ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์กา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คา หรืออีกพระนามคือ เซเคน[1][2] เป็นฟาโรห์จากช่วงสมัยก่อนราชวงศ์แห่งอียิปต์บน ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์ที่ศูนย์ พระองค์อาจจะทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 32 ก่อนคริสตกาล และไม่ทราบระยะเวลาในการครองราชย์ของพระองค์

พระนาม

[แก้]

ยังไม่ทราบการอ่านพระนามของฟาโรห์คาที่ถูกต้อง[3] แต่ปรากฏคำจารึกบนภาชนะที่ปรากฏพระนามเซเรคที่ปรากฏรูปสัญลักษณ์คาแบบปกติ ซึ่งทั้งสองเขียนแบบตั้งตรงอย่างถูกต้อง แต่ก็มีคำจารึกที่ปรากฏพระนามเซเรค แบบตั้งตรงที่มีสัญลักษณ์คากลับหัวอยู่ข้างใน ซึ่งรูปแบบที่สองของการเขียนนั้นบ่งชี้ว่าให้เป็น เซเคน' (หมายถึง "โอบกอดใครสักคน") มากกว่าพระนาม คา[4] และก็เชื่อกันว่าเป็นพระนามประสูติของฟาโรห์นาร์เมอร์[5] เนื่องจากการอ่านพระนามที่ยังไม่มีความแน่นอน นักไอยคุปต์วิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนเช่น ลุดวิก เดวิด โมเรนซ์ จึงมักจะอ่านพระองค์แบบกลางๆ ในพระนาม "พระกรแห่งกษัตริย์"[6] พระนามส่วนพระองค์ของฟาโรห์คา อาจจะเป็น 'king Ap.[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rice, Michael (1999), Who's Who in Ancient Egypt, Routledge, p. 86.
  2. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, available online เก็บถาวร 2015-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน see p. 36-37
  3. Wilkinson 1999, pp. 57–59.
  4. Kaplony, Peter (1982), "Kleine Beiträge zu den Inschriften der ägyptischen Frühzeit", MDAIK (ภาษาเยอรมัน), Berlin: Deutsches Archäologisches Institut, Orient-Abteilung (Hrsg.). von Zabern (38): 221, 229.
  5. Baumgartel, Elise Jenny (1975), "Some remarks on the origins of the titles of the Archaic Egyptian Kings", Journal of Egyptian Archaeology, London: Egypt Exploration Society (61): 31.
  6. Morenz, Ludwig David, Bild-Buchstaben und symbolische Zeichen (ภาษาเยอรมัน), pp. 106–8.
  7. Petrie, W.M. Flinders (1923). A History of Egypt Volume I (10 ed.). Methuen & Co. LTD. p. 4.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Wilkinson, Toby AH (1999), Early Dynastic Egypt, London/New York: Routledge, ISBN 0-415-18633-1