ฟาโรห์นุบเนเฟอร์
นุบเนเฟอร์ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชิ้นส่วนหินชิสต์สีดำปรากฏพระนามของฟาโรห์นุบเนเฟอร์ที่วางอยู่ด้านข้างชื่อของโครงสรา้งอาคารว่า "เมนติ-อังค์" (ด้านซ้าย) | |||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบ, สมัยราชวงศ์ตอนต้น | ||||||||||
ก่อนหน้า | ไม่แน่ชัด,
นิเนทเจอร์ (เฮ็ลท์คและวิลกินสัน) | ||||||||||
ถัดไป | ไม่แน่ชัด, เซเนดจ์ (คาพลอนี) | ||||||||||
| |||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สอง |
นุบเนเฟอร์ เป็นพระนามประสูติของกษัตริย์ (ฟาโรห์) ที่อาจจะทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์โบราณ ไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอนในการครองราชย์ของพระองค์และตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์ก็ยังไม่ชัดเจน
ที่มาของพระนาม
[แก้]พระนาม "นุบเนเฟอร์" ปรากฏอยู่เศษภาชนะหินสีดำสองชิ้นที่พบในห้องชุดใต้ในสุสานของฟาโรห์ดโจเซอร์ (ราชวงศ์ที่สาม) ที่ซักกอเราะฮ์ โดยกล่าวถึงโครงสร้างอาคารที่มีนามว่า "เมนติ-อังค์" ("ชีวิตอาจจะยืนยง") ซึ่งก่อสร้างขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์ ดังนั้น นักไอยคุปต์วิทยา เช่น ปีเตอร์ คาพลอนี, โจเชม คาห์ล และฟรานเซสโก ทิราดริตติ จึงเชื่อว่ารัชสมัยของฟาโรห์นุบเนเฟอร์ ควรจะเรียงตามลำดับเวลาให้ใกล้เคียงกับรัชสมัยของฟาโรห์นิเนทเจอร์ พระนามของนุบเนเฟอร์ไม่ปรากฏในเอกสารร่วมสมัยหรือเอกสารหลังจากการสวรรคตของพระองค์ใดอีก[1][2]
การระบุตัวตน
[แก้]นักไอยคุปต์วิทยา เช่น แบตทิสคอมเบ กันน์ และไอ. อี. เอส. เอ็ดเวิร์ดส์ เชื่อว่าพระนาม "นุบเนเฟอร์" อาจจะเป็นพระนามประสูติของฟาโรห์ราเนบ แต่ในทางตรงกันข้าม นักไอยคุปต์วิทยาอย่างว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์ค และโทบี วิลกินสัน คิดว่า ฟาโรห์นุบเนเฟอร์ ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์นิเนทเจอร์ ส่วนปีเตอร์ คาพลอนี ได้ระบุว่า ฟาโรห์นุบเนเฟอร์ทรงเป็นฟาโรห์ที่ทรงปกครองระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์วัดจ์เนสและรัชสมัยของฟาโรห์เซเนดจ์[1][3][4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Peter Kaplony: A building named Menti-Ankh. In: Mitteilungen des Deutschen Archäologischen Instituts Kairo, vol. 20. Deutsches Archäologisches Institut, Orient-Abteilung (Hrsg.). de Gruyter, Berlin 1965, page 41–46.
- ↑ Pierre Lacau & Jan-Phillip Lauer: La Pyramide à Degrés IV. – Inscriptions gravées sur les Vases: Fouilles à Saqqarah. Service des antiquités de l’Égypte, Cairo 1936, Table IV.
- ↑ I. E. S. Edwards: The early dynastic period in Egypt; Cambridge University Press, Cambridge 1964; page 25.
- ↑ And egyptologist Wolfgang Helck: Datierungen der Gefäßaufschriften aus der Djoser-Pyramide. In: Zeitschrift für ägyptische Sprache und Altertum, vol. 106. Akademie-Verlag, Berlin 1979, page 120–132.
- ↑ Toby Wilkinson: Early Dynastic Egypt: Strategy, Society and Security. Routledge, London 1999, ISBN 0-415-18633-1, page 89.