ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์คาวอเซอร์เร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กาเรห์ คาวอเซอร์เร อาจจะทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สาม[1][2] จากราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ที่สืบเชื้อสายมาจากคานาอัน ซึ่งทรงปกครองบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออกโดยมีเมืองอวาริสเป็นศูนย์กลางการปกครองในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง และเชื่อกันว่ารัชสมัยของพระองค์ระยะยาวประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ 1770 จนถึง 1760 ปีก่อนคริสตกาล[1] หรือหลังจากนั้น ประมาณ 1710 ปีก่อนคริสตกาล อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง เชื่อว่าพระองค์อาจจะเป็นข้าราชบริพารของผู้ปกครองชาวฮิกซอสแห่งราชวงศ์ที่สิบห้า และอาจจะเป็นผู้ปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สิบหกเช่นกัน

พระนาม กาเรห์ เป็นภาษาเซมิติกตะวันตก และแปลว่า "ผู้หัวล้าน" ซึ่งก่อนหน้านี้พระนามดังกล่าวอ่านผิดว่า การ์, กูร์, และกาล[3]

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

หลักฐานการมีอยู่ของพระองค์มาจากตราประทับสคารับจำนวน 30 ชิ้นที่ปรากฏพระนามของพระองค์ โดยมีเพียงชิ้นเดียวเท่านั้นที่มีที่มาที่รู้จัก คือ เมืองเจริโคในปาเลสไตน์[4] โดยพระนาม กาเรห์ ปรากฏอยู่บนตราประทับสคารับจำนวน 8 ชิ้น และพระนาม คาวอเซอร์เร จำนวน 22 ชิ้น[5]

การพิสูจน์ตัวตน

[แก้]

นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ ได้เปรียบเทียบพระนาม กาเรห์ กับพระนามนำหน้า คาวอเซอร์เร ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งได้รับการพิสูจน์เพียงจากตราประทับสคารับเท่านั้น ตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์นั้นไม่แน่ชัด โดยไรฮอล์ตและดาร์เรล เบเกอร์ได้เสนอให้พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สามของราชวงศ์ที่สิบสี่ ตามรูปแบบตราประทับของพระองค์ ในทางกลับกัน โทมัส ชไนเดอร์และเยือร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธมองว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบหก[6] และเจมส์ ปีเตอร์ อัลเลนเสนอว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองชาวฮิกซอสในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบห้า[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 K.S.B. Ryholt (1998). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C1800-1550 BC. Museum Tusculanum Press. ISBN 8772894210.
  2. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 303
  3. K., Ryholt (1998). "King Qareh, a Canaanite King in Egypt during the Second Intermediate Period". Israel Exploration Journal (48): 194–200.
  4. Percy Newberry: Egyptian antiquities. Scarabs. An Introduction to the Study of Egyptian Seals and Signet Rings. Constable, London 1906, S. 150, pl. XXI, 23, 24.
  5. Ryholt, K. S. B.; Bülow-Jacobsen, Adam (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800-1550 B.C. (ภาษาอังกฤษ). Museum Tusculanum Press. p. 199. ISBN 978-87-7289-421-8.
  6. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 226.
  7. Daphna Ben-Tor, Susan J. Allen, James P. Allen: Seals and Kings. In: Bulletin of the American Schools of Oriental Research Bd. 315, 1999, S. 47–74 (pdf-download).