กันตธีร์ ศุภมงคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กันตธีร์ ศุภมงคล
กันตธีร์ ใน พ.ศ. 2548
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ถัดไปนิตย์ พิบูลสงคราม
ผู้แทนการค้าไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 เมษายน พ.ศ. 2495 (72 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังธรรม (2538–2541)
ไทยรักไทย (2541–2550)
คู่สมรสโสภาวรรณ ศุภมงคล

กันตธีร์ ศุภมงคล (เกิด 3 เมษายน พ.ศ. 2495) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร และอดีตโฆษกพรรคไทยรักไทยคนแรก

ประวัติ[แก้]

ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2495[1] ที่เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายกนต์ธีร์ ศุภมงคล อดีตเอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน,อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (จอมพลถนอม กิตติขจร)[2] กับคุณหญิงดุษฎี ศุภมงคล (อรรถกระวีสุนทร) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส เมื่อปี พ.ศ. 2519 ระดับปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยอเมริกัน (AU) ปี พ.ศ. 2520 และปริญญาเอก สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2527

การทำงาน[แก้]

ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เริ่มรับราชการหลังจากเรียนจบปริญญาเอก สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ รวมระยะเวลาในการรับราชการเกือบ 10 ปี จนได้รับตำแหน่งสูงสุด คือ ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน จึงตัดสินใจลาออกจากราชการ เพื่อทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ คือ บริษัท กันตสหกิจ จำกัด [3]

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง[แก้]

ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เริ่มเข้าสู่งานการเมือง โดยการชักชวนของศ.พิเศษทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคพลังธรรมและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 6 สังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมา ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล จึงเข้าร่วมกับทักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งเป็นโฆษกพรรคคนแรก (คณะกรรมการชุดที่ขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง)[4] กระทั่งในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ผู้แทนการค้าไทย และต่อมาจึงได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[5]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
  2. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองในสำนักนายกรัฐมนตรี
  3. "ชีวิตและการเดินทางของ ดร.กัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  6. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗