อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปัตย์ |
ศาสนา | พุทธ |
นางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ[แก้]
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 ชื่อเล่น ตุ๋ย เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายวินัย กาญจนชูศักดิ์ กับ นางเสาวณี กาญจนชูศักดิ์ โดยในบรรดาพี่น้องทั้ง 5 คน มีนายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ เป็นพี่ชายคนโต และได้แนะนำให้อรอนงค์เข้าสู่แวดวงการเมือง ด้วยการเริ่มต้นจากการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเขตสัมพันธวงศ์ ก่อนที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในสมัยต่อมาและ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
การศึกษา[แก้]
อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ระดับปริญญาตรี นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ กับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประสบการณ์ทางการเมือง[แก้]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 1 (เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตสาทร เขตปทุมวัน เขตดุสิต เขตราชเทวี) โดยสวมเสื้อเบอร์ 5 สังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ชนะไปด้วยคะแนน 101,135 คะแนน จากทั้งหมด 538 หน่วย ในหน่วยเลือกตั้งเขต 1 ร่วมกันกับ หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล เบอร์ 4 ที่ได้ 105,166 คะแนน และ นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ เบอร์ 6 ที่ได้ 99,078 คะแนน ถือเป็นการชนะแบบยกทีม
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ไดมีปัญหาในการจัดตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตในกรุงเทพมหานคร ซึ่งพื้นที่ของนางสาวอรอนงค์ ทับซ้อนกับหม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล แต่ในที่สุดพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้มีมติส่งนางสาวอรอนงค์ ลงสมัครในพื้นที่เดิม[2] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 2
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ด้านประสบการณ์ทางการเมืองมีดังนี้
- คณะกรรมการประสานงานและติดตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน)
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน พรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย (พ.ศ. 2544 - 2549)
- โฆษกสภากรุงเทพมหานคร
- คณะกรรมการสาธารณสุข สวัสดิการสังคม สภากรุงเทพมหานคร
- คณะกรรมการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม สภากรุงเทพมหานคร
- คณะกรรมการกิจการสภา สภากรุงเทพมหานคร
- รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณเขตปทุมวัน สัมพันธวงศ์ สาทร บางรัก (งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2545)
- รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณเขตปทุมวัน สัมพันธวงศ์ สาทร บางรัก (งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2547)
- รองประธานคณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณเขตสัมพันธวงศ์ ปทุมวัน สาทร บางรัก (งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548)
- คณะอนุกรรมการพิจารณางบประมาณเขตบางรัก ปทุมวัน สัมพันธวงศ์ สาทร (งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549)
- สมาชิกสภาเขต เขตสัมพันธวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2541-2543)
- ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา (ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค)
ประสบการณ์ทางสังคม[แก้]
- กรรมการชมรมเรารักกรุงเทพฯ เรารักสวนลุม
- อดีตกรรมการการศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- อดีตกรรมการสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
- ประธานกรรมการการศึกษาโรงเรียนปลูกจิต เขตปทุมวัน
- อดีตที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
- อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลปทุมวันและสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี
- อดีตที่ปรึกษาโครงการมหกรรมขลุ่ยไทย เขตปทุมวัน
- ประธาน อปพร. เขตปทุมวัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2556 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ส่วนตัว ส.ส.อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์
- ชื่อประธาน และสาขา ของพรรคประชาธิปัตย์[ลิงก์เสีย]
- ข้อมูลบุคคล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร[ลิงก์เสีย]
- ข้อมูลบุคคล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- พรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- บุคคลจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.