญญาสกุลวงศ์ และนายยงยุทธ ปัญญาสกุลวงศ์

นายสุทธิ เกิดและเติบโตในย่านคลองเตย เริ่มเข้าเรียนครั้งแรกประถมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนอักษรวิทยา ประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสายน้ำทิพย์ ชั้นมัธยมศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียน โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต ระดับปริญญาตรี เข้าศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

นายสุทธิ ใช้ชีวิตคู่กับนางสาวสิริพร ฐิติไชโย มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ นางสาวพิชามณช์ ปัญญาสกุลวงศ์, นายสพลกิตติ ปัญญาสกุลวงศ์, นายเอกลักษณ์ ปัญญาสกุลวงศ์, และนายธนวัฒน์ ปัญญาสกุลวงศ์[2]

การทำงานด้านธุรกิจ

[แก้]

นายสุทธิเริ่มต้นการทำงานจากการขายข้าวมันไก่ที่เวิ้งนครเกษม และมาขายแก๊ส ขายข้าวสาร และขายของชำที่ตลาดบางจาก ชื่อร้านอุดมภัณฑ์ จากนั้นนึงย้ายมาดูแลกิจการขนส่งแก๊สที่สี่แยกคลองตัน ปละเริ่มประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านอสังหาริมทรัพย์ในเครือ "นิรันดร์กรุ๊ป" ร่วมกับพี่น้อง โดยบริหารงานก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ และโรงแรมเป็นเวลากว่า 40 ปี

ปัจจุบันคุณสุทธิดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริษัทดังต่อไปนี้

การทำงานด้านการศึกษา

[แก้]

นายสุทธิมีความสนใจในการพัฒนาการศึกษาเป็นพิเศษ โดยได้ผลักดันการพัฒนาโรงเรียนในเขตพื้นที่ให้มีความก้าวหน้าและทัดเทียมโรงเรียนชั้นนำ และเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยปัจจุบันนายสุทธิดำรงตำแหน่งเป็น นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสิริรัตนาธร, นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต, นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนราชดำริ, ประธานกรรมการวิทยาลัยพณิชยการบางนา, และอุปนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสายน้ำผึ้ง

ในอดีตนายสุทธิยังเคยเป็นที่ปรึกษาสภาผู้ปกครองและครูแห่งประเทศไทย, อุปนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ และคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัยอีกด้วย

การทำงานด้านการเมือง

[แก้]

นายสุทธิเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังนี้

  • อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย รัตตกุล
  • อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นายเจริญ คันธวงศ์ (2531-2533)
  • อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลตรีสนั่น ชจรประศาสน์ (2533)
  • อดีตรองประธานประสานงานและติดตามนโยบายผู้ว่าฯ ดร.พิจิตต รัตตกุล (2539-2543)
  • อดีตรองประธานประสานงานและติดตามนโยบายผู้ว่าฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน (2547-2551)
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (2550-2554 และ 2554-2557)
  • อดีตโฆษกคณะกรรมาธิการ การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร (2550-2554)
  • อดีตผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นายจุติ ไกรฤกษ์ (2558-2562)
  • อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหาคัดเลือกผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ (2562)[3]

นายสุทธิเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 8 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เป็นสมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตพระโขนงและเขตบางนา[4] โดยสามารถเอาชนะนายวัฒนา เซ่งไพเราะ จากพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2562
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์[ลิงก์เสีย]
  3. เปิดชื่อ กก.บห.ประชาธิปัตย์ ชุดใหม่ "อภิสิทธิ์" นั่งหัวหน้าพรรค
  4. ศึกกทม.เขต 23 พระโขนง-บางนา "สุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์" ต่อยหนัก "วัฒนา เซ่งไพเราะ"
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]