ฟาโรห์อไมร์เตอุส
ฟาโรห์อไมร์เตอุส | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
อเมนอิร์ดิซู; อมิร์ไทออสแห่งซาอิส (Ἀμυρταῖος Σαΐτης ในภาษากรีกโบราณ) | ||||||
บันทึกปาปิรุสภาษาอราเมอิกจากแอลเลเฟนไทน์, ระบุปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ฟาโรห์อไมร์เตอุส (400 ปีก่อนคริสตกาล) | ||||||
ฟาโรห์ | ||||||
รัชกาล | 5 ปี, 404 ปีก่อนคริสตกาล ถึง เดือนตุลาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล | |||||
ก่อนหน้า | ดาริอัสที่ 2 | |||||
ถัดไป | เนเฟริเตสที่ 1 | |||||
| ||||||
สวรรคต | เดือนตุลาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล | |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด |
อไมร์เตอุส (กรีก: Ἀμυρταῖος Amyrtaios ซึ่งเป็นพระนามภาษากรีก โดยมีพระนามภาษาอียิปต์โบราณว่า อเมนอิร์ดิซู) แห่งซาอิส เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณเพียงพระองค์เดียวจากราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดแห่งอียิปต์ และสันนิษฐานว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเชื้อพระวงศ์ที่มาจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 664 – 525 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ทรงต่อต้านการยึดครองของชาวเปอร์เซียครั้งแรกเหนือราชอาณาจักรอียิปต์ได้สำเร็จ (ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์ ซึ่งปกครองระหว่าง 525 – 404 ปีก่อนคริสตกาล) และทรงครองราชย์ตั้งแต่ 404 จนถึง 399 ปีก่อนคริสตกาล การที่ฟาโรห์อไมร์เตอุสได้ทรงลุกฮือต่อต้านจักรวรรดิอะคีเมนิดและทรงประสบความสำเร็จนั้น ได้ทำให้ราชอาณาจักรอียิปต์กลับมามีอิสรภาพอีกครั้งและเป็นครั้งสุดท้ายในนามของรัฐอิสระของชนพื้นเมืองชาวอียิปต์ ซึ่งได้กินระยะเวลาไปประมาณ 60 ปี จนกระทั่งชาวเปอร์เซียยึดครองราชอาณาจักรอียิปต์อีกครั้ง
พระราชประวัติ
[แก้]หลักฐานและการมีตนตัว
[แก้]เซกตัส จูเลียส แอฟริกานัส ได้ขานพระนามของพระองค์ว่า "อไมร์ทีออส (Amyrteos)" แต่ในขณะที่ยูเซเบียสแห่งซีซาเรีย ได้ขานพระนามของพระองค์ว่า "อมิร์ไทออส (Amirtaios)"[1] ซึ่งทั้งคู่บันทึกว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 6 ปี ในบันทึกคำพยากรณ์อียิปต์โบราณหรือประชุมพงศาวดารเดมอติก (เขียนขึ้นราวศตวรรษที่ 3/2 ก่อนคริสตกาล) ได้กล่าวว่า:
ผู้ปกครองพระองค์แรกที่ปกครองต่อจากชาวต่างชาติที่เป็นชาวมีเดีย [เปอร์เซีย] คือฟาโรห์อเมนอิร์ดาอิส [อมิร์ไทออส]
— จากประชุมพงศาวดารเดมอติก[2]
ฟาโรห์อไมร์เตอุสน่าจะเป็นหลานชายของอไมร์เตอุสแห่งซาอิส ซึ่งเป็นผู้นำการก่อกบฏระหว่าง 465 ปีก่อนคริสตกาล และ 463 ปีก่อนคริสตกาล ต่อผู้ปกครองท้องถิ่นของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 1 ร่วมกับผู้ปกครองกบฏนามว่า อินารอสที่ 2 ผู้ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์พซัมเตกที่ 3[1] พระองค์เป็นที่ทราบจากแหล่งบันทึกภาษาอาราเมคและกรีกโบราณ และถูกกล่าวถึงในประชุมพงศาวดารเดมอติกว่าเป็น "ผู้ปกครองที่แทบจะไม่มีใครทราบเลย"[3] ไม่ทราบว่าพระองค์ทรงมีอนุสาวรีย์ใดบ้าง[4] และพระนามของพระองค์ในภาษาอียิปต์ได้รับการขนานพระนามขึ้นใหม่จากคำบอกกล่าวในประชุมพงศาวดารเดมอติกเท่านั้น ไม่พบการเขียนพระนามของพระองค์แบบอักษรอียิปต์โบราณ[1][5]
การก่อกบฏและการครองราชย์
[แก้]ก่อนหน้าที่พระองค์จะทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์แห่งอียิปต์นั้น ฟาโรห์อไมร์เตอุสได้ทรงก่อกบฏต่อกษัตริย์ดาริอัสที่ 2 แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด (ปกครองระหว่าง 423 – 404 ปีก่อนคริสตกาล) ในช่วงเวลาที่เร็วที่สุดประมาณ 411 ปีก่อนคริสตกาล โดยทรงเป็นผู้นำการรบแบบกองโจรในบริเวณดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งทางตะวันตกรอบ ๆ เมืองซาอิส ซึ่งเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระองค์[3]
หลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์ดาริอัส ฟาโรห์อไมร์เตอุสก็ทรงประกาศพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์ในช่วง 404 ปีก่อนคริสตกาล[3] ตามคำกล่าวของไอโซเครติส กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ได้ทรงรวบรวมกองทัพในฟีนิเซียภายใต้บัญชาการของอาโบรโคมัส เพื่อยึดอียิปต์คืนหลังจากขึ้นครองพระราชบัลลังก์เปอร์เซียได้เพียงระยะเวลาไม่นาน แต่ปัญหาทางการเมืองกับไซรัส ผู้เยาว์ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ได้ขัดขวางไม่ให้เกิดการปราบปรามกบฏในอียิปต์ จึงปล่อยให้ชาวอียิปต์มีเวลาเพียงพอที่จะทำให้ตนเองหลุดออกจากการปกครองของจักรววรดิอะคีเมนิด ในขณะที่การปกครองของฟาโรห์อไมร์เตอุสในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกได้สถาปนาขึ้นในช่วง 404 ปีก่อนคริสตกาล แต่กษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2 ก็ยังคงทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นฟาโรห์ที่แอลเลเฟนไทน์จนถึงช่วง 401 ปีก่อนคริสตกาล แต่ในบันทึกภาษาอรามาอิกจากบริเวณดังกล่าวได้กล่าวถึง ปีที่ 5 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อไมร์เตอุสในช่วงเดือนกันยายน ราว 400 ปีก่อนคริสตกาล[6][7] และบันทึกแห่งแอลเลเฟนไทน์ยังได้แสดงให้เห็นด้วยว่าในช่วงระหว่าง 404 ถึง 400 ปีก่อนคริสตกาล (หรือ 398 ปีก่อนคริสตกาล) อียิปต์บนยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิเปอร์เซียอยู่ ในขณะที่กองกำลังของฟาโรห์อไมร์เตอุสนั้นปกครองอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์
ในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกนามว่า ดิโอโดรัส ซิคูลัส ได้บันทึกไว้ใน Bibliotheca Historicala (XIV, 35.3–5) ว่า กษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่า พซัมเตก (Psamtik) ซึ่งดูเหมือนจะระบุถึงฟาโรห์อไมร์เตอุส[1] บางทีอาจเป็น "พซัมเตก" พระนามที่สูญหายหายไปของพระองค์[4] ซึ่งได้ทรงสังหารนายพลชาวกรีกนามว่า ทามอส ผู้ซึ่งได้ลี้ภัยในราชอาณาจักรอียิปต์หลังจากความพ่ายแพ้ของการก่อกบฏของไซรัส[8] หากข้อเท็จจริงนั้นถูกต้องจะทำให้ดูเหมือนว่า ฟาโรห์อไมร์เตอุสจะทรงกระทำในลักษณะนี้เพื่อทรงเอาใจกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 2[1] และเป็นไปได้ว่าฟาโรห์อไมร์เตอุสทรงเข้าไปเป็นพันธมิตรกับชาวสปาร์ตาโดยนัยว่า อียิปต์ได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากสปาร์ตาเพื่อแลกกับเมล็ดธัญพืช[4]
การล่มสลายและการสวรรคต
[แก้]ฟาโรห์อไมร์เตอุสได้ทรงพ่ายแพ้ในการต่อสู้เปิดโดยผู้ปกครองต่อจากพระองค์นามว่า ฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 แห่งเมนเดส[9] และทรงถูกสำเร็จโทษที่เมืองเมมฟิส ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ปรากฏในบันทึกปาปิรุสอราเมอิกบรูคลินหมายเลข 13 ได้กล่าวเป็นนัยว่าน่าจะเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ราว 399 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 ก็ทรงย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองเมนเดส (บริเวณอียิปต์ล่าง)[1] ไม่ทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปกครอง การล่มสลายและการสวรรคตของ ฟาโรห์อไมร์เตอุสอีกเลย โดยฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 1 ทรงครองราชย์จนถึง 393 ปีก่อนคริสตกาล และมีพระราชโอรสทรงสืบทอดราชสมบัติต่อในพระนามฟาโรห์ฮาคอร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:1
- ↑ |The Demotic Chronicle
- ↑ 3.0 3.1 3.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Amyrtaeus - Livius". www.livius.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-05-05.
- ↑ Clayton 1999, pp. 201, 203.
- ↑ Sachau, Eduard (1909). "Ein altaramareischer Papyrus aus der Zeit der aegyptischen Koenigs Amyrtaeus", in Florilegium: ou, Recueil de travaux d'érudition dédiés à monsieur le marquis Melchior de Vogüé à l'occasion du quatre-vingtième anniversaire de sa naissance, 18 octobre 1909. Paris: Imprimerie Nationale. pp. 529-538.
- ↑ Cowley, Arthur (1923). Aramaic papyri of the fifth century B.C. Oxford: Clarendon Press. pp. 129–131.
- ↑ Kuhrt, Amélie (2013-04-15). The Persian Empire: A Corpus of Sources from the Achaemenid Period (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781136017025.
- ↑ Cimmino 2003, p. 388.
บรรณานุกรม
[แก้]- Cimmino, Franco (2003). Dizionario delle Dinastie Faraoniche. Milan: Bompiani. ISBN 978-8845255311.
- Clayton, Peter A. (1999). Chronicles of the Pharaohs. London: Thames and Hudson. ISBN 978-0500050743.
- Lemaire, A. (1995). La fin de la première période perse in Égypte et la chronologie judéene vers 400 av. J.-C., Transeuphratène 9, Leuven: Peeters Publishers. pp. 51–61.
- Lloyd, Alan B. (2003). The Late Period, in The Oxford History of Ancient Egypt, edited by I. Shaw. Oxford: University Press. ISBN 978-0192804587.
- Perdu, O. (2010). Saites and Persians (664—332), in A.B. Lloyd (ed.), A Companion to Ancient Egypt Chichester: Wiley-Blackwell. ISBN 978-1118785140. pp. 140–58 (at pp. 153–7).
- Ray, J.D. (1987). Egypt: Dependence and Independence (425-343 B.C.), in: Achaemenid History I: Sources, Structures, and Syntheses, edited by H. Sancisi-Weerdenburg. Leiden: Nederlands Instituutvoor het Nabije Oosten. pp. 79–95.